- ธนาคารพาณิชย์เน้นการทำธุรกรรมระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ โดยอัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ
4.09375 - 4.125 และ 4.21875 - 4.25 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดแทบไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้น
พันธบัตรฯอายุต่ำกว่า 6 เดือน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการคาดการณ์การปรับขึ้น R/P
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของเงินเยน การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตลอดจนเงินทุน
ไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยและเพื่อซื้อหุ้น บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากตัวเลข
เศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน จึงลดความต้องการลงทุนลงและเพิ่มการกู้ยืมระยะสั้น
โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.09375 และ
4.21875 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.25 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลาง
สัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลด
ลงมาอยู่ในระดับเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงจึงลดการลงทุน
ลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ส่วนอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ การทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนในสัปดาห์นี้ส่วนใหญ่เป็นการซื้อ
ขายระยะสั้น เนื่องจากนักลงทุนรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมในสัปดาห์หน้า (8 มี.ค.) สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ
3.9 - 4.25 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.14 - 4.15 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลัง
อายุ 91 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และใน
สัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 8,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาด
รองเท่ากับ 85,399 ล้านบาท หรือ 17,080 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.8 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสาร
หนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลด
ลงตลอดสัปดาห์ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวลดลง 1-23 basis points ตามความต้องการลงทุนใน
พันธบัตรระยะปาน
กลาง-ยาว ที่ยังคงมีอยู่มาก ส่วนพันธบัตรฯ อายุ 1-3 เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในการประชุมวันที่ 8 มี.ค. นี้ และปริมาณการซื้อขายในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ลดต่ำลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดขึ้น ดัชนีราคา
(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 84 และ 30 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงระหว่างสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-11 basis
points เนื่องจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ เช่น ข้อมูลการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่บ่งชี้การขยายตัว
ของตลาดแรงงานสหรัฐ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.01 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.0 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแข็งค่าของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะ
เงินเยนที่ปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 1 เดือน ที่ระดับ 115.82 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงกลางสัปดาห์ จากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคาร
กลางญี่ปุ่นอาจยุติการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในเร็วๆ นี้ หลังจากมีความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีญี่ปุ่น นอก
จากนี้ ค่าเงินบาทยังได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์การ
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 49 39.35
เฉลี่ย 20 - 24 ก.พ. 49 39.39
27 ก.พ. 49 39.30
28 ก.พ. 49 39.27
1 มี.ค. 49 39.04
2 มี.ค. 49 38.84
3 มี.ค. 49 38.60
เฉลี่ย 27 ก.พ. -- 3 มี.ค. 49 39.01
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์หน้า ตลอดจนการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และเงินทุนไหลเข้าจากบริษัท
เทมาเซ็กของสิงคโปร์ เพื่อซื้อหุ้น บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน
บาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้รับรู้ข่าวไปบางส่วนแล้ว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตลอด
สัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดโดยเฉพาะตัวเลขภาคการผลิต ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกด
ดันจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยูโรในช่วงขาขึ้น หลังจากธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งมาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ในช่วง
ปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
4.09375 - 4.125 และ 4.21875 - 4.25 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดแทบไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้น
พันธบัตรฯอายุต่ำกว่า 6 เดือน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการคาดการณ์การปรับขึ้น R/P
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของเงินเยน การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตลอดจนเงินทุน
ไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยและเพื่อซื้อหุ้น บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากตัวเลข
เศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน จึงลดความต้องการลงทุนลงและเพิ่มการกู้ยืมระยะสั้น
โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.09375 และ
4.21875 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.25 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลาง
สัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลด
ลงมาอยู่ในระดับเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงจึงลดการลงทุน
ลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ส่วนอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ การทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนในสัปดาห์นี้ส่วนใหญ่เป็นการซื้อ
ขายระยะสั้น เนื่องจากนักลงทุนรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมในสัปดาห์หน้า (8 มี.ค.) สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ
3.9 - 4.25 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.14 - 4.15 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลัง
อายุ 91 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และใน
สัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 8,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาด
รองเท่ากับ 85,399 ล้านบาท หรือ 17,080 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.8 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสาร
หนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลด
ลงตลอดสัปดาห์ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ปรับตัวลดลง 1-23 basis points ตามความต้องการลงทุนใน
พันธบัตรระยะปาน
กลาง-ยาว ที่ยังคงมีอยู่มาก ส่วนพันธบัตรฯ อายุ 1-3 เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในการประชุมวันที่ 8 มี.ค. นี้ และปริมาณการซื้อขายในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ลดต่ำลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดขึ้น ดัชนีราคา
(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 84 และ 30 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงระหว่างสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-11 basis
points เนื่องจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ เช่น ข้อมูลการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่บ่งชี้การขยายตัว
ของตลาดแรงงานสหรัฐ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.01 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.0 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแข็งค่าของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะ
เงินเยนที่ปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 1 เดือน ที่ระดับ 115.82 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงกลางสัปดาห์ จากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคาร
กลางญี่ปุ่นอาจยุติการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในเร็วๆ นี้ หลังจากมีความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีญี่ปุ่น นอก
จากนี้ ค่าเงินบาทยังได้รับปัจจัยบวกจากการคาดการณ์การ
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 49 39.35
เฉลี่ย 20 - 24 ก.พ. 49 39.39
27 ก.พ. 49 39.30
28 ก.พ. 49 39.27
1 มี.ค. 49 39.04
2 มี.ค. 49 38.84
3 มี.ค. 49 38.60
เฉลี่ย 27 ก.พ. -- 3 มี.ค. 49 39.01
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์หน้า ตลอดจนการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และเงินทุนไหลเข้าจากบริษัท
เทมาเซ็กของสิงคโปร์ เพื่อซื้อหุ้น บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน
บาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้รับรู้ข่าวไปบางส่วนแล้ว ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตลอด
สัปดาห์ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดโดยเฉพาะตัวเลขภาคการผลิต ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกด
ดันจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยูโรในช่วงขาขึ้น หลังจากธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งมาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ในช่วง
ปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-