เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
8.3 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
8.3.1 ควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตให้ผลิตภาพการผลิตและ การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการที่ผลิต
ในประเทศไทยสูงขึ้น บนฐานความรู้และความเป็นไทย โดยใช้กระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์และห่วงโซ่อุปทาน และผสมผสานการใช้เทคโนโลยีกับการ
ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่า
สินค้า การกำหนดตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไทยมี ความได้เปรียบ (Niche market) การเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค (Pan Asian
Supply Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการโดยบูรณาการความเป็นไทยเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสื่อดิจิตัล แฟชั่น
และการท่องเที่ยว การพัฒนามาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานโลกทั้งสำหรับสินค้าส่งออกและเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้า
ที่ไม่ได้มาตรฐาน การพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า และการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีอย่างระมัดระวัง
8.3.2 สนับสนุนแหล่งทุน และยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความเป็นสากล นอกจากนี้ควรเน้นให้ประชาชนยึดหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเอง เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของรากหญ้าและชนชั้นกลางอย่างยั่งยืน
8.3.3 สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา การอบรมแรงงาน/พนักงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ
ประชาชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจและสังคมในประเทศและการเปลี่ยนแปลงทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในระดับโลก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่ง
เสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
8.4 โครงสร้างพื้นฐาน
พัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางกายภาพและเทคโนโลยี สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
ในภาคธุรกิจ การลดการใช้พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานชีวภาพและพลังงาน
ธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานดังกล่าวแทนน้ำมันและพลังงานสิ้นเปลืองอื่น ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าว มีปัจจัยที่ช่วยในการผลักดันให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล ได้แก่ การปฏิรูปการเมืองไม่
ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูปการศึกษาการฝึก
อบรมและพัฒนาองค์ความรู้อย่างจริงจัง การจัดสรรงบประมาณในสาขาที่มีศักยภาพและความจำเป็นสูงในระยะยาว การเชื่อมโยงกิจกรรมภาคเกษตร
อุตสาหกรรม และบริการให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน และการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อมทั้งในแนวดิ่งและแนว
นอน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันคือการเพิ่มผลิตภาพ นอกจากนี้ควรมี การร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันวิชาการ ในการกำหนด
ยุทธศาสตร์และโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาผลิตภาพ นวัตกรรม องค์ความรู้ รวมทั้งตราสินค้า สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ และสุดท้าย
ต้องส่งเสริมความตระหนักและความร่วมมือจากภาคประชาชน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
8.3 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
8.3.1 ควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตให้ผลิตภาพการผลิตและ การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการที่ผลิต
ในประเทศไทยสูงขึ้น บนฐานความรู้และความเป็นไทย โดยใช้กระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์และห่วงโซ่อุปทาน และผสมผสานการใช้เทคโนโลยีกับการ
ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่า
สินค้า การกำหนดตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไทยมี ความได้เปรียบ (Niche market) การเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค (Pan Asian
Supply Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการโดยบูรณาการความเป็นไทยเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสื่อดิจิตัล แฟชั่น
และการท่องเที่ยว การพัฒนามาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานโลกทั้งสำหรับสินค้าส่งออกและเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้า
ที่ไม่ได้มาตรฐาน การพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า และการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีอย่างระมัดระวัง
8.3.2 สนับสนุนแหล่งทุน และยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความเป็นสากล นอกจากนี้ควรเน้นให้ประชาชนยึดหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเอง เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของรากหญ้าและชนชั้นกลางอย่างยั่งยืน
8.3.3 สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา การอบรมแรงงาน/พนักงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ
ประชาชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจและสังคมในประเทศและการเปลี่ยนแปลงทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในระดับโลก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่ง
เสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
8.4 โครงสร้างพื้นฐาน
พัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางกายภาพและเทคโนโลยี สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
ในภาคธุรกิจ การลดการใช้พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานชีวภาพและพลังงาน
ธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานดังกล่าวแทนน้ำมันและพลังงานสิ้นเปลืองอื่น ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าว มีปัจจัยที่ช่วยในการผลักดันให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล ได้แก่ การปฏิรูปการเมืองไม่
ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูปการศึกษาการฝึก
อบรมและพัฒนาองค์ความรู้อย่างจริงจัง การจัดสรรงบประมาณในสาขาที่มีศักยภาพและความจำเป็นสูงในระยะยาว การเชื่อมโยงกิจกรรมภาคเกษตร
อุตสาหกรรม และบริการให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน และการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อมทั้งในแนวดิ่งและแนว
นอน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันคือการเพิ่มผลิตภาพ นอกจากนี้ควรมี การร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันวิชาการ ในการกำหนด
ยุทธศาสตร์และโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาผลิตภาพ นวัตกรรม องค์ความรู้ รวมทั้งตราสินค้า สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ และสุดท้าย
ต้องส่งเสริมความตระหนักและความร่วมมือจากภาคประชาชน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-