- การเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อปิดสำรองรายปักษ์ และเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ยังอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลงในขณะที่ US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากแรงเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาด ต่างประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการ เตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อปิดสำรองรายปักษ์ในวัน พุธ และการเตรียมสภาพคล่องล่วงหน้าเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสด ของลูกค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการ กู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 1.875 และ 1.96875 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.90625 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินไหลเข้า จากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือนในช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้สภาพ คล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 1.95 และอัตรา กลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.68 - 1.9 ต่อปี ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9 - 1.91 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,500 ล้านบาท โดย เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสาร หนี้ทุกประเภทเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนค่อนข้างมาก การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ยังคงหนาแน่น เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน มีมูลค่าซื้อขายเท่ากับ 62,395 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,479 ล้านบาทต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม Outright 43,945 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.7 อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมของ พันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทน ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี และมากกว่า 10 ปี ปรับตัวลดลง 1-12 basis point ขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 2-7 ปี อัตราผลตอบแทน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0-2 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) ของ พันธบัตรรัฐบาลและดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ สัปดาห์ก่อน
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ เนื่องจาก ปลายสัปดาห์เป็นช่วงวันหยุดคริสต์มาส จึงไม่มีความเคลื่อนไหวมาก นัก โดย ณ สิ้นสัปดาห์ (23 ธ.ค.) US Treasury Yield อายุ 2-5 ปี เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ US Treasury Yield อายุต่ำกว่า 1 ปี และมากกว่า 7 ปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.96 - 39.11 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.01 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ แม้ว่าเงินสกุลภูมิภาคจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่จากปัจจัยกดดันภายในประเทศ ทั้งนี้
เนื่องจากเงินบาทได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบ
กับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรและปรับสมดุลฐานะเงินตราของนักลงทุนในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับนักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณ โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดไม่ได้ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ยังอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลงในขณะที่ US Treasury Yield ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากแรงเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาด ต่างประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการ เตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อปิดสำรองรายปักษ์ในวัน พุธ และการเตรียมสภาพคล่องล่วงหน้าเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสด ของลูกค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการ กู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 1.875 และ 1.96875 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.90625 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินไหลเข้า จากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือนในช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้สภาพ คล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 1.95 และอัตรา กลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.68 - 1.9 ต่อปี ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9 - 1.91 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,500 ล้านบาท โดย เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ FIDF1 อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสาร หนี้ทุกประเภทเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนค่อนข้างมาก การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ยังคงหนาแน่น เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน มีมูลค่าซื้อขายเท่ากับ 62,395 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,479 ล้านบาทต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม Outright 43,945 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.7 อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมของ พันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทน ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี และมากกว่า 10 ปี ปรับตัวลดลง 1-12 basis point ขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 2-7 ปี อัตราผลตอบแทน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0-2 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) ของ พันธบัตรรัฐบาลและดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ สัปดาห์ก่อน
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ เนื่องจาก ปลายสัปดาห์เป็นช่วงวันหยุดคริสต์มาส จึงไม่มีความเคลื่อนไหวมาก นัก โดย ณ สิ้นสัปดาห์ (23 ธ.ค.) US Treasury Yield อายุ 2-5 ปี เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ US Treasury Yield อายุต่ำกว่า 1 ปี และมากกว่า 7 ปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.96 - 39.11 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.01 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ แม้ว่าเงินสกุลภูมิภาคจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่จากปัจจัยกดดันภายในประเทศ ทั้งนี้
เนื่องจากเงินบาทได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบ
กับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรและปรับสมดุลฐานะเงินตราของนักลงทุนในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับนักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อปัญหาการขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณ โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดไม่ได้ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-