6) ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ ไต้หวันได้เข้าร่วม WTO ในปี 2002 และสร้างความร่วมมือในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจในประเทศสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนเข้าร่วมประชุม สัมมนา และเยี่ยมชมกิจการของบริษัทต่างประเทศเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งอาจจะทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้น
2. ประเด็นข้อสังเกต
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไต้หวันค่อนข้างประสบความสำเร็จ มาจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาครัฐบาลและภาคเอกชน ดังนี้
2.1 ภาครัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลตระหนักว่าธุรกิจเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการมุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน และวางนโยบายและมาตรการต่างๆ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้ภาคเอกชน สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งนโยบายของภาครัฐเริ่มตั้งแต่การวางรากฐานในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม การอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการจนถึงการส่งออก อาทิ การพัฒนาระบบการศึกษาให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลวางรากฐานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสถาบันการศึกษาได้โดยสะดวก ทั้งการศึกษาในระบบปกติ และการศึกษาสายอาชีพ ผ่าน Vocational School และ Vocational University ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการดำเนินกิจการ โดยการสร้างนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ และรัฐบาลยังทุ่มงบประมาณจำนวนมากในการลงทุนด้าน R&D โดยสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคธุรกิจ เพื่อที่ธุรกิจจะได้มุ่งดำเนินการใน core business ของตน
2.2 ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชน ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการศึกษา มีความใฝ่รู้ในเชิงวิชาการและทักษะทางอาชีพ อีกทั้งมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน ในขณะที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนาทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
Small and Medium Enterprise Administration (SMEA)
1. การพัฒนา SMEs ในไต้หวัน
ขั้นตอนการพัฒนาของ SMEs ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา สามารถจำแนกออกได้เป็น 7 ช่วงคือ
1.1 ทศวรรษที่ 1940 เป็นช่วงของการปรับโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจหลังจากที่ไต้หวันได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในช่วงนี้รัฐบาลเน้นการเพิ่มผลผลิตทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญลำดับต้นกับเรื่อง สิ่งทอ ปุ๋ย และพลังงานไฟฟ้า
1.2 ทศวรรษที่ 1950 SMEs ได้มีบทบาทอย่างสูงในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า
1.3 ทศวรรษที่ 1960 เป็นช่วงการเจริญเติบโตของการส่งออกอย่างมาก อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เริ่มมีบทบาทสำคัญ แต่เนื่องจากค่าแรงงานที่ยังต่ำอยู่ SME ก็ยังมีบทบาทสูงในการผลิตชิ้นส่วนให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
1.4 ทศวรรษที่ 1970 เป็นช่วงที่สองของการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดเบา และเป็นช่วงที่ต้องรับมือกับวิกฤตราคาน้ำมัน รวมทั้งมีการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น SMEs ในช่วงนี้จึงเน้นระบบการพัฒนาแบบ Subcontracting system เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ
1.5 ทศวรรษที่ 1980 เป็นช่วงที่ไต้หวันเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม Hi-tech รัฐบาลให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่ใช้พลังงานต่ำ และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น SMEs ในช่วงนี้จึงต้องปรับตัวใช้เครื่องจักร และเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น ส่วน SMEs ที่ใช้แรงงานจำนวนมากได้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศ
1.6 ทศวรรษที่ 1990 เป็นช่วงที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องทำงานอย่างหนักเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยี และเป็นช่วงที่ไต้หวันเริ่มสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันในสินค้าที่ใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิต รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา SMEs โดยเน้นให้มีการลดหย่อนภาษีเพื่อพัฒนา R&D การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การผลิตด้วยเครื่องจักร และการป้องกันสิ่งแวดล้อม ดังนั้น SMEs จึงได้ยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่มี knowledge-intensive, technology-intensive และภาคบริการ
1.7 ทศวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน เป็นช่วงการพัฒนานวัตกรรม และ R&D เพื่อเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ซึ่งช่วยให้ SMEs มีการจัดการสมัยใหม่ผ่านการค้า e-commerce โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2002 ไต้หวันเข้าร่วม WTO ทำให้ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของระบบอุตสาหกรรมโลกรัฐบาลจึงมุ่งเน้นการเป็น Green Silicon Island โดยได้มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อสนับสนุนจุดมุ่งหมายดังกล่าว อาทิ แผนพัฒนาโลจีสติกส์ระดับนานาชาติ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ กระตุ้นอุตสาหกรรมดั้งเดิม ส่งเสริมนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นนวัตกรรมทั้งนี้เพื่อผลักดัน SMEs ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยนำนวัตกรรม การคิดค้น และ R&D มาเป็นตัวผลักดันที่สำคัญ
2. บทบาท และความสำคัญของ SMEs
ในปัจจุบัน SMEs มีจำนวนทั้งสิ้น 1.14 ล้านแห่ง (หรือคิดเป็นร้อยละ 97.8 ของจำนวนบริษัททั้งหมด) ส่วนใหญ่อยู่ตอนเหนือของประเทศ โดยเฉพาะเมืองไทเป นอกจากนี้ มี SMEs ที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2546จำนวน 111,507 แห่ง ซึ่งมียอดขายรวม 295.3 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 3.39 ของยอดขายรวมของ SMEs ทั้งหมด) โดยมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด ปี 2546)
2.1 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ SMEs มีมูลค่าการผลิตรวมคิดเป็นร้อยละ 42.8 ของมูลค่าทั้งหมด
2.2 ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สังเกตได้จากการมีการจ้างงาน และรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดย SMEs ก่อให้เกิดการจ้างงาน 7.42 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.6 ของการจ้างงานทั้งหมด
2.3 ด้านการค้าระหว่างประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่า SMEs จะให้ความสำคัญกับตลาดภายในประเทศมากกว่าก็ตาม ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่เน้นผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก โดย SMEs มียอดขายรวมทั้งสิ้น 8.7 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศจำนวน
7.4 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 85) และตลาดต่างประเทศ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 15)
3. องค์กรรับผิดชอบ
3.1 หน้าที่หลัก
Small and Medium Enterprise Administration (SMEA) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบการพัฒนา
SMEs ในประเทศไต้หวัน มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1) จัดทำแผนพัฒนา SMEs และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) เสนอแนะ และดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานของ SMEs
3) ดำเนินการสำรวจ และวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SMEs
4) ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิต การดำเนินงาน การบริหารจัดการ การฝึกอบรม ตลอดจนด้านเงินทุน
5) ให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของ SMEs
3.2 บทบาทเพิ่มเติม
เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมในประเทศไต้หวัน ส่งผลให้ SMEA จำเป็นต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) สนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินงาน การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ และการเงินแก่ SMEs ที่ตั้งใหม่
2) ผลักดันให้ SMEs นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น
3) เพิ่มบทบาท หน้าที่ของ One-stop Service Center ในการให้ความช่วยเหลือ SMEs แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
4) สนับสนุนแผนการดำเนินงานพัฒนากำลังคนแก่ SMEs
5) ให้ความช่วยเหลือในด้านเงินทุนจัดตั้งแก่ธุรกิจขนาดเล็ก โดยผ่าน SME Credit Guarantee Fund
4. แผนการดำเนินงาน
เน้นเรื่องการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการของ SMEs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจให้สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน เพื่อเน้นให้นำทรัพยากรทั้งในและนอกประเทศมาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแผนการดำเนินงานที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้
4.1 Creating a Healthy Environment for the Development SMEs
1) สนับสนุนแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ SMEs นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนแผนปฏิบัติการการให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคน โดยมีมาตรการเพิ่มการจ้างงาน และคุณภาพของแรงงาน
2) วิเคราะห์และวิจัยสภาวะธุรกิจของ SMEs จากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการประเมิน และกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านต่างๆ
3) สนับสนุนสิทธิทางด้านกฎหมายของ SMEs ใน 6 ด้านหลัก คือ 1) management innovation 2) incubation 3) fund investment 4) guidance services 5) information management และ 6) revision of laws and regulations
4.2 Building a Platform for Enterprise Start-up and Incubation จัดตั้งกลไกที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านธุรกิจ และการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ของผู้ประกอบการโดยการให้ข้อมูล และคำแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แผนงานด้านการตลาดและการเงินให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพของกำลังแรงงาน โดยผ่านการฝึกอบรมจาก SME Training Center สนับสนุน SMEs ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่
4.3 Enhancing SMEs' Information Technology Capabilities
1) เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารของ SMEs โดยการจัดตั้ง SME e-enablement service team และระบบ e-network
2) สนับสนุนให้มีการใช้ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (knowledge management) ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และยกระดับคุณภาพในทุกอุตสาหกรรมของ SMEs โดยนำวิธีการใหม่ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม
4.4 Stregthening the SME Management Guidance Function
1) สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงตลาดใหม่ได้
2) สนับสนุนให้มีการแปรรูปอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้ จากการนำวัตถุดิบภายในประเทศมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต
3) สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกัน และร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่
4) ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต วัตถุดิบ ตลอดจนกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ผลิตได้
4.5 Integrating the SME Financing Mechanism
1) เพิ่มประสิทธิภาพของ One-Stop Service Center ในการแก้ไขปัญหาด้านการเงิน และเพิ่มช่องทางการระดมเงินทุนเพื่อใช้ในการพัฒนา SMEs
2) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินและบัญชี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจเอกชนในการขยายช่องทางการระดมทุน ตลอดจนสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง Credit Guarantee Fund เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานของ SMEs
5. ประเด็นข้อสังเกต
5.1 นับตั้งแต่ประเทศไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกกับองค์การค้าโลกก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้ ทำให้การพัฒนา SMEs ของไต้หวันได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SMEs ของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นกิจการทางด้านอุตสาหกรรมที่มีระดับเทคโนโลยีค่อนข้างสูง และมีมูลค่ากิจการที่ค่อนข้างสูง
5.2 ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs ในไต้หวันประกอบด้วย การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ การฝึกอบรมแรงงานให้รองรับการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมและการบริการระดับไฮเทค และระบบการเงินที่รองรับการดำเนินธุรกิจ
China Productivity Center (CPC)
1. ลักษณะสำคัญขององค์กร
1.1 ความเป็นมา
ปี 1955 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสาขาการค้าอุตสาหกรรมประมาณ 50 แห่งได้ร่วมกันก่อตั้ง China Productivity Center (CPC) ขึ้นเป็นหน่วยงานภายใต้ Ministry of Economic Affairs โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาในการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต และได้มีการปรับพันธกิจและเป้าหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในแต่ละช่วงเวลา โดยระหว่างทศวรรษที่ 1950-1970 CPC มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ทศวรรษที่ 1980 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของสินค้า ทศวรรษที่ 1990 เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่า และการพัฒนาองค์ความรู้ ดังนี้
1) ปี 2001 CPC กำหนดให้เป็น Innovation Year โดยจัดทำโครงการที่เน้นการเสริมสร้างนวัตกรรม
2) ปี 2002 CPC กำหนดให้เป็น Innovation Action Year มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในการสร้างธุรกิจใหม่โดยเน้น 2 ปัจจัย คือ หนึ่งการสร้างมูลค่า , สองการสร้างประสิทธิภาพ
3) ปี 2003 CPC กำหนดให้เป็น Innovation Cultivation Year มีการปรับโครงสร้างองค์กรโดยการทำ knowledge management พร้อมจัดทำแผนงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ส่งเสริมให้ทำ Balanced Scorecard , ขยายการให้บริการด้านการบริหารจัดการโดยใช้แนวคิดด้านนวัตกรรม, กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน (benchmarking) ให้เป็นสากล, ขยายฐานข้อมูลและนำ IT มาประยุกต์ใช้, สร้างมูลค่าจากองค์ความรู้, สนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้นด้านนวัตกรรม, เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.2 ขอบเขตหน้าที่ภารกิจของ CPC
CPC ให้ความช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันให้มุ่งไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และให้คำแนะนำภาคธุรกิจในการดำเนินงานโดยใช้องค์ความรู้และการบริหารจัดการแนวใหม่ ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของ CPC มี ดังนี้
1) ให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงาน CPC มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงานแก่ภาคธุรกิจ ได้แก่ การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ (Reengineering) การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผลการดำเนินงาน การวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ การเงินและการตลาด การพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ Logistics และการกระจายสินค้า ฯลฯ
2) เข้าร่วมดำเนินการโครงการภาครัฐ CPC ทำงานประสานเชื่อมโยงกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภาครัฐ และเข้าร่วมแข่งขันประมูลงานโครงการภาครัฐผ่านระบบประมูลงานตามปกติ โดย CPC มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ Council for Economic Planning & Development, Council of Agriculture, National Science Council, Mainland Affairs Council, Council of Labor Affairs, หน่วยงานในส่งกัด Ministry of Economic Affairs, หน่วยงานในส่งกัด Ministry of Interior, Ministry of Foreign Affairs , local government
3) ส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรม CPC มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและ ผู้เชี่ยวชาญในภาคธุรกิจมาร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมให้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่ธุรกิจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงิน การผลิต การตลาด บุคลากร Logistics และความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน
4) ผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ โดยการผลิตหนังสือ วารสาร ซีดี วีดีโอ ให้บริการฐานข้อมูลและข่าวสารผ่านเครือข่ายของ CPC เพื่อให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจแก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไต้หวัน
5) ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ CPC เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์กร APO (Asian Productivity Organization) เมื่อปี 1961 APO เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศในเอเชียพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ และประสานความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ นอกจากนี้ CPC ยังสร้างความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศจีนและพยายามขยายการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจใต้หวันในประเทศจีน โดยร่างแผนสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจได้หวันที่ไปลงทุนในประเทศจีน
6) ให้บริการทางเทคนิค CPC ให้คำปรึกษาแนะนำและบริการทางเทคนิคแก่ธุรกิจในด้านต่างๆ อาทิ เช่น การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-business) การทำ logistics และการกระจายสินค้า การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
2. ประเด็นข้อสังเกต
2.1 CPC
เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยกลไกสำคัญในการดำเนินงานของ CPC คือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล และการติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อการให้คำปรึกษาของสถาบันแก่สถานประกอบการต่างๆ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาหลักของประเทศและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในโลก รวมทั้งจะมีการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในปัจจุบันเป็นช่วงการพัฒนาที่มุ่งไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
2.2 กลไกที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือให้ความสำคัญกับการเผชิญกับสิ่งท้าทายในกระแสโลกาภิวัตน์ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และให้ความสำคัญกับการโยกย้ายการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก อาทิ ประเทศจีน ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมประเทศที่จะก้าวไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
Hsinchu Science Park (HSP)
1. ลักษณะสำคัญขององค์กร
1.1 ความเป็นมา
ไต้หวันมีอุทยานวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ 3 แห่ง สำหรับรองรับการพัฒนาที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยหนึ่งในสามนั้นได้แก่ Hsinchu Science Park (HSP) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1980 จากการลงทุนของภาครัฐจำนวน 1,679 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมุ่งวิจัยและส่งเสริมการผลิตในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง โดยเฉพาะเรื่อง semiconductors
1.2 การพัฒนาของ HSP
1) สถานะปัจจุบัน: ณ ปลายปี 2004 มีบริษัทที่มีการใช้เทคโนโลยีระดับสูงเข้าไปอยู่ใน HSP จำนวน 384 บริษัท โดย 335 แห่งเป็นบริษัทภายในประเทศ ในขณะที่เหลือ 49 แห่งเป็นบริษัทต่างประเทศ และมีรายรับรวมกันแล้วจำนวน 32.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของรายรับปี 2004 ร้อยละ 27 ทั้งนี้มี 6 สาขาอุตสาหกรรมหลักที่ลงทุนอยู่ใน HSP ได้แก่ integrated circuites, PC/Peripherals, telecommunication, optoelectronics, precision machinery และ biotechnology
2) ทรัพยากรมนุษย์: ณ สิ้นปี 2004 HSP มีกำลังแรงานอยู่ทั้งหมด 115,477 คน โดยมีอายุเฉลี่ยที่ 32 ปี อัตราเพศชาย/หญิง ที่ 51/49 และมีผู้ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่า 4,500 คน ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับ HSPนอกจากนี้ ยังมีการฝึกงานแบบ on the job training โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา อาทิ
2. ประเด็นข้อสังเกต
HSP เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ โดยเป็นศูนย์กลางในการให้การอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจและพักอาศัย จึงทำให้อุทยานแห่งนี้มีความก้าวหน้าทั้งในแง่ธุรกิจที่เข้ามาลงทุน และยอดขายของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อุทยานประสบความสำเร็จ ได้แก่
2.1 หลักการบริหารอุทยานที่จะต้องจัดระบบการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ทั้งสำหรับการการทำงาน และการอยู่อาศัย โดยการจัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ดีและมีมาตรฐานสูงไว้รองรับสำหรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุนและใช้ชีวิตในพื้นที่ รวมทั้งยังเน้นการให้บริการในเรื่องการจัดตั้งธุรกิจ ทั้งในเรื่องการวางแผน การลงทุน การก่อสร้าง การจัดหาแรงงาน และระบบความปลอดภัย เป็นต้น
2.2 นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาดำเนินกิจการในเขตอุทยานก็เนื่องจากมีระบบภาษีอัตราพิเศษที่ช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุน รวมทั้งยังมีสถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันการศึกษาอยู่รายรอบ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนเพื่อใช้ในกิจการ พร้อมทั้งรัฐบาลยังได้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิจัยระดับชาติขึ้นเพื่อพัฒนางานด้านวิจัยและการฝึกอบรมเป็นพิเศษ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
2. ประเด็นข้อสังเกต
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไต้หวันค่อนข้างประสบความสำเร็จ มาจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาครัฐบาลและภาคเอกชน ดังนี้
2.1 ภาครัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลตระหนักว่าธุรกิจเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการมุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน และวางนโยบายและมาตรการต่างๆ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้ภาคเอกชน สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งนโยบายของภาครัฐเริ่มตั้งแต่การวางรากฐานในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม การอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการจนถึงการส่งออก อาทิ การพัฒนาระบบการศึกษาให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลวางรากฐานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสถาบันการศึกษาได้โดยสะดวก ทั้งการศึกษาในระบบปกติ และการศึกษาสายอาชีพ ผ่าน Vocational School และ Vocational University ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการดำเนินกิจการ โดยการสร้างนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ และรัฐบาลยังทุ่มงบประมาณจำนวนมากในการลงทุนด้าน R&D โดยสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคธุรกิจ เพื่อที่ธุรกิจจะได้มุ่งดำเนินการใน core business ของตน
2.2 ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชน ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการศึกษา มีความใฝ่รู้ในเชิงวิชาการและทักษะทางอาชีพ อีกทั้งมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน ในขณะที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนาทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
Small and Medium Enterprise Administration (SMEA)
1. การพัฒนา SMEs ในไต้หวัน
ขั้นตอนการพัฒนาของ SMEs ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา สามารถจำแนกออกได้เป็น 7 ช่วงคือ
1.1 ทศวรรษที่ 1940 เป็นช่วงของการปรับโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจหลังจากที่ไต้หวันได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในช่วงนี้รัฐบาลเน้นการเพิ่มผลผลิตทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญลำดับต้นกับเรื่อง สิ่งทอ ปุ๋ย และพลังงานไฟฟ้า
1.2 ทศวรรษที่ 1950 SMEs ได้มีบทบาทอย่างสูงในการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า
1.3 ทศวรรษที่ 1960 เป็นช่วงการเจริญเติบโตของการส่งออกอย่างมาก อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เริ่มมีบทบาทสำคัญ แต่เนื่องจากค่าแรงงานที่ยังต่ำอยู่ SME ก็ยังมีบทบาทสูงในการผลิตชิ้นส่วนให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
1.4 ทศวรรษที่ 1970 เป็นช่วงที่สองของการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดเบา และเป็นช่วงที่ต้องรับมือกับวิกฤตราคาน้ำมัน รวมทั้งมีการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น SMEs ในช่วงนี้จึงเน้นระบบการพัฒนาแบบ Subcontracting system เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ
1.5 ทศวรรษที่ 1980 เป็นช่วงที่ไต้หวันเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม Hi-tech รัฐบาลให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่ใช้พลังงานต่ำ และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น SMEs ในช่วงนี้จึงต้องปรับตัวใช้เครื่องจักร และเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น ส่วน SMEs ที่ใช้แรงงานจำนวนมากได้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศ
1.6 ทศวรรษที่ 1990 เป็นช่วงที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องทำงานอย่างหนักเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยี และเป็นช่วงที่ไต้หวันเริ่มสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันในสินค้าที่ใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิต รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา SMEs โดยเน้นให้มีการลดหย่อนภาษีเพื่อพัฒนา R&D การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การผลิตด้วยเครื่องจักร และการป้องกันสิ่งแวดล้อม ดังนั้น SMEs จึงได้ยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่มี knowledge-intensive, technology-intensive และภาคบริการ
1.7 ทศวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน เป็นช่วงการพัฒนานวัตกรรม และ R&D เพื่อเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ซึ่งช่วยให้ SMEs มีการจัดการสมัยใหม่ผ่านการค้า e-commerce โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2002 ไต้หวันเข้าร่วม WTO ทำให้ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของระบบอุตสาหกรรมโลกรัฐบาลจึงมุ่งเน้นการเป็น Green Silicon Island โดยได้มีการดำเนินการต่างๆ เพื่อสนับสนุนจุดมุ่งหมายดังกล่าว อาทิ แผนพัฒนาโลจีสติกส์ระดับนานาชาติ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ กระตุ้นอุตสาหกรรมดั้งเดิม ส่งเสริมนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นนวัตกรรมทั้งนี้เพื่อผลักดัน SMEs ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยนำนวัตกรรม การคิดค้น และ R&D มาเป็นตัวผลักดันที่สำคัญ
2. บทบาท และความสำคัญของ SMEs
ในปัจจุบัน SMEs มีจำนวนทั้งสิ้น 1.14 ล้านแห่ง (หรือคิดเป็นร้อยละ 97.8 ของจำนวนบริษัททั้งหมด) ส่วนใหญ่อยู่ตอนเหนือของประเทศ โดยเฉพาะเมืองไทเป นอกจากนี้ มี SMEs ที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2546จำนวน 111,507 แห่ง ซึ่งมียอดขายรวม 295.3 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 3.39 ของยอดขายรวมของ SMEs ทั้งหมด) โดยมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้ (ข้อมูลล่าสุด ปี 2546)
2.1 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ SMEs มีมูลค่าการผลิตรวมคิดเป็นร้อยละ 42.8 ของมูลค่าทั้งหมด
2.2 ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สังเกตได้จากการมีการจ้างงาน และรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดย SMEs ก่อให้เกิดการจ้างงาน 7.42 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.6 ของการจ้างงานทั้งหมด
2.3 ด้านการค้าระหว่างประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่า SMEs จะให้ความสำคัญกับตลาดภายในประเทศมากกว่าก็ตาม ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่เน้นผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก โดย SMEs มียอดขายรวมทั้งสิ้น 8.7 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศจำนวน
7.4 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 85) และตลาดต่างประเทศ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 15)
3. องค์กรรับผิดชอบ
3.1 หน้าที่หลัก
Small and Medium Enterprise Administration (SMEA) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบการพัฒนา
SMEs ในประเทศไต้หวัน มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1) จัดทำแผนพัฒนา SMEs และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) เสนอแนะ และดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานของ SMEs
3) ดำเนินการสำรวจ และวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SMEs
4) ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิต การดำเนินงาน การบริหารจัดการ การฝึกอบรม ตลอดจนด้านเงินทุน
5) ให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของ SMEs
3.2 บทบาทเพิ่มเติม
เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมในประเทศไต้หวัน ส่งผลให้ SMEA จำเป็นต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) สนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินงาน การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ และการเงินแก่ SMEs ที่ตั้งใหม่
2) ผลักดันให้ SMEs นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น
3) เพิ่มบทบาท หน้าที่ของ One-stop Service Center ในการให้ความช่วยเหลือ SMEs แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
4) สนับสนุนแผนการดำเนินงานพัฒนากำลังคนแก่ SMEs
5) ให้ความช่วยเหลือในด้านเงินทุนจัดตั้งแก่ธุรกิจขนาดเล็ก โดยผ่าน SME Credit Guarantee Fund
4. แผนการดำเนินงาน
เน้นเรื่องการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการของ SMEs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจให้สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน เพื่อเน้นให้นำทรัพยากรทั้งในและนอกประเทศมาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแผนการดำเนินงานที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้
4.1 Creating a Healthy Environment for the Development SMEs
1) สนับสนุนแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ SMEs นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนแผนปฏิบัติการการให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคน โดยมีมาตรการเพิ่มการจ้างงาน และคุณภาพของแรงงาน
2) วิเคราะห์และวิจัยสภาวะธุรกิจของ SMEs จากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการประเมิน และกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านต่างๆ
3) สนับสนุนสิทธิทางด้านกฎหมายของ SMEs ใน 6 ด้านหลัก คือ 1) management innovation 2) incubation 3) fund investment 4) guidance services 5) information management และ 6) revision of laws and regulations
4.2 Building a Platform for Enterprise Start-up and Incubation จัดตั้งกลไกที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านธุรกิจ และการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ของผู้ประกอบการโดยการให้ข้อมูล และคำแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แผนงานด้านการตลาดและการเงินให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพของกำลังแรงงาน โดยผ่านการฝึกอบรมจาก SME Training Center สนับสนุน SMEs ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่
4.3 Enhancing SMEs' Information Technology Capabilities
1) เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารของ SMEs โดยการจัดตั้ง SME e-enablement service team และระบบ e-network
2) สนับสนุนให้มีการใช้ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (knowledge management) ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และยกระดับคุณภาพในทุกอุตสาหกรรมของ SMEs โดยนำวิธีการใหม่ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม
4.4 Stregthening the SME Management Guidance Function
1) สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงตลาดใหม่ได้
2) สนับสนุนให้มีการแปรรูปอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้ จากการนำวัตถุดิบภายในประเทศมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต
3) สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรระหว่างกัน และร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่
4) ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต วัตถุดิบ ตลอดจนกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ผลิตได้
4.5 Integrating the SME Financing Mechanism
1) เพิ่มประสิทธิภาพของ One-Stop Service Center ในการแก้ไขปัญหาด้านการเงิน และเพิ่มช่องทางการระดมเงินทุนเพื่อใช้ในการพัฒนา SMEs
2) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินและบัญชี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจเอกชนในการขยายช่องทางการระดมทุน ตลอดจนสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง Credit Guarantee Fund เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานของ SMEs
5. ประเด็นข้อสังเกต
5.1 นับตั้งแต่ประเทศไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกกับองค์การค้าโลกก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้ ทำให้การพัฒนา SMEs ของไต้หวันได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SMEs ของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นกิจการทางด้านอุตสาหกรรมที่มีระดับเทคโนโลยีค่อนข้างสูง และมีมูลค่ากิจการที่ค่อนข้างสูง
5.2 ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs ในไต้หวันประกอบด้วย การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ การฝึกอบรมแรงงานให้รองรับการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมและการบริการระดับไฮเทค และระบบการเงินที่รองรับการดำเนินธุรกิจ
China Productivity Center (CPC)
1. ลักษณะสำคัญขององค์กร
1.1 ความเป็นมา
ปี 1955 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสาขาการค้าอุตสาหกรรมประมาณ 50 แห่งได้ร่วมกันก่อตั้ง China Productivity Center (CPC) ขึ้นเป็นหน่วยงานภายใต้ Ministry of Economic Affairs โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาในการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต และได้มีการปรับพันธกิจและเป้าหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในแต่ละช่วงเวลา โดยระหว่างทศวรรษที่ 1950-1970 CPC มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ทศวรรษที่ 1980 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของสินค้า ทศวรรษที่ 1990 เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่า และการพัฒนาองค์ความรู้ ดังนี้
1) ปี 2001 CPC กำหนดให้เป็น Innovation Year โดยจัดทำโครงการที่เน้นการเสริมสร้างนวัตกรรม
2) ปี 2002 CPC กำหนดให้เป็น Innovation Action Year มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในการสร้างธุรกิจใหม่โดยเน้น 2 ปัจจัย คือ หนึ่งการสร้างมูลค่า , สองการสร้างประสิทธิภาพ
3) ปี 2003 CPC กำหนดให้เป็น Innovation Cultivation Year มีการปรับโครงสร้างองค์กรโดยการทำ knowledge management พร้อมจัดทำแผนงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ส่งเสริมให้ทำ Balanced Scorecard , ขยายการให้บริการด้านการบริหารจัดการโดยใช้แนวคิดด้านนวัตกรรม, กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน (benchmarking) ให้เป็นสากล, ขยายฐานข้อมูลและนำ IT มาประยุกต์ใช้, สร้างมูลค่าจากองค์ความรู้, สนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้นด้านนวัตกรรม, เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.2 ขอบเขตหน้าที่ภารกิจของ CPC
CPC ให้ความช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันให้มุ่งไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และให้คำแนะนำภาคธุรกิจในการดำเนินงานโดยใช้องค์ความรู้และการบริหารจัดการแนวใหม่ ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของ CPC มี ดังนี้
1) ให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงาน CPC มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินงานแก่ภาคธุรกิจ ได้แก่ การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ (Reengineering) การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผลการดำเนินงาน การวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ การเงินและการตลาด การพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ Logistics และการกระจายสินค้า ฯลฯ
2) เข้าร่วมดำเนินการโครงการภาครัฐ CPC ทำงานประสานเชื่อมโยงกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภาครัฐ และเข้าร่วมแข่งขันประมูลงานโครงการภาครัฐผ่านระบบประมูลงานตามปกติ โดย CPC มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ Council for Economic Planning & Development, Council of Agriculture, National Science Council, Mainland Affairs Council, Council of Labor Affairs, หน่วยงานในส่งกัด Ministry of Economic Affairs, หน่วยงานในส่งกัด Ministry of Interior, Ministry of Foreign Affairs , local government
3) ส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรม CPC มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและ ผู้เชี่ยวชาญในภาคธุรกิจมาร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมให้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่ธุรกิจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงิน การผลิต การตลาด บุคลากร Logistics และความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน
4) ผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ โดยการผลิตหนังสือ วารสาร ซีดี วีดีโอ ให้บริการฐานข้อมูลและข่าวสารผ่านเครือข่ายของ CPC เพื่อให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจแก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไต้หวัน
5) ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ CPC เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์กร APO (Asian Productivity Organization) เมื่อปี 1961 APO เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศในเอเชียพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ และประสานความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ นอกจากนี้ CPC ยังสร้างความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศจีนและพยายามขยายการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจใต้หวันในประเทศจีน โดยร่างแผนสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือรวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจได้หวันที่ไปลงทุนในประเทศจีน
6) ให้บริการทางเทคนิค CPC ให้คำปรึกษาแนะนำและบริการทางเทคนิคแก่ธุรกิจในด้านต่างๆ อาทิ เช่น การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-business) การทำ logistics และการกระจายสินค้า การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
2. ประเด็นข้อสังเกต
2.1 CPC
เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยกลไกสำคัญในการดำเนินงานของ CPC คือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล และการติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อการให้คำปรึกษาของสถาบันแก่สถานประกอบการต่างๆ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาหลักของประเทศและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในโลก รวมทั้งจะมีการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในปัจจุบันเป็นช่วงการพัฒนาที่มุ่งไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
2.2 กลไกที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือให้ความสำคัญกับการเผชิญกับสิ่งท้าทายในกระแสโลกาภิวัตน์ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และให้ความสำคัญกับการโยกย้ายการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก อาทิ ประเทศจีน ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมประเทศที่จะก้าวไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่
Hsinchu Science Park (HSP)
1. ลักษณะสำคัญขององค์กร
1.1 ความเป็นมา
ไต้หวันมีอุทยานวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ 3 แห่ง สำหรับรองรับการพัฒนาที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยหนึ่งในสามนั้นได้แก่ Hsinchu Science Park (HSP) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1980 จากการลงทุนของภาครัฐจำนวน 1,679 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมุ่งวิจัยและส่งเสริมการผลิตในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง โดยเฉพาะเรื่อง semiconductors
1.2 การพัฒนาของ HSP
1) สถานะปัจจุบัน: ณ ปลายปี 2004 มีบริษัทที่มีการใช้เทคโนโลยีระดับสูงเข้าไปอยู่ใน HSP จำนวน 384 บริษัท โดย 335 แห่งเป็นบริษัทภายในประเทศ ในขณะที่เหลือ 49 แห่งเป็นบริษัทต่างประเทศ และมีรายรับรวมกันแล้วจำนวน 32.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของรายรับปี 2004 ร้อยละ 27 ทั้งนี้มี 6 สาขาอุตสาหกรรมหลักที่ลงทุนอยู่ใน HSP ได้แก่ integrated circuites, PC/Peripherals, telecommunication, optoelectronics, precision machinery และ biotechnology
2) ทรัพยากรมนุษย์: ณ สิ้นปี 2004 HSP มีกำลังแรงานอยู่ทั้งหมด 115,477 คน โดยมีอายุเฉลี่ยที่ 32 ปี อัตราเพศชาย/หญิง ที่ 51/49 และมีผู้ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่า 4,500 คน ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับ HSPนอกจากนี้ ยังมีการฝึกงานแบบ on the job training โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา อาทิ
2. ประเด็นข้อสังเกต
HSP เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ โดยเป็นศูนย์กลางในการให้การอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจและพักอาศัย จึงทำให้อุทยานแห่งนี้มีความก้าวหน้าทั้งในแง่ธุรกิจที่เข้ามาลงทุน และยอดขายของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อุทยานประสบความสำเร็จ ได้แก่
2.1 หลักการบริหารอุทยานที่จะต้องจัดระบบการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ทั้งสำหรับการการทำงาน และการอยู่อาศัย โดยการจัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ดีและมีมาตรฐานสูงไว้รองรับสำหรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุนและใช้ชีวิตในพื้นที่ รวมทั้งยังเน้นการให้บริการในเรื่องการจัดตั้งธุรกิจ ทั้งในเรื่องการวางแผน การลงทุน การก่อสร้าง การจัดหาแรงงาน และระบบความปลอดภัย เป็นต้น
2.2 นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาดำเนินกิจการในเขตอุทยานก็เนื่องจากมีระบบภาษีอัตราพิเศษที่ช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุน รวมทั้งยังมีสถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันการศึกษาอยู่รายรอบ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนเพื่อใช้ในกิจการ พร้อมทั้งรัฐบาลยังได้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันปฏิบัติการวิจัยระดับชาติขึ้นเพื่อพัฒนางานด้านวิจัยและการฝึกอบรมเป็นพิเศษ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-