ร่างประเด็นการบรรยายสำหรับ นรม. พบนักธุรกิจ
วันที่ 11 มกราคม 2549 ณ ทำเนียบรัฐบาล(1)
"ประเทศไทย 2549 ปีแห่งการเติบโตที่มั่นคงสู่อนาคตที่ยั่งยืน"
1. ฝ่าฟันอุปสรรคเศรษฐกิจปี 2548
1.1 ปี 2548 มีเหตุการณ์ร้ายแรงและอุปสรรคทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมายเป็นประวัติการณ์
-ผลจากเหตุการณ์สึนามิปลายปี 2547 สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงทั้งชีวิตและจิตใจของผู้คนประกอบกับความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ภาคใต้ ส่งผลให้สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2548 ประมาณ 41,100 ล้านบาท
-ภัยแล้งต้นปีสร้างความเสียหายกับการเพาะปลูก ประมาณ 17,950 ล้านบาท และไข้หวัดนกที่ยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ดังนั้นภาค
เกษตรหดตัวในครึ่งปีแรกร้อยละ 6.7
-ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดของปีในเดือนสิงหาคม-กันยายน เฉลี่ย 56.60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล
-ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 ในเดือนตุลาคม
-ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งปี 2548 มีการปรับขึ้น 6 ครั้ง (จากร้อยละ 2
เมื่อต้นปีเป็นร้อยละ 4 ปลายปี) และโดยเฉพาะในเดือนกันยายน และ ตุลาคมนั้นเป็นการปรับเพิ่มถึง 50 จุด 2 ครั้งด้วยกัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
เริ่มทยอยปรับขึ้น
1.2 ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยจึงขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 และขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.6 โดยที่ในครึ่งปีแรกการส่ง
ออกก็ยังขยายตัวได้น้อย ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวมาก มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบในครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ดุลการค้าจึงขาดดุลถึง 8,118 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5,864 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเริ่มมีการขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดอีกครั้งหนึ่ง (คาดว่าทั้งปีจะขาดดุลลดลงเหลือ 3,125 ล้านดอลลาร์ สรอ.)
2. Turn around เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี
2.1 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีหรือที่เรียกว่า "มาตรการมงฟอร์ต" ประกอบ
ด้วย 27 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและดูแลไม่ให้มีผล
กระทบด้านลบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ การลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและดูแลการปรับราคาสินค้าควบคู่กันไป การบริหารการนำเข้าและส่งเสริมการประหยัด
พลังงาน การกระตุ้นการส่งออกและยกระดับราคาสินค้าเกษตร
2.2 ผลของมาตรการ การขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าทั้งปี 2548 เศรษฐกิจจะขยายตัว
ร้อยละ 4.7 โดยที่ในช่วงครึ่งหลังของปีภาวะเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ
-ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.1 และ 37.7 ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ทำให้ปริมาณการนำเข้าในช่วง 11 เดือนลด
ลงร้อยละ 4.8
-มูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นในขณะที่การนำเข้าขยายตัวในอัตราชะลอลง ดังนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเริ่มกลับมาเกินดุล
-รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ในไตรมาสที่ 3 และร้อยละ 33.1 ในเดือนตุลาคม
-อัตราเงินเฟ้อลดลงในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และอัตราเงินเฟ้อทั้งปีเท่ากับ ร้อยละ 4.5
2.3 เครื่องชี้อื่นๆ ก็แสดงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2548 อยู่ที่ระดับ
51.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และหนี้สาธารณะต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 45 อัตราการว่าง
งานเดือนพฤศจิกายนเฉลี่ยร้อยละ 1.2 และเท่ากับเฉลี่ยร้อยละ 1.9 สำหรับใน 10 เดือนแรก เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : (1) = สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9 มกราคม 2549
---------------------------------------------------------------------------------------------------
3. มองไปข้างหน้าในปี 2549
3.1 ในปี 2549 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย
จะอยู่ที่ระดับประมาณ 52 ดอลลาร์ต่อบาเรล ธนาคารกลางของสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีกไม่เกิน 100 จุดหรือ 1%
3.2 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวดีกว่าปีที่แล้ว โดยคาดว่าคงจะไม่ประสบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดหลายอย่างเหมือนเช่นปีที่แล้ว และ
ที่สำคัญเศรษฐกิจได้มีการปรับตัวต่อเงื่อนไขและสถานการณ์ต่างๆไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ย การปรับราคาน้ำมันให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด
โลก และการปรับเปลี่ยนจากการส่งออกไก่สดแช่แข็ง มาเป็นการส่งออกไก่ปรุงสุกซึ่งส่งออกได้ดีมากเมื่อประเทศอื่นเริ่มเผชิญไข้หวัดนก ซึ่งนับว่าเป็น
ตัวอย่างการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสที่ดีตัวอย่างหนึ่ง
3.3 ปี 2549 ปัจจัยที่จะผลักดันเศรษฐกิจไทย ได้แก่
(1) การลงทุนภาคเอกชน ซึ่ง
-เริ่มมีการผลิตเต็มกำลังในหลายสาขาและบรรยากาศการลงทุนในปีนี้ที่ได้รับการดูแลให้ดีกว่าปีที่แล้ว (เช่น การแก้ปัญหาน้ำภาค
อุตสาหกรรม การดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ) โดยเห็นได้จากมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI สูงขึ้นมากและมีเป้าหมายการส่งเสริมการ
ลงทุนถึง 8 แสนล้านบาทในปีนี้
-การลงทุนโครงการท่อก๊าซของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 75,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ภายในต้นปีนี้
(2) การลงทุนภาครัฐ มีรายการดังนี้
-การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 279,000 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติแล้ว (เป็นเงินรายได้รัฐวิสาหกิจและงบประมาณ ร้อยละ 62 ที่
เหลือเป็นเงินกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่) โครงการสำคัญ เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนพระนครเหนือและใต้ ระบบศูนย์สั่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพไฟฟ้า การขนส่งระบบราง เป็นต้น)
-โครงการ Mega projects ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณกว่า 95,000 ล้านบาท
-โครงการ Modernization (น้ำ ลอจิสติกส์ ขนส่งมวลชน การศึกษา ฯลฯ) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ภายในไตรมาส
ที่ 3 ของปีนี้
-ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวจะอยู่ในกรอบของงบประมาณที่สมดุล และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลไม่เกิน 2.5 -- 3.0% ของ
GDP โดยการดูแลให้แผนงานการลงทุนและอัตราการเบิกจ่ายให้สอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและมีเงินคงคลังเพียงพอ
(3) การส่งออกซึ่งในช่วงหลังของปี 2548 ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 20 และคาดว่าจะขยายตัวได้ดีต่อไป ตามการขยายตัว
เศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก
(4) การท่องเที่ยว หลังจากความหวาดกลัวจากเหตุการณ์สึนามิเริ่มคลี่คลาย และการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิจะส่งเสริมให้
นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
(5) ปริมาณน้ำที่กักเก็บในปีนี้พอเพียงสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวัน
ออก ดังนั้นปริมาณผลผลิตเกษตรกรรม และการขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจะมากกว่าในปีที่แล้ว
(6) ราคาน้ำมันที่ไม่เพิ่มขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วในครึ่งหลังของปี ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปี
จะไม่เกินร้อยละ 4 ดังนั้นในปี 2549 นี้กำลังซื้อของประชาชนจะดีขึ้น
3.4 นักประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ตัวเลขเป็นทางการของ สศช. คาดว่า
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.7-5.7 หรือค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 5.5 เป็นอย่างต่ำ หรือแม้กระทั่ง TDRI ก็คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.2 นอกจากนั้นรัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อ
เสถียรภาพของเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายจะควบคุมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับไม่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ของ GDP
4. มาตรการเศรษฐกิจในปี 2549: localization และ modernization
4.1 ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ รัฐบาลและเอกชนจะต้องร่วมมือกันในการผลักดันประเทศให้บรรลุเป้าหมายของการขยายตัว
ของเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
4.2 รัฐบาลยืนยันเจตนารมณ์ที่จะเสริมมาตรการ Dual Track ให้เข้มแข็งขึ้น โดย
(1) ในระดับฐานรากจะสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก้ไขความยากจน และเพิ่มมูลค่าและ
รักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรอย่างเหมาะสม
(2) ในระดับเศรษฐกิจที่ต้องแข็งขันและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ก็ต้องปรับโครงสร้างให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลก
โดยการพัฒนาตลาดและสินค้าใหม่ๆ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนา SMEs อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นทุกระดับของเศรษฐกิจต้องยึดการผสมผสานของ localization และ modernization ให้เหมาะสมกับ
ศักยภาพและโอกาสในแต่ละภาคส่วน เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์
มาตรการเพิ่มรายได้ ประกอบด้วย
-แก้ไขความยากจนโดยการจัดสรรที่ดิน แหล่งน้ำ เครื่องมือ พัฒนาการเกษตรและอาชีพเสริมเป้าหมาย ลดจากประมาณร้อยละ 11
เป็นร้อยละ 9.0 ในปี 2549
-เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยการแปรรูปเป็นอาหาร (Lotus/Nabisco) ยา และวัสดุไฟเบอร์ เป็นต้น
-เพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมโดยการออกแบบ วิจัยและพัฒนา สร้างแบรนด์ เป็นต้น
-เร่งการส่งออกสินค้าหลักและสินค้าเกษตร เช่น ไก่ กุ้ง ยาง อาหาร รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สินค้าOTOP เป็น
ต้น เป้าหมาย การส่งออกรวมของประเทศขยายตัวร้อยละ 16-17
-พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เช่น OTOP Village Cluster ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ Man Made เป็นต้น เป้าหมาย นักท่อง
เที่ยว 13 ล้านคน
-ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) โดยการอนุมัติการส่งเสริมผ่าน BOI และกระตุ้นให้เริ่มลงทุนจริง เป้าหมาย การส่ง
เสริมของ BOI 8 แสนล้านบาท
มาตรการลดรายจ่าย ประกอบด้วย
-ประหยัดการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม โดยการปรับกระบวนการผลิตและใช้พลังงานทดแทน และบริหารโลจิสติกส์ เป้าหมาย
ประหยัดการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5-10
-ส่งเสริม NGV/Gasohol เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการและเพิ่มปริมาณการผลิตต่อไร่ของพืชพลังงาน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
เป้าหมาย ทดแทนการใช้น้ำมัน 900 ล้านลิตรต่อวัน
-พัฒนา Bio-Diesel ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและระดับชุมชน
-แก้ปัญหาจราจร เริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และปลายปี 2549 รถเมล์ใหม่ขององค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ (ขสมก.) จะเปลี่ยนเป็นรถเมล์ปรับอากาศและเก็บค่าโดยสารถูก ใช้ก๊าซเอ็นจีวีของไทยเป็นเชื้อเพลิง
-บริหารการนำเข้า โดยประสานกับผู้ประกอบการและรัฐวิสาหกิจที่นำเข้าสินค้าทุนและขั้นกลางที่มีมูลค่าสูง เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 17
-ส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์
มาตรการขยายโอกาส ประกอบด้วย
-Megaprojects/Modernization เร่งลงทุนในงบที่ได้รับอนุมัติแล้วและหา development partners ในส่วนที่เหลือโดย
เร็ว งบลงทุนปี 2549 จากงบประมาณ 95,000 ลบ. รัฐวิสาหกิจ 279,000 ลบ. ปตท. ลงทุนท่อก๊าซ 75,000 ลบ.
-เสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชน ปรับปรุงกฎ ระเบียบ พิธีการ ที่ยังเป็นอุปสรรค
-เพิ่มประสิทธิภาพภาคธุรกิจ ปรับปรุงคุณภาพแรงงาน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มผู้ประกอบการโลจิสติกส์
-พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน เช่น การนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดทุน การพัฒนาร่วมกับตลาดในภูมิภาค เป็นต้น
-ขยายโอกาสภาคบริการ เช่น Open Sky Policy บริการสุขภาพ ภาพยนตร์ และการศึกษา เป็นต้น
5. สรุป
จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปีนี้ และมาตรการของรัฐบาลที่จะเริ่มการลงทุนเพื่ออนาคต ปี 2549 จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการ
ลงทุนในภาคเอกชนโดยขอให้ท่านมั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อว่าการลงทุนที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
ไทยอย่างยั่งยืนของท่านจะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
มาตรการรัฐบาลปี 2549
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
* ประหยัดการใช้พลังงานใน * แก้ไขความยากจน * Megaprojects/Modernization
ภาคอุตสาหกรรม เป้าหมาย ร้อยละ 9.0 งบลงทุน จากงบประมาณ 95
เป้าหมาย ประหยัดการใช้พลังงาน พลบ. รัฐวิสาหกิจ 279 พลบ.
ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5-10 ปตท. ลงทุนท่อก๊าซ 75 พลบ.
* ส่งเสริม NGV/Gasohol * เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร * เสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน
เป้าหมาย ทดแทนการใช้น้ำมัน โดยการแปรรูปเป็นอาหาร ยา และ ภาคเอกชน
900 ล้านลิตรต่อวัน วัสดุไฟเบอร์ เป็นต้น
* พัฒนา Bio-Diesel ในระดับ * เพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรม * เพิ่มประสิทธิภาพภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมและระดับชุมชน โดยการอกแบบ วิจัยและพัฒนา
สร้างแบรนด์ เป็นต้น
* แก้ปัญหาจราจรใน กทม. * เร่งการส่งออก * พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน
เป้าหมาย ร้อยละ 16-17
* บริหารการนำเข้า * พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เช่น OTOP * ขยายโอกาสภาคบริการ เช่น
เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 17 Village Cluster ประวัติศาสตร์ Open Sky Policy บริการสุขภาพ
วัฒนธรรม และ Man Made เป็นต้น ภาพยนตร์ และการศึกษา เป็นต้น
เป้าหมาย นักท่องเที่ยว 13 ล้านคน
* ส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ * ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
(FDI)
เป้าหมาย BOI 8 แสนล้านบาท
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ
ปี 2547 ปี 2548 H1 ปี 2548 H2
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์ต่อบาเรล) 33.65 44.54 ก.ค.-พ.ย.เฉลี่ย 54.02
เงินเฟ้อทั่วไป (%) 2.8 3.3 ก.ค.-ธ.ค.เฉลี่ย 5.8
อัตราดอกเบี้ย MLR (%) เดือน ธ.ค. 5.5-5.75 5.5-5.75 เดือน ก.ย. 6.00-6.50
GDP (%) 6.1 3.9 Q3 = 5.3
การเพิ่มรายได้เกษตรกร (%) 16.7 12.1 Q3 = 29.4
การจ้างงาน (ล้านคน) 34.850 34.355 Q3 = 36.475
อัตราการว่างงาน (%) 1.98 2.16 Q3 = 1.3
การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม(%) 68.7 70.4 Q3 = 71.0
การขยายตัวมูลค่าส่งออก (%) 21.6 13.2 Q3 = 22.7
การขยายตัวมูลค่านำเข้า (%) 26.0 31.9 Q3 = 22.7
ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ(กรมธุรกิจพลังงาน) 12.4 -1.1 Q3 = 0.7
ดุลการค้า (ล้านUS$) 1,235 -8,118 Q3 = 204
ดุลบัญชีเดินสะพัด(ล้านUS$) 6,640 -5,864 Q3 = 1,153
หนี้สาธารณะต่อ GDP (%) 47.5 45.0 เดือน ก.ย.= 45.9
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ (พันล้านUS$) เดือน ธ.ค. = 49.8 48.4 23 ธ.ค.= 51.7
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
วันที่ 11 มกราคม 2549 ณ ทำเนียบรัฐบาล(1)
"ประเทศไทย 2549 ปีแห่งการเติบโตที่มั่นคงสู่อนาคตที่ยั่งยืน"
1. ฝ่าฟันอุปสรรคเศรษฐกิจปี 2548
1.1 ปี 2548 มีเหตุการณ์ร้ายแรงและอุปสรรคทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมายเป็นประวัติการณ์
-ผลจากเหตุการณ์สึนามิปลายปี 2547 สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงทั้งชีวิตและจิตใจของผู้คนประกอบกับความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ภาคใต้ ส่งผลให้สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2548 ประมาณ 41,100 ล้านบาท
-ภัยแล้งต้นปีสร้างความเสียหายกับการเพาะปลูก ประมาณ 17,950 ล้านบาท และไข้หวัดนกที่ยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ดังนั้นภาค
เกษตรหดตัวในครึ่งปีแรกร้อยละ 6.7
-ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดของปีในเดือนสิงหาคม-กันยายน เฉลี่ย 56.60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล
-ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 ในเดือนตุลาคม
-ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งปี 2548 มีการปรับขึ้น 6 ครั้ง (จากร้อยละ 2
เมื่อต้นปีเป็นร้อยละ 4 ปลายปี) และโดยเฉพาะในเดือนกันยายน และ ตุลาคมนั้นเป็นการปรับเพิ่มถึง 50 จุด 2 ครั้งด้วยกัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
เริ่มทยอยปรับขึ้น
1.2 ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยจึงขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 และขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.6 โดยที่ในครึ่งปีแรกการส่ง
ออกก็ยังขยายตัวได้น้อย ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวมาก มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบในครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85 ดุลการค้าจึงขาดดุลถึง 8,118 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5,864 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเริ่มมีการขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดอีกครั้งหนึ่ง (คาดว่าทั้งปีจะขาดดุลลดลงเหลือ 3,125 ล้านดอลลาร์ สรอ.)
2. Turn around เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี
2.1 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีหรือที่เรียกว่า "มาตรการมงฟอร์ต" ประกอบ
ด้วย 27 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและดูแลไม่ให้มีผล
กระทบด้านลบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ การลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและดูแลการปรับราคาสินค้าควบคู่กันไป การบริหารการนำเข้าและส่งเสริมการประหยัด
พลังงาน การกระตุ้นการส่งออกและยกระดับราคาสินค้าเกษตร
2.2 ผลของมาตรการ การขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าทั้งปี 2548 เศรษฐกิจจะขยายตัว
ร้อยละ 4.7 โดยที่ในช่วงครึ่งหลังของปีภาวะเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ
-ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.1 และ 37.7 ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ทำให้ปริมาณการนำเข้าในช่วง 11 เดือนลด
ลงร้อยละ 4.8
-มูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นในขณะที่การนำเข้าขยายตัวในอัตราชะลอลง ดังนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเริ่มกลับมาเกินดุล
-รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ในไตรมาสที่ 3 และร้อยละ 33.1 ในเดือนตุลาคม
-อัตราเงินเฟ้อลดลงในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และอัตราเงินเฟ้อทั้งปีเท่ากับ ร้อยละ 4.5
2.3 เครื่องชี้อื่นๆ ก็แสดงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2548 อยู่ที่ระดับ
51.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และหนี้สาธารณะต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 45 อัตราการว่าง
งานเดือนพฤศจิกายนเฉลี่ยร้อยละ 1.2 และเท่ากับเฉลี่ยร้อยละ 1.9 สำหรับใน 10 เดือนแรก เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : (1) = สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9 มกราคม 2549
---------------------------------------------------------------------------------------------------
3. มองไปข้างหน้าในปี 2549
3.1 ในปี 2549 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย
จะอยู่ที่ระดับประมาณ 52 ดอลลาร์ต่อบาเรล ธนาคารกลางของสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีกไม่เกิน 100 จุดหรือ 1%
3.2 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวดีกว่าปีที่แล้ว โดยคาดว่าคงจะไม่ประสบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดหลายอย่างเหมือนเช่นปีที่แล้ว และ
ที่สำคัญเศรษฐกิจได้มีการปรับตัวต่อเงื่อนไขและสถานการณ์ต่างๆไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ย การปรับราคาน้ำมันให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด
โลก และการปรับเปลี่ยนจากการส่งออกไก่สดแช่แข็ง มาเป็นการส่งออกไก่ปรุงสุกซึ่งส่งออกได้ดีมากเมื่อประเทศอื่นเริ่มเผชิญไข้หวัดนก ซึ่งนับว่าเป็น
ตัวอย่างการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสที่ดีตัวอย่างหนึ่ง
3.3 ปี 2549 ปัจจัยที่จะผลักดันเศรษฐกิจไทย ได้แก่
(1) การลงทุนภาคเอกชน ซึ่ง
-เริ่มมีการผลิตเต็มกำลังในหลายสาขาและบรรยากาศการลงทุนในปีนี้ที่ได้รับการดูแลให้ดีกว่าปีที่แล้ว (เช่น การแก้ปัญหาน้ำภาค
อุตสาหกรรม การดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ) โดยเห็นได้จากมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI สูงขึ้นมากและมีเป้าหมายการส่งเสริมการ
ลงทุนถึง 8 แสนล้านบาทในปีนี้
-การลงทุนโครงการท่อก๊าซของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 75,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ภายในต้นปีนี้
(2) การลงทุนภาครัฐ มีรายการดังนี้
-การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 279,000 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติแล้ว (เป็นเงินรายได้รัฐวิสาหกิจและงบประมาณ ร้อยละ 62 ที่
เหลือเป็นเงินกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่) โครงการสำคัญ เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนพระนครเหนือและใต้ ระบบศูนย์สั่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพไฟฟ้า การขนส่งระบบราง เป็นต้น)
-โครงการ Mega projects ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณกว่า 95,000 ล้านบาท
-โครงการ Modernization (น้ำ ลอจิสติกส์ ขนส่งมวลชน การศึกษา ฯลฯ) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มโครงการได้ภายในไตรมาส
ที่ 3 ของปีนี้
-ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวจะอยู่ในกรอบของงบประมาณที่สมดุล และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลไม่เกิน 2.5 -- 3.0% ของ
GDP โดยการดูแลให้แผนงานการลงทุนและอัตราการเบิกจ่ายให้สอดคล้องกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและมีเงินคงคลังเพียงพอ
(3) การส่งออกซึ่งในช่วงหลังของปี 2548 ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 20 และคาดว่าจะขยายตัวได้ดีต่อไป ตามการขยายตัว
เศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก
(4) การท่องเที่ยว หลังจากความหวาดกลัวจากเหตุการณ์สึนามิเริ่มคลี่คลาย และการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิจะส่งเสริมให้
นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
(5) ปริมาณน้ำที่กักเก็บในปีนี้พอเพียงสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวัน
ออก ดังนั้นปริมาณผลผลิตเกษตรกรรม และการขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจะมากกว่าในปีที่แล้ว
(6) ราคาน้ำมันที่ไม่เพิ่มขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วในครึ่งหลังของปี ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปี
จะไม่เกินร้อยละ 4 ดังนั้นในปี 2549 นี้กำลังซื้อของประชาชนจะดีขึ้น
3.4 นักประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ตัวเลขเป็นทางการของ สศช. คาดว่า
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.7-5.7 หรือค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 5.5 เป็นอย่างต่ำ หรือแม้กระทั่ง TDRI ก็คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.2 นอกจากนั้นรัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อ
เสถียรภาพของเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายจะควบคุมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับไม่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ของ GDP
4. มาตรการเศรษฐกิจในปี 2549: localization และ modernization
4.1 ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ รัฐบาลและเอกชนจะต้องร่วมมือกันในการผลักดันประเทศให้บรรลุเป้าหมายของการขยายตัว
ของเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
4.2 รัฐบาลยืนยันเจตนารมณ์ที่จะเสริมมาตรการ Dual Track ให้เข้มแข็งขึ้น โดย
(1) ในระดับฐานรากจะสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก้ไขความยากจน และเพิ่มมูลค่าและ
รักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรอย่างเหมาะสม
(2) ในระดับเศรษฐกิจที่ต้องแข็งขันและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ก็ต้องปรับโครงสร้างให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลก
โดยการพัฒนาตลาดและสินค้าใหม่ๆ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนา SMEs อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นทุกระดับของเศรษฐกิจต้องยึดการผสมผสานของ localization และ modernization ให้เหมาะสมกับ
ศักยภาพและโอกาสในแต่ละภาคส่วน เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์
มาตรการเพิ่มรายได้ ประกอบด้วย
-แก้ไขความยากจนโดยการจัดสรรที่ดิน แหล่งน้ำ เครื่องมือ พัฒนาการเกษตรและอาชีพเสริมเป้าหมาย ลดจากประมาณร้อยละ 11
เป็นร้อยละ 9.0 ในปี 2549
-เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรโดยการแปรรูปเป็นอาหาร (Lotus/Nabisco) ยา และวัสดุไฟเบอร์ เป็นต้น
-เพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมโดยการออกแบบ วิจัยและพัฒนา สร้างแบรนด์ เป็นต้น
-เร่งการส่งออกสินค้าหลักและสินค้าเกษตร เช่น ไก่ กุ้ง ยาง อาหาร รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สินค้าOTOP เป็น
ต้น เป้าหมาย การส่งออกรวมของประเทศขยายตัวร้อยละ 16-17
-พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เช่น OTOP Village Cluster ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ Man Made เป็นต้น เป้าหมาย นักท่อง
เที่ยว 13 ล้านคน
-ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) โดยการอนุมัติการส่งเสริมผ่าน BOI และกระตุ้นให้เริ่มลงทุนจริง เป้าหมาย การส่ง
เสริมของ BOI 8 แสนล้านบาท
มาตรการลดรายจ่าย ประกอบด้วย
-ประหยัดการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม โดยการปรับกระบวนการผลิตและใช้พลังงานทดแทน และบริหารโลจิสติกส์ เป้าหมาย
ประหยัดการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5-10
-ส่งเสริม NGV/Gasohol เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการและเพิ่มปริมาณการผลิตต่อไร่ของพืชพลังงาน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
เป้าหมาย ทดแทนการใช้น้ำมัน 900 ล้านลิตรต่อวัน
-พัฒนา Bio-Diesel ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและระดับชุมชน
-แก้ปัญหาจราจร เริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และปลายปี 2549 รถเมล์ใหม่ขององค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ (ขสมก.) จะเปลี่ยนเป็นรถเมล์ปรับอากาศและเก็บค่าโดยสารถูก ใช้ก๊าซเอ็นจีวีของไทยเป็นเชื้อเพลิง
-บริหารการนำเข้า โดยประสานกับผู้ประกอบการและรัฐวิสาหกิจที่นำเข้าสินค้าทุนและขั้นกลางที่มีมูลค่าสูง เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 17
-ส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์
มาตรการขยายโอกาส ประกอบด้วย
-Megaprojects/Modernization เร่งลงทุนในงบที่ได้รับอนุมัติแล้วและหา development partners ในส่วนที่เหลือโดย
เร็ว งบลงทุนปี 2549 จากงบประมาณ 95,000 ลบ. รัฐวิสาหกิจ 279,000 ลบ. ปตท. ลงทุนท่อก๊าซ 75,000 ลบ.
-เสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชน ปรับปรุงกฎ ระเบียบ พิธีการ ที่ยังเป็นอุปสรรค
-เพิ่มประสิทธิภาพภาคธุรกิจ ปรับปรุงคุณภาพแรงงาน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มผู้ประกอบการโลจิสติกส์
-พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน เช่น การนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดทุน การพัฒนาร่วมกับตลาดในภูมิภาค เป็นต้น
-ขยายโอกาสภาคบริการ เช่น Open Sky Policy บริการสุขภาพ ภาพยนตร์ และการศึกษา เป็นต้น
5. สรุป
จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปีนี้ และมาตรการของรัฐบาลที่จะเริ่มการลงทุนเพื่ออนาคต ปี 2549 จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการ
ลงทุนในภาคเอกชนโดยขอให้ท่านมั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อว่าการลงทุนที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
ไทยอย่างยั่งยืนของท่านจะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
มาตรการรัฐบาลปี 2549
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
* ประหยัดการใช้พลังงานใน * แก้ไขความยากจน * Megaprojects/Modernization
ภาคอุตสาหกรรม เป้าหมาย ร้อยละ 9.0 งบลงทุน จากงบประมาณ 95
เป้าหมาย ประหยัดการใช้พลังงาน พลบ. รัฐวิสาหกิจ 279 พลบ.
ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5-10 ปตท. ลงทุนท่อก๊าซ 75 พลบ.
* ส่งเสริม NGV/Gasohol * เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร * เสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน
เป้าหมาย ทดแทนการใช้น้ำมัน โดยการแปรรูปเป็นอาหาร ยา และ ภาคเอกชน
900 ล้านลิตรต่อวัน วัสดุไฟเบอร์ เป็นต้น
* พัฒนา Bio-Diesel ในระดับ * เพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรม * เพิ่มประสิทธิภาพภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมและระดับชุมชน โดยการอกแบบ วิจัยและพัฒนา
สร้างแบรนด์ เป็นต้น
* แก้ปัญหาจราจรใน กทม. * เร่งการส่งออก * พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน
เป้าหมาย ร้อยละ 16-17
* บริหารการนำเข้า * พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เช่น OTOP * ขยายโอกาสภาคบริการ เช่น
เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 17 Village Cluster ประวัติศาสตร์ Open Sky Policy บริการสุขภาพ
วัฒนธรรม และ Man Made เป็นต้น ภาพยนตร์ และการศึกษา เป็นต้น
เป้าหมาย นักท่องเที่ยว 13 ล้านคน
* ส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ * ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
(FDI)
เป้าหมาย BOI 8 แสนล้านบาท
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ
ปี 2547 ปี 2548 H1 ปี 2548 H2
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์ต่อบาเรล) 33.65 44.54 ก.ค.-พ.ย.เฉลี่ย 54.02
เงินเฟ้อทั่วไป (%) 2.8 3.3 ก.ค.-ธ.ค.เฉลี่ย 5.8
อัตราดอกเบี้ย MLR (%) เดือน ธ.ค. 5.5-5.75 5.5-5.75 เดือน ก.ย. 6.00-6.50
GDP (%) 6.1 3.9 Q3 = 5.3
การเพิ่มรายได้เกษตรกร (%) 16.7 12.1 Q3 = 29.4
การจ้างงาน (ล้านคน) 34.850 34.355 Q3 = 36.475
อัตราการว่างงาน (%) 1.98 2.16 Q3 = 1.3
การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม(%) 68.7 70.4 Q3 = 71.0
การขยายตัวมูลค่าส่งออก (%) 21.6 13.2 Q3 = 22.7
การขยายตัวมูลค่านำเข้า (%) 26.0 31.9 Q3 = 22.7
ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ(กรมธุรกิจพลังงาน) 12.4 -1.1 Q3 = 0.7
ดุลการค้า (ล้านUS$) 1,235 -8,118 Q3 = 204
ดุลบัญชีเดินสะพัด(ล้านUS$) 6,640 -5,864 Q3 = 1,153
หนี้สาธารณะต่อ GDP (%) 47.5 45.0 เดือน ก.ย.= 45.9
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ (พันล้านUS$) เดือน ธ.ค. = 49.8 48.4 23 ธ.ค.= 51.7
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-