สภาพัฒน์เริ่มกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 จัดเวทีระดมความเห็นประชาชนระดับชุมชน ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ 36 ตำบล 108 หมู่บ้าน จากทุกระดับการพัฒนา เพื่อหามุมมองในการเตรียมรับการเปลี่ยนแปลง และการสร้างภูมิคุ้มกัน
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็น
ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา และในช่วงเดือนกันยายน 2548-มกราคม 2549 ก็จะเริ่มทยอยระดมความคิดเห็นในระดับภูมิภาค โดยจะเชิญทุกภาคส่วนและหลากหลายกลุ่มอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนตั้งแต่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนและสามารถสะท้อนถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในยุคโลกา
ภิวัตน์ หลังจากนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 จะจัดทำร่างแผนฯ 10 และนำกลับไประดมความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่งในภูมิภาค โดยผลการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้จะนำไปให้สภาผู้นำชุมชน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ใช้เป็นแนวทาง
ในการพัฒนาประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 -30 กันยายน 2554
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ สศช. ได้เริ่มกระบวนการระดมความเห็นจากประชาชนระดับชุมชน โดยคัดเลือกหมู่บ้านทุกระดับการพัฒนาจาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ภูมิภาคละ 3 จังหวัดๆ ละ 2 ตำบลๆ ละ 3 หมู่บ้าน รวม 108 หมู่บ้านๆ ละประมาณ 20-30 คน โดยใช้วิธีการจัดเวทีระดมความเห็นจากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป เพื่อต้องการทราบและสะท้อนมุมมองที่หลากหลายว่า ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในบริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่จะกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนมากน้อยเพียงใด และจะมีการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มีการสร้างภูมิคุ้มกันทั้งในส่วนของตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างไร รวมทั้งเรียนรู้จุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละชุมชนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
ทั้งนี้ กระบวนการระดมความคิดเห็นดังกล่าว นอกจากระดับชุมชนแล้ว ยังจะดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เช่น นักธุรกิจ และข้าราชการ หลังจากนั้นจะจัดเวทีระดมความคิดในระดับภูมิภาคและส่วนกลางภายในเดือนธันวาคม 2548 โดย สศช. จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มต่างๆ มาสังเคราะห์เป็นภาพรวมสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป
“ในการประชุมประจำปีของสำนักงานฯ ท่านนายกฯ ได้มอบให้เราคิดว่าการเดินหน้าในแผนยุทธศาสตร์ ต้อง รู้เขา รู้เรา รู้รอบด้าน วันนี้เรายังไม่รู้เลยว่า เขา คือ พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ในหมู่บ้านเข้าใจในสิ่งที่เรารู้อย่างไร วันนี้เราอาจจะรู้เราแล้ว เพราะทำสัมมนามามาก แต่เรายังไม่รู้เขา แล้วเขารู้รอบหรือยัง เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าไปค้นหา ซึ่งขบวนการนี้เป็นการลงไปดูแลจุดย่อยที่สุดของโครงสร้างสังคมคือครัวเรือน” เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็น
ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา และในช่วงเดือนกันยายน 2548-มกราคม 2549 ก็จะเริ่มทยอยระดมความคิดเห็นในระดับภูมิภาค โดยจะเชิญทุกภาคส่วนและหลากหลายกลุ่มอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนตั้งแต่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนและสามารถสะท้อนถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในยุคโลกา
ภิวัตน์ หลังจากนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 จะจัดทำร่างแผนฯ 10 และนำกลับไประดมความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่งในภูมิภาค โดยผลการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้จะนำไปให้สภาผู้นำชุมชน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ใช้เป็นแนวทาง
ในการพัฒนาประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 -30 กันยายน 2554
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ สศช. ได้เริ่มกระบวนการระดมความเห็นจากประชาชนระดับชุมชน โดยคัดเลือกหมู่บ้านทุกระดับการพัฒนาจาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ภูมิภาคละ 3 จังหวัดๆ ละ 2 ตำบลๆ ละ 3 หมู่บ้าน รวม 108 หมู่บ้านๆ ละประมาณ 20-30 คน โดยใช้วิธีการจัดเวทีระดมความเห็นจากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป เพื่อต้องการทราบและสะท้อนมุมมองที่หลากหลายว่า ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในบริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่จะกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนมากน้อยเพียงใด และจะมีการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มีการสร้างภูมิคุ้มกันทั้งในส่วนของตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างไร รวมทั้งเรียนรู้จุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละชุมชนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
ทั้งนี้ กระบวนการระดมความคิดเห็นดังกล่าว นอกจากระดับชุมชนแล้ว ยังจะดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เช่น นักธุรกิจ และข้าราชการ หลังจากนั้นจะจัดเวทีระดมความคิดในระดับภูมิภาคและส่วนกลางภายในเดือนธันวาคม 2548 โดย สศช. จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มต่างๆ มาสังเคราะห์เป็นภาพรวมสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป
“ในการประชุมประจำปีของสำนักงานฯ ท่านนายกฯ ได้มอบให้เราคิดว่าการเดินหน้าในแผนยุทธศาสตร์ ต้อง รู้เขา รู้เรา รู้รอบด้าน วันนี้เรายังไม่รู้เลยว่า เขา คือ พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ในหมู่บ้านเข้าใจในสิ่งที่เรารู้อย่างไร วันนี้เราอาจจะรู้เราแล้ว เพราะทำสัมมนามามาก แต่เรายังไม่รู้เขา แล้วเขารู้รอบหรือยัง เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าไปค้นหา ซึ่งขบวนการนี้เป็นการลงไปดูแลจุดย่อยที่สุดของโครงสร้างสังคมคือครัวเรือน” เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-