ความเป็นโลกาภิวัตน์กับประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ
(1) The BRIC countries คือ กลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสูง (fast track to Globalization) ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India) และจีน (China) ซึ่งคาดว่าในอนาคตอีกไม่เกิน 40 ปี ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศนี้จะมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มประเทศ G6 (ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของกลุ่มประเทศ BRIC ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีประชากรอาศัยอยู่ในภาคชนบทที่ห่างไกลจากความเป็นโลกาภิวัตน์เป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบันกลุ่ม BRIC ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการราคาถูกให้กับโลกตั้งแต่เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และการให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าหากประเทศเหล่านี้มีรายได้ต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ความเชื่อมโยงของประเทศต่อกระแสโลกาภิวัตน์จะสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงขึ้น และจะมีสัดส่วนการใช้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมาก เช่น ในกรณีประเทศรัสเซีย ในขณะที่ประเทศจีนและบราซิลได้รับการคาดหมายว่าจะมีการพัฒนาตามมาในระยะ 10 ปีข้างหน้า จากการจัดอันดับในปีนี้ปรากฏว่า อันดับของประเทศในกลุ่มนี้ดีขึ้น โดยรัสเซีย และบราซิล ดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่ที่อันดับที่ 47 และ 52 ตามลำดับ เนื่องจากมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยในรัสเซียมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ส่วนในบราซิลมีการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ในขณะที่จีน ดีขึ้น 3 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 51 ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. และได้ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีปริมาณการค้ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจากสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ส่วนอินเดีย อันดับคงเดิมที่อันดับ 61 แม้ว่าดัชนีชี้วัดจะดีขึ้นในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23
(2) การหลีกเลี่ยงภาษีกับการเป็นโลกาภิวัตน์ ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมักจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ไม่เปิดเผยหรือไม่เป็นทางการมากขึ้น และการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์มักจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับขนาดของระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจดังกล่าวมักจะมีความเชื่อมโยงกับความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย ดังเช่นประเทศไนจีเรียที่มีระบบเศรษฐกิจใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อวัดความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศแล้วกลับอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่อันดับดัชนีความเป็นโลกาภิวัตน์สูง แต่ก็ยังอาจมีขนาดของระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการใหญ่ได้เช่นเดียวกัน เช่น ในกรณีประเทศสวีเดน และเดนมาร์ก ทั้งเนื่องจากประชากรมีความพยายามในการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้กันค่อนข้างมาก
(3) ความร่ำรวยของประชาชนในชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความร่ำรวยของประชาชนนั้นนับเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นอย่างมาก อาทิ รัฐบาลประเทศต่างๆ พยายามหาวิธีดึงดูดมหาเศรษฐีให้เข้ามาลงทุนในประเทศตน เช่น ประเทศสิงคโปร์มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภาษีในปี 2547 เพื่อชักจูงมหาเศรษฐีชาวอินเดียและฮ่องกงให้เข้ามาลงทุนในประเทศของตน ในขณะที่ จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ปรากฏว่ามหาเศรษฐีเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา คือมีมหาเศรษฐีที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 371 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 793 คน (หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.8) ส่วนในประเทศกำลังพัฒนามีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อปีที่แล้วอินเดียมีมหาเศรษฐีจำนวน 19 คน เพิ่มขึ้นจาก 9 คน ในขณะที่จีนและตุรกีมีจำนวน 8 และ 21 คน ตามลำดับ และเป็นข้อสังเกตว่าผู้มั่งคั่งในประเทศเหล่านี้มักมีความเชื่อมโยงกับทางการเมืองหรือมีความมั่งคั่งหลังจากดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(4) การรักษาสิ่งแวดล้อม ประเทศที่มีอันดับการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์สูง ส่วนใหญ่จะก่อมลพิษโดยมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรมากกว่าประเทศที่มีอันดับต่ำ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และสิงคโปร์ ยกเว้นประเทศสวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ เนื่องจาก 2 ประเทศหลังนี้มีการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเป็นส่วนใหญ่
1.2 การจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศไทย
ในปี 2549 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 45 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ดีกว่าปีก่อนหน้า คือ ปี 2548 ที่อยู่ในอันดับที่ 46 โดยมีจุดแข็งในด้านการค้าระหว่างประเทศ และมีจุดอ่อนในด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือในการรักษาสันติภาพ UN โดยมีเกณฑ์การจัดอันดับแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านหลัก และในแต่ละด้านหลักประกอบด้วยเกณฑ์ย่อยที่ใช้ในการพิจารณาทั้งสิ้น 12 ด้าน ดังนี้
1) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) พิจารณาใน 2 ด้าน คือ การค้า และการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยมีความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสูงกว่าด้านอื่น ๆ กล่าวคือ อยู่ในอันดับที่ 16 ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 14 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก คือ การค้าระหว่างประเทศ ที่อยู่ในอันดับ 6 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 7 ในปีที่แล้ว) ในขณะที่เกณฑ์ย่อยด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งที่วัดความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านนี้อยู่ในอันดับที่ต่ำมาก คือ อันดับที่ 56 (ลดลงจากอันดับ 43 ในปีที่แล้ว)
2) การติดต่อระหว่างบุคคล (Personal Contact) พิจารณาใน 3 ด้าน คือ การใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศ, การเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และการโอนเงินและการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศ
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 49 อันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 50 เป็นผลมาจากอันดับที่ดีขึ้นในทุกเกณฑ์ย่อย โดยเกณฑ์ย่อยในด้านการโอนเงินและการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอันดับดีขึ้นมากสุด คือ 4 อันดับ จากอันดับที่ 35 เป็นอันดับที่ 31 ตามด้วยเกณฑ์ย่อยด้านการเดินทางและท่องเที่ยว และการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันดับดีขึ้นเท่ากันคือ 1 อันดับ จากอันดับที่ 43 และ 54 เป็นอันดับที่ 42 และ 53 ตามลำดับ
3) การเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Technological Connectivity) พิจารณาใน 3 ด้าน คือ จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต, จำนวนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และระบบรักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 41 ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 40 โดยอันดับของเกณฑ์ย่อยนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน คือ จำนวนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 38 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 44 เมื่อปีที่แล้ว) ตามมาด้วยระบบรักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์อยู่ในอันดับที่ 40 (คงเดิม) และจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 41 (ลดลงจากอันดับ 36 เมื่อปีที่แล้ว) ทั้งนี้ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ด้านการใช้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นการเก็บรวบรวมจำนวนผู้ที่ใช้บริการ ส่วนด้านการให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่แสดงสัดส่วนของจำนวนผู้ให้บริการต่อประชากรของประเทศนั้นๆ
4) การเข้าร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศ (Political Engagement) พิจารณาใน 4 ด้าน คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศ, การให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคนและด้านการเงินในการรักษาสันติภาพของ UN การให้คำรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนภาครัฐ
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยมีความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านการเข้าร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศต่ำมาก และต่ำกว่าด้านอื่น ๆ กล่าวคือ อยู่ในอันดับที่ 57 (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 58) โดยเฉพาะด้านการให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคนและด้านการเงินในการรักษาสันติภาพของ UN ที่อยู่ในอันดับที่ 56 (ลดลงจากอันดับ 44 เมื่อปีที่แล้ว) ตามมาด้วยการให้คำรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 52 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 57 เมื่อปีที่แล้ว) และการเคลื่อนย้ายเงินทุนภาครัฐอยู่ในอันดับที่ 43 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 48 เมื่อปีที่แล้ว) ส่วนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศอยู่ในอันดับดีสุดเมื่อเทียบกับเกณฑ์ย่อยในด้านเดียวกัน คือ อันดับที่ 25 (ลดลงจากอันดับ 17 เมื่อปีที่แล้ว)
1.3 การจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย
1) การเปรียบเทียบการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย ในปี 2549 ปรากฏว่า ประเทศที่อยู่ในอันดับที่สูงกว่าประเทศไทยมี 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ (อันดับที่ 1), มาเลเซีย (อันดับที่ 19), ญี่ปุ่น (อันดับที่ 28), เกาหลีใต้ (อันดับที่ 29), ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 31) และไต้หวัน (อันดับ ที่ 35) ส่วนประเทศที่อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าประเทศไทยมี 3 ประเทศ ได้แก่ จีน (อันดับที่ 51), อินโดนีเซีย (อันดับที่ 60) และอินเดีย (อันดับที่ 61)
2) การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเทศที่มีอันดับสูงขึ้น ได้แก่ จีน, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และไทย (2) ประเทศที่มีอันดับคงเดิม ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และอินเดีย และ (3) ประเทศที่มีอันดับลดลง ได้แก่ เกาหลีใต้
3) การพิจารณาในแง่ของเกณฑ์การจัดอันดับหลัก ปรากฏว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในอันดับที่ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ (อยู่ในอันดับ 1 มีความเป็นโลกาภิวัตน์ทั้งในด้านการค้า และการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศสูงที่สุด) มาเลเซีย และไต้หวัน ในขณะที่การติดต่อระหว่างบุคคล และการเข้าร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคนและด้านการเงินในการรักษาสันติภาพของ UN อยู่ในอันดับที่ 56 อันดับต่ำรองลงมาจากประเทศอินเดีย (อันดับที่ 59) และอินโดนีเซีย (อันดับที่ 60) ส่วนการให้คำรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศอยู่ในอันดับที่ 52 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำสุดของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซีย โดยมีจีนและอินเดียอยู่ในอันดับนี้ด้วย ส่วนในเรื่องของการเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในอันดับปานกลาง โดยประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซียที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านนี้สูง ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
2. การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ IMD (International Institute of Management Development)(ฆ)
2.1 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ IMD ประจำปี 2549
1) ในปี 2549 มีการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ รวม 61 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งมีการจัดอันดับทั้งสิ้น 60 ประเทศ เนื่องจากมีประเทศใหม่เพิ่มขึ้น 2 ประเทศ ได้แก่ บัลแกเรีย และโครเอเชีย และมีประเทศที่ถอนตัวจากการจัดอันดับ 1 ประเทศ คือ Rhone-Alps โดยข้อมูลหรือเกณฑ์ที่ IMD ใช้มีทั้งหมด 312 เกณฑ์ แต่เกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจัดลำดับขีดความสามารถในการแข่งขันมีจำนวน 239 เกณฑ์ (ที่เหลืออีก 37 เกณฑ์ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ไม่ได้นำมาใช้ในการจัดลำดับ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ข้อมูลสถิติ จำนวน 126 เกณฑ์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.7) ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งภายในประเทศ ภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งสถาบันเครือข่าย 58 สถาบัน (2) ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร จำนวน 113 เกณฑ์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.3) ได้จากการตอบแบบสอบถาม
2) ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสิงคโปร์ ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกับปีที่แล้ว (ปี 2548)
3) นอกเหนือจากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้ง 61 ประเทศแล้ว IMD ยังได้จัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มประเทศที่มีขนาดประชากร และรายได้ที่ใกล้เคียงกัน โดยแบ่งออกเป็น (1) ประเทศที่มีประชากรสูงหรือต่ำกว่า 20 ล้านคน และ (2) ประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงหรือต่ำกว่า 10,000 ดอลลาร์ สรอ. เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกันได้ระหว่างประเทศมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการจัดอันดับมีทั้งในรูปของข้อมูลที่เป็นตัวเลข และที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโดยการตอบแบบสอบถาม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ฆ) สรุปจากเอกสารการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประจำปี 2549 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management Development: IMD) จัดทำโดย สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (สพศ.) และสำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค (สศม.), กรกฎาคม 2549.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.2 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
ในปี 2549 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 32 ซึ่งต่ำกว่าปี 2548 ที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 27 โดยผลการจัดอันดับตามเกณฑ์ของ IMD แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก และในแต่ละด้านประกอบด้วย 5 ปัจจัยย่อย ดังนี้
1) ด้านเศรษฐกิจ (Economic Performance) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ เศรษฐกิจภายในประเทศ, การค้าระหว่างประเทศ, การลงทุนระหว่างประเทศ, การจ้างงาน และระดับราคาสินค้า จากการจัดอันดับปรากฏว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของไทยในปี 2549 ได้ลดลงอย่างมากจากอันดับที่ 7 ในปี 2548 เป็นอันดับที่ 21 ในปี 2549 โดยปัจจัยย่อยได้ลดลงในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 18 เป็นอันดับที่ 15 ในด้านเศรษฐกิจมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) อัตราการว่างงานโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (อันดับ 1) และอัตราการจ้างงาน (อันดับ 5)
(2) ค่าครองชีพ (อันดับ 7) แม้ว่าค่าครองชีพจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคสูงขึ้นมากจาก 2.8 ในปี 2548 เป็น 4.5 ในปี 2549 ส่งผลให้อันดับโดยรวมของระดับราคาลดลงจากอันดับ 7 มาเป็นอันดับ 9
(3) รายรับจากการท่องเที่ยวต่อ GDP (อันดับ 7) ซึ่งอันดับยังต่ำกว่าประเทศมาเลเซีย
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) การลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งด้านทรัพย์สินและหนี้สิน โดยด้านทรัพย์สิน (อันดับ 58) ลดลงจาก 0.94 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 เป็น -1.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549 ส่วนด้านหนี้สิน (อันดับ 50) ลดลงจาก 0.85 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2548 เป็น 0.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549
(2) GDP และ PPP (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) (อันดับ 54 และ 51 ตามลำดับ) โดยมีอัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงลดลงจาก 6.2 ในปี 2548 เป็น 4.5 ในปี 2549 และอัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงต่อหัวลดลงจาก 5.25 ในปี 2548 เป็น 2.22 ในปี 2549
(3) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (อันดับ 48) แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในรูปปริมาณและสัดส่วนต่อ GDP ก็ตาม (โดยปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 0.13 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 เป็น 0.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549 และสัดส่วนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 0.08 ในปี 2548 เป็น 0.14 ในปี 2549) แต่การส่งเสริมให้นักลงทุนไทยไปต่างประเทศยังมีไม่มากนัก และส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการขนาดเล็ก เช่น ร้านอาหาร และสปา เป็นต้น
2) ความมีประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ ฐานะการคลัง, นโยบายการคลัง, โครงสร้างของสถาบันภาครัฐ, กฎหมายธุรกิจ และโครงสร้างของสังคม
จากการจัดอันดับปรากฏว่าอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านความมีประสิทธิภาพของภาครัฐในปี 2549 ได้ลดลงจากอันดับที่ 14 ในปี 2548 เป็นอันดับที่ 21 ในปี 2549 โดยปัจจัยย่อยได้ลดลงในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านโครงสร้างของสถาบันภาครัฐที่มีอันดับลงลงมากสุดถึง 14 อันดับ
ในด้านความมีประสิทธิภาพของภาครัฐมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) ด้านนโยบายการคลัง ได้แก่ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (อันดับ 3), อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อ GDP (อันดับ 7) และรายได้ภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บต่อ GDP (อันดับ 10) แต่ทั้งนี้ต้องมีการควบคุมในเรื่องของการหลีกเลี่ยงภาษีให้รัดกุมยิ่งขึ้น เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ
(2) เสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน (อันดับ 4) และอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่แท้จริง (อันดับ 12) ซึ่งนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องทั้งสองส่งผลกระทบในด้านบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝากยังสูง ทำให้ต้นทุนของทุนยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจ
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุนต่างประเทศยังไม่เปิดเสรี (อันดับ 56) เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรไม่เอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้า, นโยบาย การปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ และการทำธุรกรรมระหว่างประเทศไม่สามารถตกลงกับคู่เจรจาต่างชาติได้อย่างเสรี นอกจากนี้การเข้าถึงตลาดทุนในประเทศและต่างประเทศยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และการทำสัญญาของภาครัฐซึ่งเปิดกว้างให้ผู้ประมูลต่างชาตินั้นมีคะแนนลดลง
(2) การควบคุมราคา (อันดับ 55) เป็นจุดอ่อนของไทยมานานแล้ว เนื่องจากมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าในภาคอุตสาหกรรม จากผลสำรวจปรากฏว่า การควบคุมราคา มีคะแนนลดลงจาก 6.17 ในปี 2548 เป็น 5.10 ในปี 2549
(3) ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (อันดับ 52) จากผลสำรวจปรากฏว่า คะแนนลดลงจาก 4.68 ในปี 2548 เป็น 3.13 ในปี 2549
(4) กฎระเบียบในการแข่งขัน (อันดับ 50) ปัจจัยที่มีอันดับลดลง ได้แก่ กฎระเบียบทางด้านสินค้าและบริการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจ และการสนับสนุนทางกฎหมายในการตั้งธุรกิจและความง่ายในการทำธุรกิจ ทั้งนี้ สัดส่วนการอุดหนุนของภาครัฐต่อ GDP เพิ่มขึ้น มีส่วนบิดเบือนการแข่งขันที่เป็นธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะที่ความเข้มงวดของกฎระเบียบจำกัดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลเสียของเศรษฐกิจนอกกฎหมายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมีอันดับดีขึ้น จำนวนวันในการเริ่มต้นทำธุรกิจลดลง
(5) ความไม่มั่นคงทางการเมือง (อันดับ 50) จากผลสำรวจปรากฏว่า คะแนนลดลงจาก 8.00 ในปี 2548 เป็น 5.03 ในปี 2549
3) ความมีประสิทธิภาพของภาคเอกชน (Business Efficiency) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ ผลิตภาพด้านการผลิต, ตลาดแรงงาน, การเงิน, การบริหารจัดการ และทัศนคติและค่านิยม
จากการจัดอันดับปรากฏว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านความมีประสิทธิภาพของภาคเอกชนในปี 2549 คงเดิมที่อันดับ 28 โดยมีตลาดแรงงานเป็นจุดแข็ง ส่วนปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ ผลิตภาพด้านการผลิต การเงิน และการบริหารจัดการ ปัจจัยที่มีอันดับลดลง ได้แก่ ทัศนคติและค่านิยม ในด้านความมีประสิทธิภาพของภาคเอกชนมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) ความพอใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริหารจัดการของภาคเอกชน (อันดับ 4 ดีขึ้นจากอันดับ 16 เมื่อปีที่แล้ว)
(2) ด้านตลาดแรงงาน ได้แก่ อัตราเพิ่มของกำลังแรงงาน (อันดับ 7) ถึงแม้ว่าไทยจะมีจุดแข็งอยู่ที่จำนวนแรงงานต่อประชากรอยู่ในระดับสูง แต่แรงงานมีฝีมือยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย, การจ่ายค่าตอบแทนในภาคบริการ (อันดับ 8) อยู่ในอัตราที่ต่ำ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และชั่วโมงการทำงาน (อันดับ 9) ที่ค่อนข้างสูง
(3) ด้านผลิตภาพในภาคการผลิต ได้แก่ ผลตอบแทนด้านรายได้ของภาคอุตสาหกรรม (อันดับ 8) ถึงแม้ว่าผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมจะลดลงก็ตาม แต่ประสิทธิภาพของบริษัทขนาดใหญ่ และอัตราการขยายตัวที่แท้จริงของผลิตภาพรวมยังคงมีแนวโน้มดีขึ้น
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) ด้านผลิตภาพในภาคการผลิต ได้แก่ ผลิตภาพแรงงานรวม (อันดับ 56) แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และมาตรฐานของธุรกิจ SMEs (อันดับ 47)
(2) ด้านการเงิน ได้แก่ อัตราเพิ่มของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (อันดับ 53) และความเสี่ยงในการลงทุน (อันดับ 47)
(3) ด้านตลาดแรงงาน ได้แก่ ทักษะของแรงงานทางด้านการเงิน (อันดับ 47)
4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา
จากการจัดอันดับปรากฏว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยในปี 2549 อยู่ที่อันดับ 48 ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ โดยปัจจัยย่อยได้ลดลงในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 56 เป็นอันดับที่ 53 แต่ก็ยังคงอยู่ในอันดับที่ต่ำมาก ส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอันดับคงเดิมที่ 38
ในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ต้นทุนการต่ออินเตอร์เน็ต (อันดับ 2), ต้นทุนค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อันดับ 8) และสินค้าส่งออกที่มีเทคโนโลยีระดับสูง (อันดับ 10)
(2) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อัตราส่วนการพึ่งพิงของเด็กและผู้สูงอายุ (อันดับ 13)
(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ของเยาวชน (อันดับ 24)
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขต่อ GDP (อันดับ 59) และจำนวนคนไข้ในต่อจำนวนแพทย์และพยาบาลที่ให้บริการ (อันดับ 57)
(2) โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP (อันดับ 58) และค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคธุรกิจต่อ GDP (อันดับ 55) ซึ่งหากไทยต้องการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจ ฐานความรู้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องลงทุนในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ได้แก่ จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (อันดับ 53)
2.3 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเซีย
1) การเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเซีย ในปี 2549 ปรากฏว่า ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าประเทศไทยมี 7 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง (อันดับที่ 2), สิงคโปร์ (อันดับที่ 3), ญี่ปุ่น (อันดับที่ 17), ไต้หวัน (อันดับที่ 18), จีน (อันดับที่ 19), มาเลเซีย (อันดับที่ 23) และอินเดีย (อันดับที่ 29) ส่วนประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าประเทศไทยมีเพียง 3 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี (อันดับที่ 38), ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 49) และอินโดนีเซีย (อันดับที่ 60)
2) การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเทศที่มีอันดับสูงขึ้น ได้แก่ จีน, อินเดีย, มาเลเซีย และญี่ปุ่น (2) ประเทศที่มีอันดับคงเดิม ได้แก่ ฮ่องกง, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และ (3) ประเทศที่มีอันดับลดลง ได้แก่ เกาหลี, ไต้หวัน, ไทย และอินโดนีเซีย
3) การพิจารณาในแง่ของเกณฑ์การจัดอันดับ ปรากฏว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านนโยบายการคลังอยู่ในอันดับที่ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ยกเว้นประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ ส่วนในด้านการจ้างงานก็อยู่ในอันดับที่ดี รองลงมาจากประเทศจีนและสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าตามเกณฑ์การวัดขีดความสามารถในการแข่งขันด้านตลาดแรงงานนั้น ประเทศในเอเซียมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง โดย 6 อันดับแรกอยู่ในภูมิภาคเอเซียทั้งสิ้น ประกอบด้วย อินเดีย, ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, จีน และไทย ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ โดยอยู่ในลำดับที่สูงกว่าเพียงแค่ประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น
(ยังมีต่อ).../3. การจัดอัน
(1) The BRIC countries คือ กลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสูง (fast track to Globalization) ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India) และจีน (China) ซึ่งคาดว่าในอนาคตอีกไม่เกิน 40 ปี ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศนี้จะมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มประเทศ G6 (ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของกลุ่มประเทศ BRIC ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีประชากรอาศัยอยู่ในภาคชนบทที่ห่างไกลจากความเป็นโลกาภิวัตน์เป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบันกลุ่ม BRIC ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการราคาถูกให้กับโลกตั้งแต่เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และการให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าหากประเทศเหล่านี้มีรายได้ต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ความเชื่อมโยงของประเทศต่อกระแสโลกาภิวัตน์จะสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงขึ้น และจะมีสัดส่วนการใช้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมาก เช่น ในกรณีประเทศรัสเซีย ในขณะที่ประเทศจีนและบราซิลได้รับการคาดหมายว่าจะมีการพัฒนาตามมาในระยะ 10 ปีข้างหน้า จากการจัดอันดับในปีนี้ปรากฏว่า อันดับของประเทศในกลุ่มนี้ดีขึ้น โดยรัสเซีย และบราซิล ดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่ที่อันดับที่ 47 และ 52 ตามลำดับ เนื่องจากมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยในรัสเซียมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ส่วนในบราซิลมีการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ในขณะที่จีน ดีขึ้น 3 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 51 ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. และได้ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีปริมาณการค้ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจากสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ส่วนอินเดีย อันดับคงเดิมที่อันดับ 61 แม้ว่าดัชนีชี้วัดจะดีขึ้นในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23
(2) การหลีกเลี่ยงภาษีกับการเป็นโลกาภิวัตน์ ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมักจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ไม่เปิดเผยหรือไม่เป็นทางการมากขึ้น และการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์มักจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับขนาดของระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจดังกล่าวมักจะมีความเชื่อมโยงกับความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย ดังเช่นประเทศไนจีเรียที่มีระบบเศรษฐกิจใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อวัดความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศแล้วกลับอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศที่อันดับดัชนีความเป็นโลกาภิวัตน์สูง แต่ก็ยังอาจมีขนาดของระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการใหญ่ได้เช่นเดียวกัน เช่น ในกรณีประเทศสวีเดน และเดนมาร์ก ทั้งเนื่องจากประชากรมีความพยายามในการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้กันค่อนข้างมาก
(3) ความร่ำรวยของประชาชนในชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความร่ำรวยของประชาชนนั้นนับเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นอย่างมาก อาทิ รัฐบาลประเทศต่างๆ พยายามหาวิธีดึงดูดมหาเศรษฐีให้เข้ามาลงทุนในประเทศตน เช่น ประเทศสิงคโปร์มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภาษีในปี 2547 เพื่อชักจูงมหาเศรษฐีชาวอินเดียและฮ่องกงให้เข้ามาลงทุนในประเทศของตน ในขณะที่ จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ปรากฏว่ามหาเศรษฐีเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา คือมีมหาเศรษฐีที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 371 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 793 คน (หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.8) ส่วนในประเทศกำลังพัฒนามีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อปีที่แล้วอินเดียมีมหาเศรษฐีจำนวน 19 คน เพิ่มขึ้นจาก 9 คน ในขณะที่จีนและตุรกีมีจำนวน 8 และ 21 คน ตามลำดับ และเป็นข้อสังเกตว่าผู้มั่งคั่งในประเทศเหล่านี้มักมีความเชื่อมโยงกับทางการเมืองหรือมีความมั่งคั่งหลังจากดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(4) การรักษาสิ่งแวดล้อม ประเทศที่มีอันดับการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์สูง ส่วนใหญ่จะก่อมลพิษโดยมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรมากกว่าประเทศที่มีอันดับต่ำ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และสิงคโปร์ ยกเว้นประเทศสวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ เนื่องจาก 2 ประเทศหลังนี้มีการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเป็นส่วนใหญ่
1.2 การจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศไทย
ในปี 2549 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 45 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ดีกว่าปีก่อนหน้า คือ ปี 2548 ที่อยู่ในอันดับที่ 46 โดยมีจุดแข็งในด้านการค้าระหว่างประเทศ และมีจุดอ่อนในด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือในการรักษาสันติภาพ UN โดยมีเกณฑ์การจัดอันดับแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านหลัก และในแต่ละด้านหลักประกอบด้วยเกณฑ์ย่อยที่ใช้ในการพิจารณาทั้งสิ้น 12 ด้าน ดังนี้
1) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) พิจารณาใน 2 ด้าน คือ การค้า และการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยมีความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสูงกว่าด้านอื่น ๆ กล่าวคือ อยู่ในอันดับที่ 16 ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 14 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก คือ การค้าระหว่างประเทศ ที่อยู่ในอันดับ 6 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 7 ในปีที่แล้ว) ในขณะที่เกณฑ์ย่อยด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งที่วัดความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านนี้อยู่ในอันดับที่ต่ำมาก คือ อันดับที่ 56 (ลดลงจากอันดับ 43 ในปีที่แล้ว)
2) การติดต่อระหว่างบุคคล (Personal Contact) พิจารณาใน 3 ด้าน คือ การใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศ, การเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และการโอนเงินและการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศ
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 49 อันดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 50 เป็นผลมาจากอันดับที่ดีขึ้นในทุกเกณฑ์ย่อย โดยเกณฑ์ย่อยในด้านการโอนเงินและการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอันดับดีขึ้นมากสุด คือ 4 อันดับ จากอันดับที่ 35 เป็นอันดับที่ 31 ตามด้วยเกณฑ์ย่อยด้านการเดินทางและท่องเที่ยว และการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันดับดีขึ้นเท่ากันคือ 1 อันดับ จากอันดับที่ 43 และ 54 เป็นอันดับที่ 42 และ 53 ตามลำดับ
3) การเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Technological Connectivity) พิจารณาใน 3 ด้าน คือ จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต, จำนวนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และระบบรักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 41 ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 40 โดยอันดับของเกณฑ์ย่อยนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน คือ จำนวนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 38 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 44 เมื่อปีที่แล้ว) ตามมาด้วยระบบรักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์อยู่ในอันดับที่ 40 (คงเดิม) และจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 41 (ลดลงจากอันดับ 36 เมื่อปีที่แล้ว) ทั้งนี้ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ด้านการใช้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นการเก็บรวบรวมจำนวนผู้ที่ใช้บริการ ส่วนด้านการให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่แสดงสัดส่วนของจำนวนผู้ให้บริการต่อประชากรของประเทศนั้นๆ
4) การเข้าร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศ (Political Engagement) พิจารณาใน 4 ด้าน คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศ, การให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคนและด้านการเงินในการรักษาสันติภาพของ UN การให้คำรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนภาครัฐ
จากการจัดอันดับปรากฏว่า ประเทศไทยมีความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านการเข้าร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศต่ำมาก และต่ำกว่าด้านอื่น ๆ กล่าวคือ อยู่ในอันดับที่ 57 (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ในอันดับที่ 58) โดยเฉพาะด้านการให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคนและด้านการเงินในการรักษาสันติภาพของ UN ที่อยู่ในอันดับที่ 56 (ลดลงจากอันดับ 44 เมื่อปีที่แล้ว) ตามมาด้วยการให้คำรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 52 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 57 เมื่อปีที่แล้ว) และการเคลื่อนย้ายเงินทุนภาครัฐอยู่ในอันดับที่ 43 (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 48 เมื่อปีที่แล้ว) ส่วนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศอยู่ในอันดับดีสุดเมื่อเทียบกับเกณฑ์ย่อยในด้านเดียวกัน คือ อันดับที่ 25 (ลดลงจากอันดับ 17 เมื่อปีที่แล้ว)
1.3 การจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย
1) การเปรียบเทียบการจัดอันดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย ในปี 2549 ปรากฏว่า ประเทศที่อยู่ในอันดับที่สูงกว่าประเทศไทยมี 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ (อันดับที่ 1), มาเลเซีย (อันดับที่ 19), ญี่ปุ่น (อันดับที่ 28), เกาหลีใต้ (อันดับที่ 29), ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 31) และไต้หวัน (อันดับ ที่ 35) ส่วนประเทศที่อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าประเทศไทยมี 3 ประเทศ ได้แก่ จีน (อันดับที่ 51), อินโดนีเซีย (อันดับที่ 60) และอินเดีย (อันดับที่ 61)
2) การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเทศที่มีอันดับสูงขึ้น ได้แก่ จีน, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และไทย (2) ประเทศที่มีอันดับคงเดิม ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และอินเดีย และ (3) ประเทศที่มีอันดับลดลง ได้แก่ เกาหลีใต้
3) การพิจารณาในแง่ของเกณฑ์การจัดอันดับหลัก ปรากฏว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในอันดับที่ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ (อยู่ในอันดับ 1 มีความเป็นโลกาภิวัตน์ทั้งในด้านการค้า และการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศสูงที่สุด) มาเลเซีย และไต้หวัน ในขณะที่การติดต่อระหว่างบุคคล และการเข้าร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังคนและด้านการเงินในการรักษาสันติภาพของ UN อยู่ในอันดับที่ 56 อันดับต่ำรองลงมาจากประเทศอินเดีย (อันดับที่ 59) และอินโดนีเซีย (อันดับที่ 60) ส่วนการให้คำรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศอยู่ในอันดับที่ 52 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำสุดของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซีย โดยมีจีนและอินเดียอยู่ในอันดับนี้ด้วย ส่วนในเรื่องของการเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในอันดับปานกลาง โดยประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเซียที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านนี้สูง ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
2. การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ IMD (International Institute of Management Development)(ฆ)
2.1 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ IMD ประจำปี 2549
1) ในปี 2549 มีการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ รวม 61 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งมีการจัดอันดับทั้งสิ้น 60 ประเทศ เนื่องจากมีประเทศใหม่เพิ่มขึ้น 2 ประเทศ ได้แก่ บัลแกเรีย และโครเอเชีย และมีประเทศที่ถอนตัวจากการจัดอันดับ 1 ประเทศ คือ Rhone-Alps โดยข้อมูลหรือเกณฑ์ที่ IMD ใช้มีทั้งหมด 312 เกณฑ์ แต่เกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจัดลำดับขีดความสามารถในการแข่งขันมีจำนวน 239 เกณฑ์ (ที่เหลืออีก 37 เกณฑ์ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ไม่ได้นำมาใช้ในการจัดลำดับ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ข้อมูลสถิติ จำนวน 126 เกณฑ์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.7) ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งภายในประเทศ ภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งสถาบันเครือข่าย 58 สถาบัน (2) ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร จำนวน 113 เกณฑ์ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.3) ได้จากการตอบแบบสอบถาม
2) ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสิงคโปร์ ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกับปีที่แล้ว (ปี 2548)
3) นอกเหนือจากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้ง 61 ประเทศแล้ว IMD ยังได้จัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มประเทศที่มีขนาดประชากร และรายได้ที่ใกล้เคียงกัน โดยแบ่งออกเป็น (1) ประเทศที่มีประชากรสูงหรือต่ำกว่า 20 ล้านคน และ (2) ประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงหรือต่ำกว่า 10,000 ดอลลาร์ สรอ. เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกันได้ระหว่างประเทศมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการจัดอันดับมีทั้งในรูปของข้อมูลที่เป็นตัวเลข และที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโดยการตอบแบบสอบถาม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ฆ) สรุปจากเอกสารการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประจำปี 2549 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management Development: IMD) จัดทำโดย สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (สพศ.) และสำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค (สศม.), กรกฎาคม 2549.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.2 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
ในปี 2549 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 32 ซึ่งต่ำกว่าปี 2548 ที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 27 โดยผลการจัดอันดับตามเกณฑ์ของ IMD แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก และในแต่ละด้านประกอบด้วย 5 ปัจจัยย่อย ดังนี้
1) ด้านเศรษฐกิจ (Economic Performance) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ เศรษฐกิจภายในประเทศ, การค้าระหว่างประเทศ, การลงทุนระหว่างประเทศ, การจ้างงาน และระดับราคาสินค้า จากการจัดอันดับปรากฏว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของไทยในปี 2549 ได้ลดลงอย่างมากจากอันดับที่ 7 ในปี 2548 เป็นอันดับที่ 21 ในปี 2549 โดยปัจจัยย่อยได้ลดลงในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 18 เป็นอันดับที่ 15 ในด้านเศรษฐกิจมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) อัตราการว่างงานโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (อันดับ 1) และอัตราการจ้างงาน (อันดับ 5)
(2) ค่าครองชีพ (อันดับ 7) แม้ว่าค่าครองชีพจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคสูงขึ้นมากจาก 2.8 ในปี 2548 เป็น 4.5 ในปี 2549 ส่งผลให้อันดับโดยรวมของระดับราคาลดลงจากอันดับ 7 มาเป็นอันดับ 9
(3) รายรับจากการท่องเที่ยวต่อ GDP (อันดับ 7) ซึ่งอันดับยังต่ำกว่าประเทศมาเลเซีย
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) การลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งด้านทรัพย์สินและหนี้สิน โดยด้านทรัพย์สิน (อันดับ 58) ลดลงจาก 0.94 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 เป็น -1.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549 ส่วนด้านหนี้สิน (อันดับ 50) ลดลงจาก 0.85 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปี 2548 เป็น 0.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549
(2) GDP และ PPP (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) (อันดับ 54 และ 51 ตามลำดับ) โดยมีอัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงลดลงจาก 6.2 ในปี 2548 เป็น 4.5 ในปี 2549 และอัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงต่อหัวลดลงจาก 5.25 ในปี 2548 เป็น 2.22 ในปี 2549
(3) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (อันดับ 48) แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในรูปปริมาณและสัดส่วนต่อ GDP ก็ตาม (โดยปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 0.13 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 เป็น 0.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2549 และสัดส่วนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 0.08 ในปี 2548 เป็น 0.14 ในปี 2549) แต่การส่งเสริมให้นักลงทุนไทยไปต่างประเทศยังมีไม่มากนัก และส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการขนาดเล็ก เช่น ร้านอาหาร และสปา เป็นต้น
2) ความมีประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ ฐานะการคลัง, นโยบายการคลัง, โครงสร้างของสถาบันภาครัฐ, กฎหมายธุรกิจ และโครงสร้างของสังคม
จากการจัดอันดับปรากฏว่าอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านความมีประสิทธิภาพของภาครัฐในปี 2549 ได้ลดลงจากอันดับที่ 14 ในปี 2548 เป็นอันดับที่ 21 ในปี 2549 โดยปัจจัยย่อยได้ลดลงในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านโครงสร้างของสถาบันภาครัฐที่มีอันดับลงลงมากสุดถึง 14 อันดับ
ในด้านความมีประสิทธิภาพของภาครัฐมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) ด้านนโยบายการคลัง ได้แก่ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (อันดับ 3), อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อ GDP (อันดับ 7) และรายได้ภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บต่อ GDP (อันดับ 10) แต่ทั้งนี้ต้องมีการควบคุมในเรื่องของการหลีกเลี่ยงภาษีให้รัดกุมยิ่งขึ้น เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ
(2) เสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน (อันดับ 4) และอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่แท้จริง (อันดับ 12) ซึ่งนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องทั้งสองส่งผลกระทบในด้านบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝากยังสูง ทำให้ต้นทุนของทุนยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจ
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุนต่างประเทศยังไม่เปิดเสรี (อันดับ 56) เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรไม่เอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้า, นโยบาย การปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ และการทำธุรกรรมระหว่างประเทศไม่สามารถตกลงกับคู่เจรจาต่างชาติได้อย่างเสรี นอกจากนี้การเข้าถึงตลาดทุนในประเทศและต่างประเทศยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และการทำสัญญาของภาครัฐซึ่งเปิดกว้างให้ผู้ประมูลต่างชาตินั้นมีคะแนนลดลง
(2) การควบคุมราคา (อันดับ 55) เป็นจุดอ่อนของไทยมานานแล้ว เนื่องจากมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าในภาคอุตสาหกรรม จากผลสำรวจปรากฏว่า การควบคุมราคา มีคะแนนลดลงจาก 6.17 ในปี 2548 เป็น 5.10 ในปี 2549
(3) ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (อันดับ 52) จากผลสำรวจปรากฏว่า คะแนนลดลงจาก 4.68 ในปี 2548 เป็น 3.13 ในปี 2549
(4) กฎระเบียบในการแข่งขัน (อันดับ 50) ปัจจัยที่มีอันดับลดลง ได้แก่ กฎระเบียบทางด้านสินค้าและบริการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจ และการสนับสนุนทางกฎหมายในการตั้งธุรกิจและความง่ายในการทำธุรกิจ ทั้งนี้ สัดส่วนการอุดหนุนของภาครัฐต่อ GDP เพิ่มขึ้น มีส่วนบิดเบือนการแข่งขันที่เป็นธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะที่ความเข้มงวดของกฎระเบียบจำกัดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลเสียของเศรษฐกิจนอกกฎหมายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมีอันดับดีขึ้น จำนวนวันในการเริ่มต้นทำธุรกิจลดลง
(5) ความไม่มั่นคงทางการเมือง (อันดับ 50) จากผลสำรวจปรากฏว่า คะแนนลดลงจาก 8.00 ในปี 2548 เป็น 5.03 ในปี 2549
3) ความมีประสิทธิภาพของภาคเอกชน (Business Efficiency) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ ผลิตภาพด้านการผลิต, ตลาดแรงงาน, การเงิน, การบริหารจัดการ และทัศนคติและค่านิยม
จากการจัดอันดับปรากฏว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านความมีประสิทธิภาพของภาคเอกชนในปี 2549 คงเดิมที่อันดับ 28 โดยมีตลาดแรงงานเป็นจุดแข็ง ส่วนปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ ผลิตภาพด้านการผลิต การเงิน และการบริหารจัดการ ปัจจัยที่มีอันดับลดลง ได้แก่ ทัศนคติและค่านิยม ในด้านความมีประสิทธิภาพของภาคเอกชนมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) ความพอใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริหารจัดการของภาคเอกชน (อันดับ 4 ดีขึ้นจากอันดับ 16 เมื่อปีที่แล้ว)
(2) ด้านตลาดแรงงาน ได้แก่ อัตราเพิ่มของกำลังแรงงาน (อันดับ 7) ถึงแม้ว่าไทยจะมีจุดแข็งอยู่ที่จำนวนแรงงานต่อประชากรอยู่ในระดับสูง แต่แรงงานมีฝีมือยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย, การจ่ายค่าตอบแทนในภาคบริการ (อันดับ 8) อยู่ในอัตราที่ต่ำ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และชั่วโมงการทำงาน (อันดับ 9) ที่ค่อนข้างสูง
(3) ด้านผลิตภาพในภาคการผลิต ได้แก่ ผลตอบแทนด้านรายได้ของภาคอุตสาหกรรม (อันดับ 8) ถึงแม้ว่าผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมจะลดลงก็ตาม แต่ประสิทธิภาพของบริษัทขนาดใหญ่ และอัตราการขยายตัวที่แท้จริงของผลิตภาพรวมยังคงมีแนวโน้มดีขึ้น
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) ด้านผลิตภาพในภาคการผลิต ได้แก่ ผลิตภาพแรงงานรวม (อันดับ 56) แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และมาตรฐานของธุรกิจ SMEs (อันดับ 47)
(2) ด้านการเงิน ได้แก่ อัตราเพิ่มของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (อันดับ 53) และความเสี่ยงในการลงทุน (อันดับ 47)
(3) ด้านตลาดแรงงาน ได้แก่ ทักษะของแรงงานทางด้านการเงิน (อันดับ 47)
4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) พิจารณาใน 5 ด้าน คือ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา
จากการจัดอันดับปรากฏว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยในปี 2549 อยู่ที่อันดับ 48 ลดลงจากปีที่แล้ว 1 อันดับ โดยปัจจัยย่อยได้ลดลงในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 56 เป็นอันดับที่ 53 แต่ก็ยังคงอยู่ในอันดับที่ต่ำมาก ส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอันดับคงเดิมที่ 38
ในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่
(1) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ต้นทุนการต่ออินเตอร์เน็ต (อันดับ 2), ต้นทุนค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อันดับ 8) และสินค้าส่งออกที่มีเทคโนโลยีระดับสูง (อันดับ 10)
(2) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อัตราส่วนการพึ่งพิงของเด็กและผู้สูงอายุ (อันดับ 13)
(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ของเยาวชน (อันดับ 24)
ส่วนปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับปรุง ได้แก่
(1) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขต่อ GDP (อันดับ 59) และจำนวนคนไข้ในต่อจำนวนแพทย์และพยาบาลที่ให้บริการ (อันดับ 57)
(2) โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP (อันดับ 58) และค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคธุรกิจต่อ GDP (อันดับ 55) ซึ่งหากไทยต้องการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจ ฐานความรู้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องลงทุนในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ได้แก่ จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (อันดับ 53)
2.3 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเซีย
1) การเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเซีย ในปี 2549 ปรากฏว่า ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าประเทศไทยมี 7 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง (อันดับที่ 2), สิงคโปร์ (อันดับที่ 3), ญี่ปุ่น (อันดับที่ 17), ไต้หวัน (อันดับที่ 18), จีน (อันดับที่ 19), มาเลเซีย (อันดับที่ 23) และอินเดีย (อันดับที่ 29) ส่วนประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าประเทศไทยมีเพียง 3 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี (อันดับที่ 38), ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 49) และอินโดนีเซีย (อันดับที่ 60)
2) การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) ประเทศที่มีอันดับสูงขึ้น ได้แก่ จีน, อินเดีย, มาเลเซีย และญี่ปุ่น (2) ประเทศที่มีอันดับคงเดิม ได้แก่ ฮ่องกง, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และ (3) ประเทศที่มีอันดับลดลง ได้แก่ เกาหลี, ไต้หวัน, ไทย และอินโดนีเซีย
3) การพิจารณาในแง่ของเกณฑ์การจัดอันดับ ปรากฏว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านนโยบายการคลังอยู่ในอันดับที่ดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ยกเว้นประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ ส่วนในด้านการจ้างงานก็อยู่ในอันดับที่ดี รองลงมาจากประเทศจีนและสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าตามเกณฑ์การวัดขีดความสามารถในการแข่งขันด้านตลาดแรงงานนั้น ประเทศในเอเซียมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง โดย 6 อันดับแรกอยู่ในภูมิภาคเอเซียทั้งสิ้น ประกอบด้วย อินเดีย, ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, จีน และไทย ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ โดยอยู่ในลำดับที่สูงกว่าเพียงแค่ประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น
(ยังมีต่อ).../3. การจัดอัน