-สภาพคล่องในตลาดเงินค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากมีการประมูลพันธบัตร ธปท. เป็นจำนวนมาก และการสำรองภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย
-มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน(Yield )ขอพันธบัตรฯ ไทยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 39.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ โดยมีปัจจัยกดดันจากแรงเทขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศ และการคาดการณ์ว่าทางการจีน อาจไม่ปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะนี้ ขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยดูดซับสภาพคล่องได้แก่การประมูลพันธบัตร ธปท. ระหว่างสัปดาห์ถึง 32 พันล้านบาท ขณะที่มีการไถ่ถอนเพียง 8
พันล้านบาท ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์และเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 2.25 ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.28125 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 2-2.26 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 44,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 365 วัน วงเงินรวม 27,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท ที่ออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องเพิ่มเติม โดยเปิดประมูลในสัปดาห์นี้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้พันธบัตรรุ่นนี้มีวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยจะทยอยออกตั้งแต่เดือน พ.ค.- ก.ค. เดือนละ 10,000 ล้านบาท ถึงแม้อุปทานของตราสารที่เปิดประมูลจะเพิ่มขึ้น แต่อุปสงค์ยังมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้อัตรา
ผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกรุ่นปรับตัวลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์นี้เท่ากับ 21,474 ล้านบาทต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 จากสัปดาห์ก่อน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77.4 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีความต้องการลงทุนอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการประมูลพันธบัตรในตลาดแรก ในขณะที่พันธบัตรฯ ช่วงอายุ 2-5 ปี ปรับตัวขึ้น 1-4 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาล ลดลง 3 basis points .ส่วนหุ้นกู้เอกชนมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 37 basis points ตามปริมาณซื้อขายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 129 จากสัปดาห์ก่อน
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงทำให้ณ สิ้นสัปดาห์ พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5-8 basis points ส่วนพันธบัตรอายุมากกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 4-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างมากร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขดุลการค้าในเดือนมีนาคมขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ได้แก่ แรงเทขายเงินบาทเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ และการปฏิเสธข่าวของทางการจีนที่ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าอาจจะยังไม่มีการปรับค่าเงินหยวนในระยะนี้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 39.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ แม้ว่าเงินดอลลาร์ สรอ. จะถูกกดดันเช่นกันจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือนมีนาคมที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคหลังจากที่ธนาคารกลางฮ่องกงขยายช่วงการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ฮ่องกงเทียบกับ
ดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอีกครั้งจากการขายเงินบาทเพื่อทำกำไรของกลุ่มกองทุนในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ แม้ว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แต่เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน(Yield )ขอพันธบัตรฯ ไทยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 39.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ โดยมีปัจจัยกดดันจากแรงเทขายเงินบาทในตลาดต่างประเทศ และการคาดการณ์ว่าทางการจีน อาจไม่ปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะนี้ ขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยดูดซับสภาพคล่องได้แก่การประมูลพันธบัตร ธปท. ระหว่างสัปดาห์ถึง 32 พันล้านบาท ขณะที่มีการไถ่ถอนเพียง 8
พันล้านบาท ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์และเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 2.25 ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.28125 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 2-2.26 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 44,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 และ 15 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ 365 วัน วงเงินรวม 27,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท ที่ออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องเพิ่มเติม โดยเปิดประมูลในสัปดาห์นี้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้พันธบัตรรุ่นนี้มีวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยจะทยอยออกตั้งแต่เดือน พ.ค.- ก.ค. เดือนละ 10,000 ล้านบาท ถึงแม้อุปทานของตราสารที่เปิดประมูลจะเพิ่มขึ้น แต่อุปสงค์ยังมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้อัตรา
ผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกรุ่นปรับตัวลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์นี้เท่ากับ 21,474 ล้านบาทต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 จากสัปดาห์ก่อน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77.4 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีความต้องการลงทุนอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการประมูลพันธบัตรในตลาดแรก ในขณะที่พันธบัตรฯ ช่วงอายุ 2-5 ปี ปรับตัวขึ้น 1-4 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาล ลดลง 3 basis points .ส่วนหุ้นกู้เอกชนมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 37 basis points ตามปริมาณซื้อขายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 129 จากสัปดาห์ก่อน
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงทำให้ณ สิ้นสัปดาห์ พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5-8 basis points ส่วนพันธบัตรอายุมากกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 4-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างมากร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขดุลการค้าในเดือนมีนาคมขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ได้แก่ แรงเทขายเงินบาทเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ และการปฏิเสธข่าวของทางการจีนที่ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าอาจจะยังไม่มีการปรับค่าเงินหยวนในระยะนี้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 39.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ แม้ว่าเงินดอลลาร์ สรอ. จะถูกกดดันเช่นกันจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือนมีนาคมที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคหลังจากที่ธนาคารกลางฮ่องกงขยายช่วงการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ฮ่องกงเทียบกับ
ดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอีกครั้งจากการขายเงินบาทเพื่อทำกำไรของกลุ่มกองทุนในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ แม้ว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แต่เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-