- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 -- 4.875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ ร้อยละ 4.96875 และ 5 ต่อปี ตามลำดับ
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยลดลง ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นมากตามค่าเงินภูมิภาค และเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานในเดือน ก.ค. ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ตลอดจนการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมของ Fed
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนลดลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการขาดดุลเคลียริ่งหรือต้องการดำรงเงินสดสำรองสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งนำเงินที่ได้รับจากเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาลงทุน หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ณ สิ้นสัปดาห์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.05 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 4.94 - 4.95 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 64,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมูลสำหรับสัปดาห์หน้าจำนวน 20,000 ล้านบาท เนื่องจากวันจันทร์ในสัปดาห์ถัดไปเป็นวันหยุดธนาคาร และมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 22,080 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 41,920 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 161,699 ล้านบาท คิดเป็น 32,340 ล้านบาทต่อวัน ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 69 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยปรับตัวลดลงมากในวันจันทร์ตามการปรับลงของ US Treasury Yield เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และยังคงปรับลดลงต่อเนื่องในระหว่างสัปดาห์จากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจถึงระดับสูงสุดแล้ว ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในปลายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 4-8 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 21 และ 17 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์หลังจากที่ลดลงมากในวันศุกร์ที่แล้ว และหลังจากที่ Fed ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันอังคาร US Treasury Yield ปรับตัวลดลงไม่มากนักเนื่องจากตลาดได้ปรับตัวไปก่อนหน้าแล้ว แต่มาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในวันศุกร์เนื่องจากการประกาศตัวเลขการค้าปลีกที่สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 49 37.96
เฉลี่ย 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 49 37.83
7 ส.ค. 49 37.70
8 ส.ค. 49 37.69
9 ส.ค. 49 37.59
10 ส.ค. 49 37.49
11 ส.ค. 49 37.32
เฉลี่ย 4 -11 ส.ค. 49 37.56
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปีครึ่งที่ระดับ 37.32 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยนจากการเก็งกำไรค่าเงินหยวน หลังจากธนาคารจีนระบุว่าจะดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเกิดความสมดุลมากขึ้น ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ทั้งเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทย โดยผู้ว่า ธปท. ระบุว่าเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นมากในระยะนี้ พร้อมทั้งกล่าวเป็นนัยว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกในระยะต่อไป แต่ ธปท. จะมีการดูแลการเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ค่าเงินมีการปรับตัวอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เงินบาทไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากสถานการณ์การวางแผนก่อการร้ายในประเทศอังกฤษระหว่างช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจาก ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ค.ออกมาต่ำการคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีปัจจัยกดดันสำคัญจากการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ไว้ที่ระดับเดิม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดในวันที่ 8 ส.ค.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยลดลง ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นมากตามค่าเงินภูมิภาค และเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานในเดือน ก.ค. ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ตลอดจนการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมของ Fed
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนลดลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการขาดดุลเคลียริ่งหรือต้องการดำรงเงินสดสำรองสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่เร่งสำรองเงินสดมากนัก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งนำเงินที่ได้รับจากเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาลงทุน หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ณ สิ้นสัปดาห์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.05 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 4.94 - 4.95 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 64,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมูลสำหรับสัปดาห์หน้าจำนวน 20,000 ล้านบาท เนื่องจากวันจันทร์ในสัปดาห์ถัดไปเป็นวันหยุดธนาคาร และมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 22,080 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 41,920 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 161,699 ล้านบาท คิดเป็น 32,340 ล้านบาทต่อวัน ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 69 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยปรับตัวลดลงมากในวันจันทร์ตามการปรับลงของ US Treasury Yield เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และยังคงปรับลดลงต่อเนื่องในระหว่างสัปดาห์จากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจถึงระดับสูงสุดแล้ว ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในปลายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 4-8 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 21 และ 17 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์หลังจากที่ลดลงมากในวันศุกร์ที่แล้ว และหลังจากที่ Fed ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันอังคาร US Treasury Yield ปรับตัวลดลงไม่มากนักเนื่องจากตลาดได้ปรับตัวไปก่อนหน้าแล้ว แต่มาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในวันศุกร์เนื่องจากการประกาศตัวเลขการค้าปลีกที่สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 49 37.96
เฉลี่ย 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 49 37.83
7 ส.ค. 49 37.70
8 ส.ค. 49 37.69
9 ส.ค. 49 37.59
10 ส.ค. 49 37.49
11 ส.ค. 49 37.32
เฉลี่ย 4 -11 ส.ค. 49 37.56
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 0.7 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปีครึ่งที่ระดับ 37.32 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยนจากการเก็งกำไรค่าเงินหยวน หลังจากธนาคารจีนระบุว่าจะดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเกิดความสมดุลมากขึ้น ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ทั้งเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทย โดยผู้ว่า ธปท. ระบุว่าเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นมากในระยะนี้ พร้อมทั้งกล่าวเป็นนัยว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกในระยะต่อไป แต่ ธปท. จะมีการดูแลการเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ค่าเงินมีการปรับตัวอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เงินบาทไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากสถานการณ์การวางแผนก่อการร้ายในประเทศอังกฤษระหว่างช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจาก ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ค.ออกมาต่ำการคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังมีปัจจัยกดดันสำคัญจากการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ไว้ที่ระดับเดิม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดในวันที่ 8 ส.ค.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-