แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นในวันอังคารก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ ก่อนจะกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 -- 4.90625 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ
Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ
พันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ แต่ยังแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน จากเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลัก
ทรัพย์ ตลอดจนการประกาศกระจายทุนสำรองระหว่างประเทศของทางการจีน อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี หลังจากธปท. มี
มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันทางจิตวิทยา
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ขาดดุลเคลียริ่งและเงินสดสำรองอยู่ต่ำกว่า
เกณฑ์เฉลี่ยมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ
4.9375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพ
คล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่สถาบันการเงินยังไม่เร่งสำรองเงินมากนัก ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้รับสภาพคล่องจากการเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย จึงทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อ
คืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.875 - 4.90625 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ
14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.75 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode)
ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 32,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000
ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มี
อัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
อายุ 9 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 22,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น
10,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 150,764 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30,153 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 41 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 75 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลดลง ตามความต้องการลงทุนที่มี
เข้ามามากขึ้น ประกอบกับอัตราผลตอบแทนจากการประมูลพันธบัตรฯ ในตลาดแรกที่ลดต่ำลง ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนอีก 2-9 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 34 และ 25 basis
point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ จากสัญญาณการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคที่ลดต่ำลงอีกทั้งผลการเลือกตั้งทำให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรฯ มากขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลด
ลง 5-13 basis points ในขณะที่พันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 49 37.30
เฉลี่ย 30 ต.ค. - 3 พ.ย. 49 36.67
6 พ.ย. 49 36.69
7 พ.ย. 49 36.62
8 พ.ย. 49 36.62
9 พ.ย. 49 36.68
10 พ.ย. 49 36.60
เฉลี่ย 6 - 10 พ.ย. 49 36.64
เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ ระหว่าง 36.60 - 36.69 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่
36.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับอ่อนค่าลงจากปลาย
สัปดาห์ก่อนเล็กน้อยตามค่าเงินภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากภาวะการจ้างงานโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าตัวเลขการจ้างงาน
นอกภาคเกษตรในเดือน ต.ค. จะออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ จากการซื้อสุทธิของ
นักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี ตามค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ประกอบ
กับมีปัจจัยกดดันทางจิตวิทยาจากมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท. พร้อมทั้งคำกล่าวยืนยันจากผู้ว่า ธปท. ว่าจะออกมาตรการ
แทรกแซงค่าเงินบาทต่อไปตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนที่ไหลเข้าประเทศในระยะนี้ถูกนำไปใช้เพื่อเก็งกำไรค่าเงินและทำให้เงินบาท
แข็งค่าขึ้น
อีกในระยะต่อไป สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินภูมิภาคที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการประกาศกระจายทุนสำรอง
ระหว่างประเทศของทางการจีน โดยลดสัดส่วนเงินดอลลาร์ สรอ. และเปลี่ยนเป็นค่าเงินสกุลอื่นมากขึ้น ส่งผลให้เงินสกุลหลักอื่นๆ และเงินสกุลภูมิภาค
เอเชียปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 -- 4.90625 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ
Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ
พันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ แต่ยังแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน จากเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลัก
ทรัพย์ ตลอดจนการประกาศกระจายทุนสำรองระหว่างประเทศของทางการจีน อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี หลังจากธปท. มี
มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันทางจิตวิทยา
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ขาดดุลเคลียริ่งและเงินสดสำรองอยู่ต่ำกว่า
เกณฑ์เฉลี่ยมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ
4.9375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพ
คล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่สถาบันการเงินยังไม่เร่งสำรองเงินมากนัก ประกอบกับ
ธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้รับสภาพคล่องจากการเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย จึงทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง หนาแน่นในตลาดซื้อ
คืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.875 - 4.90625 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ
14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.75 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode)
ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 32,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000
ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มี
อัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
อายุ 9 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 22,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น
10,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 150,764 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30,153 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 41 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 75 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลดลง ตามความต้องการลงทุนที่มี
เข้ามามากขึ้น ประกอบกับอัตราผลตอบแทนจากการประมูลพันธบัตรฯ ในตลาดแรกที่ลดต่ำลง ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ
ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนอีก 2-9 basis points ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 34 และ 25 basis
point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ จากสัญญาณการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคที่ลดต่ำลงอีกทั้งผลการเลือกตั้งทำให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรฯ มากขึ้น ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลด
ลง 5-13 basis points ในขณะที่พันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 49 37.30
เฉลี่ย 30 ต.ค. - 3 พ.ย. 49 36.67
6 พ.ย. 49 36.69
7 พ.ย. 49 36.62
8 พ.ย. 49 36.62
9 พ.ย. 49 36.68
10 พ.ย. 49 36.60
เฉลี่ย 6 - 10 พ.ย. 49 36.64
เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ ระหว่าง 36.60 - 36.69 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่
36.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับอ่อนค่าลงจากปลาย
สัปดาห์ก่อนเล็กน้อยตามค่าเงินภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากภาวะการจ้างงานโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าตัวเลขการจ้างงาน
นอกภาคเกษตรในเดือน ต.ค. จะออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ จากการซื้อสุทธิของ
นักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี ตามค่าเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ประกอบ
กับมีปัจจัยกดดันทางจิตวิทยาจากมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท. พร้อมทั้งคำกล่าวยืนยันจากผู้ว่า ธปท. ว่าจะออกมาตรการ
แทรกแซงค่าเงินบาทต่อไปตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนที่ไหลเข้าประเทศในระยะนี้ถูกนำไปใช้เพื่อเก็งกำไรค่าเงินและทำให้เงินบาท
แข็งค่าขึ้น
อีกในระยะต่อไป สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินภูมิภาคที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการประกาศกระจายทุนสำรอง
ระหว่างประเทศของทางการจีน โดยลดสัดส่วนเงินดอลลาร์ สรอ. และเปลี่ยนเป็นค่าเงินสกุลอื่นมากขึ้น ส่งผลให้เงินสกุลหลักอื่นๆ และเงินสกุลภูมิภาค
เอเชียปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-