ปริมาณผลผลิตลดลงในครึ่งแรกของปี แต่เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสาม
รวมทั้งปี 2548 ผลผลิตเกษตรลดลงเล็กน้อยแต่ราคาสูงขึ้นมาก
* การผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 6.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี จากผลกระทบภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง
และอ้อยโรงงานลดลง โดยที่เป็นผลกระทบรุนแรงในไตรมาสแรกซึ่งทำให้การผลิตภาคเกษตรรวมในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 8.7 แต่ผลกระทบภัยแล้ง
บรรเทาลงในไตรมาสที่สองและสาขาเกษตรหดตัวร้อยละ 4.2 และในไตรมาสที่สามสาขาเกษตรเริ่มขยายตัวเป็นครั้งแรกร้อยละ 4.4 หลังจากที่หด
ตัว 6 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากหมวดพืชผลขยายตัวสูงขึ้นมาก ขณะที่ปศุสัตว์และประมงชะลอตัวลง
* แต่ระดับราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยสูงขึ้นโดยเฉพาะราคายางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งทำให้รายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้น ใน 11 เดือน
แรกรายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 33.5 ในเดือนตุลาคมถึง
พฤศจิกายน
* โดยรวมทั้งปี 2548 คาดว่าสาขาเกษตรจะขยายตัวได้เล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจากการหดตัวค่อนข้างมากในครึ่งปีแรกทั้งนี้
เนื่องจากภาคเกษตรได้รับปัจจัยลบหลายประการ เช่น ปัญหาธรณีพิบัติภัยที่กระทบผลผลิตประมง ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กระทบ
ผลผลิตยางพารา ภาวะภัยแล้ง ปัญหาราคาน้ำมันแพง รวมทั้งการกลับมาแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
* สาขาเกษตรกรรมปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 จากผลผลิตพืชผลและปศุสัตว์ปีเพาะปลูก 2548/49 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เช่น ผลผลิตข้าวนาปี มันสำปะหลัง ลำไย ปาล์มน้ำมัน โคเนื้อ ไก่เนื้อ และสุกร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปี 2548 อยู่ในระดับสูง และปริมาณน้ำที่
กักเก็บในปีนี้พอเพียงสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
รวมทั้งมีการควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ดีขึ้น ส่วนผลผลลิตที่คาดว่าจะลดลง เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน กาแฟ หอม
หัวใหญ่ เนื่องจากบางชนิดราคาไม่ดี ต้นทุนการผลิตสูง รวมทั้งเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง เป็นต้น
* ผลผลิตสาขาประมงจะได้รับผลบวกจากการที่การส่งออกกุ้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่สหภาพยุโรปจะคืนสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) ให้
แนวโน้มปี 2549
ปริมาณน้ำในเขื่อน
ความจุล้าน มx3 % ความจุ ณ 1 ก.พ.47 % ความจุ ณ 28 ก.ย.48
เหนือ 23,612 65.2 72
ตอน. 7,607 54.2 76
กลาง 1,185 51.1 62
ตะวันตก 26,605 76.1 83
ตะวันออก 1,071 40.5 49
ใต้ 8,198 66.1 71
ที่มา : กรมชลประทาน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รวมทั้งปี 2548 ผลผลิตเกษตรลดลงเล็กน้อยแต่ราคาสูงขึ้นมาก
* การผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 6.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี จากผลกระทบภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง
และอ้อยโรงงานลดลง โดยที่เป็นผลกระทบรุนแรงในไตรมาสแรกซึ่งทำให้การผลิตภาคเกษตรรวมในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 8.7 แต่ผลกระทบภัยแล้ง
บรรเทาลงในไตรมาสที่สองและสาขาเกษตรหดตัวร้อยละ 4.2 และในไตรมาสที่สามสาขาเกษตรเริ่มขยายตัวเป็นครั้งแรกร้อยละ 4.4 หลังจากที่หด
ตัว 6 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากหมวดพืชผลขยายตัวสูงขึ้นมาก ขณะที่ปศุสัตว์และประมงชะลอตัวลง
* แต่ระดับราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยสูงขึ้นโดยเฉพาะราคายางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งทำให้รายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้น ใน 11 เดือน
แรกรายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 33.5 ในเดือนตุลาคมถึง
พฤศจิกายน
* โดยรวมทั้งปี 2548 คาดว่าสาขาเกษตรจะขยายตัวได้เล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจากการหดตัวค่อนข้างมากในครึ่งปีแรกทั้งนี้
เนื่องจากภาคเกษตรได้รับปัจจัยลบหลายประการ เช่น ปัญหาธรณีพิบัติภัยที่กระทบผลผลิตประมง ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กระทบ
ผลผลิตยางพารา ภาวะภัยแล้ง ปัญหาราคาน้ำมันแพง รวมทั้งการกลับมาแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
* สาขาเกษตรกรรมปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 จากผลผลิตพืชผลและปศุสัตว์ปีเพาะปลูก 2548/49 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เช่น ผลผลิตข้าวนาปี มันสำปะหลัง ลำไย ปาล์มน้ำมัน โคเนื้อ ไก่เนื้อ และสุกร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปี 2548 อยู่ในระดับสูง และปริมาณน้ำที่
กักเก็บในปีนี้พอเพียงสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
รวมทั้งมีการควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ดีขึ้น ส่วนผลผลลิตที่คาดว่าจะลดลง เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน กาแฟ หอม
หัวใหญ่ เนื่องจากบางชนิดราคาไม่ดี ต้นทุนการผลิตสูง รวมทั้งเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง เป็นต้น
* ผลผลิตสาขาประมงจะได้รับผลบวกจากการที่การส่งออกกุ้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่สหภาพยุโรปจะคืนสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) ให้
แนวโน้มปี 2549
ปริมาณน้ำในเขื่อน
ความจุล้าน มx3 % ความจุ ณ 1 ก.พ.47 % ความจุ ณ 28 ก.ย.48
เหนือ 23,612 65.2 72
ตอน. 7,607 54.2 76
กลาง 1,185 51.1 62
ตะวันตก 26,605 76.1 83
ตะวันออก 1,071 40.5 49
ใต้ 8,198 66.1 71
ที่มา : กรมชลประทาน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-