(ต่อ1) แผนกลยุทธ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2547 - 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 1, 2005 15:46 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                                             (2)  ถ่ายโอนภารกิจการวิเคราะห์โครงการลงทุนด้านเศรษฐกิจและ สังคม เช่น โครงการด้านอุตสาหกรรม การเกษตร โครงสร้าง  พื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี สิ่ง  แวดล้อม เป็นต้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดของส่วนราชการและ  รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ โดย สศช. เป็น  ผู้วิเคราะห์และจัดทำแผนการลงทุนด้านเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศในภาพรวม 
1.1.9 การถ่ายโอนงานการจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศระยะ 3 ปี ปัจจุบัน สศช. เป็นผู้จัดทำแผนเงินกู้ต่างประเทศภายใต้ขอบเขตภารกิจ เดิมที่กำหนดไว้ในระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ พ.ศ.2528 ซึ่งจะโอน ภารกิจดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลัง เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะ ของประเทศสามารถกระทำได้ครบวงจรภายในหน่วยงานเดียว และจะ สอดคล้องกับการแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ..... ที่สมควรให้ครอบคลุมถึงการจัดทำแผนการก่อหนี้ต่างประเทศด้วย
1.2 เป้าหมาย
1.2.1 การพัฒนาประเทศที่นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและการพัฒนาที่ สมดุลและยั่งยืน
1.2.2 แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเฉพาะเรื่อง รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ เชิงพื้นที่ ที่มีการพิจารณาในลักษณะบูรณาการเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม มีกรอบการดำเนินงานและแผนงานโครงการที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
1.2.3 แผนการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่สอดคล้อง กับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
1.2.4 ภาพรวมการลงทุนของประเทศที่มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางการ เปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว และรัฐบาลมีแผนการ จัดสรรและการใช้ทรัพยากรการลงทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่เกิดความซ้ำซ้อน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการเจริญเติบโต ของตลาดทุนและตลาดเงินในประเทศ
1.2.5 แผนการลงทุนของประเทศสามารถนำไปใช้ประกอบกับแผนการจัดหา เงินลงทุน และสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนและตลาดเงินของประเทศ
1.2.6 การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐเพื่อการลงทุนด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า โดยที่มีการจัดลำดับความสำคัญระหว่างสาขาของ แผนการลงทุนของประเทศ
1.2.7 การถ่ายโอนภารกิจการพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การวิเคราะห์ โครงการลงทุนภาครัฐ และการจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ ให้กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบโดยตรง
1.2.8 มีคู่มือวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนในระดับแผนงานและโครงการ สำหรับหน่วยงานภาครัฐใช้เป็นคู่มือการปฏิบัติงาน
1.3 ตัวชี้วัด
1.3.1 ความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประกอบด้วย ดัชนี ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ดัชนีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และดัชนี การพัฒนาที่ยั่งยืน
1.3.2 ระดับการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อการลงทุนและการก่อหนี้สาธารณะต่อ GDP
1.3.3 โครงการและวงเงินลงทุนในแผนการลงทุนของประเทศที่จัดหาเงินจาก ตลาดทุนและตลาดเงิน
1.3.4 อัตราการเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณ คุณภาพ และการกระจายตัวของโครงสร้าง พื้นฐานด้านกายภาพ และด้านเศรษฐกิจและสังคม
1.3.5 ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรภาครัฐเพื่อการลงทุน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ประเทศ ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักของ สศช. ที่จะเป็นแกนหลักในการผลักดันอย่างมี บูรณาการ มีสาระสำคัญที่ครอบคลุมมิติการแข่งขันและมิติความยั่งยืนของการพัฒนา โดยที่ความสามารถในการแข่งขันจะมุ่งเน้นการจัดการเพื่อยกระดับขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการที่ เน้นการใช้องค์ความรู้ในการจัดการและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การเสริมสร้างความ เข้มแข็งของปัจจัยสนับสนุน ที่สำคัญคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งในระดับมหภาคและ จุลภาค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบทบาทและแนวทางการจัดการในภาครัฐทั้งด้าน เศรษฐกิจและสังคมให้มีบูรณาการและมีพลวัตต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของ โลก เพื่อเสริมสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลิตภาพควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพในการ แข่งขันกับนานาชาติอันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน ใน ขณะเดียวกันทางด้านมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถรักษา ฐานทรัพยากรของประเทศไว้ได้ในระยะยาว การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้
2.1 การวางแผนและผลักดันยุทธศาสตร์
2.1.1 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(1) ริเริ่ม ประสาน และผลักดันให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การ พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างมีบูรณาการ โดยผ่านกลไกกรรมการนโยบายระดับชาติ ทั้งนี้รวมถึงการริเริ่ม และประสานการจัดทำข้อเสนอในระดับ แผน แผนงาน โครงการ กิจกรรม และมาตรการที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณีเพื่อให้มีการ แปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
(2) ประสานกับภาคีการพัฒนา ซึ่งได้แก่ ผู้ประกอบการเอกชน หน่วยงานรัฐและสถาบันวิชาการเพื่อขับเคลื่อนและเอื้ออำนวยให้ มีการดำเนินงานเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ เช่น การเสริม สร้างความเชื่อมโยงและเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจในอุตสาห กรรมต่างๆ เป็นต้น
(3) วิเคราะห์โครงการและกิจกรรมการลงทุนเพื่อการพัฒนาความ สามารถในการแข่งขันของประเทศและเสนอความเห็นเพื่อการ ตัดสินใจในระดับนโยบาย
(4) สนับสนุนหรือดำเนินการให้มีการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อ จัดทำข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ
(5) ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ รวมทั้งการจัดทำรายงานการพัฒนาเพื่อเผยแพร่แก่สา ธารณชน
(6) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารการพัฒนาในระดับนโยบาย ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ
2.1.1 การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศเกี่ยวข้อง 3 มิติคือ เศรษฐกิจ สังคม และ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์จะ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ
(1) ประสานการบริหารจัดการเชิงพื้นที่อย่างบูรณาการที่ยึดระบบ นิเวศเป็นหลักภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
(2) จัดทำนโยบายการใช้ทรัพยากรและมาตรการเชิงรุกในการ ป้องกันฐานทรัพยากรจากการใช้ประโยชน์ที่ไร้ทิศทาง
(3) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดการดำเนินมาตรการ อนุรักษ์ป่าเขตร้อนและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมร่วมกับองค์ความรู้สมัย ใหม่มาประยุกต์ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด
(4) ประสานให้มีกลไกกลางในการขับเคลื่อนและประสานงาน ทั้งระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ในการสนับสนุนบทบาทของชุมชนในการมีส่วนร่วมในการดูแล พิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5) ประสานเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนและยุทธศาสตร์
การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มีส่วน สนับสนุนและมีพลังในฐานทรัพยากรการผลิตในระยะยาว
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2.2 ความสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2.3 ตัวชี้วัด
2.3.1 ลำดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากลทั้งใน ระดับรวมและระดับย่อย โดยพิจารณาจากการจัดอันดับขีดความ สามารถในการแข่งขันของสถาบันจัดอันดับที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ ของโลก เช่น World Economic Forum (WEF), International Institute for Management (IMD) เป็นต้น
2.3.2 ความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประกอบด้วย ดัชนี ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ดัชนีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และดัชนี การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.3.3 การพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีเสถียรภาพของ เศรษฐกิจไทย อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเทียบกับ นานาประเทศ ดัชนีประสิทธิภาพการผลิตรวมและดัชนีผลผลิตรายสาขา ระดับการเปิดประเทศ ส่วนแบ่งการตลาดส่งออกของไทยในตลาดโลก และความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้าไทย รวมทั้งสัดส่วนการ ลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาของประเทศ
2.3.4 การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ที่สำคัญคือ ความสมดุลของระบบนิเวศน์และความสมบูรณ์ ทางทรัพยากรธรรมชาติที่คงความหลากหลายทางชีวภาพและการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและการ มีส่วนร่วมของคนในสังคม
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนพลังการพัฒนาตามวาระแห่งชาติที่สำคัญสูงสุด 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ ความ ยากจน และทุนทางสังคม ความยากจนจัดว่าเป็นปัญหาระดับชาติที่มิได้จำกัดเฉพาะ ความขัดสนทางเศรษฐกิจหรือด้านรายได้เพื่อการยังชีพเท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมถึง ความยากจนเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความขัดสนด้านอื่นและการขาดโอกาสในการเข้าถึง บริการของรัฐอันเป็นหลักแห่งความเสมอภาคและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่ทุนทางสังคมจัดว่าเป็นมิติการมองสังคมแนวใหม่ ซึ่งหมายถึง ผลรวมของสิ่ง ดีงามที่มีอยู่ในสังคม ทั้งในส่วนที่ได้จากการสั่งสมและการต่อยอดรวมถึงการรวมตัว ของคนที่มีคุณภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยแห่งความผูกพันและวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยที่ขอบเขตของทุนทางสังคม จะประกอบด้วย (1) ทุนมนุษย์และภูมิปัญญา (2) ทุนที่เป็นสถาบัน และ (3) ทุนทาง วัฒนธรรม การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้
3.1 การวางแผนและผลักดันการพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน
3.1.1 การพัฒนาทุนทางสังคม
(1) จัดทำยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมที่สำคัญได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ยุทธ ศาสตร์การพัฒนาสถาบันศาสนา และแผนการพัฒนากำลังคนที่ มีความสามารถ สำหรับเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกรอบการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนของสำนักงบประมาณ
(2) ขยายผลการดำเนินงานของโครงการธนาคารสมองให้เป็นแหล่ง ทุนปัญญาของสังคมไทย
(3) แปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมในภาพรวมและเฉพาะ เรื่องสู่การปฏิบัติ โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐทั้งใน ส่วนกลางและพื้นที่ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน และภาคประชาชน
(4) จัดทำกรอบตัวชี้วัดทุนทางสังคมไทยและประเมินสถานภาพทุน ทางสังคม
(5) จัดทำรายงานภาวะสังคม เป็นการรายงานข้อเท็จจริงและสถาน ภาพสังคมไทย โดยนำเสนอเป็นประจำทุก 3 เดือนเช่นเดียวกับ การรายงานภาวะเศรษฐกิจและข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ (GDP)
3.1.2 การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
(1) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการใหม่ ๆ ต่อ คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและ ท้องถิ่น (กนภ.) เช่น มาตรการแก้ไขปัญหาคนยากจนในกลุ่มต่าง ๆ แนวทางการแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ การจัดหาแหล่งทุน และแก้ไขปัญหาสินเชื่อ การจัดสรรทรัพยากรให้เอื้อต่อการ ประกอบอาชีพของคนยากจน และการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ให้เอื้อต่อคนยากจน เป็นต้น
(2) วางแผนและผลักดันนโยบายเชิงรุกของรัฐบาลในการแก้ไข ปัญหาความยากจนไปสู่การปฏิบัติ โดยมีบทบาทในฐานะฝ่าย เลขานุการร่วม ของ "ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยาก จน" และ "คณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับแก้ไขปัญหา เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส" เพื่อร่วมในการวางแผนและ ผลักดันนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งสนับสนุนการจัด ทำแผนปฏิบัติการตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการปรับปรุงนโยบายกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง
(3) ประสานและผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบายการแก้ไขปัญหา ความยากจนไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยเน้นให้ความ สำคัญกับการดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหา ความยากจนและกลุ่มเป้าหมายยากจนเป็นลำดับแรก ซึ่งได้มีการ วางแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการภายใต้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เกิดความ เชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ระดับชาติ ยุทธศาสตร์ระดับกลุ่ม จังหวัด และยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด
(4) ส่งเสริมบทบาทของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความ ยากจนของตนเองโดยการส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนชุมชน ครอบคลุมทุกตำบลภายในปี 2548 และการผลักดันให้แผนชุมชน มีความเชื่อมโยงกับแผนของ อบต. และแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาจังหวัด
(5) สนับสนุนการขยายผลการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการขยายผล การดำเนินงานตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(6) นำเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทย 10 ประการไปสู่การ ปฏิบัติ โดยการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัด ทำแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้เกิดผล เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น
(7) จัดทำคลังข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ด้านความยากจนและการ กระจายรายได้ รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดการติดตามและประเมิน ผล
3.1.3 การประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ เน้นการประสานกับแหล่งความ ช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทุน ทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
3.2 เป้าหมาย
3.2.1 การพัฒนาประเทศที่นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและการพัฒนาที่ สมดุลและยั่งยืน
2.3.5 การพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคม
3.2.2 การลดความยากจนและช่องว่างการกระจายรายได้
3.3 ตัวชี้วัด
3.3.1 การพัฒนาคนและทุนทางสังคม ที่สำคัญอาทิ ผลสะสมทางการศึกษา ของคนไทยที่สะท้อนจากอัตราการรู้หนังสือ อัตราการเรียนรู้ และผล สัมฤทธิ์ทางการศึกษาหรือจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา คุณภาพและ ความเสมอภาคของการศึกษาที่ชี้วัดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสัด ส่วนนักเรียนต่อครู โอกาสการศึกษาของคนไทยที่สะท้อนจากอัตราการ เข้าเรียนสุทธิและอัตราการเรียนต่อของนักเรียนในระดับต่าง ๆ และ ระหว่างพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาสถาบันครอบครัวที่วัดจากความสามารถ ในการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจและสัมพันธภาพของครอบครัว เป็นต้น
3.3.2 การลดความยากจนและช่องว่างการกระจายรายได้ ที่สำคัญคือ สัดส่วน คนยากจนของประเทศแยกตามกลุ่มรายได้ กลุ่มอาชีพและพื้นที่ ดัชนี ช่องว่างความยากจน ดัชนีความรุนแรงของปัญหาความยากจน ดัชนีค่า สัมประสิทธิ์จินีที่แสดงความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และดัชนีไทล์ที่แสดง ความเหลื่อมล้ำด้านผลตอบแทนการผลิตระหว่างสาขา รวมทั้งการลด ความยากจนในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด พื้นที่เป้าหมายยากจนและ กลุ่มเป้าหมายยากจน 3.3.3 ตัวชี้วัดเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทย 10 ประการ ได้แก่
(1) ทุกคนได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนไม่น้อยกว่า 12 ปี และมี โอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต
(2) ทุกคนได้รับการประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐาน
(3) ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี และไม่มีรายได้เพียงพอในการยังชีพได้รับ หลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต
(4) ทุกคนได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
(5) ทุกคนมีความมั่นคงในที่พักพิง
(6) ทุกคนมีน้ำสะอาดเพื่อดื่มอย่างน้อย 5 ลิตร/คน/วัน และมีน้ำใช้ อย่างน้อย 45 ลิตร/คน/วัน
(7) ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้
(8) ทุกคนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
(9) ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งทุนในการประกอบ อาชีพ
(10) ทุกครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิต และปลอดจากยาเสพติด
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงวาระแห่ง ชาติเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่และภูมิภาค โดยสนับสนุนการดำเนินงานภาย ใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) รวมทั้งเชื่อมโยงต่อไปยังยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และ ยุทธศาสตร์ของทูต CEO การเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้ 4.1 การวางแผนและผลักดันแผนยุทธศาสตร์
4.1.1 การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาภาคเพื่อตอบสนองระบบบริหารราชการแบบ บูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผน ระดับชาติ แผนระดับภาค และแผนระดับท้องถิ่น
4.1.2 การกำหนดและผลักดันยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่ อนบ้านตามแนวชายแดน (Economic Cooperation Strategy) โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศใน ลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เป็นต้น
4.1.3 การประสานและผลักดันแผนและยุทธศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจาก รัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ที่สำคัญได้แก่ (1) การพัฒนาสนามบิน นานาชาติสุวรรณภูมิ (2) การจัดระบบศูนย์ราชการ และ (3) การพัฒนา เมืองน่าอยู่
4.2 เป้าหมาย
4.2.1 แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเฉพาะเรื่อง รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ เชิงพื้นที่ ที่มีการพิจารณาในลักษณะบูรณาการเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม มีกรอบการดำเนินงานและแผนงานโครงการที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
4.3 ตัวชี้วัด
4.3.1 การกระจายกิจกรรมและความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันมาก ขึ้นระหว่างจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค
4.3.2 รายได้ต่อประชากรของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค
4.3.3 การขยายตัวของปริมาณการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและ สังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัด ถือเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่อาศัย ความได้เปรียบและประสบการณ์การจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะระบบ บัญชีประชาชาติและดัชนีชี้วัดที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานให้เป็นประโยชน์และเป็นจุด แข็งของระบบการวางแผนของ สศช. และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเน้น คุณสมบัติของระบบข้อมูลที่ดี 4 ประการคือ ความเร็ว ความถูกต้อง ความมีมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้
5.1 การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัด
5.1.1 การพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติ
(1) พัฒนามาตรฐานระบบบัญชีประชาชาติให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน โลกให้ได้ภายในปี 2550 โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
ระยะที่ 1 พัฒนาคุณภาพการจัดทำข้อมูลบัญชีประชาชาติให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน General Data Dissemination System (GDDS) ของกองทุนการ เงินระหว่างประเทศให้ได้ภายในปี 2548
ระยะที่ 2 พัฒนาระบบบัญชีประชาชาติเข้าสู่มาตรฐานสากลเต็ม รูปแบบขององค์การสหประชาชาติให้ได้ภายในปี 2550
(2) ปรับปรุงการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ราย ไตรมาสให้สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็วขึ้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ภายในปี 2547 และภายใน 2 สัปดาห์ในปี 2549 รวมทั้งให้มีคุณ ภาพเหนือกลุ่มอาเซียน
(3) ปรับปรุงการจัดทำ GDP รายไตรมาสให้ครอบคลุมด้านรายได้
(4) ปรับปรุงการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด (GPP) แบบ เร่งด่วนเพื่อสนับสนุนการ บริหารงานแบบบูรณาการของผู้ว่า ราชการจังหวัด CEO และนักบริหารเศรษฐกิจการคลังระดับ จังหวัด
(8) พัฒนาการจัดทำ GPP ให้ครอบคลุมด้านรายจ่ายและรายได้
(9) จัดทำรายงานวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคมจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศและบัญชีประชาชาติเผยแพร่เป็นประจำ ทุกเดือน
(10) สร้างเครือข่ายประสานงานกับหน่วยงานผู้ผลิตข้อมูลให้ร่วมกัน ปรับปรุงคุณภาพข้อมูลให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ โดยใช้กรอบแนวคิดของระบบบัญชีประชาชาติ
5.1.2 การพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อประเมินผล
(1) จัดทำดัชนีและเครื่องชี้วัดการติดตามความก้าวหน้าและประเมิน ผลกระทบ ความสำเร็จและความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศ ได้แก่ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข ดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน และเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิตของ คนไทย 10 ประการ
(2) จัดทำดัชนีและเครื่องชี้วัดการติดตามความก้าวหน้าและประเมิน ผลการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง และนโยบายรัฐบาล 5.1.3 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(1) พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Management Information System, MIS) ให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างศูนย์ปฏิบัติการของ สำนักงานฯ (NESDB Operation Center, NESDBOC) และ ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Operation Center, PMOC) รวมทั้งให้บูรณาการระบบฐานข้อมูลของสำนัก งาน ฯ ให้เป็นเอกภาพเพื่อสนับสนุนภารกิจการวางแผนและสร้างองค์ ความรู้ใหม่
(2) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของ สศช. ระยะ 5-10 ปี โดยเป็นแผนที่มีการปรับปรุงให้ ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อใช้เป็นกรอบการจัดหางบประมาณ และเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของ องค์กร รวมทั้งให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานทุก หน่วยงาน โดยเฉพาะระบบการประชุมทางไกลทั้งภายในและกับ ต่างประเทศ รวมทั้งระหว่างสำนักพัฒนาภาคของสำนักงานฯ ได้
5.1.4 การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม
สศช. มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและ สังคมเพื่อการวางแผนมาเป็นเวลานาน และเป็นหน่วยงานเดียวที่ สามารถรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนที่แตกต่างจากหน่วยงานอื่นที่มีความ เชี่ยวชาญในการผลิตและวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะด้าน ดังนั้นจึงควรจัดตั้ง เป็นศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อเป็นแหล่ง สะสมข้อมูลและสร้างองค์ความรู้จากข้อมูลให้เกิดการเป็นศูนย์คลัง สมองของประเทศ (Intelligence Center) โดยให้บริการฐานข้อมูลที่ สำคัญดังนี้
(1) ฐานข้อมูลเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน
(2) ฐานข้อมูลขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ