บทสรุปผู้บริหาร
ไต้หวันเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกับไทยทั้งทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยไต้หวันในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Countries) และนับเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก มีเงินสำรองสูงเป็นอันดับสามของโลก และเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับสองของโลก ทั้งนี้ ไต้หวันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา
จากในช่วงแรกที่เน้นการพึ่งตนเอง และต่อเนื่องไปถึงยุคการพัฒนาที่มุ่งขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบา พัฒนาอุตสาหกรรมหนัก เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และพัฒนาเทคโนโลยีไฮเทค จนกระทั่งในปัจจุบันที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่ Green Silicon Island
การเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศไต้หวันครั้งนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อศึกษาถึงภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ได้มีการเดินทางไปดูงานในหน่วยงานระดับวางแผน 2 แห่ง ได้แก่ หน่วยงานวางแผนชาติ (Council for Economic Planning and Development-CEPD) และหน่วยงานวางแผนอุตสาหกรรม (Industrial Development Bureau-IDB) นอกจากนี้ ในระดับปฏิบัติได้มีโอกาสดูงาน 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs (Small and Medium Enterprise Administration--SMEA) การเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (China Productivity Center-CPC) และอุทยานวิทยาศาสตร์ (Hsinchu Science Park -- HSP) ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญของการดูงานได้ดังนี้
1. การวางแผนชาติ
1.1 ไต้หวันเป็นประเทศที่มีความต่อเนื่องในกระบวนการวางแผนพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการผลักดันการพัฒนาให้ก้าวไกล โดยมี Council for Economic Planning and Development (CEPD) ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนชาติทำหน้าที่ดูแลการวางแผนทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว ทั้งนี้ ขอบเขตความรับผิดชอบของ CEPD มีความใกล้เคียงกับ สศช. ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยโครงสร้างองค์กรประกอบด้วยสำนักต่างๆ อาทิ การวางแผนส่วนรวม การวางแผนรายสาขา การพัฒนากำลังแรงงาน การพัฒนาเมืองและการเคหะ การเงิน การติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งมีสำนักวิจัยเศรษฐกิจที่มีการวิเคราะห์วิจัยประเด็นเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศรวมอยู่ด้วย
1.2 CEPD มีคณะกรรมการบริหารที่เรียกว่า the council ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการเมืองเป็นหลัก โดยตำแหน่งประธานและรองประธานมาจากการแต่งตั้งของฝ่ายการเมือง และคณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีจากหน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ก.คลัง ก.คมนาคม ก.เศรษฐกิจ เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ ผู้ว่าการธนาคารชาติ เลขานุการคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าสำนักงบประมาณ ประธานคณะกรรมการการก่อสร้างภาครัฐ ประธานคณะกรรมการสภาแรงงาน และประธานคณะกรรมการดูแลการเงิน เป็นต้น ดังนั้น จากการที่คณะกรรมการบริหารมาจากภาคการเมืองเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงการวางแผนการพัฒนาเข้ากับนโยบายจากฝ่ายการเมืองได้เป็นอย่างดี และสามารถผลักดันนโยบายของรัฐให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ เนื่องจากมีการติดตามและหารือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการบริหารได้โดยตรง
1.3 แนวคิดและขั้นตอนการจัดทำแผนชาติของไต้หวันมีความคล้ายคลึงกับไทยค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม แนวคิด "การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน" ยังไม่ปรากฏชัดเจนเท่าไรนัก นอกจากนี้ แผนพัฒนาของไต้หวันยังประกอบด้วยแผนการดำเนินงานที่มีการกำหนดงบประมาณในการลงทุน และมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นตัวเลขที่ประเมินได้ ทั้งนี้ การจัดทำแผนพัฒนาของไต้หวันมีขั้นตอนหลัก ดังนี้
รวบรวมข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ
|
จัดทำแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค
|
กำหนดเป้าหมายและลำดับความสำคัญในการพัฒนา โดยมีข้อสังเกตว่าการกำหนดเป้าหมายของไต้หวันต้องคำนึงถึงกรอบนโยบายของประธานาธิบดีเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องนำข้อมูลจากภาคอื่นๆ อาทิ ภาคธุรกิจ ประชาชน นักวิชาการ และผลการศึกษาต่างๆ มาประกอบการจัดทำกรอบดังกล่าวด้วย
|
ร่างแผนเศรษฐกิจมหภาค และแผนรายสาขา
|
ปรับปรุง
|
นำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
2. การพัฒนาอุตสาหกรรม
2.1 จุดเด่นที่ทำให้ไต้หวันพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีได้ประสบความสำเร็จคือ
1) บทบาทภาครัฐและเอกชน: โดยภาคเอกชนของไต้หวันมีศักยภาพสูง ในขณะที่ภาครัฐมีบทบาทในการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของภาคเอกชนเป็นสำคัญ จึงทำให้การพัฒนาประสบความสำเร็จจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาครัฐบาลและภาคเอกชน ดังนี้
* ภาครัฐบาล ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่รวมทั้งนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้ภาคเอกชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยการวางนโยบายเริ่มตั้งแต่การวางรากฐานการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม การอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการจนถึงการส่งออก อาทิ พัฒนาระบบการศึกษาให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการดำเนินกิจการ และรัฐบาลยังสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากในการลงทุนด้าน R&D
* ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชน ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการศึกษา ใฝ่รู้ในเชิงวิชาการและทักษะทางอาชีพ อีกทั้งมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงานสูง ในขณะที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา โดยภาครัฐจะลงทุนกับการศึกษาในสัดส่วนที่สูง และมุ่งผลิตบุคลากรสาขาวิศวกร (engineer) เป็นส่วนใหญ่ หรือประมาณร้อยละ 58 ของบุคลากรในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งภาครัฐยังมีโครงการกระตุ้นชาวไต้หวันที่เก่งและฉลาดที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาให้อพยพ (migrate) กลับมาทำธุรกิจด้าน IT ในไต้หวัน
นอกจากนี้ การพัฒนา SMEs ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้ไต้หวันมีการพัฒนาที่ก้าวไกล
2.2 การลงทุนของไต้หวันส่วนใหญ่จะมุ่งไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้นหากต้องการดึงดูดให้ชาวไต้หวันมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอาจทำได้ในรูปของการร่วมลงทุน (Joint Venture) ในสาขาที่ไต้หวันมีความก้าวหน้าสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) เนื่องจากไต้หวันมีการทำวิจัยพัฒนา และมีการให้การอุดหนุน (subsidy) รวมทั้งยังมีมาตรการปิดกั้นทางการค้าสำหรับสินค้าด้านเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่ง จึงทำให้ไต้หวันมีผลผลิตด้านเกษตรที่มีคุณภาพสูง
3. การพัฒนา SMEs
3.1 นับตั้งแต่ประเทศไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกกับองค์การค้าโลกก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้ ทำให้การพัฒนา SMEs ของไต้หวันได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SMEs ของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นกิจการทางด้านอุตสาหกรรมที่มีระดับเทคโนโลยีและมูลค่ากิจการที่ค่อนข้างสูง
3.2 ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs ในไต้หวันประกอบด้วย การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ การฝึกอบรมแรงงานให้รองรับการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมและการบริการระดับไฮเทค และระบบการเงินที่รองรับการดำเนินธุรกิจ
4. การเพิ่มผลผลิต
4.1 ไต้หวันมีสถาบันที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยกลไกสำคัญในการดำเนินงานของสถาบันคือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล และการติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้สามารถให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการต่างๆ ได้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของประเทศ พร้อมทั้งสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกได้ นอกจากนี้จะมีการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่เสมอ เพื่อให้รองรับนโยบายการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งปัจจุบันเป็นช่วงของการมุ่งไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
4.2 กลไกที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือให้ความสำคัญกับการเผชิญสิ่งท้าทายในกระแสโลกาภิวัตน์ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับการโยกย้าย การผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก อาทิ ประเทศจีน ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมประเทศที่จะก้าวไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
5. อุทยานวิทยาศาสตร์
5.1 การดำเนินการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ของไต้หวันนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งในแง่จำนวนกิจการที่เข้ามาลงทุนและยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยในการบริหารอุทยานมีหลักการว่าจะต้องจัดระบบการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ทั้งสำหรับการทำงาน และการอยู่อาศัย โดยการจัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ดีและมีมาตรฐานสูงไว้รองรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุนและใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งยังเน้นการให้บริการธุรกิจในเรื่องการจัดตั้งกิจการ ทั้งในเรื่องการวางแผน การลงทุน การก่อสร้าง การจัดหาแรงงาน และระบบความปลอดภัย เป็นต้น
5.2 ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเข้ามาดำเนินกิจการในเขตอุทยานก็เนื่องจากมีระบบภาษีอัตราพิเศษที่ช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุน รวมทั้งยังมีสถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันการศึกษาอยู่รายรอบ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนเพื่อใช้ในกิจการ พร้อมทั้งรัฐบาลยังได้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิจัยระดับชาติขึ้นในบริเวณใกล้เคียง เพื่อพัฒนางานด้านวิจัยและการฝึกอบรม
6. ประเด็นทั่วไป
6.1 ความจริงจัง มีวินัย และรับผิดชอบในการทำงานอย่างสูงของชาวไต้หวันเห็นได้จากการติดต่อประสานงานก่อนการเดินทาง และการต้อนรับที่มีการเตรียมการเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังพบว่าทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าเยี่ยมเป็นอย่างมาก โดยจะมีวีดิทัศน์นำเสนอก่อนบรรยายสรุป ซึ่งทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเข้าใจภาพรวมและภารกิจองค์กรได้ด้วยเวลาอันสั้น อีกทั้งเวบไซต์ของหน่วยงานก็มีข้อมูลที่ดีเป็นประโยชน์ รวมทั้งผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ที่ให้การต้อนรับดูแลคณะเดินทางล้วนแต่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการบรรยายสรุป การตอบประเด็นข้อซักถาม และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่ดีที่มีต่อประเทศไทย
6.2 สภาพทั่วไปของเมืองหลวงค่อนข้างแออัดมีการจราจรหนาแน่น แต่สามารถเคลื่อนตัวได้ เนื่องจากระบบผังเมืองที่ค่อนข้างเป็นระบบ รวมทั้งมีการใช้ระบบรถเมล์ด่วนพิเศษ หรือที่ เรียกว่าระบบ Mass Rapid Transit (MRT) เช่นที่ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการริเริ่มดำเนินการทดลองใช้ ซึ่งจากการสังเกตพบว่าประชาชนนิยมใช้บริการมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน นอกจากนี้ เนื่องจากประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก การจราจรนอกเมืองก็ยังค่อนข้างหนาแน่นเช่นกัน
แนวทางการพัฒนาที่ผ่านมาและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไต้หวัน
ไต้หวันเป็นประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Countries) ที่มีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกับไทยทั้งทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยเอกสารนี้เป็นการสรุปแนวทางการพัฒนาและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไต้หวัน ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ไต้หวัน เป็นประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Country) ใช้ภาษาจีนกลาง (Mandarin) เป็นภาษาราชการ ประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน มีเมืองหลวงคือไทเป เมืองสำคัญ ได้แก่ เกาสง (Kaohsiung) ซึ่งเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางธุรกิจทางภาคใต้ และ จีหลง (Keelung) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดทางภาคเหนือ
1.2 การเมือง
1) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian)
2) โครงสร้างระบบการบริหารประเทศ มี 5 สภา ได้แก่ (1) สภานิติบัญญัติ เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน (2) สภาบริหาร (ครม.) จัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง (3) สภาตุลาการ ทำหน้าที่ในการตีความกฎหมาย (4) สภาตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งข้าราชการ นักการเมือง และรัฐวิสาหกิจ (5) สภาสอบคัดเลือก ทำหน้าที่ในการสอบคัดเลือกข้าราชการ
1.3 นโยบายต่างประเทศ
1) ไต้หวันมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศภายใต้กรอบนโยบายจีนเดียว ทำให้ไต้หวันมีนโยบายเน้นการกระชับความสัมพันธ์ในกรอบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน กับประเทศต่างๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน โดยไต้หวันดำเนินนโยบาย มุ่งสู่ใต้ (Go South Policy) ต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมให้ชาวไต้หวันมาลงทุนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ไต้หวันต้องพึ่งพาจีนและใช้เศรษฐกิจเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ในกรอบเวทีระหว่างประเทศที่ไต้หวันเป็นสมาชิก ได้แก่ APEC , WTO และไต้หวันยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ 25 ประเทศ เช่น Costa Rica , EL Salvador , Haiti , Honduras , Solomon Islands , Swaziland , Panama เป็นต้น
2) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและไต้หวัน เนื่องจากเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ไทยยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียว และไต้หวันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีน หรือที่เรียกว่า "นโยบายจีนเดียว" ไทยจึงยุติการติดต่อที่เป็นทางการกับไต้หวัน แต่ยังคงมีการติดต่อเป็นปกติในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยมีช่องทางการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการผ่านสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ที่ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ที่เมืองไทเป ไต้หวัน
2. การพัฒนาที่ผ่านมา
2.1 การพัฒนาในแต่ละช่วงทศวรรษ
ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านไต้หวันมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพด้านราคา และการกระจายรายได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมาตลอด จนกระทั่งปี 2001 ที่เริ่มมีปัญหาการว่างงานสูงขึ้น นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังมีการพัฒนาจากการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ไปสู่การผลิตแบบใช้ทุนและเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนการพัฒนาได้แก่นโยบาย ภาครัฐที่มีความยืดหยุ่นและสามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการส่งเสริม ความมั่นคงทางสังคมและการเมือง รวมทั้งการใช้กลยุทธ์การพัฒนาแบบ outward-looking
1) ทศวรรษ 1950: เน้นเสถียรภาพและการพึ่งตนเอง ให้ความสำคัญกับความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการผลิตอาหาร โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และมีการใช้มาตรการควบคุมทางภาษีและการนำเข้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ รวมทั้งมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสาขาการผลิตอาหาร รักษาระดับราคาอาหาร และส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งโดยสรุปการพัฒนาทศวรรษนี้มีดังนี้
* มีการวางแผนการพัฒนาหลังจากจบยุคการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงคราม
* มีการปฏิรูปที่ดิน กระตุ้นการผลิตภาคเกษตร และส่งเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจ
* พัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าโดยใช้แรงงานเป็นหลัก
2) ทศวรรษ 1960: ขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบา เป็นยุคของการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและเพื่อการส่งออก เนื่องจากมีต้นทุนแรงงานต่ำ โดยรัฐบาลได้มีการปฏิรูปการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและระบบภาษี และมีการจัดตั้งเขตการผลิตเพื่อส่งออกเป็นครั้งแรก ประกอบกับมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงช่วยสนับสนุนการส่งออกของไต้หวันเป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก้าวหน้าในระดับสูง ซึ่งโดยสรุปการพัฒนาทศวรรษนี้มีดังนี้
* ส่งเสริมการออม การลงทุน และการส่งออก
* ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรใหม่ๆ
* พัฒนาอุตสาหกรรมการส่งออก และเขตการผลิตเพื่อการส่งออก
3) ทศวรรษ 1970: การพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากในยุคนี้ทำให้เกิดความต้องการภายในประเทศมากขึ้น ทั้งสินค้าเครื่องจักร อุปกรณ์ และสินค้าขั้นกลาง ซึ่งนำไปสู่การปรับโครงสร้างการผลิต นอกจากนั้น ในภาคอุตสาหกรรมยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น และเริ่มมีการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมหนัก โดยได้มีการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่
ใช้ทุนเป็นหลัก ซึ่งกลยุทธ์นี้ได้ช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศ และช่วยยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยสรุปการพัฒนาทศวรรษนี้มีดังนี้
* ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และขจัดคอขวดการคมนาคม
* ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตขั้นกลาง และพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
4) ทศวรรษ 1980: การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี ในช่วงต้นทศวรรษ ระบบเศรษฐกิจได้รับประโยชน์จากนโยบายการส่งเสริมการค้าและการเพิ่มของอุปทานสินค้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคเศรษฐกิจเป็นหลักในการพัฒนา รวมทั้งยังเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้สินค้าทุนและเทคโนโลยีสูงในการผลิต อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร ซึ่งโดยสรุปการพัฒนาในทศวรรษนี้มีดังนี้
* ปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มการลงทุน R&D
* ส่งเสริมการเปิดเสรีภาคเศรษฐกิจ และการก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติ
* สร้างความต้องการภายในประเทศ เพื่อลดการขาดดุลการค้า
5) ทศวรรษ 1990: การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและการกำหนดลำดับความสำคัญ เป็นช่วงของการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้
* ปี 1991 ไต้หวันได้เริ่มพัฒนาตามแผนการพัฒนาแห่งชาติหกปี (1991)
* ปี 1994 ได้ดำเนินการพัฒนา 12 โครงการหลัก ซึ่งครอบคลุมเรื่องการคมนาคม วัฒนาธรรมและการศึกษา ปรับปรุงคุณภาพชีวิต การพัฒนาแหล่งน้ำ และการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ
* ปี 1997-2000 เป็นช่วงของการพัฒนาตามแผนการพัฒนาแห่งชาติเพื่อนำไปสู่ศตวรรษใหม่ คือไปสู่สังคมอุตสาหกรรมใหม่ โดยมี 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืน นอกจากนี้ ในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ไต้หวันได้มีแผนกระตุ้นความต้องการภายในประเทศ และได้มีโปรแกรมเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจของไต้หวัน
* ช่วงศตวรรษใหม่กำลังมาเยือน ไต้หวันได้เตรียมการพัฒนาโดยเน้นทางด้านนวัตกรรม และการวางแผนและพัฒนา (innovation and R&D) เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนและยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม รวมทั้งจะมุ่งลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างโลจีสติกส์ และสภาพแวดล้อม
โดยสรุปการพัฒนาในทศวรรษนี้มีดังนี้
* ขยายการลงทุนภาครัฐ และปรับปรุงสภาวะการลงทุน
* เร่งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
* ควบคุมมลภาวะ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืน
* ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุลมากขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต
* พัฒนาไต้หวันเพื่อนำไปสู่ Asia-Pacific Regional Operation Center
6) ทศวรรษ 2000: การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่ Green Silicon Island
* ในช่วงแรกมีแผนพัฒนาแห่งชาติในช่วงศตวรรษใหม่ (2001-2004) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ และมีแผนการพัฒนาโลจีสติกส์ โดยมีแนวทางการพัฒนาหลักคือการเปิดเสรี การก้าวสู่ความเป็นสากล และความเป็นระบบมาตรฐานในการพัฒนา เพื่อนำชาติไปสู่ dynamic silicon-based economy
* ปี 2002 ยังได้จัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาหกปี (the new six-year national development plan, challenge 2008) เพื่อมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
* ปี 2003 ภาครัฐได้ริเริ่มดำเนิน 10 โครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาดังกล่าว ภายใต้กรอบ 1) การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนวัตกรรมและ R&D 2) อุตสาหกรรมที่อิงกับวัฒนธรรมและการใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ 3) การวางระบบโลจีสติกส์ไปสู่นานาชาติ และ 4) การดูแลสภาวะแวดล้อมให้ให้ยั่งยืน กนี้
* ปี 2004 ในสมัยที่สองของประธานาธิบดี Chen รัฐบาลได้ร่างแผนชาติที่นำไปสู่ทศวรรษใหม่ระยะที่ 2 (2005-2008) และแนวโน้มปี 2015 โดยมุ่งพัฒนาชาติไปสู่ green silicon island และได้มีการสร้างฝัน (Taiwan Dream)
โดยสรุปการพัฒนาในทศวรรษนี้มีดังนี้
* พัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ และสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาด
* ส่งเสริมการพัฒนาภาคชุมชนที่มีความเอื้ออาทรและมีความมั่งคั่ง
* สนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และพัฒนา Supply-chain service เพื่อนำไปสู่ความเป็นผู้นำด้านโลจีสติกส์และพัสดุระดับนานาชาติ
* ดำเนินการตามแผนพัฒนา Challenge 2008 ที่มุ่งสู่ green silicon island
* วางแผน 10 โครงการหลัก เพื่อเป็นแนวทางการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ
* พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เน้นฐานความรู้ ความยั่งยืน และเท่าเทียมกัน
2.2 สรุปประเด็นการพัฒนาในแต่ละช่วงแผน
ไต้หวันได้มีการจัดทำแผนการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ในบางช่วงเวลายังได้มีการจัดทำแผนการพัฒนาพิเศษเพื่อรองรับหรือปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
3. สถานะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
3.1 เศรษฐกิจภายในประเทศ
1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2004 สูงถึงร้อยละ 5.7 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวดี ทำให้มีการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนสูง รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อัตราการว่างงานลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2005 การเติบโตได้ชะลอตัวค่อนข้างมากเหลือร้อยละ 2.5 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
2) โครงสร้างเศรษฐกิจ:
หน่วย: ร้อยละ
1986 2004 2008
บริการ 47.3 68.5 71.4
(การเงิน) (5.69) (11.49) (13)
อุตสาหกรรม 47.1 29.7 n.a.
(manufacturing) (39.35) (25.67) n.a.
เกษตร 5.6 1.7 n.a.
3) การค้าระหว่างประเทศ:
* มีการขยายตัวของการส่งออกนำเข้าในปี 2004 ค่อนข้างมากถึงร้อยละ 26 อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งแรกของปี 2005 การค้าระหว่างประเทศได้ขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 9.1 โดยในปี 2004 มีการเกินดุลการค้า 6.1 พันล้านเหรียญ สรอ. ส่วนในครึ่งปีแรกของปี 2005 เกินดุลจำนวน 0.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
* ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง จีน ในขณะที่มีการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
* สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ได้แก่สินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง (heavy & technology-intensive industry) ในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่ได้แก่วัตถุดิบ
4) การลงทุน: จากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้การลงทุนโดยรวมขยายตัวร้อยละ 15.4 ในปี 2004 ในขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2005 การลงทุนขยายตัวร้อยละ 11.9 โดยเป็นการขยายการลงทุนของภาคเอกชนถึงร้อยละ 15.5เนื่องจากมีการจัดซื้อเครื่องบินและรถไฟ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1
5) การผลิตในภาคอุตสาหกรรม: โดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ส่วนใหญ่เนื่องจากการผลิตในสาขา manufacturing ขยายตัวสูง อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2005 มีการขยายตัวลดลง 0.03 เนื่องจากการชะลอตัวของสาขา manufacturing และสาขาเหมือง
แร่ แต่ในสาขาก่อสร้างมีการขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.5
6) การจ้างงาน: ส่วนใหญ่อยู่ในภาคที่ไม่ใช่เกษตร โดยในปี 2002 มีอัตราการว่างงานสูงสุดถึงร้อยละ 5.17 แต่ก็ลดลงตามลำดับเหลือร้อยละ 4.14 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2005
3.2 ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ
1) ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อราคาสินค้าภายในประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงค่าเงินเหรียญสหรัฐกับอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินภายในประเทศ
2) การดำเนินการตาม Kyoto Protocal ที่ต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมของไต้หวัน อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมิคอล ซิเมนต์ กระดาษ และ เส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น
3) การส่งออกและการลงทุนในประเทศจีนได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ทางการเมืองยังไม่ก้าวหน้า นอกจากนี้ มาตรการที่จีนดำเนินการเพื่อป้องกันการ hard landing อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวัน
4) การขาดดุลการคลังในอดีต มีผลกระทบต่อการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายทางการคลัง
5) ความไม่พอเพียงของโครงสร้างพื้นฐานเป็นอุปสรรคในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
6) ระบบการเงินของประเทศที่มีธนาคารอยู่มากเกินไป ทำให้ต้องมีการแข่งขันกันสูงและแต่ละแห่งก็มีสัดส่วนตลาดไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งมีความจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงโดยด่วน
7) ความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนาแรงงาน โดยเฉพาะเรื่องการว่างงานที่ค่อนข้างสูง และความขาดแคลนแรงงานมีฝีมือระดับสูง
3.3 แนวนโยบาย
1) ด้านเศรษฐกิจ
(ยังมีต่อ)
ไต้หวันเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกับไทยทั้งทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยไต้หวันในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Countries) และนับเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก มีเงินสำรองสูงเป็นอันดับสามของโลก และเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับสองของโลก ทั้งนี้ ไต้หวันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา
จากในช่วงแรกที่เน้นการพึ่งตนเอง และต่อเนื่องไปถึงยุคการพัฒนาที่มุ่งขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบา พัฒนาอุตสาหกรรมหนัก เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และพัฒนาเทคโนโลยีไฮเทค จนกระทั่งในปัจจุบันที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่ Green Silicon Island
การเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศไต้หวันครั้งนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อศึกษาถึงภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ได้มีการเดินทางไปดูงานในหน่วยงานระดับวางแผน 2 แห่ง ได้แก่ หน่วยงานวางแผนชาติ (Council for Economic Planning and Development-CEPD) และหน่วยงานวางแผนอุตสาหกรรม (Industrial Development Bureau-IDB) นอกจากนี้ ในระดับปฏิบัติได้มีโอกาสดูงาน 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs (Small and Medium Enterprise Administration--SMEA) การเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (China Productivity Center-CPC) และอุทยานวิทยาศาสตร์ (Hsinchu Science Park -- HSP) ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญของการดูงานได้ดังนี้
1. การวางแผนชาติ
1.1 ไต้หวันเป็นประเทศที่มีความต่อเนื่องในกระบวนการวางแผนพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการผลักดันการพัฒนาให้ก้าวไกล โดยมี Council for Economic Planning and Development (CEPD) ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนชาติทำหน้าที่ดูแลการวางแผนทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว ทั้งนี้ ขอบเขตความรับผิดชอบของ CEPD มีความใกล้เคียงกับ สศช. ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยโครงสร้างองค์กรประกอบด้วยสำนักต่างๆ อาทิ การวางแผนส่วนรวม การวางแผนรายสาขา การพัฒนากำลังแรงงาน การพัฒนาเมืองและการเคหะ การเงิน การติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งมีสำนักวิจัยเศรษฐกิจที่มีการวิเคราะห์วิจัยประเด็นเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศรวมอยู่ด้วย
1.2 CEPD มีคณะกรรมการบริหารที่เรียกว่า the council ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการเมืองเป็นหลัก โดยตำแหน่งประธานและรองประธานมาจากการแต่งตั้งของฝ่ายการเมือง และคณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีจากหน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ก.คลัง ก.คมนาคม ก.เศรษฐกิจ เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ ผู้ว่าการธนาคารชาติ เลขานุการคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าสำนักงบประมาณ ประธานคณะกรรมการการก่อสร้างภาครัฐ ประธานคณะกรรมการสภาแรงงาน และประธานคณะกรรมการดูแลการเงิน เป็นต้น ดังนั้น จากการที่คณะกรรมการบริหารมาจากภาคการเมืองเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงการวางแผนการพัฒนาเข้ากับนโยบายจากฝ่ายการเมืองได้เป็นอย่างดี และสามารถผลักดันนโยบายของรัฐให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ เนื่องจากมีการติดตามและหารือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการบริหารได้โดยตรง
1.3 แนวคิดและขั้นตอนการจัดทำแผนชาติของไต้หวันมีความคล้ายคลึงกับไทยค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม แนวคิด "การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน" ยังไม่ปรากฏชัดเจนเท่าไรนัก นอกจากนี้ แผนพัฒนาของไต้หวันยังประกอบด้วยแผนการดำเนินงานที่มีการกำหนดงบประมาณในการลงทุน และมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นตัวเลขที่ประเมินได้ ทั้งนี้ การจัดทำแผนพัฒนาของไต้หวันมีขั้นตอนหลัก ดังนี้
รวบรวมข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ
|
จัดทำแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค
|
กำหนดเป้าหมายและลำดับความสำคัญในการพัฒนา โดยมีข้อสังเกตว่าการกำหนดเป้าหมายของไต้หวันต้องคำนึงถึงกรอบนโยบายของประธานาธิบดีเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องนำข้อมูลจากภาคอื่นๆ อาทิ ภาคธุรกิจ ประชาชน นักวิชาการ และผลการศึกษาต่างๆ มาประกอบการจัดทำกรอบดังกล่าวด้วย
|
ร่างแผนเศรษฐกิจมหภาค และแผนรายสาขา
|
ปรับปรุง
|
นำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
2. การพัฒนาอุตสาหกรรม
2.1 จุดเด่นที่ทำให้ไต้หวันพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีได้ประสบความสำเร็จคือ
1) บทบาทภาครัฐและเอกชน: โดยภาคเอกชนของไต้หวันมีศักยภาพสูง ในขณะที่ภาครัฐมีบทบาทในการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของภาคเอกชนเป็นสำคัญ จึงทำให้การพัฒนาประสบความสำเร็จจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาครัฐบาลและภาคเอกชน ดังนี้
* ภาครัฐบาล ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่รวมทั้งนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้ภาคเอกชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยการวางนโยบายเริ่มตั้งแต่การวางรากฐานการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม การอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการจนถึงการส่งออก อาทิ พัฒนาระบบการศึกษาให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการดำเนินกิจการ และรัฐบาลยังสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากในการลงทุนด้าน R&D
* ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชน ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการศึกษา ใฝ่รู้ในเชิงวิชาการและทักษะทางอาชีพ อีกทั้งมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงานสูง ในขณะที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา โดยภาครัฐจะลงทุนกับการศึกษาในสัดส่วนที่สูง และมุ่งผลิตบุคลากรสาขาวิศวกร (engineer) เป็นส่วนใหญ่ หรือประมาณร้อยละ 58 ของบุคลากรในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งภาครัฐยังมีโครงการกระตุ้นชาวไต้หวันที่เก่งและฉลาดที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาให้อพยพ (migrate) กลับมาทำธุรกิจด้าน IT ในไต้หวัน
นอกจากนี้ การพัฒนา SMEs ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้ไต้หวันมีการพัฒนาที่ก้าวไกล
2.2 การลงทุนของไต้หวันส่วนใหญ่จะมุ่งไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้นหากต้องการดึงดูดให้ชาวไต้หวันมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอาจทำได้ในรูปของการร่วมลงทุน (Joint Venture) ในสาขาที่ไต้หวันมีความก้าวหน้าสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) เนื่องจากไต้หวันมีการทำวิจัยพัฒนา และมีการให้การอุดหนุน (subsidy) รวมทั้งยังมีมาตรการปิดกั้นทางการค้าสำหรับสินค้าด้านเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่ง จึงทำให้ไต้หวันมีผลผลิตด้านเกษตรที่มีคุณภาพสูง
3. การพัฒนา SMEs
3.1 นับตั้งแต่ประเทศไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกกับองค์การค้าโลกก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้ ทำให้การพัฒนา SMEs ของไต้หวันได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SMEs ของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นกิจการทางด้านอุตสาหกรรมที่มีระดับเทคโนโลยีและมูลค่ากิจการที่ค่อนข้างสูง
3.2 ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs ในไต้หวันประกอบด้วย การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ การฝึกอบรมแรงงานให้รองรับการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมและการบริการระดับไฮเทค และระบบการเงินที่รองรับการดำเนินธุรกิจ
4. การเพิ่มผลผลิต
4.1 ไต้หวันมีสถาบันที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยกลไกสำคัญในการดำเนินงานของสถาบันคือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล และการติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้สามารถให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการต่างๆ ได้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของประเทศ พร้อมทั้งสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกได้ นอกจากนี้จะมีการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่เสมอ เพื่อให้รองรับนโยบายการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งปัจจุบันเป็นช่วงของการมุ่งไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
4.2 กลไกที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือให้ความสำคัญกับการเผชิญสิ่งท้าทายในกระแสโลกาภิวัตน์ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับการโยกย้าย การผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก อาทิ ประเทศจีน ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมประเทศที่จะก้าวไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
5. อุทยานวิทยาศาสตร์
5.1 การดำเนินการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) ของไต้หวันนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งในแง่จำนวนกิจการที่เข้ามาลงทุนและยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยในการบริหารอุทยานมีหลักการว่าจะต้องจัดระบบการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ทั้งสำหรับการทำงาน และการอยู่อาศัย โดยการจัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ดีและมีมาตรฐานสูงไว้รองรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุนและใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งยังเน้นการให้บริการธุรกิจในเรื่องการจัดตั้งกิจการ ทั้งในเรื่องการวางแผน การลงทุน การก่อสร้าง การจัดหาแรงงาน และระบบความปลอดภัย เป็นต้น
5.2 ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเข้ามาดำเนินกิจการในเขตอุทยานก็เนื่องจากมีระบบภาษีอัตราพิเศษที่ช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุน รวมทั้งยังมีสถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันการศึกษาอยู่รายรอบ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนเพื่อใช้ในกิจการ พร้อมทั้งรัฐบาลยังได้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิจัยระดับชาติขึ้นในบริเวณใกล้เคียง เพื่อพัฒนางานด้านวิจัยและการฝึกอบรม
6. ประเด็นทั่วไป
6.1 ความจริงจัง มีวินัย และรับผิดชอบในการทำงานอย่างสูงของชาวไต้หวันเห็นได้จากการติดต่อประสานงานก่อนการเดินทาง และการต้อนรับที่มีการเตรียมการเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังพบว่าทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าเยี่ยมเป็นอย่างมาก โดยจะมีวีดิทัศน์นำเสนอก่อนบรรยายสรุป ซึ่งทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเข้าใจภาพรวมและภารกิจองค์กรได้ด้วยเวลาอันสั้น อีกทั้งเวบไซต์ของหน่วยงานก็มีข้อมูลที่ดีเป็นประโยชน์ รวมทั้งผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ที่ให้การต้อนรับดูแลคณะเดินทางล้วนแต่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการบรรยายสรุป การตอบประเด็นข้อซักถาม และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่ดีที่มีต่อประเทศไทย
6.2 สภาพทั่วไปของเมืองหลวงค่อนข้างแออัดมีการจราจรหนาแน่น แต่สามารถเคลื่อนตัวได้ เนื่องจากระบบผังเมืองที่ค่อนข้างเป็นระบบ รวมทั้งมีการใช้ระบบรถเมล์ด่วนพิเศษ หรือที่ เรียกว่าระบบ Mass Rapid Transit (MRT) เช่นที่ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการริเริ่มดำเนินการทดลองใช้ ซึ่งจากการสังเกตพบว่าประชาชนนิยมใช้บริการมากโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน นอกจากนี้ เนื่องจากประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก การจราจรนอกเมืองก็ยังค่อนข้างหนาแน่นเช่นกัน
แนวทางการพัฒนาที่ผ่านมาและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไต้หวัน
ไต้หวันเป็นประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Countries) ที่มีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกับไทยทั้งทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยเอกสารนี้เป็นการสรุปแนวทางการพัฒนาและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไต้หวัน ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ไต้หวัน เป็นประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Country) ใช้ภาษาจีนกลาง (Mandarin) เป็นภาษาราชการ ประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน มีเมืองหลวงคือไทเป เมืองสำคัญ ได้แก่ เกาสง (Kaohsiung) ซึ่งเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางธุรกิจทางภาคใต้ และ จีหลง (Keelung) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดทางภาคเหนือ
1.2 การเมือง
1) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian)
2) โครงสร้างระบบการบริหารประเทศ มี 5 สภา ได้แก่ (1) สภานิติบัญญัติ เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน (2) สภาบริหาร (ครม.) จัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง (3) สภาตุลาการ ทำหน้าที่ในการตีความกฎหมาย (4) สภาตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งข้าราชการ นักการเมือง และรัฐวิสาหกิจ (5) สภาสอบคัดเลือก ทำหน้าที่ในการสอบคัดเลือกข้าราชการ
1.3 นโยบายต่างประเทศ
1) ไต้หวันมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศภายใต้กรอบนโยบายจีนเดียว ทำให้ไต้หวันมีนโยบายเน้นการกระชับความสัมพันธ์ในกรอบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน กับประเทศต่างๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน โดยไต้หวันดำเนินนโยบาย มุ่งสู่ใต้ (Go South Policy) ต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมให้ชาวไต้หวันมาลงทุนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ไต้หวันต้องพึ่งพาจีนและใช้เศรษฐกิจเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ในกรอบเวทีระหว่างประเทศที่ไต้หวันเป็นสมาชิก ได้แก่ APEC , WTO และไต้หวันยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ 25 ประเทศ เช่น Costa Rica , EL Salvador , Haiti , Honduras , Solomon Islands , Swaziland , Panama เป็นต้น
2) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและไต้หวัน เนื่องจากเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ไทยยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียว และไต้หวันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีน หรือที่เรียกว่า "นโยบายจีนเดียว" ไทยจึงยุติการติดต่อที่เป็นทางการกับไต้หวัน แต่ยังคงมีการติดต่อเป็นปกติในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยมีช่องทางการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการผ่านสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ที่ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ที่เมืองไทเป ไต้หวัน
2. การพัฒนาที่ผ่านมา
2.1 การพัฒนาในแต่ละช่วงทศวรรษ
ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านไต้หวันมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพด้านราคา และการกระจายรายได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมาตลอด จนกระทั่งปี 2001 ที่เริ่มมีปัญหาการว่างงานสูงขึ้น นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังมีการพัฒนาจากการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ไปสู่การผลิตแบบใช้ทุนและเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนการพัฒนาได้แก่นโยบาย ภาครัฐที่มีความยืดหยุ่นและสามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการส่งเสริม ความมั่นคงทางสังคมและการเมือง รวมทั้งการใช้กลยุทธ์การพัฒนาแบบ outward-looking
1) ทศวรรษ 1950: เน้นเสถียรภาพและการพึ่งตนเอง ให้ความสำคัญกับความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการผลิตอาหาร โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และมีการใช้มาตรการควบคุมทางภาษีและการนำเข้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ รวมทั้งมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสาขาการผลิตอาหาร รักษาระดับราคาอาหาร และส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งโดยสรุปการพัฒนาทศวรรษนี้มีดังนี้
* มีการวางแผนการพัฒนาหลังจากจบยุคการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงคราม
* มีการปฏิรูปที่ดิน กระตุ้นการผลิตภาคเกษตร และส่งเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจ
* พัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าโดยใช้แรงงานเป็นหลัก
2) ทศวรรษ 1960: ขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบา เป็นยุคของการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและเพื่อการส่งออก เนื่องจากมีต้นทุนแรงงานต่ำ โดยรัฐบาลได้มีการปฏิรูปการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและระบบภาษี และมีการจัดตั้งเขตการผลิตเพื่อส่งออกเป็นครั้งแรก ประกอบกับมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงช่วยสนับสนุนการส่งออกของไต้หวันเป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก้าวหน้าในระดับสูง ซึ่งโดยสรุปการพัฒนาทศวรรษนี้มีดังนี้
* ส่งเสริมการออม การลงทุน และการส่งออก
* ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรใหม่ๆ
* พัฒนาอุตสาหกรรมการส่งออก และเขตการผลิตเพื่อการส่งออก
3) ทศวรรษ 1970: การพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากในยุคนี้ทำให้เกิดความต้องการภายในประเทศมากขึ้น ทั้งสินค้าเครื่องจักร อุปกรณ์ และสินค้าขั้นกลาง ซึ่งนำไปสู่การปรับโครงสร้างการผลิต นอกจากนั้น ในภาคอุตสาหกรรมยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น และเริ่มมีการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมหนัก โดยได้มีการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่
ใช้ทุนเป็นหลัก ซึ่งกลยุทธ์นี้ได้ช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศ และช่วยยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยสรุปการพัฒนาทศวรรษนี้มีดังนี้
* ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และขจัดคอขวดการคมนาคม
* ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตขั้นกลาง และพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
4) ทศวรรษ 1980: การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี ในช่วงต้นทศวรรษ ระบบเศรษฐกิจได้รับประโยชน์จากนโยบายการส่งเสริมการค้าและการเพิ่มของอุปทานสินค้า นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคเศรษฐกิจเป็นหลักในการพัฒนา รวมทั้งยังเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้สินค้าทุนและเทคโนโลยีสูงในการผลิต อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร ซึ่งโดยสรุปการพัฒนาในทศวรรษนี้มีดังนี้
* ปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มการลงทุน R&D
* ส่งเสริมการเปิดเสรีภาคเศรษฐกิจ และการก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติ
* สร้างความต้องการภายในประเทศ เพื่อลดการขาดดุลการค้า
5) ทศวรรษ 1990: การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและการกำหนดลำดับความสำคัญ เป็นช่วงของการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้
* ปี 1991 ไต้หวันได้เริ่มพัฒนาตามแผนการพัฒนาแห่งชาติหกปี (1991)
* ปี 1994 ได้ดำเนินการพัฒนา 12 โครงการหลัก ซึ่งครอบคลุมเรื่องการคมนาคม วัฒนาธรรมและการศึกษา ปรับปรุงคุณภาพชีวิต การพัฒนาแหล่งน้ำ และการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ
* ปี 1997-2000 เป็นช่วงของการพัฒนาตามแผนการพัฒนาแห่งชาติเพื่อนำไปสู่ศตวรรษใหม่ คือไปสู่สังคมอุตสาหกรรมใหม่ โดยมี 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืน นอกจากนี้ ในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ไต้หวันได้มีแผนกระตุ้นความต้องการภายในประเทศ และได้มีโปรแกรมเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจของไต้หวัน
* ช่วงศตวรรษใหม่กำลังมาเยือน ไต้หวันได้เตรียมการพัฒนาโดยเน้นทางด้านนวัตกรรม และการวางแผนและพัฒนา (innovation and R&D) เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนและยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม รวมทั้งจะมุ่งลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างโลจีสติกส์ และสภาพแวดล้อม
โดยสรุปการพัฒนาในทศวรรษนี้มีดังนี้
* ขยายการลงทุนภาครัฐ และปรับปรุงสภาวะการลงทุน
* เร่งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
* ควบคุมมลภาวะ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืน
* ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุลมากขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต
* พัฒนาไต้หวันเพื่อนำไปสู่ Asia-Pacific Regional Operation Center
6) ทศวรรษ 2000: การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่ Green Silicon Island
* ในช่วงแรกมีแผนพัฒนาแห่งชาติในช่วงศตวรรษใหม่ (2001-2004) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ และมีแผนการพัฒนาโลจีสติกส์ โดยมีแนวทางการพัฒนาหลักคือการเปิดเสรี การก้าวสู่ความเป็นสากล และความเป็นระบบมาตรฐานในการพัฒนา เพื่อนำชาติไปสู่ dynamic silicon-based economy
* ปี 2002 ยังได้จัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาหกปี (the new six-year national development plan, challenge 2008) เพื่อมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
* ปี 2003 ภาครัฐได้ริเริ่มดำเนิน 10 โครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาดังกล่าว ภายใต้กรอบ 1) การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนวัตกรรมและ R&D 2) อุตสาหกรรมที่อิงกับวัฒนธรรมและการใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ 3) การวางระบบโลจีสติกส์ไปสู่นานาชาติ และ 4) การดูแลสภาวะแวดล้อมให้ให้ยั่งยืน กนี้
* ปี 2004 ในสมัยที่สองของประธานาธิบดี Chen รัฐบาลได้ร่างแผนชาติที่นำไปสู่ทศวรรษใหม่ระยะที่ 2 (2005-2008) และแนวโน้มปี 2015 โดยมุ่งพัฒนาชาติไปสู่ green silicon island และได้มีการสร้างฝัน (Taiwan Dream)
โดยสรุปการพัฒนาในทศวรรษนี้มีดังนี้
* พัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ และสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาด
* ส่งเสริมการพัฒนาภาคชุมชนที่มีความเอื้ออาทรและมีความมั่งคั่ง
* สนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และพัฒนา Supply-chain service เพื่อนำไปสู่ความเป็นผู้นำด้านโลจีสติกส์และพัสดุระดับนานาชาติ
* ดำเนินการตามแผนพัฒนา Challenge 2008 ที่มุ่งสู่ green silicon island
* วางแผน 10 โครงการหลัก เพื่อเป็นแนวทางการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ
* พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เน้นฐานความรู้ ความยั่งยืน และเท่าเทียมกัน
2.2 สรุปประเด็นการพัฒนาในแต่ละช่วงแผน
ไต้หวันได้มีการจัดทำแผนการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ในบางช่วงเวลายังได้มีการจัดทำแผนการพัฒนาพิเศษเพื่อรองรับหรือปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
3. สถานะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
3.1 เศรษฐกิจภายในประเทศ
1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2004 สูงถึงร้อยละ 5.7 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวดี ทำให้มีการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนสูง รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อัตราการว่างงานลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2005 การเติบโตได้ชะลอตัวค่อนข้างมากเหลือร้อยละ 2.5 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
2) โครงสร้างเศรษฐกิจ:
หน่วย: ร้อยละ
1986 2004 2008
บริการ 47.3 68.5 71.4
(การเงิน) (5.69) (11.49) (13)
อุตสาหกรรม 47.1 29.7 n.a.
(manufacturing) (39.35) (25.67) n.a.
เกษตร 5.6 1.7 n.a.
3) การค้าระหว่างประเทศ:
* มีการขยายตัวของการส่งออกนำเข้าในปี 2004 ค่อนข้างมากถึงร้อยละ 26 อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งแรกของปี 2005 การค้าระหว่างประเทศได้ขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 9.1 โดยในปี 2004 มีการเกินดุลการค้า 6.1 พันล้านเหรียญ สรอ. ส่วนในครึ่งปีแรกของปี 2005 เกินดุลจำนวน 0.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
* ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง จีน ในขณะที่มีการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
* สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ได้แก่สินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง (heavy & technology-intensive industry) ในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่ได้แก่วัตถุดิบ
4) การลงทุน: จากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้การลงทุนโดยรวมขยายตัวร้อยละ 15.4 ในปี 2004 ในขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2005 การลงทุนขยายตัวร้อยละ 11.9 โดยเป็นการขยายการลงทุนของภาคเอกชนถึงร้อยละ 15.5เนื่องจากมีการจัดซื้อเครื่องบินและรถไฟ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1
5) การผลิตในภาคอุตสาหกรรม: โดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ส่วนใหญ่เนื่องจากการผลิตในสาขา manufacturing ขยายตัวสูง อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2005 มีการขยายตัวลดลง 0.03 เนื่องจากการชะลอตัวของสาขา manufacturing และสาขาเหมือง
แร่ แต่ในสาขาก่อสร้างมีการขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.5
6) การจ้างงาน: ส่วนใหญ่อยู่ในภาคที่ไม่ใช่เกษตร โดยในปี 2002 มีอัตราการว่างงานสูงสุดถึงร้อยละ 5.17 แต่ก็ลดลงตามลำดับเหลือร้อยละ 4.14 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2005
3.2 ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ
1) ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อราคาสินค้าภายในประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงค่าเงินเหรียญสหรัฐกับอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินภายในประเทศ
2) การดำเนินการตาม Kyoto Protocal ที่ต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมของไต้หวัน อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมิคอล ซิเมนต์ กระดาษ และ เส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น
3) การส่งออกและการลงทุนในประเทศจีนได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ทางการเมืองยังไม่ก้าวหน้า นอกจากนี้ มาตรการที่จีนดำเนินการเพื่อป้องกันการ hard landing อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวัน
4) การขาดดุลการคลังในอดีต มีผลกระทบต่อการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายทางการคลัง
5) ความไม่พอเพียงของโครงสร้างพื้นฐานเป็นอุปสรรคในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
6) ระบบการเงินของประเทศที่มีธนาคารอยู่มากเกินไป ทำให้ต้องมีการแข่งขันกันสูงและแต่ละแห่งก็มีสัดส่วนตลาดไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งมีความจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงโดยด่วน
7) ความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนาแรงงาน โดยเฉพาะเรื่องการว่างงานที่ค่อนข้างสูง และความขาดแคลนแรงงานมีฝีมือระดับสูง
3.3 แนวนโยบาย
1) ด้านเศรษฐกิจ
(ยังมีต่อ)