การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดผู้นำ (1st Task Force Meeting) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Senior Official Meeting) ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2549 ณ นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย National Coordinators (โดยส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานวางแผน ของไทย คือ สศช.) และกระทรวงการต่างประเทศของประเทศกัมพูชา ลาว จีน พม่า ไทยและเวียดนาม โดยสรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
1. สรุปผลการประชุมเตรียมการ GMS Summit ครั้งที่ 3
1.1 กำหนดเวลาการประชุม ทุกประเทศเห็นชอบให้ จัดประชุมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (มกราคม-เมษายน) ณ เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยให้แต่ละประเทศกลับไปตรวจสอบและยืนยันช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง โดยในเบื้องต้นนี้ช่วงที่เหมาะสมควรจะเป็นปลายเดือนมีนาคม หรือ ต้นเดือนเมษายน 2551
1.2 Theme หลักของการประชุม ที่ประชุมเห็นว่า GMS ในปี 2551 ควรเน้นในเรื่อง competitiveness ซึ่งต่อยอดจากการพัฒนา connectivity แต่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญควบคู่ไปด้วย คือ community ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังมีการดำเนินงานค่อนข้างน้อย โดยมีข้อเสนอ 2 theme ได้แก่ GMS : Strengthening Competitiveness Through Greater Connectivity (เสนอโดยรัฐบาลลาวและADB ซึ่งจีนและพม่าเห็นชอบด้วย แต่ให้เพิ่มมิติเกี่ยวกับ Community) และ GMS Cooperation : From Strategies and Plan to Actions (เสนอใหม่โดยรัฐบาลเวียดนาม) ในส่วนของไทยได้เสนอแนวคิดให้เน้นด้านเศรษฐกิจสังคมควบคู่กัน โดยน่าจะใช้คำว่า creativity หรือ fostering เพื่อแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่อง เพราะ Theme ในการประชุมครั้งที่ 1 คือ Making it happened:A Common Strategy on Cooperation on Growth, Equity and Prosperity in the GMS คือ เน้นการแปลงจากยุทธศาสตร์สู่ปฏิบัติให้เป็นจริง Theme ของการประชุมครั้งที่ 2 คือ Stronger GMS Partnership for Common Prosperity คือ เน้นการร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศ GMS ภาคีทั้งหลายเพื่อเร่งรัด
การดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วมากขึ้น ดังนั้นในปีที่ 3 ควรมี Keyword ที่แสดงถึงการรวมพลังกันของประเทศ GMS เพื่อผลักดันการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
1.3 รูปแบบการประชุมสุดยอดผู้นำ การประชุมสุดยอดผู้นำเสนอให้ใช้รูปแบบไม่เป็นทาง การ (retreat) และสามารถจัดให้มีการหารือระดับทวิภาคีระหว่างผู้นำตามเจตจำนงของแต่ละประเทศ
1.4 กิจกรรมคู่ขนานกับการประชุม (Side Events) ประกอบด้วย การจัดประชุมภาค เอกชนและการจัดนิทรรศการซึ่งจะเน้นด้านพลังงาน (จะครอบคลุมทั้งเรื่องไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทน และอื่นๆ) และ การจัด GMS Youth Forum ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของประเทศ GMS โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นอนาคตของ GMS
1.5 ผลจากการประชุม (Delivery) นอกจาก Joint Summit Declaration ซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ GMS ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2551-2554) แล้ว ที่ประชุมเห็นควรให้มีการเตรียมการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เป็นผลจากการดำเนินงานของ GMS หรือการลงนามของนักลงทุนในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งการเตรียมการจะต้องประสานอย่างใกล้ชิดระหว่างคณะทำงานเตรียมการประชุม (Task Force) กับหน่วยประสานงานหลักของแต่ละสาขา และ GMS Business Forum
1.6 แผนงานของคณะทำงาน (Task Force - TF) จะมีการหารือครั้งต่อไปในปี 2550 ได้แก่ TF-2 ในเดือนมิถุนายน (back-to-backกับการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 14) TF-3 ในเดือนกันยายน และในปี 2551 ได้แก่ TF-4 ในเดือนมกราคม และ TF-5 ในเดือนมีนาคม (ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 3)
2. สรุปผลการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประชุมรายงานความ ก้าวหน้า และสิ่งที่ต้องการผลักดันตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือ 9 สาขา โดยสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 จีนยืนยันท่าทีเชิงบวกในการสนับสนุนการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ณ เชียงของ-ห้วยทราย โดยไทยได้ขอให้ ADB ติดตามท่าทีทางการของจีนและเร่งจัดการประชุมหารือ 4 ฝ่าย (ไทย-จีน-ลาว-ADB) เพื่อร่วมกันวางแผนการก่อสร้างให้ชัดเจนก่อนการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3
2.2 การวางแผนพัฒนา Facilities ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors) ได้แก่ ระบบ ICT และการจัดตั้ง ICD เพื่อกระตุ้นและรองรับกิจกรรมเศรษฐกิจที่จะเกิดระหว่างประเทศ
2.3 การดำเนินงาน Cross Border Transport Agreement (CBTA) สู่ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ประเทศ GMS ควรให้ความสำคัญ ซึ่งในเรื่องนี้ Aus-aid และ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจจะเข้ามาช่วยเหลือ โดยที่ประชุมเห็นว่าควรเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากร และรายละเอียดที่ความตกลง CBTA ยังไม่ได้ครอบคลุมไว้ เช่น การบริหารจัดการเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ระบบการประกันภัย การจัดทำสัญญาณจราจรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และอื่นๆ
2.4 ประเทศ GMS ขอให้ ADB เพิ่มบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานในสาขาโทรคมนาคม ให้ก้าวหน้ามากขึ้น โดยไทยและจีนเสนอให้ใช้ประโยชน์ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรของ GMS ในไทยและจีน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคมของ GMS
2.5 ให้เร่งรัดการดำเนินงานด้านพลังงาน โดยขอให้ ADB ช่วยผ่อนคลายอุปสรรคและจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรม โดยเฉพาะในส่วนการพัฒนาสายส่งข้ามพรมแดนระหว่าง 3 ประเทศ และให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือพัฒนาพลังงานทดแทนในอนุภูมิภาค และวางแผนงานที่เป็น
รูปธรรมเรื่องไฟฟ้าในพื้นที่ชนบท (Rural electrification)
2.6 ท่องเที่ยว ให้ดำเนินการส่งเสริม Single Tourist Destination ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และควรจะเพิ่มการพัฒนาและจัดระบบแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพของ Mekong Tourism Cooperating Office (MTCO) ให้ประสานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานท่องเที่ยวหลักของแต่ละประเทศ
2.7 การค้าและการลงทุน ประเทศ GMS ขอให้ ADB ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของ GMS-BF อย่างต่อเนื่องต่อไป และให้ช่วยศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการเงินการธนาคารในอนุภูมิภาค
3. สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินแผนงาน Phom Penh Plan ครั้งที่ 7 ได้มีการหารือผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา โดยที่ประชุมเห็นว่าอุปสรรคทางด้านภาษาของผู้ได้รับการเสนอเข้าร่วมโครงการมีผลต่อคุณภาพของแผนงานฯ ในภาพรวม ซึ่ง ADB และ Focal Point
ของแต่ละประเทศรับไปดำเนินการคัดเลือกให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น และมีการนำเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อให้ Phnom Penh Plan มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ แผนงาน Lifelong Learning Activities for PPP Alumni เพื่อพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารระหว่างศิษย์เก่า PPP และ แผนงาน Program Impact เพื่อประเมินผลแผนงานฯ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระหว่างปี 2550-2554
4. เรื่องอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง Director General ของ Southeast Asia Regional Department (ซึ่งดูแลงาน GMS) จาก Mr. Rajat M. Nag เป็น Mr. Arjun Thapan
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. สรุปผลการประชุมเตรียมการ GMS Summit ครั้งที่ 3
1.1 กำหนดเวลาการประชุม ทุกประเทศเห็นชอบให้ จัดประชุมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 (มกราคม-เมษายน) ณ เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยให้แต่ละประเทศกลับไปตรวจสอบและยืนยันช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง โดยในเบื้องต้นนี้ช่วงที่เหมาะสมควรจะเป็นปลายเดือนมีนาคม หรือ ต้นเดือนเมษายน 2551
1.2 Theme หลักของการประชุม ที่ประชุมเห็นว่า GMS ในปี 2551 ควรเน้นในเรื่อง competitiveness ซึ่งต่อยอดจากการพัฒนา connectivity แต่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญควบคู่ไปด้วย คือ community ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังมีการดำเนินงานค่อนข้างน้อย โดยมีข้อเสนอ 2 theme ได้แก่ GMS : Strengthening Competitiveness Through Greater Connectivity (เสนอโดยรัฐบาลลาวและADB ซึ่งจีนและพม่าเห็นชอบด้วย แต่ให้เพิ่มมิติเกี่ยวกับ Community) และ GMS Cooperation : From Strategies and Plan to Actions (เสนอใหม่โดยรัฐบาลเวียดนาม) ในส่วนของไทยได้เสนอแนวคิดให้เน้นด้านเศรษฐกิจสังคมควบคู่กัน โดยน่าจะใช้คำว่า creativity หรือ fostering เพื่อแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่อง เพราะ Theme ในการประชุมครั้งที่ 1 คือ Making it happened:A Common Strategy on Cooperation on Growth, Equity and Prosperity in the GMS คือ เน้นการแปลงจากยุทธศาสตร์สู่ปฏิบัติให้เป็นจริง Theme ของการประชุมครั้งที่ 2 คือ Stronger GMS Partnership for Common Prosperity คือ เน้นการร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศ GMS ภาคีทั้งหลายเพื่อเร่งรัด
การดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วมากขึ้น ดังนั้นในปีที่ 3 ควรมี Keyword ที่แสดงถึงการรวมพลังกันของประเทศ GMS เพื่อผลักดันการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
1.3 รูปแบบการประชุมสุดยอดผู้นำ การประชุมสุดยอดผู้นำเสนอให้ใช้รูปแบบไม่เป็นทาง การ (retreat) และสามารถจัดให้มีการหารือระดับทวิภาคีระหว่างผู้นำตามเจตจำนงของแต่ละประเทศ
1.4 กิจกรรมคู่ขนานกับการประชุม (Side Events) ประกอบด้วย การจัดประชุมภาค เอกชนและการจัดนิทรรศการซึ่งจะเน้นด้านพลังงาน (จะครอบคลุมทั้งเรื่องไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทน และอื่นๆ) และ การจัด GMS Youth Forum ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของประเทศ GMS โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นอนาคตของ GMS
1.5 ผลจากการประชุม (Delivery) นอกจาก Joint Summit Declaration ซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ GMS ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2551-2554) แล้ว ที่ประชุมเห็นควรให้มีการเตรียมการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เป็นผลจากการดำเนินงานของ GMS หรือการลงนามของนักลงทุนในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งการเตรียมการจะต้องประสานอย่างใกล้ชิดระหว่างคณะทำงานเตรียมการประชุม (Task Force) กับหน่วยประสานงานหลักของแต่ละสาขา และ GMS Business Forum
1.6 แผนงานของคณะทำงาน (Task Force - TF) จะมีการหารือครั้งต่อไปในปี 2550 ได้แก่ TF-2 ในเดือนมิถุนายน (back-to-backกับการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 14) TF-3 ในเดือนกันยายน และในปี 2551 ได้แก่ TF-4 ในเดือนมกราคม และ TF-5 ในเดือนมีนาคม (ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 3)
2. สรุปผลการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประชุมรายงานความ ก้าวหน้า และสิ่งที่ต้องการผลักดันตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือ 9 สาขา โดยสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
2.1 จีนยืนยันท่าทีเชิงบวกในการสนับสนุนการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ณ เชียงของ-ห้วยทราย โดยไทยได้ขอให้ ADB ติดตามท่าทีทางการของจีนและเร่งจัดการประชุมหารือ 4 ฝ่าย (ไทย-จีน-ลาว-ADB) เพื่อร่วมกันวางแผนการก่อสร้างให้ชัดเจนก่อนการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3
2.2 การวางแผนพัฒนา Facilities ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors) ได้แก่ ระบบ ICT และการจัดตั้ง ICD เพื่อกระตุ้นและรองรับกิจกรรมเศรษฐกิจที่จะเกิดระหว่างประเทศ
2.3 การดำเนินงาน Cross Border Transport Agreement (CBTA) สู่ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ประเทศ GMS ควรให้ความสำคัญ ซึ่งในเรื่องนี้ Aus-aid และ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจจะเข้ามาช่วยเหลือ โดยที่ประชุมเห็นว่าควรเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากร และรายละเอียดที่ความตกลง CBTA ยังไม่ได้ครอบคลุมไว้ เช่น การบริหารจัดการเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ระบบการประกันภัย การจัดทำสัญญาณจราจรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และอื่นๆ
2.4 ประเทศ GMS ขอให้ ADB เพิ่มบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานในสาขาโทรคมนาคม ให้ก้าวหน้ามากขึ้น โดยไทยและจีนเสนอให้ใช้ประโยชน์ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรของ GMS ในไทยและจีน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคมของ GMS
2.5 ให้เร่งรัดการดำเนินงานด้านพลังงาน โดยขอให้ ADB ช่วยผ่อนคลายอุปสรรคและจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรม โดยเฉพาะในส่วนการพัฒนาสายส่งข้ามพรมแดนระหว่าง 3 ประเทศ และให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือพัฒนาพลังงานทดแทนในอนุภูมิภาค และวางแผนงานที่เป็น
รูปธรรมเรื่องไฟฟ้าในพื้นที่ชนบท (Rural electrification)
2.6 ท่องเที่ยว ให้ดำเนินการส่งเสริม Single Tourist Destination ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และควรจะเพิ่มการพัฒนาและจัดระบบแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพของ Mekong Tourism Cooperating Office (MTCO) ให้ประสานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานท่องเที่ยวหลักของแต่ละประเทศ
2.7 การค้าและการลงทุน ประเทศ GMS ขอให้ ADB ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของ GMS-BF อย่างต่อเนื่องต่อไป และให้ช่วยศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการเงินการธนาคารในอนุภูมิภาค
3. สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินแผนงาน Phom Penh Plan ครั้งที่ 7 ได้มีการหารือผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา โดยที่ประชุมเห็นว่าอุปสรรคทางด้านภาษาของผู้ได้รับการเสนอเข้าร่วมโครงการมีผลต่อคุณภาพของแผนงานฯ ในภาพรวม ซึ่ง ADB และ Focal Point
ของแต่ละประเทศรับไปดำเนินการคัดเลือกให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น และมีการนำเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อให้ Phnom Penh Plan มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ แผนงาน Lifelong Learning Activities for PPP Alumni เพื่อพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารระหว่างศิษย์เก่า PPP และ แผนงาน Program Impact เพื่อประเมินผลแผนงานฯ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระหว่างปี 2550-2554
4. เรื่องอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง Director General ของ Southeast Asia Regional Department (ซึ่งดูแลงาน GMS) จาก Mr. Rajat M. Nag เป็น Mr. Arjun Thapan
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-