แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ก่อนที่จะกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 - 4.90625 และ 4.96875 - 5.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันและ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าคงจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกแล้วภายในปีนี้
- เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การเก็งกำไรค่าเงินหยวน และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นระยะ จากตัวเลข GDP Q2 ที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาด ประกอบกับการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า FED จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงมีความต้องการลงทุนลดลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 และ 5.0 ต่อปี ในวันพุธ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงสิ้นเดือนเริ่มทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในวันศุกร์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.6 - 5.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,420 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี ทำให้อัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 5 9 และ 12 ปี วงเงินรวม 5,020 ล้านบาท พันธบัตรการไฟฟ้าส่วนผลิตแห่งประเทศไทย อายุ 15 ปี วงเงิน 1,900 ล้านบาทและพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 7 และ 9 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 31,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,420 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 162,193 ล้านบาท คิดเป็น 32,439 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 38 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 62 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากแรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่ลดระดับลง ทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ ธปท. จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1-5 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 7 และ 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
สำหรับ US Treasury Yield ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่ปรับตัวลดลงในวันศุกร์จากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าที่คาด ซึ่งย้ำความมั่นใจของนักลงทุนว่า Fed จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 49 37.96
เฉลี่ย 24 - 28 ก.ค. 49 37.90
31 ก.ค. 49 37.81
1 ส.ค. 49 37.85
2 ส.ค. 49 37.81
3 ส.ค. 49 37.88
4 ส.ค. 49 37.82
เฉลี่ย 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 49 37.83
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.81 - 37.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า แต่มีความเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ได้แก่ การแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยนตามการเก็งกำไรค่าเงินหยวน และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 3 พันล้านบาท ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นบางระยะ เนื่องจากตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 2 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. และขายเงินบาทเพื่อทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุน หลังจากเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่รอการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ 4 ส.ค. โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม และจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้าต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าคงจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกแล้วภายในปีนี้
- เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ในกรอบที่แข็งค่าขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การเก็งกำไรค่าเงินหยวน และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นระยะ จากตัวเลข GDP Q2 ที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาด ประกอบกับการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า FED จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงมีความต้องการลงทุนลดลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 และ 5.0 ต่อปี ในวันพุธ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงสิ้นเดือนเริ่มทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 ต่อปี ในวันศุกร์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.6 - 5.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,420 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี ทำให้อัตราผลตอบแทนลดลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 5 9 และ 12 ปี วงเงินรวม 5,020 ล้านบาท พันธบัตรการไฟฟ้าส่วนผลิตแห่งประเทศไทย อายุ 15 ปี วงเงิน 1,900 ล้านบาทและพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 7 และ 9 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 31,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,420 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 162,193 ล้านบาท คิดเป็น 32,439 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 38 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 62 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวลดลง เนื่องจากแรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่ลดระดับลง ทำให้นักลงทุนคาดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ ธปท. จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1-5 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 7 และ 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
สำหรับ US Treasury Yield ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่ปรับตัวลดลงในวันศุกร์จากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าที่คาด ซึ่งย้ำความมั่นใจของนักลงทุนว่า Fed จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 49 37.96
เฉลี่ย 24 - 28 ก.ค. 49 37.90
31 ก.ค. 49 37.81
1 ส.ค. 49 37.85
2 ส.ค. 49 37.81
3 ส.ค. 49 37.88
4 ส.ค. 49 37.82
เฉลี่ย 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 49 37.83
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.81 - 37.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า แต่มีความเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ได้แก่ การแข็งค่าของเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยนตามการเก็งกำไรค่าเงินหยวน และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 3 พันล้านบาท ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นบางระยะ เนื่องจากตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 2 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก เนื่องจากยังมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. และขายเงินบาทเพื่อทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุน หลังจากเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่รอการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ 4 ส.ค. โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม และจะเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์หน้าต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-