(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้า คาดว่าในปี 2550 ระดับราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2549 แต่ในอัตราที่ช้า
ลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบชะลอตัว และราคาได้ปรับขึ้นมากในปี 2549 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าราคาเหล็ก ราคายางพารา
และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ได้ผ่านพ้นช่วงสูงสุดไปแล้วและเริ่มชะลอลงในปลายปี 2549 นอกจากนี้ ความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอลง จะทำให้การแข่ง
ขันด้านราคามีมากขึ้น
คาดว่าราคาส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7
ในปี 2549 สำหรับราคาสินค้านำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในปี 2549 ซึ่งทำให้อัตราการค้าของประเทศไทย
(Term of trade) ปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 อันเนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้าที่ค่อนข้างทรงตัวเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับรายได้ของ
ประเทศ
3.4 ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550: คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4-5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.0-3.5 และดุล
บัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1-0.5 ของ GDP
ในปี 2550 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีค่ากลางเท่ากับร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี
2549 เล็กน้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการส่งออก จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และมาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้าที่
เข้มงวดมากขึ้น และการลงทุนภาคเอกชนจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งจะยังชะลอการลงทุนออกไปเพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลชุดต่อ
ไป สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้นจะรอความชัดเจนในการเรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวทั้งในเรื่องสิทธิการออกเสียงและความเป็นเจ้าของ
ของชาวต่างชาติ และการยกเลิกการควบคุมธุรกิจบางประเทศให้ต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ รวมทั้งโครงการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะมีความพร้อม
ในการเบิกจ่ายได้ใน ครึ่งหลังของปี แต่เศรษฐกิจจะยังมีเสถียรภาพ โดยที่อัตราการว่างงานยังต่ำประมาณร้อยละ 1.8 อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นร้อย
ละ 3.0-3.5 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัว ประกอบกับการใช้จ่ายครัวเรือนยังค่อนข้างทรงตัว ดุล
บัญชีเดินสะพัด (H) มีแนวโน้มเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1-0.5 ของ GDP
(1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.0 เศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.0 ได้ภายใต้
เงื่อนไข (i) การส่งออกสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มากขึ้น และรายได้จากการ ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10(ii)
การเบิกจ่ายภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยที่ให้ความสำคัญในการเร่งรัดการเบิกจ่ายสำหรับการ
ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการพัฒนาอาชีพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาสังคม (iii) ภาค
ธุรกิจเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและขยายการลงทุน (iv) รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและทำให้ รายได้เกษตรกรยังเพิ่มขึ้น และ(v)ราคา
น้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกลดลงไม่เกินเฉลี่ยบาเรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ.
(2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีต่ำร้อยละ 4.0 ใน กรณีที่การลงทุนฟื้นตัวช้า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดและทำให้การ
ส่งออกและการท่องเที่ยวขยายตัวช้า และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 60 ดอลลาร์ เศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะมีแนวโน้มขยายตัวได้ ในระดับต่ำ
ประมาณร้อยละ 4.0
3.5 ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2550 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำกว่า 60 ดอลลาร์นั้นมีมากกว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันจะสูงกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาเรล เนื่องจากราคา
น้ำมันได้ลดลงมากแล้วในช่วงปลายปี 2549 และเป็นระดับที่ต่ำกว่าบาเรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. โดยที่ความต้องการในปี 2550 มีแนวโน้มชะลอลง
ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
นอกจากนี้โอกาสที่เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นจะขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยที่ความต้องการสินค้าในภูมิภาคเอเชีย นำโดยจีน และญี่ปุ่น
จะสามารถชดเชยการชะลอตัวของตลาดสหรัฐฯ ได้ค่อนข้างดี ซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยชะลอตัวช้ากว่าที่คาดไว้
ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2550 จะสูงกว่าค่ากลางของการประมาณการที่ร้อยละ 4.5 นั้นมี
มากกว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าค่ากลาง นั่นคือ เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เบ้ด้านสูง
(Asymmetric probability distribution) คาดว่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 -
5.0 เป็นร้อยละ 85 โดยที่ค่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 - 5.0 มีมากกว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วง
ร้อยละ 4.0 - 4.5
**********************************************************************************************************
(H) ตามนิยามใหม่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำมาใช้ นั่นคือบันทึกรายการ reinvested earning เป็นรายจ่ายบริการในบัญชี
เดินสะพัด และบันทึกเป็นรายการรับหรือ inflows ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในส่วนของบัญชีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศ
**********************************************************************************************************
4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2550
การบริหารเศรษฐกิจในปี 2550 ควรให้ลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพ การดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการ
ผลิต และการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนสามารถปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง และภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัว โดย
(1) ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และฟื้นฟูอาชีพกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมทั้ง
ชดเชยความเสียหายอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และตรงกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง
(2) ติดตามสถานการณ์และส่งเสริมการส่งออกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว และมี
แรงกดดันเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
(3) ส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพจากยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกา และรักษาตลาดของ
นักท่องเที่ยวจากเอเชียซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
(4) ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลักดัน
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
(5) ผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 2550 ตั้งแต่เดือนมกราคมให้มีอัตราการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2550 ได้
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 โดยเฉพาะงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข และการแก้ไขปัญหาสังคม
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549 - 2550 (1/)
ประมาณการ
ข้อมูลเบื้องต้น ปี 2549 2550_f
2546 2547 2548 4 ก.ย.49 4 ธ.ค.49 4 ธ.ค.49
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,917.4 6,489.8 7,087.7 7,761.0 7,810.6 8,474.6
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 93,186.9 101,016.4 109,319.0 118,777.4 119,536.7 128,792.6
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 142.6 161.0 175.9 203.7 205.5 229.0
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,245 2,507 2,713 3,118 3,146 3,481
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.1 6.3 4.5 4.5 5.0 4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.2 11.1 4.3 4.3 6.2
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.2 11.0 4.4 4.4 7.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.6 5.0 11.4 4.0 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.9 6.2 5.5 3.3 3.6 3.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.5 6.2 4.3 3.8 3.5 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.5 5.6 13.7 0.8 4.0 4.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.1 9.6 4.4 8.7 9.3 5.4
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 109.2 124.5 127.6 139.0
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 15.0 14.0 16.8 9.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.3 8.8 9.1 5.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.4 13.4 9.3 3.1 2.6 5.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.5 117.8 128.2 127.6 139.8
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 25.7 26.0 8.8 8.3 9.6
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.6 12.2 8.8 1.2 0.3 4.6
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.5 -8.6 -3.7 0.0 -0.8
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) (2/) 4.8 2.8 -7.9 -2.7 0.5 0.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 3.3 1.7 -4.4 -1.3 0.2 0.1
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.5 4.5-4.7 4.6 3.0-3.5
GDP Deflator 1.3 3.2 4.5 5.0 5.2 4.0
อัตราการว่างงาน 2.0 2.0 1.7 1.8-2.0 1.8 1.8
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 4 ธันวาคม 2549
**********************************************************************************************************
หมายเหตุ (1/) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2548 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ (ข้อมูลรายได้ประชาชาติ)
และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
(2/) Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its contra
entry recorded as income on equity in current account.
**********************************************************************************************************
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบชะลอตัว และราคาได้ปรับขึ้นมากในปี 2549 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าราคาเหล็ก ราคายางพารา
และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ได้ผ่านพ้นช่วงสูงสุดไปแล้วและเริ่มชะลอลงในปลายปี 2549 นอกจากนี้ ความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอลง จะทำให้การแข่ง
ขันด้านราคามีมากขึ้น
คาดว่าราคาส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7
ในปี 2549 สำหรับราคาสินค้านำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในปี 2549 ซึ่งทำให้อัตราการค้าของประเทศไทย
(Term of trade) ปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 อันเนื่องจากราคาน้ำมันนำเข้าที่ค่อนข้างทรงตัวเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับรายได้ของ
ประเทศ
3.4 ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550: คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4-5 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.0-3.5 และดุล
บัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1-0.5 ของ GDP
ในปี 2550 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 โดยมีค่ากลางเท่ากับร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี
2549 เล็กน้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการส่งออก จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และมาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้าที่
เข้มงวดมากขึ้น และการลงทุนภาคเอกชนจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งจะยังชะลอการลงทุนออกไปเพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลชุดต่อ
ไป สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้นจะรอความชัดเจนในการเรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวทั้งในเรื่องสิทธิการออกเสียงและความเป็นเจ้าของ
ของชาวต่างชาติ และการยกเลิกการควบคุมธุรกิจบางประเทศให้ต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ รวมทั้งโครงการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะมีความพร้อม
ในการเบิกจ่ายได้ใน ครึ่งหลังของปี แต่เศรษฐกิจจะยังมีเสถียรภาพ โดยที่อัตราการว่างงานยังต่ำประมาณร้อยละ 1.8 อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นร้อย
ละ 3.0-3.5 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัว ประกอบกับการใช้จ่ายครัวเรือนยังค่อนข้างทรงตัว ดุล
บัญชีเดินสะพัด (H) มีแนวโน้มเกินดุลเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1-0.5 ของ GDP
(1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.0 เศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.0 ได้ภายใต้
เงื่อนไข (i) การส่งออกสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มากขึ้น และรายได้จากการ ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10(ii)
การเบิกจ่ายภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยที่ให้ความสำคัญในการเร่งรัดการเบิกจ่ายสำหรับการ
ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการพัฒนาอาชีพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาสังคม (iii) ภาค
ธุรกิจเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและขยายการลงทุน (iv) รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและทำให้ รายได้เกษตรกรยังเพิ่มขึ้น และ(v)ราคา
น้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกลดลงไม่เกินเฉลี่ยบาเรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ.
(2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีต่ำร้อยละ 4.0 ใน กรณีที่การลงทุนฟื้นตัวช้า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดและทำให้การ
ส่งออกและการท่องเที่ยวขยายตัวช้า และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 60 ดอลลาร์ เศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะมีแนวโน้มขยายตัวได้ ในระดับต่ำ
ประมาณร้อยละ 4.0
3.5 ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2550 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำกว่า 60 ดอลลาร์นั้นมีมากกว่าในกรณีที่ราคาน้ำมันจะสูงกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาเรล เนื่องจากราคา
น้ำมันได้ลดลงมากแล้วในช่วงปลายปี 2549 และเป็นระดับที่ต่ำกว่าบาเรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. โดยที่ความต้องการในปี 2550 มีแนวโน้มชะลอลง
ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
นอกจากนี้โอกาสที่เศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่นจะขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยที่ความต้องการสินค้าในภูมิภาคเอเชีย นำโดยจีน และญี่ปุ่น
จะสามารถชดเชยการชะลอตัวของตลาดสหรัฐฯ ได้ค่อนข้างดี ซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยชะลอตัวช้ากว่าที่คาดไว้
ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2550 จะสูงกว่าค่ากลางของการประมาณการที่ร้อยละ 4.5 นั้นมี
มากกว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าค่ากลาง นั่นคือ เป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เบ้ด้านสูง
(Asymmetric probability distribution) คาดว่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 -
5.0 เป็นร้อยละ 85 โดยที่ค่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 - 5.0 มีมากกว่าความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วง
ร้อยละ 4.0 - 4.5
**********************************************************************************************************
(H) ตามนิยามใหม่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำมาใช้ นั่นคือบันทึกรายการ reinvested earning เป็นรายจ่ายบริการในบัญชี
เดินสะพัด และบันทึกเป็นรายการรับหรือ inflows ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในส่วนของบัญชีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศ
**********************************************************************************************************
4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2550
การบริหารเศรษฐกิจในปี 2550 ควรให้ลำดับความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพ การดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการ
ผลิต และการดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนสามารถปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง และภาวะ
เศรษฐกิจชะลอตัว โดย
(1) ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และฟื้นฟูอาชีพกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมทั้ง
ชดเชยความเสียหายอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และตรงกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง
(2) ติดตามสถานการณ์และส่งเสริมการส่งออกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว และมี
แรงกดดันเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
(3) ส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพจากยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกา และรักษาตลาดของ
นักท่องเที่ยวจากเอเชียซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
(4) ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลักดัน
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
(5) ผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 2550 ตั้งแต่เดือนมกราคมให้มีอัตราการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2550 ได้
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 โดยเฉพาะงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข และการแก้ไขปัญหาสังคม
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549 - 2550 (1/)
ประมาณการ
ข้อมูลเบื้องต้น ปี 2549 2550_f
2546 2547 2548 4 ก.ย.49 4 ธ.ค.49 4 ธ.ค.49
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,917.4 6,489.8 7,087.7 7,761.0 7,810.6 8,474.6
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 93,186.9 101,016.4 109,319.0 118,777.4 119,536.7 128,792.6
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 142.6 161.0 175.9 203.7 205.5 229.0
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,245 2,507 2,713 3,118 3,146 3,481
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.1 6.3 4.5 4.5 5.0 4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.2 11.1 4.3 4.3 6.2
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.2 11.0 4.4 4.4 7.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.6 5.0 11.4 4.0 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.9 6.2 5.5 3.3 3.6 3.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.5 6.2 4.3 3.8 3.5 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.5 5.6 13.7 0.8 4.0 4.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.1 9.6 4.4 8.7 9.3 5.4
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 109.2 124.5 127.6 139.0
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 15.0 14.0 16.8 9.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.3 8.8 9.1 5.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.4 13.4 9.3 3.1 2.6 5.6
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.5 117.8 128.2 127.6 139.8
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 25.7 26.0 8.8 8.3 9.6
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.6 12.2 8.8 1.2 0.3 4.6
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.5 -8.6 -3.7 0.0 -0.8
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) (2/) 4.8 2.8 -7.9 -2.7 0.5 0.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 3.3 1.7 -4.4 -1.3 0.2 0.1
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.5 4.5-4.7 4.6 3.0-3.5
GDP Deflator 1.3 3.2 4.5 5.0 5.2 4.0
อัตราการว่างงาน 2.0 2.0 1.7 1.8-2.0 1.8 1.8
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 4 ธันวาคม 2549
**********************************************************************************************************
หมายเหตุ (1/) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2548 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ (ข้อมูลรายได้ประชาชาติ)
และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
(2/) Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its contra
entry recorded as income on equity in current account.
**********************************************************************************************************
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-