-อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ ตามความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของสถาบันการเงิน ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
-มูลค่าซื้อขายธุรกรรม Outright ของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทย
ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากคำแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความเห็นในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการสำรองเงินเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการโอนเงินเดือนภาครัฐเข้าสู่ระบบ ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ซึ่งธนาคารพาณิชย์ไม่มีความต้องการสำรองเงินสดมากนัก ความต้องการลงทุนระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.35 - 4.6 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 4.36 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 45,000 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน แต่มีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน เพียง 10,766 ล้านบาท เนื่องจากมีผู้เสนอประมูลต่ำกว่าวงเงินที่เปิดประมูล ตราสารที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้จึงมีจำนวน 41,766 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 28,564 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 13,202 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 92,079 ล้านบาท หรือ 18,416 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 28.7 แต่ธุรกรรม Outright ลดลงร้อยละ 16.2 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-14 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 62 และ 31 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในรอบสัปดาห์ โดยในช่วงต้น-กลางสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น จากแถลงการณ์ของประธาน Fed ที่แสดงความเห็นเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานที่สูงกว่าคาดการณ์ ต่อมาในวันศุกร์
อัตราผลตอบแทนฯ กลับปรับตัวลดลงเนื่องจากตัวเลขการขายบ้านใหม่ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุไม่เกิน 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-16 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 10 ปีขึ้นไปอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 49 39.35
เฉลี่ย 13 - 17 มี.ค. 49 39.08
20 มี.ค. 49 38.75
21 มี.ค. 49 38.73
22 มี.ค. 49 38.89
23 มี.ค. 49 38.94
24 มี.ค. 49 39.10
เฉลี่ย 20 - 24 มี.ค. 49 38.88
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าจะยังมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และความกังวลว่า ธปท. อาจเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง และคำตัดสินของศาลปกครองให้ยุติการกระจายหุ้นบริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากคำแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความเห็นในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมสัปดาห์หน้า (28 มี.ค.) ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายธุรกรรม Outright ของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทย
ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากคำแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความเห็นในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการสำรองเงินเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการโอนเงินเดือนภาครัฐเข้าสู่ระบบ ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ซึ่งธนาคารพาณิชย์ไม่มีความต้องการสำรองเงินสดมากนัก ความต้องการลงทุนระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.35 - 4.6 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 4.36 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 45,000 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน แต่มีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน เพียง 10,766 ล้านบาท เนื่องจากมีผู้เสนอประมูลต่ำกว่าวงเงินที่เปิดประมูล ตราสารที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้จึงมีจำนวน 41,766 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 28,564 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 13,202 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 92,079 ล้านบาท หรือ 18,416 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 28.7 แต่ธุรกรรม Outright ลดลงร้อยละ 16.2 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-14 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 62 และ 31 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในรอบสัปดาห์ โดยในช่วงต้น-กลางสัปดาห์อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น จากแถลงการณ์ของประธาน Fed ที่แสดงความเห็นเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานที่สูงกว่าคาดการณ์ ต่อมาในวันศุกร์
อัตราผลตอบแทนฯ กลับปรับตัวลดลงเนื่องจากตัวเลขการขายบ้านใหม่ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุไม่เกิน 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-16 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 10 ปีขึ้นไปอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ. 49 39.35
เฉลี่ย 13 - 17 มี.ค. 49 39.08
20 มี.ค. 49 38.75
21 มี.ค. 49 38.73
22 มี.ค. 49 38.89
23 มี.ค. 49 38.94
24 มี.ค. 49 39.10
เฉลี่ย 20 - 24 มี.ค. 49 38.88
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าจะยังมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และความกังวลว่า ธปท. อาจเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง และคำตัดสินของศาลปกครองให้ยุติการกระจายหุ้นบริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากคำแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความเห็นในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมสัปดาห์หน้า (28 มี.ค.) ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-