นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช. นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการ และนางสุวรรณี คำมั่น ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญๆ ในช่วงไตรมาสหนึ่ง (มกราคม-มีนาคม) ปี 2549 พบว่า
คุณภาพคน : ประชาชนมีงานทำในระดับเต็มที่ต่อเนื่องเป็นปีที่สาม โดยผู้มีงานทำเพิ่มจาก 32.2 ล้านคน ในไตรมาสแรกปี 2548 เป็น 34.8 ล้านคน ในไตรมาสแรกปี 2549 โดยภาคเกษตรกรรมสามารถจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็น 12.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ทั้งนี้เพราะผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทั้งข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน ไก่เนื้อ สุกร และกุ้ง ประกอบกับฝนมาเร็วกว่าทุกปี ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีจำนวน 22.6 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ผู้มีงานทำมีการศึกษาดีขึ้น โดยผู้ที่จบการศึกษาไม่เกินชั้นประถมศึกษามีสัดส่วนลดเหลือเพียงร้อยละ 59.6 ผู้จบชั้นมัธยมศึกษาเพิ่มเป็นร้อยละ 23 ระดับอาชีวะและวิชาชีพร้อยละ 7.3 และอุดมศึกษาร้อยละ 10.1 ส่วนอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงาน โดยภาคใต้มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 1.1 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่างงานมากที่สุดคือร้อยละ 1.9
การเจ็บป่วยด้วยโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง 9 โรค เช่น โรคปอดบวม โรคบิด และไข้เลือดออก พบว่า การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้รับผลสำเร็จที่น่าพอใจ โดยอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนลดลงจาก 11 คนต่อประชากรแสนคน ในไตรมาสแรกปี 2546 เหลือเพียง 7.4 คน ในปี 2549 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งป้องกันอย่างต่อเนื่องเพราะไตรมาสที่สองและสาม ซึ่งเป็นฤดูฝนของทุกปีจะเป็นช่วงที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก สำหรับสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปของประชาชนพบว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจที่มีผู้ป่วยมากที่สุดนั้น สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2546 ที่มีอัตราการป่วย 427 คนต่อประชากร 1,000 คน ลดลงเหลือเพียง 392 คน ในปี 2548 คนกรุงเทพฯมีสัดส่วนผู้ป่วยสูงกว่าทุกภาคคือร้อยละ 61 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 47 และภาคใต้ร้อยละ 46 เด็กที่มีอายุ 1-4 ปี จะมีอัตราเจ็บป่วยมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของเด็กที่ป่วย รองลงมาเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 77 ของเด็กที่ป่วยทั้งหมด นอกจากนี้โรคทางเดินหายใจที่ประชาชนเจ็บป่วยมากคือ โรคภูมิแพ้ โดยเฉาะโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งผู้ใหญ่ป่วยมากถึงร้อยละ 20 และเด็กป่วยร้อยละ 40 ของผู้ป่วยทั้งหมด
การขยายโอกาสทางการศึกษาช่วยให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อย่างทั่วถึง โดยมีอัตราเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในปี 2548 ร้อยละ 104 และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.5 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 95 ในปี 2548 ส่วนระดับมัธยมปลายมีอัตราเข้าเรียนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 64 กระทรวงศึกษาธิการประเมินว่า เด็กที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพียงร้อยละ 87 ทำให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนต่อต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยคุณวุฒิเพียงระดับการศึกษาภาคบังคับ ทำให้แข่งขันกับคนอื่นไม่ได้
ความมั่นคงทางสังคม : ลูกจ้างจำนวน 7.8 ล้านคน ที่อยู่ในการคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทนมีสภาพการทำงานดีขึ้นมาก โดยมีอัตราผู้ประสบอันตรายจากการทำงานลดลงจาก 1.92 คนต่อลูกจ้าง 1000 คน ในไตรมาสแรกปี 2548 เหลือ 1.8 คน ในไตรมาสสี่ก่อนจะลดลงเหลือ 1.73 คน ในไตรมาสแรกปี 2549 จำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 8,782 คน ในไตรมาสแรกปี 2548 เป็น 926,400 ในไตรมาสสี่และเพิ่มขึ้นเป็น 11,045 คน ในไตรมาสหนึ่ง ปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยคดีที่มีอัตราการเพิ่มสูงคือ คดีชีวิตและร่างกาย คดีเกี่ยวกับเพศและคดียาเสพติด สำหรับความปลอดภัยบนท้องถนนในช่วง 10 วันอันตรายของเทศกาลสงกรานต์ (วันที่ 7-16 เมษายน) มีผู้บาดเจ็บ 5,985 ราย ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 63.4 และมีผู้เสียชีวิต 485 ราย ดีกว่าประมาณการร้อยละ 18.5
พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก สำหรับปี 2549 คำขวัญรณรงค์คือ “บุหรี่ทุกชนิดนำชีวิตสู่ความตาย” ประเทศไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยบุหรี่และได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อลดการสูบบุหรี่มาโดยลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เช่น การขึ้นภาษีบุหรี่ การขยายเขตปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ และการห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นต้น และเริ่มเห็นผลสัมฤทธิ์ในไตรมาสสี่ปี 2548 ที่การบริโภคทั้งประเทศลดลงถึงร้อยละ 3.1 และไตรมาสหนึ่งปี 2549 ลดลงร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกับของปีก่อน อย่างไรก็ตามบุหรี่ยังเป็นภัยคุกคามสุขภาพคนไทยเพราะยังมีผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำอยู่ถึง 9.6 ล้านคน หรือร้อยละ 19.4 ของประชากรและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ และโรคถุงลมโป่งพองอยู่สูงถึงปีละ 52,000 คน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่สูบบุหรี่หรือที่เรียกว่าควันบุหรี่มือสองอีกด้วย ส่วนนักเรียนมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษาที่สูบบุหรี่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 17 ของประชากร ซึ่งผู้ที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า โรคถุงลมโป่งพอง 10 เท่า และโรคหัวใจ 3 เท่า
เรื่องเด่นประจำฉบับ ชาเขียวพร้อมดื่ม : เครื่องดื่มยอดนิยมที่ต้องระวังระดับน้ำตาล เครื่องดื่มดับกระหาย นอกจากน้ำขวดแล้ว ยังมีน้ำอัดลม น้ำชาเขียวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม น้ำผลไม้ นมหวานและนมถั่วเหลือง โดยชาเขียวพร้อมดื่มเป็นสินค้ายอดนิยมทำให้มีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าสินค้าอื่นๆ และประชาชนมีความเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
คนไทยนิยมบริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ยอดจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มในปี 2546 มีประมาณ 1,050 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 3,400 ล้านบาท ในปี 2547 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านบาท ในปี 2548 ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนนิยมบริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มมีรสหวานสูงถึงร้อยละ 72 ของประชากรทั้งประเทศ โดยเป็นผู้ที่ดื่มทุกวันถึงร้อยละ 29 รองลงมาเป็น ดื่มสัปดาห์ละ 1 — 2 วัน ร้อยละ 22.4 และ ดื่มสัปดาห์ละ 3 — 4 วัน ร้อยละ 14.2 กลุ่มที่ดื่มทุกวันมากที่สุด คือ ผู้มีอายุ 25 — 59 ปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.6 ของประชากร รองลงมาเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ27 ส่วนผู้มีอายุ 6 — 24 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 25 ของประชากรในแต่ละกลุ่ม
ชาเขียวพร้อมดื่มมีน้ำตาลและคาเฟอีนค่อนข้างสูง กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า เด็กไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน และผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งผลการสุ่มสำรวจของ สศช. พบว่าชาเขียวพร้อมดื่มมีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุด อยู่ระหว่าง 6.25 — 15 ช้อนชาและคาเฟอีน 23.9 - 73.5 มิลลิกรัมต่อขวด (500 ซีซี) สอดคล้องกับการสำรวจของเครือข่ายเด็กไม่กินหวาน ที่พบว่า ชาเขียวพร้อมดื่มขนาดบรรจุ 250 — 500 มิลลิกรัมจะมีน้ำตาลระหว่าง 3 — 15 ช้อนชา และการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าชาเขียวพร้อมดื่มขนาด 500 มิลลิกรัม 23 ผลิตภัณฑ์ มีคาเฟอีนเกิน 50 มิลลิกรัมต่อขวดถึงร้อยละ 65 ของทั้งหมด ปัจจุบันคนไทยได้รับน้ำตาลจากการบริโภคอาหารประจำวัน เฉลี่ย 19 — 20 ช้อนชา สูงกว่าเกณฑ์เหมาะสมถึง 3 เท่า ดังนั้น หากดื่มชาเขียวเพียงวันละขวด จะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นระหว่าง 4 — 7 เท่า ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ฟันผุ และ โรคอ้วน เนื่องจาก น้ำตาลทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินมากเกินจำเป็น และทำลายสารเคลือบฟัน ดังเห็นได้จากปัจจุบันเด็กอายุ 13 — 15 ปี ที่มีฟันแท้ขึ้นแล้วจะเป็นโรคฟันผุถึงร้อยละ 61 ของทั้งหมด
ผู้บริโภคขาดข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ชาเขียวพร้อมดื่มมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าชาเขียวชงดื่ม เนื่องจากในน้ำหนักที่เท่ากัน ชาเขียวพร้อมดื่มมีปริมาณน้อยกว่า เพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพิ่มเข้ามา และผู้บริโภคร้อยละ 51 เข้าใจว่าชาเขียวพร้อมดื่มเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ร้อยละ 58 ไม่รู้ว่ามีคาเฟอีนผสม และร้อยละ 72 ไม่รู้ว่ามีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์เหมาะสมของร่างกาย
สรุป การดื่มชาเขียว นอกจากไม่ช่วยบำรุงสุขภาพ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการไม่แตกต่างจากน้ำเปล่าแล้ว ยังมีน้ำตาลสูง ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินเกณฑ์เหมาะสมของร่างกาย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคฟันผุ และโรคอ้วน ดังนั้น จึงควรสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคให้รู้วิธีอ่านสลากที่ถูกต้องก่อนซื้อสินค้า และควรพิจารณากำหนดให้ผู้ผลิตต้องแจ้งปริมาณน้ำตาลในฉลากเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่แสดงเฉพาะส่วนประกอบเป็นร้อยละแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อร่างกายได้สะดวก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
คุณภาพคน : ประชาชนมีงานทำในระดับเต็มที่ต่อเนื่องเป็นปีที่สาม โดยผู้มีงานทำเพิ่มจาก 32.2 ล้านคน ในไตรมาสแรกปี 2548 เป็น 34.8 ล้านคน ในไตรมาสแรกปี 2549 โดยภาคเกษตรกรรมสามารถจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็น 12.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ทั้งนี้เพราะผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทั้งข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน ไก่เนื้อ สุกร และกุ้ง ประกอบกับฝนมาเร็วกว่าทุกปี ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีจำนวน 22.6 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ผู้มีงานทำมีการศึกษาดีขึ้น โดยผู้ที่จบการศึกษาไม่เกินชั้นประถมศึกษามีสัดส่วนลดเหลือเพียงร้อยละ 59.6 ผู้จบชั้นมัธยมศึกษาเพิ่มเป็นร้อยละ 23 ระดับอาชีวะและวิชาชีพร้อยละ 7.3 และอุดมศึกษาร้อยละ 10.1 ส่วนอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงาน โดยภาคใต้มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 1.1 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่างงานมากที่สุดคือร้อยละ 1.9
การเจ็บป่วยด้วยโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง 9 โรค เช่น โรคปอดบวม โรคบิด และไข้เลือดออก พบว่า การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้รับผลสำเร็จที่น่าพอใจ โดยอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนลดลงจาก 11 คนต่อประชากรแสนคน ในไตรมาสแรกปี 2546 เหลือเพียง 7.4 คน ในปี 2549 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งป้องกันอย่างต่อเนื่องเพราะไตรมาสที่สองและสาม ซึ่งเป็นฤดูฝนของทุกปีจะเป็นช่วงที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก สำหรับสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปของประชาชนพบว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจที่มีผู้ป่วยมากที่สุดนั้น สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2546 ที่มีอัตราการป่วย 427 คนต่อประชากร 1,000 คน ลดลงเหลือเพียง 392 คน ในปี 2548 คนกรุงเทพฯมีสัดส่วนผู้ป่วยสูงกว่าทุกภาคคือร้อยละ 61 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 47 และภาคใต้ร้อยละ 46 เด็กที่มีอายุ 1-4 ปี จะมีอัตราเจ็บป่วยมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของเด็กที่ป่วย รองลงมาเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 77 ของเด็กที่ป่วยทั้งหมด นอกจากนี้โรคทางเดินหายใจที่ประชาชนเจ็บป่วยมากคือ โรคภูมิแพ้ โดยเฉาะโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งผู้ใหญ่ป่วยมากถึงร้อยละ 20 และเด็กป่วยร้อยละ 40 ของผู้ป่วยทั้งหมด
การขยายโอกาสทางการศึกษาช่วยให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อย่างทั่วถึง โดยมีอัตราเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาในปี 2548 ร้อยละ 104 และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.5 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 95 ในปี 2548 ส่วนระดับมัธยมปลายมีอัตราเข้าเรียนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 64 กระทรวงศึกษาธิการประเมินว่า เด็กที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพียงร้อยละ 87 ทำให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนต่อต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยคุณวุฒิเพียงระดับการศึกษาภาคบังคับ ทำให้แข่งขันกับคนอื่นไม่ได้
ความมั่นคงทางสังคม : ลูกจ้างจำนวน 7.8 ล้านคน ที่อยู่ในการคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทนมีสภาพการทำงานดีขึ้นมาก โดยมีอัตราผู้ประสบอันตรายจากการทำงานลดลงจาก 1.92 คนต่อลูกจ้าง 1000 คน ในไตรมาสแรกปี 2548 เหลือ 1.8 คน ในไตรมาสสี่ก่อนจะลดลงเหลือ 1.73 คน ในไตรมาสแรกปี 2549 จำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 8,782 คน ในไตรมาสแรกปี 2548 เป็น 926,400 ในไตรมาสสี่และเพิ่มขึ้นเป็น 11,045 คน ในไตรมาสหนึ่ง ปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยคดีที่มีอัตราการเพิ่มสูงคือ คดีชีวิตและร่างกาย คดีเกี่ยวกับเพศและคดียาเสพติด สำหรับความปลอดภัยบนท้องถนนในช่วง 10 วันอันตรายของเทศกาลสงกรานต์ (วันที่ 7-16 เมษายน) มีผู้บาดเจ็บ 5,985 ราย ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 63.4 และมีผู้เสียชีวิต 485 ราย ดีกว่าประมาณการร้อยละ 18.5
พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก สำหรับปี 2549 คำขวัญรณรงค์คือ “บุหรี่ทุกชนิดนำชีวิตสู่ความตาย” ประเทศไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยบุหรี่และได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อลดการสูบบุหรี่มาโดยลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เช่น การขึ้นภาษีบุหรี่ การขยายเขตปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ และการห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นต้น และเริ่มเห็นผลสัมฤทธิ์ในไตรมาสสี่ปี 2548 ที่การบริโภคทั้งประเทศลดลงถึงร้อยละ 3.1 และไตรมาสหนึ่งปี 2549 ลดลงร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกับของปีก่อน อย่างไรก็ตามบุหรี่ยังเป็นภัยคุกคามสุขภาพคนไทยเพราะยังมีผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำอยู่ถึง 9.6 ล้านคน หรือร้อยละ 19.4 ของประชากรและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ และโรคถุงลมโป่งพองอยู่สูงถึงปีละ 52,000 คน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่สูบบุหรี่หรือที่เรียกว่าควันบุหรี่มือสองอีกด้วย ส่วนนักเรียนมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษาที่สูบบุหรี่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 17 ของประชากร ซึ่งผู้ที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า โรคถุงลมโป่งพอง 10 เท่า และโรคหัวใจ 3 เท่า
เรื่องเด่นประจำฉบับ ชาเขียวพร้อมดื่ม : เครื่องดื่มยอดนิยมที่ต้องระวังระดับน้ำตาล เครื่องดื่มดับกระหาย นอกจากน้ำขวดแล้ว ยังมีน้ำอัดลม น้ำชาเขียวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม น้ำผลไม้ นมหวานและนมถั่วเหลือง โดยชาเขียวพร้อมดื่มเป็นสินค้ายอดนิยมทำให้มีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าสินค้าอื่นๆ และประชาชนมีความเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
คนไทยนิยมบริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ยอดจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มในปี 2546 มีประมาณ 1,050 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 3,400 ล้านบาท ในปี 2547 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านบาท ในปี 2548 ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนนิยมบริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มมีรสหวานสูงถึงร้อยละ 72 ของประชากรทั้งประเทศ โดยเป็นผู้ที่ดื่มทุกวันถึงร้อยละ 29 รองลงมาเป็น ดื่มสัปดาห์ละ 1 — 2 วัน ร้อยละ 22.4 และ ดื่มสัปดาห์ละ 3 — 4 วัน ร้อยละ 14.2 กลุ่มที่ดื่มทุกวันมากที่สุด คือ ผู้มีอายุ 25 — 59 ปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.6 ของประชากร รองลงมาเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ27 ส่วนผู้มีอายุ 6 — 24 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 25 ของประชากรในแต่ละกลุ่ม
ชาเขียวพร้อมดื่มมีน้ำตาลและคาเฟอีนค่อนข้างสูง กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า เด็กไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน และผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งผลการสุ่มสำรวจของ สศช. พบว่าชาเขียวพร้อมดื่มมีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุด อยู่ระหว่าง 6.25 — 15 ช้อนชาและคาเฟอีน 23.9 - 73.5 มิลลิกรัมต่อขวด (500 ซีซี) สอดคล้องกับการสำรวจของเครือข่ายเด็กไม่กินหวาน ที่พบว่า ชาเขียวพร้อมดื่มขนาดบรรจุ 250 — 500 มิลลิกรัมจะมีน้ำตาลระหว่าง 3 — 15 ช้อนชา และการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าชาเขียวพร้อมดื่มขนาด 500 มิลลิกรัม 23 ผลิตภัณฑ์ มีคาเฟอีนเกิน 50 มิลลิกรัมต่อขวดถึงร้อยละ 65 ของทั้งหมด ปัจจุบันคนไทยได้รับน้ำตาลจากการบริโภคอาหารประจำวัน เฉลี่ย 19 — 20 ช้อนชา สูงกว่าเกณฑ์เหมาะสมถึง 3 เท่า ดังนั้น หากดื่มชาเขียวเพียงวันละขวด จะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นระหว่าง 4 — 7 เท่า ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ฟันผุ และ โรคอ้วน เนื่องจาก น้ำตาลทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินมากเกินจำเป็น และทำลายสารเคลือบฟัน ดังเห็นได้จากปัจจุบันเด็กอายุ 13 — 15 ปี ที่มีฟันแท้ขึ้นแล้วจะเป็นโรคฟันผุถึงร้อยละ 61 ของทั้งหมด
ผู้บริโภคขาดข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ชาเขียวพร้อมดื่มมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าชาเขียวชงดื่ม เนื่องจากในน้ำหนักที่เท่ากัน ชาเขียวพร้อมดื่มมีปริมาณน้อยกว่า เพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพิ่มเข้ามา และผู้บริโภคร้อยละ 51 เข้าใจว่าชาเขียวพร้อมดื่มเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ร้อยละ 58 ไม่รู้ว่ามีคาเฟอีนผสม และร้อยละ 72 ไม่รู้ว่ามีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์เหมาะสมของร่างกาย
สรุป การดื่มชาเขียว นอกจากไม่ช่วยบำรุงสุขภาพ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการไม่แตกต่างจากน้ำเปล่าแล้ว ยังมีน้ำตาลสูง ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินเกณฑ์เหมาะสมของร่างกาย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคฟันผุ และโรคอ้วน ดังนั้น จึงควรสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคให้รู้วิธีอ่านสลากที่ถูกต้องก่อนซื้อสินค้า และควรพิจารณากำหนดให้ผู้ผลิตต้องแจ้งปริมาณน้ำตาลในฉลากเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่แสดงเฉพาะส่วนประกอบเป็นร้อยละแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อร่างกายได้สะดวก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-