แม้ว่าสถานการณ์การลงทุนและการส่งออกของประเทศอินโดนีเซียจะฟื้นตัว ดีขึ้น แต่ดัชนีชี้วัดบรรยากาศการลงทุนก็ยังด้อยกว่าประเทศคู่แข่งในหลายๆ ด้าน โดยปัจจัยเกี่ยวข้องที่สำคัญคือ ความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐทั้งส่วนกลางและระดับท้องถิ่น คณะผู้บริหารประเทศชุดใหม่โดยการนำของประธานาธิบดี ดร. ซูสิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono: SBY) ได้กำหนดนโยบายและให้ความสำคัญการส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน แต่ก็ยังประสบปัญหาอีกหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับของการปฏิบัติ การปรับรูปแบบในระดับจุลภาคมุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆ สำหรับนโยบายในระดับมหภาค ส่วนใหญ่เป้าหมายและทิศทางได้มีการกำหนดไว้โดยรัฐบาลชุดที่แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม การปรับรูปแบบในระดับจุลภาคจะดำเนินได้ยากกว่าในระดับมหภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กันทั้งในด้านการเมืองและปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
1) สำหรับความไม่แน่นอนทางนโยบายนั้น มีสาเหตุมาจาก
1.1) ระบบการเมืองที่ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองระบบประชาธิปไตย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่มีความชัดเจน และคาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่
1.2) การกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปส่วนภูมิภาค ยังประสบปัญหาด้านการกำหนดอำนาจและความรับผิดชอบ รวมทั้งมีการคอรับชั่นมากขึ้น จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการต้องใช้เวลาสัปดาห์ละ 10 % ในเรื่องกฎระเบียบของรัฐบาลท้องถิ่น
1.3) วิกฤตทางการเงิน ทำให้รัฐบาลกลางมีข้อจำกัดเนื่องจากมีหนี้เพิ่มขึ้น
1.4) หน่วยงานปกครองท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพารัฐบาลกลาง
1.5) ภาระหนี้ในสัดส่วนที่สูง (ประมาณ 35% ของ GDP) ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงและต้องรับความช่วยเหลือมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าการลดภาระหนี้ยังเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอยู่ สำหรับการรับความช่วยเหลือทางด้านการเงินเป็นอีกภาระหนึ่งที่รัฐบาลต้องแก้ไข
1.6) วิกฤตทางการเงินทำให้รัฐบาลมีศักยภาพลดลงในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
2) ประเทศอินโดนีเซียได้พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาใน 2 กรณี คือ
2.1) กรณีที่ 1 แก้ปัญหาความไม่แน่นอนของนโยบายซึ่งมีสาเหตุมาจากรัฐบาลท้องถิ่น โดยการแก้ไขกฎหมายการกระจายอำนาจและความเชื่อมโยงกับรัฐบาลกลาง แก้ไขระบบการติดตามตรวจสอบซึ่งมีความซ้ำซ้อนระหว่าง Ministry of Finance และ Ministry of Home Affair รวมทั้ง สร้างความเข้มแข็งให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถรับผิดชอบในการสร้างบรรยากาศการลงทุน เช่น การพัฒนาถนน การพัฒนาแรงงานทักษะ
2.2) กรณีที่ 2 ปรับปรุงแก้ไขตลาดแรงงาน โดยใช้กระบวนการ Bottom-up ในการสร้างข้อตกลงร่วมกัน และกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับตลาดแรงงาน โดยการจัดให้มีความคล่องตัวมากขึ้นในการทำสัญญาจัดจ้างแรงงานหรือการต่อสัญญาในการจัดจ้าง การใช้กฎระเบียบที่ยืดหยุ่นสำหรับการจัดจ้างบุคลากรจากภายนอก รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นการร่วมหารือระหว่าง 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ
3) บทสรุปและข้อสังเกตที่ประเทศอินโดนีเซียได้รับ
3.1) ปัญหาของประเทศอินโดนีเซีย คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจ มหภาคและนักการเมืองจะต้องดำเนินการทั้งด้านกฎหมายการเงิน การบริหารจัดการด้านภาษี กฎหมายด้านแรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นงานที่รัฐบาลต้องดำเนินการอีกมากสำหรับการปฏิรูป
3.2) รัฐบาลประเทศอินโดนีเซียมีความจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นในการตั้งองค์กรจัดเก็บรายได้ รวมทั้ง ปรับปรุงระบบเงินโอนและการแทรกแซงทางด้านภาษี ทั้งนี้เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีความจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งด้านการควบคุมดูแลกฏระเบียบทางธุรกิจ การบิดเบือนทางการค้าและการควบคุมที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน ในส่วนของการค้าระหว่างประชากรในท้องถิ่น และการค้าระหว่างเกาะต่างๆ รวมทั้ง มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่น 400 แห่ง และ เขตปกครองพิเศษ 3 เขต โดยต้องมีการบริหารจัดการที่ดีทั้งในระดับวางแผนและระดับปฏิบัติ รวมทั้ง ให้ความสนใจและจัดสมดุลระหว่างกระบวนการและทิศทางของผลที่คาดว่าจะได้รับ
3.3) รัฐบาลท้องถิ่นเป็นส่วนที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีหลายภาคส่วนแบบอินโดนีเซีย
3.4) การจัดตั้งหรือพัฒนาองค์กรขึ้นมาใหม่ อาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหา ถ้าไม่สามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ได้
4) ประเทศไอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้หลักปฏิบัติของระบบธรรมาภิบาล (Good Governance) กำหนดนโยบายการบริหารประเทศในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
4.1) กฏระเบียบด้านการคลัง
4.2) ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง ซึ่งในกรณีของประเทศอินโดนีเซีย การให้อิสระธนาคารกลางดำเนินการโดยผ่านทางรัฐสภาไม่ใช่รัฐธรรมนูญ และไม่มีเหตุผลรองรับที่ชัดเจน
4.3) กฏระเบียบทางด้านการเงิน
4.4) ปัจจัยแวดล้อมทางด้านกฏระเบียบ
4.4.1) จัดแยกกฏหมายและกฏระเบียบที่ไม่เป็นประโยชน์และเป็นช่องทางในการทุจริตคอร์รับชั่นเข้าสู่การดูแลของ Supervisory Commission for Business Competition
4.4.2) รวบรัดกระบวนการทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment) การลงทุนในประเทศ (Domestic Investment) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.4.3) ลดอุปสรรคด้านการจัดทำเอกสารทางธุรกิจ โดยการปรับเปลี่ยนจากรายงานภาษีในแต่ละเดือนและไตรมาส เป็นรายงานประจำปี
4.5) นโยบายการแข่งขัน
4.5.1) นโยบายของสหภาพยุโรปได้มีการปฏิรูปให้มีทิศทางในลักษณะของกฏข้อห้ามไม่ใช่การควบคุมที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน
4.5.2) การดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมดูแลในแนวนอน (Horizontal) ได้มีการปฏิรูปในทิศทางที่ป้องกันมิให้เกิดการแบ่งแยกตลาด
4.5.3) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลดข้อจำกัดของภาค อุตสาหกรรม การดำเนินการประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ (1) การประเมินสถานการณ์จากส่วนที่มีการแข่งขันโดยให้อิสระองค์กรที่ต่อต้านการผูกขาดในภาคธุรกิจ (2) การประเมินจากปัจจัยอื่นๆ อาทิเช่น สังคม นโยบายอุตสาหกรรม หรือผ่านทางกระทรวงต่างๆ
4.7) การจัดหาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะให้พอเพียง
4.8) การตรวจสอบระบบรัฐสภา สื่อมวลชนและกระบวนการยุติธรรม
4.8.1) หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ศาลฎีกา และสำนักงบประมาณ ควรได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอจากรัฐสภา และเป็นหน่วยงานอิสระที่มีกฎหมายรองรับ
4.8.2) กระบวนการยุติธรรมและรัฐสภาสามารถตรวจสอบได้ และมีลักษณะเป็นสากล เช่น ในด้านความโปร่งใส
4.8.3) มีแบบแผนที่ดีด้านการบัญญัติกฎหมายและกฏระเบียบต่างๆ เพื่อให้อิสระแก่สื่อมวลชน
4.9) โครงสร้างภาคราชการ
4.9.1) ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่ง
4.9.2) กำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
4.10) การมีส่วนร่วมของสังคม
4.10.1) ความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐจะลดน้อยลงถ้าหากภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้การกำหนดข้อตกลงในเรื่องที่ไม่พึงประสงค์ แต่มีความจำเป็นในการปฏิรูป
4.10.2) สำหรับกรณีของประเทศอินโดนีเซีย สภาหอการค้าและอุตสาหกรรม (Indonesian Chamber of Commerce and Industry) เป็นองค์กรที่สามารถช่วยในการปรับปรุงจุดอ่อนด้านนโยบายและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยในการสร้างความเข้มแข็งและนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะที่จะบรรลุเป้าหมายเชิงนโยบายในสากล
2.2.5 เรื่องที่ 5 โครงสร้างพื้นฐาน: กรณีศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์
1) ประเทศฟิลิปปินส์ประสบปัญหาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากรัฐบาลขาดงบประมาณดำเนินการทั้งในด้านการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ รายละเอียดด้านวิศวกรรม กระบวนการยื่นประมูลและทำสัญญา รวมทั้ง ปัญหาด้านการบำรุงรักษา และความซ้ำซ้อนของโครงการ
2) รัฐบาลได้ลงทุนสินทรัพย์ในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเชิงพาณิชย์โดยผ่านทาง National Development Company (NDC) และจัดตั้ง Present the Philippine Infrastructure Corporation (PIC) เพื่อช่วยในการพัฒนาโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาคธนาคาร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลดภาระด้านงบประมาณ เมื่อภาคเอกชนมีความพร้อมในการลงทุน
3) เป้าหมายของ PIC คือ ยกระดับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการลงทุนจากภาคเอกชนในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ รวมทั้ง สร้างแนวทางใหม่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
4) รูปแบบการดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นดังนี้
5) กลไกการแทรกแซงที่สำคัญของภาครัฐ ประกอบด้วย
5.1) การจัดตั้งองค์กรเพื่อคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และให้การสนับสนุนเงินทุนตามขั้นตอนของ PIC
5.2) หน่วยงานซึ่งดูแลด้านโครงสร้างพื้นฐานและ NDC ร่วมกันพิจารณาโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาคธนาคาร
5.3) การให้สัมปทาน NDC ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะกิจ
6) กรณีตัวอย่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม: ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
6.1) ประเทศญี่ปุ่น เป็นกรณีตัวอย่างซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพียงส่วนน้อย รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง
6.1.1) ในปี 1956 ญี่ปุ่นได้ก่อตั้ง Japan Highway Corporation (JH) เพื่อก่อสร้างและดูแลเส้นทางสายหลักของประเทศ โดยได้รับสิทธิพิเศษบางประการ เช่น การยกเว้นภาษี และรัฐบาลเป็นผู้ดูแลตรวจสอบการดำเนินการ
6.1.2) ในปี 1972 ได้เกิดปัญหาด้านงบประมาณ จึงได้มีการนำระบบการรวมรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านทางทั้งประเทศมาใช้ เพื่อให้สามารถครอบคลุมต้นทุนการก่อสร้าง การบำรุงรักษา การชำระดอกเบี้ย และการชำระคืนแหล่งเงินกู้ต่างๆ เช่น การไถ่ถอนพันธบัตร
6.1.3) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2003 JH มีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 62.3 ล้านล้านเยน ซึ่งมาจากการสนับสนุนของภาครัฐ 4.1 ล้านล้านเยน และกู้ยืมจากธนาคารโลก 137 พันล้านเยน ความต้องการสูงในการใช้เส้นทางสายหลัก เช่น โตเกียว - นาโกยา - โกเบ ทำให้มีรายได้เพียงพอที่จะนำไปใช้สร้างเส้นทางอื่น
6.1.4) JH มีการรวมเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเส้นทางสายหลัก นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการแทรกแซงการเมืองในแต่ละท้องถิ่น
6.1.5) ความล่าช้าในการก่อสร้างมีสาเหตุมาจากการเวนคืนที่ดินซึ่งดำเนินการได้ยาก เนื่องจากการปกป้องสิทธิของเจ้าของ กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และระดับราคาที่มีการเปลี่ยนแปลง
(ยังมีต่อ).../6.2) ประเทศเกาหลี..