(3.3) มีการขยายขอบข่ายการนิยาม SMEs เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบและสภาพทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีการขยายขอบข่ายของความเป็น SMEs ที่เป็นฐานความรู้ และในปัจจุบันได้มีการเตรียมมาตรการที่ครอบคลุมบริการทั้ง 10 ด้านเพื่อการเจรจาการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุพาคี ซึ่งประกอบด้วย การบริการด้านกฎหมาย ด้านการบัญชี การบริการด้านการวางระบบและการชำระภาษี การโฆษณาทางโทรทัศน์ การบริการด้านการศึกษา การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข อุตสาหกรรมภาพยนตร์ การบริการด้านสื่อสิงพิมพ์ ด้านโทรคมนาคม และด้านการเงิน
นอกจากนี้การบริการด้านข้อมูลและการสื่อสารซึ่งจะช่วยกระตุ้นดีมานด์จะได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เหมาะสมหรือมีความเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ
(3.4) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่ม การบริการสังคม (Social services)
* การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษา โดยการปรับโครงสร้างระบบการศึกษาให้สามารถดึงดูดความสนใจของสถาบันการศึกษาต่างชาติ รวมทั้งการปรับโครงสร้างการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาโดยภาพรวม
* ปรับปรุงกฎ ระเบียบในการให้บริการด้านการแพทย์ เช่น การลดกฎเกณฑ์และความเข้มงวดสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ และอนุญาตให้แพทย์ต่างชาติให้บริการทางการแพทย์แก่ชาวเกาหลีได้
* ยกระดับคุณภาพด้านการดูแลเด็กเล็ก โดยการเพิ่มผลประโยชน์และความครอบคลุมของการอุดหนุนในการดูแลเด็กเล็ก และทบทวนการขยายการอุดหนุนการดูแลเด็กเล็กรวมทั้งการทบทวนความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(4) การยกระดับระบบเศรษฐกิจ (Upgrading Economic System) เป็นการเร่งดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าและมีความสมดุลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และลดช่องว่างระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม โดยที่ระบบการเงิน ระบบภาษี และตลาดแรงงานจะได้รับการพัฒนาหรือยกระดับให้อยู่ในระดับที่เป็นมาตรฐานโลก มีการเปิดตลาดมากขึ้น สนับสนุนการลงทุน และการเจาะตลาดโลก เพื่อทำให้ประเทศเกาหลีใต้พัฒนาเป็นประเทศการค้าเสรีในระดับแนวหน้า
(4.1) การพัฒนาระบบการเงิน
* ในระยะแรกจะเป็นการประมวลกฎหมายเข้าด้วยกันทั้งกฎหมายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ กฎหมายการค้าในตลาดล่วงหน้า และกฎหมายการลงทุนทางอ้อมและการบริหารจัดการสินทรัพย์ นอกจากการส่งเสริมการลงทุนในทุกรูปแบบแล้วรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้มีการคุ้มครองผู้ลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
* ส่งเสริมกองทุนหุ้นระยะยาวขนาดใหญ่ให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว และผ่อนคลายกฎเกณฑ์การลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศเพื่อเปิดเสรีมากขึ้นในการดำเนินการและการบริหารความเสี่ยงของกองทุนต่าง ๆ
(4.2) การปฏิรูปทางภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในการปฏิรูประบบภาษีนั้นรัฐบาลจะคำนึงฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะกว้างขึ้น และตอบสนองต่อยุคโลกาภิวัตน์ ยุคข้อมูลข่าวสาร และสังคมผู้สูงอายุ
(4.3) ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านข้อมูลสถิติและนวัตกรรม
* ในด้านกฎหมายงบประมาณของประเทศนั้นจะปรับจากการดำเนินงานด้านงบประมาณราย 1 ปีไปเป็นงบประมาณระยะยาวบนพื้นฐานของผลการปฏิบัติงาน มีแผนบริหารจัดการหนี้สาธารณะทั้งในระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว การลงบัญชีคู่ตามระบบคงค้าง (เกณฑ์สิทธิ)
* การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและจัดจ้าง
* การยกระดับมาตรฐานด้านระบบข้อมูลและสถิติ รวมทั้งการให้บริการด้านข้อมูลและสถิติ
* การสนับสนุนการเจรจา 3 ฝ่ายเพื่อบรรลุข้อตกลงการพิพาทแรงงาน นั่นคือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
* ส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้า
* การเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเร่งเปิดเขตเศรษฐกิจเสรี Incheon Yeosu และ Busan ในขณะเดียวกันก็จะเร่งปรับปรุงในเรื่องโครงสร้างสถาบันเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในด้านการศึกษาและโรงพยาบาล
* ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและการลงทุนในต่างประเทศ
(5) การสนับสนุนให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Ensuring Sustainable Growth)
(5.1) รัฐบาลเตรียมออกมาตรการที่เป็นระบบในเดือนธันวาคมนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสังคมผู้สูงอายุและอัตราการเกิดที่ต่ำที่เป็นแนวโน้มของประเทศ
(5.2) สนับสนุนให้อุตสาหกรรมภายในประเทศปรับปรุงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ภายใต้กรอบข้อตกลง Kyoto Protocol และ Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) ของกลุ่ม EU รวมทั้ง Restriction on Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment (RoHS) และจะกรอบมาตรการเพื่อจัดการด้าน
มลพิษและ greenhouse gases อย่างครบวงจรและเป็นองค์รวมจะออกมาในเดือนธันวาคม 2548 นี้ ให้การสนับสนุนแต่อุตสาหกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และจะทำการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตพิเศษสำหรับยานยนต์และภาษีน้ำมันให้สามารถตอบสนองต่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น
(5.3) การแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกและแหล่งพลังงานที่สามารถทดแทนได้
(5.4) เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการด้านสวัสดิการสังคมและเพิ่มสวัสดิการแรงงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และที่สำคัญเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้สามารถช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
(5.5) การเตรียมพื้นฐานสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การเพิ่มศักยภาพการผลิต และความมั่นคงด้านการงานและอาชีพ
(6) เพิ่มประสิทธิผลของนโยบายสวัสดิการสังคม (Strengthening the Effectiveness of Welfare Policies)
(6.1) รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการสร้างงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจเอกชนในการเรื่องการพัฒนาคุณภาพแรงงาน การปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างงานที่เป็นนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งการออกนโยบายในการกระตุ้นการจ้างแรงงานสตรีภายใต้สถานการณ์ซึ่งเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ และอัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำ
(6.2) การพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับผู้ที่มีศักยภาพแต่มีรายได้ต่ำ ซึ่งรวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และกลุ่มที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่จะได้รับผลประโยชน์จากสวัสดิการสังคมเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มนี้สามารถเข้ารับการฝึกอบรมที่จัดโดยรัฐได้และสนับสนุนให้
เกิดการพึงพาตนเองได้ในระยะยาว (จะมีการทบทวน the National Basic Living Security Act) นอกจากนี้รัฐบาลจะดำเนินโครงการ Re-start เพื่อสนับสนุนกลุ่มเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งการฝึกอบรมผู้ว่างงาน แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สตรี และผู้สูงอายุ
(6.3) การส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองสำหรับกลุ่มที่แค่เพียงผ่านเกณฑ์เส้นเกณฑ์การได้รับผลประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เช่น การมีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย การให้บริการด้านการดูแลเด็กเล็กสำหรับกลุ่มที่พ่อแม่ต้องทำงานและขาดความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้รัฐบาลยังจะได้พิจารณาที่จะออก the Earned Income Tax Credit (EITC) สำหรับกลุ่มผู้เสียภาษีที่มีรายได้ต่ำเมื่อได้มีผลการศึกษาและการทำประชาพิจารณ์เรื่องการนำ EITC มาใช้ออกมา ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สนับสนุนการมี Employee Stock Ownership และระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุจะถูกนำมาใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 การให้สินเชื่อรายย่อยก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก การเรียกเก็บหนี้นั้นดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการเงินและการให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อและการฟื้นฟูจากภาวะปัญหาหนี้สิน (Credit Counseling and Recovery Service)
2. การพัฒนาอุตสาหกรรม2
2.1) ภาพรวมอุตสาหกรรมของประเทศเกาหลีในปัจจุบัน
สถานะรายอุตสาหกรรม แยกตามลำดับขั้นการพัฒนา
สถานะ อุตสาหกรรม ลักษณะในตลาดโลก
1. Entry stage Aerospace, Biotechnology * ยังมีช่องว่างทางเทคโนโลยีสูงมาก
ระหว่างผู้คิดค้น (pioneers) และ
ผู้ประกอบการที่เข้ามาทีหลัง (late
entrants)
* มีการแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยีที่
รุนแรง
2. Initial growth stage Digital electronics, post-PC, * มีช่องว่างทางทางเทคโนโลยีสูงในแต่ละ
Mobile communications, ประเทศ
Software, Precision chemistry * ตั้งเป้าให้เป็นอุตสาหกรรมในอนาคต
(Future industries)
3. Growth stage Machines, Plants, Digital home * มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ และ
appliances, e-Biz, Parts มุ่งสู่การเป็น Second-tier countries
components and materials, * มีความสำคัญต่อการเพิ่มขีด
Design ความสามารถในการแข่งขันทาง
เทคโนโลยีของประเทศ
4. Maturity stage Shipbuilding,Steel,Automobiles, * มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสมัยใหม่
Semiconductor อย่างรวดเร็ว
5. Adjustment stage Textiles, Footwear * ต้องมีการปรับโครงสร้าง เนื่องจาก
ระดับการพัฒนาทางเทคโนโลยีเริ่ม
converge
2.2) การพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ (Leading industries)
2.2.1) อุตสาหกรรมยานยนต์
* เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 11 ของแหล่งที่มาของรายได้ (Source of growth) ครอบคลุมแรงงานจำนวนประมาณ 210,000 คน และมีมูลค่าส่งออกรวมทั้งสิ้น 23 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
* มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก โดยการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์มีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 16.9 ตั้งแต่ปี 1975-2004 ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตต่ำ แรงงานมีจำนวนมากโดยเฉพาะแรงงานที่มีการศึกษา กลยุทธ์ทางธุรกิจและการตลาดที่เข้มแข็ง รวมทั้งนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล
* มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการแข่งขันทางด้านราคาที่มีต้นทุนการผลิตต่ำทั้งต้นทุนแรงงานและวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางการผลิตขั้นสูงยังไม่เทียบเท่าประเทศญี่ปุ่น จึงยังคงต้องได้รับการพัฒนาต่อไป
* ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับการพัฒนาจนอยู่ในขั้น Maturity stage และเปลี่ยนจากการผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลางและเล็กที่มีราคาถูกไปเป็นการผลิตรถยนต์หรูราคาแพงและรถที่มีสมรรถนะสูงเพื่อการใช้งาน (Sports Utility Vehicle: SUV) มากขึ้น
* นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สำคัญได้แก่ การสร้างแรงจูงใจทางภาษีและทางการเงินเพื่อขยายฐานความต้องการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ในอนาคต รวมทั้งให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงในระยะต่อไป
2.2.2) อุตสาหกรรมต่อเรือ (Shipbuilding)
* ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูงมากเห็นได้จากยอดคำสั่งของการขนส่งที่เพิ่มสูงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเพื่อสามารถรองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการเพื่อนำมาใช้ทดแทนสินค้าเก่า (replacement demand) โดยเฉพาะสินค้าประเภท single body tankers ซึ่งสอดคล้องกับ OECD ซึ่งประมาณการไว้ว่าความต้องการของอุตสาหกรรม Shipbuilding มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปี 2015
* ปัจจุบันอุตสาหกรรม Shipbuilding ของประเทศเกาหลีใต้ได้รับการพัฒนาในเชิงคุณภาพไปค่อนข้างมากจนอยู่ในระดับสูงเทียบเท่ากับประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีสัดส่วนทางการตลาดเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากการใช้การแข่งขันทางราคาโดยการลดต้นทุน รวมทั้งการลดช่องว่างทางเทคโนโลยี (technology gap) ลงโดยมีความสามารถในการสร้างต้นแบบเรือ (own ship models) ของตัวเองได้
* อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเทศจีนได้เริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรม Shipbuilding โดยที่ประเทศจีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ จึงทำให้ประเทศเกาหลีใต้เริ่มสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน โดยในปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนแรงงาน
* นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Shipbuilding ที่สำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และมีความหลากหลายของประเภทสินค้ามากขึ้น (2) การสนับสนุนการจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงมากขึ้น (3) การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมใกล้เคียง
2.3.3) อุตสาหกรรมเหล็ก
* สถานะของการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกในปัจจุบันนั้น ประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ผ่านพ้นช่วงของการพัฒนาในช่วง Maturity stage ไปแล้ว ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้กำลังพัฒนาเข้าสู่ Maturity stage ส่วนประเทศจีนและกลุ่มประเทศยุโรปกำลังเข้าสู่ Growth stage โดยมีอัตราการขยายตัวที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมา
* ในปี 2545 ประเทศเกาหลีใต้สามารถผลิตเหล็กเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และรัสเซีย โดยผลิตได้จำนวนมากถึง 45.3 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของการผลิตรวมทั้งหมดของโลก ขณะที่มีปริมาณการใช้จ่ายเหล็กสูงเช่นกัน โดยมีการใช้จ่ายเหล็กต่อบุคคลอยู่ที่ 917 กิโลกรัม นับเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศไต้หวัน (1,003 ก.ก.) และสูงกว่าประเทศสหรัฐฯ (412 ก.ก.) ญี่ปุ่น (560 ก.ก.) และเยอรมัน (522 ก.ก.)
* ประเทศเกาหลีใต้จัดว่ามีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในแง่ของการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กพื้นฐาน แต่เนื่องจากปัญหาเทคโนโลยีที่ยังไม่ทันสมัยมาก ประกอบกับยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กที่มีคุณภาพสูงยังไม่สามารถพัฒนาได้มากนัก นอกจากนี้ ยังประสบกับปัญหาจากการรวมตัวทางธุรกิจ (undertaking/ merger) ในตลาดโลกที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง รวมทั้งการเข้าสู่ Maturity stage ในบาง
* อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้วภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กยังทิศทางขยายตัวได้ดี เนื่องจากความต้องการเหล็กในตลาดโลกยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นมาก จากตัวเลขของ International Iron and Steel Institute (IISI) ประมาณการไว้ว่าความต้องการเหล็กของโลกจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปี จนกระทั่งถึงปี 2007 โดยประเทศจีนมีความต้องการสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.9 ต่อปี และคาดว่าจะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของปริมาณความต้องการเหล็กโลกที่เพิ่มขึ้นรวม
* นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพเพื่อ Social safety รวมทั้งการจำกัดการใช้พลังงาน นอกจากนี้ยังเน้นในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ นาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมเหล็กในอนาคตได้
2.2.4) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
* การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศเกาหลีใต้มีการขยายตัวสูงมาก เช่นเดียวกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1995-2003 การผลิตขยายตัวประมาณร้อยละ 7.7 ต่อปี และความต้องการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ต่อปี
* อย่างไรก็ดี ในเชิงเทคโนโลยีการผลิตยังค่อนข้างล้าหลัง เนื่องจากยังขาดเทคโนโลยีต้นแบบ (original technology) และแรงงานที่มีทักษะ ทำให้กระบวนการผลิตยังต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีของประเทศพัฒนาแล้ว
* อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้เข้าสู่ Maturity stage มีอัตรากำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง แต่คาดว่าอาจขยายตัวได้อย่างจำกัด โดยมีอุปสรรคจากการลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคต เนื่องจากขีดความสามารถในการพัฒนาทางเทคโนโลยียังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
* นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะดำเนินการปรับโครงสร้างไปพร้อมกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากการใช้วัตถุดิบธรรมดา (general use materials) เป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (high value-added materials) รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการลงทุนที่เน้นคุณภาพแทนการลงทุนในเชิงปริมาณ
* นโยบายสนับสนุนในระยะต่อไปจะให้ความสำคัญกับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดความขัดแย้งทางการค้า สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการส่งออก รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ทันกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
2.2.5) อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์
* อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2004 ซึ่งมีการขยายตัวสูงเนื่องจากความต้องการของประเทศจีนเพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐฯ ที่ความต้องการในสาขา IT ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกเซมิคอนดัคเตอร์ของประเทศเกาหลีขยายตัวได้ดี
* ในปัจจุบันความต้องการเซมิคอนดัคเตอร์เพิ่มขึ้นมากในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และ USB memory นอกเหนือจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ และกล้องดิจิตอล ที่มีอยู่เดิม
* อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์จึงขึ้นอยู่กับการขยายตัวของการผลิตสินค้าเหล่านี้ อย่างไรก็ดี พบว่าความต้องการใช้เซมิคอนดัคเตอร์ในสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นความต้องการเพื่อนำมาทดแทนของเก่า (replacement demand) ในสัดส่วนที่มากกว่าความต้องการรุ่นใหม่ เนื่องจากโดยทั่วไปอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์เฉลี่ย 4 ปี ในขณะที่โทรศัพท์มือถืออยู่ที่ 3 ปี ดังนั้นจึงมีความต้องการเพื่อทดแทนของเก่าจำนวนมากในแต่ละปี
* โดยเซมิคอนดัคเตอร์ที่ใช้ในการผลิตคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นแบบ non-memory ซึ่งประเทศเกาหลียังไม่สามารถผลิตเองได้ จึงมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากทั้งจากประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
* นโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีและ R&D โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการผลิต non-memory ซึ่งยังไม่สามารถผลิตเองได้ รวมทั้งการสนับสนุนให้ควบรวมกิจการกับบริษัทต่างชาติเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีในเบื้องต้น และให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาในสาขาวิศวกรรม
3. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
3.1) สถานการณ์และสภาพปัญหาของ SMEs ในปัจจุบัน
* SMEs เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 99.8 ของกิจการทั้งหมด (กิจการ SMEs มีจำนวน 2.95 ล้านกิจการ) และสามารถรองรับแรงงานถึงร้อยละ 86.7 ของแรงงานทั้งหมด (แรงงานใน SMEs มีจำนวน 13.09 ล้านคน) ซึ่งในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแรงงานของกิจการขนาดใหญ่ลดลงประมาณ 1.25 ล้านคน ในขณะเดียวกันกิจการ SMEs มีแรงงานเพิ่มขึ้น 2.13 ล้านคน
อย่างไรก็ตามปัจจุบันกิจการ SMEs กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานที่มีการศึกษา เนื่องจากแรงงานรุ่นใหม่ไม่นิยมทำงานกับกิจการ SMEs เพราะผลตอบแทนและสวัสดิการที่ไม่จูงใจเมื่อเทียบกับกิจการขนาดใหญ่ นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานก็ไม่จูงใจ
* การส่งออกสินค้าของกิจการ SMEs สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มสินค้าประเภทอิเล็คทรอนิกส์และชิ้นส่วนรถยนต์ และเฉพาะการส่งออกไปตลาดประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา เท่านั้น
* SMEs ยังคงเป็นแบบรับช่วงการผลิตจากกิจการขนาดใหญ่ โดยอาศัยความได้เปรียบจากค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมของธุรกิจก็กำลังเปลี่ยนแปลง อาทิ ยุทธศาสตร์การจ้างผลิตนอกประเทศของกิจการขนาดใหญ่ (large enterprises' global outsourcing strategy) การแข่งขันด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำของประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ วัฎจักรสินค้าเทคโนโลยีที่สั้นลง และการแข่งขันทางการค้าที่นำไปสู่การเปิดตลาดเสรี เป็นต้น ทำให้การผลิตแบบรับช่วงการผลิตกลายเป็นจุดอ่อนของ SMEs ที่ต้องการเติบโตอย่างมีศักยภาพและมีความสามารถในการสร้างกำไร
* รัฐบาลเกาหลีใต้ได้จัดลำดับความสำคัญให้กับนโยบาย SMEs เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดให้กับ SMEs เพื่อให้ทุกคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และทุ่มเทมีโอกาสเริ่มต้นกิจการของตนเองได้
3.2) นโยบายหลักของรัฐบาลในการสนับสนุน SMEs
ในการสนับสนุน SMEs รัฐบาลได้จัด SMEs เป็น 3 ประเภท ได้แก่ "Innovative & Leading SMEs" `Self-reliable SMEs" และ "Micro enterprises"
กลุ่มแรก Innovative & Leading SMEs เป็นกิจการที่มีความสามารถในการวิจัยและพัฒนาสินค้าเป็นของตนเอง และสามารถจัดการธุรกิจเองได้ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 2 หรือ 100,000 กิจการ กิจการในกลุ่มนี้จะได้รับการสนับสนุนด้านการเริ่มต้นกิจการ การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำการตลาด เพื่อยกระดับสินค้าไปสู่การเป็นสินค้าระดับโลก
กลุ่มที่สอง Self-reliable SMEs เป็นกิจการ SMEs ทั่ว ๆ ไปที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ระดับหนึ่ง ซึ่งมีประมาณ 300,000 กิจการ การให้ความช่วยเหลือจะเป็นด้านการบริหารจัดการเพื่อให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น และผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง
กลุ่มที่สาม Micro enterprises เป็นกิจการที่ผลิตสินค้าที่ต้องอาศัยความชำนาญหรือแรงงานมีฝีมือ กิจการเกี่ยวกับการค้า และกิจการที่เกี่ยวกับบริการ ซึ่งกิจการเหล่านี้มีประมาณ 2.6 ล้านกิจการ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนด้านการเริ่มต้นกิจการ และระบบการจัดการ
3.2.1) นโยบายสนับสนุนการเริ่มกิจการ
* การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น start-up course start-up clubs Bizcool program เป็นต้น
* สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเริ่มต้นกิจการ อาทิ ยกเลิกกฎระเบียบ และกระบวนการที่ทำให้การเริ่มต้นกิจการเป็นไปด้วยความล่าช้า และจัดหา start-up agency services ที่ช่วยควบคุมการดำเนินกิจกรรมในช่วงเริ่มกิจการ
* รัฐบาลเสนอที่ดินสำหรับการเริ่มต้นกิจการ และจัดหาทุนสำหรับการดำเนินธุรกิจผ่านกองทุนเริ่มต้นกิจการ (start-up funds) อาทิ SME Venture Start-up Funding
3.2.2) นโยบายความช่วยเหลือด้านการเงิน เพื่อให้กิจการที่มีปัญหาไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารได้
* การให้บริการทางการเงินโดยทางอ้อม ได้แก่
-การจัดหา Security assurance services สำหรับกิจการที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนเนื่องจากขาดหลักทรัพย์หรือเทคโนโลยีค้ำประกัน เพื่อให้สามารถกู้ยืมจากธนาคาร บริการนี้อนุญาตให้กู้เงินทุนภายใต้การประกันสินเชื่อ (credit guarantee scheme) ซึ่งดำเนินการโดย SMBA's partmers ได้แก่ KCGF (Korea Credit Guarantee Fund) KOTEC (Korea Technology Credit Guarantee Fund) และ local KCGF Offices
-กิจการขนาดเล็กที่อยู่ในช่วงเริ่มกิจการ กิจการที่ใช้เทคโนโลยีสูงจากต่างประเทศ และกิจการที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนโครงการ จะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินผ่าน SBC (Small Business Corp.)
(ยังมีต่อ)