- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ พันธบัตรฯ ไทย และสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ตามค่าเงินภูมิภาค ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ส่วนหนึ่งจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. เผชิญแรงกดดันก่อนการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-7 ในช่วงปลายสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำส่งรายได้จากภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ภาครัฐ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ดำรงเงินสดสำรองต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยลดความต้องการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ในระดับเดิมในวันพุธ หลังจากสถาบันการเงินทยอยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.96875 และ 5 ต่อปี ตลอดช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องกลับมาตึงตัวขึ้นอีกครั้ง โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อสำรองเงินเผื่อการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสุดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากกลางสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.7- 4.99 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 6 8 และ 10 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,500 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 12,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 106,925 ล้านบาท คิดเป็น 21,385 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 36 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน และปรับตัวสูงขึ้นในวันพุธ เนื่องจากมีแรงขายพันธบัตรฯ เพื่อทำกำไร ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-6 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 17 และ 13 basis point ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหลังจากผู้บริหารธนาคารกลางสหรัฐออกมาให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ที่ลดลง ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ Fed อาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่อไป ส่งผลให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 4 - 8 ก.ย. 49 37.33
11 ก.ย. 49 37.40
12 ก.ย. 49 37.42
13 ก.ย. 49 37.38
14 ก.ย. 49 37.30
15 ก.ย. 49 37.27
เฉลี่ย 11 - 15 ก.ย. 49 37.35
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้วตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. กลับมาแข็งค่าขึ้นจากการซื้อคืนทางเทคนิคหลังจากที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมากในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากความเห็นในเชิงสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ สำหรับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการแข็งค่าของเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. เผชิญแรงกดดันก่อนการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-7 ในช่วงปลายสัปดาห์ ที่คาดว่าจะมีการหารือเรื่องความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าเกินไปของเงินเยน อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทผู้นำเข้าภายในประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ พันธบัตรฯ ไทย และสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ตามค่าเงินภูมิภาค ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ส่วนหนึ่งจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. เผชิญแรงกดดันก่อนการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-7 ในช่วงปลายสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำส่งรายได้จากภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ภาครัฐ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ดำรงเงินสดสำรองต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยลดความต้องการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ในระดับเดิมในวันพุธ หลังจากสถาบันการเงินทยอยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.96875 และ 5 ต่อปี ตลอดช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องกลับมาตึงตัวขึ้นอีกครั้ง โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อสำรองเงินเผื่อการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสุดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากกลางสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.7- 4.99 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 6 8 และ 10 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,500 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 12,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 106,925 ล้านบาท คิดเป็น 21,385 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 36 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน และปรับตัวสูงขึ้นในวันพุธ เนื่องจากมีแรงขายพันธบัตรฯ เพื่อทำกำไร ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์อัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-6 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 17 และ 13 basis point ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหลังจากผู้บริหารธนาคารกลางสหรัฐออกมาให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ที่ลดลง ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ Fed อาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่อไป ส่งผลให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 4 - 8 ก.ย. 49 37.33
11 ก.ย. 49 37.40
12 ก.ย. 49 37.42
13 ก.ย. 49 37.38
14 ก.ย. 49 37.30
15 ก.ย. 49 37.27
เฉลี่ย 11 - 15 ก.ย. 49 37.35
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้วตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. กลับมาแข็งค่าขึ้นจากการซื้อคืนทางเทคนิคหลังจากที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงมากในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากความเห็นในเชิงสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ สำหรับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการแข็งค่าของเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. เผชิญแรงกดดันก่อนการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-7 ในช่วงปลายสัปดาห์ ที่คาดว่าจะมีการหารือเรื่องความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าเกินไปของเงินเยน อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทผู้นำเข้าภายในประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-