-สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาตึงตัวอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนเพื่อเตรียมสภาพคล่องรองรับการเบิกถอนในช่วงวันหยุดยาว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน 1 เดือน และอัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจนถึงกลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขอัตราการว่างงานเดือนมกราคมที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลดการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังทราบผลดุลเคลียริ่ง โดยธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ทำให้อัตราดอกเบี้ย ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 และ 4.21875 ต่อปี ตามลำดับ สภาพคล่องกลับมาตึงตัวอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ลดการลงทุนเพื่อเตรียมสภาพคล่องรองรับการเบิกถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน กลับมาปิดตลาดสูงขึ้นเท่ากับช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ 1 เดือน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.25 และ 4.28125 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 3.75 - 4.28 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 51,500 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 6 และ 8 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 26,200 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 25,300 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 88,226 ล้านบาท หรือ 17,645 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.3 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 81 ซึ่งธุรกรรม Outright เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนถึงร้อยละ 35 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-6 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 21 และ 10 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 5-13 basis points หลังจากที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed ออกมากล่าวว่า Fed Fund Rate มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นต่อไป เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้สหรัฐฯ ได้ออกพันธบัตรฯ อายุ 30 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี โดยเฉพาะจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจนถึงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน นอกจากนี้เงินบาทยังถูกกดดันจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความ ไม่แน่นอน และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.ปรับแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข อัตราการว่างงานเดือนมกราคมที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี มาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี โดยดัชนีราคาขายส่งเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี อย่างไรก็ตามแม้เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าขึ้น ในช่วงปลายสัปดาห์ แต่ตลาดก็ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์การเมือง และทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มีการชะลอการลงทุนในธุรกรรมขนาดใหญ่
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 30 ม.ค. - 3 ก.พ. 49 39.15
6 ก.พ. 49 39.30
7 ก.พ. 49 39.62
8 ก.พ. 49 38.64
9 ก.พ. 49 39.59
10 ก.พ. 49 39.44
เฉลี่ย 6 ก.พ. - 10 ก.พ. 49 39.52
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจนถึงกลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขอัตราการว่างงานเดือนมกราคมที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคาร ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลดการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังทราบผลดุลเคลียริ่ง โดยธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ทำให้อัตราดอกเบี้ย ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 และ 4.21875 ต่อปี ตามลำดับ สภาพคล่องกลับมาตึงตัวอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ลดการลงทุนเพื่อเตรียมสภาพคล่องรองรับการเบิกถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน กลับมาปิดตลาดสูงขึ้นเท่ากับช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ 1 เดือน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.25 และ 4.28125 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 3.75 - 4.28 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 51,500 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 6 และ 8 ปี วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 26,200 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 25,300 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 88,226 ล้านบาท หรือ 17,645 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.3 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 81 ซึ่งธุรกรรม Outright เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนถึงร้อยละ 35 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-6 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 21 และ 10 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 5-13 basis points หลังจากที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed ออกมากล่าวว่า Fed Fund Rate มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นต่อไป เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้สหรัฐฯ ได้ออกพันธบัตรฯ อายุ 30 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี โดยเฉพาะจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.52 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจนถึงกลางสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน นอกจากนี้เงินบาทยังถูกกดดันจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความ ไม่แน่นอน และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.ปรับแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข อัตราการว่างงานเดือนมกราคมที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี มาอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี โดยดัชนีราคาขายส่งเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี อย่างไรก็ตามแม้เงินบาทจะกลับมาแข็งค่าขึ้น ในช่วงปลายสัปดาห์ แต่ตลาดก็ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์การเมือง และทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มีการชะลอการลงทุนในธุรกรรมขนาดใหญ่
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 30 ม.ค. - 3 ก.พ. 49 39.15
6 ก.พ. 49 39.30
7 ก.พ. 49 39.62
8 ก.พ. 49 38.64
9 ก.พ. 49 39.59
10 ก.พ. 49 39.44
เฉลี่ย 6 ก.พ. - 10 ก.พ. 49 39.52
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-