(ต่อ1)รายงานการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการดูงาน เรื่อง การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ ระหว่างวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2549 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 27, 2006 10:57 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    5) ผลกระทบต่อ SME ในอาเซียน:  จากรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ ของจีน อินเดีย และไทย และโครงการวิจัยอื่นๆ ที่เสร็จ
แล้วสำหรับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชีย แนะนำว่า กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์และการพัฒนาอื่นๆ โดย
เฉพาะระเบียบ RoHS ของยุโรปกำลังมีหรือจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อ suppliers เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น SMEs ในอาเซียน ซึ่ง
สามารถจำแนกผลกระทบดังกล่าวออกเป็น 2 ระยะ
ผลกระทบในระยะสั้น: ต่อการจ้างงานทั้งที่เป็นลูกจ้างและชุมชนที่พึ่งพาอุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเป็นลบ เนื่องจากปัจจัย
ต่อไปนี้
1) การเตรียมความพร้อมยังมีน้อยในกลุ่ม SMEs เนื่องจากความตระหนักต่ำ การจัดการและความสามารถทาง
เทคโนโลยีที่จำกัด และข้อจำกัดด้านข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ
2) ต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (RoHS คาดว่าจะเพิ่มต้นทุนการผลิตอีกประมาณร้อยละ 5-10 ของต้นทุนทั้งหมด)
จะเป็นอุปสรรคสำหรับ SME หลายแห่งที่การประกอบการในปัจจุบันมีกำไรที่ต่ำอยู่แล้ว
3) สำหรับบริษัทข้ามชาติการทำห่วงโซ่อุปทานให้เป็นสีเขียวนั้น suppliers ที่ไม่ทำตามกฎระเบียบจะถูกกันออกจากห่วง
โซ่และตลาดที่สำคัญ
4) SMEs จะได้รับผลกระทบมากที่สุด หลายแห่งอาจถูกจำกัดแค่ตลาดภายในประเทศ ถูกบังคับให้ลดขนาดลงหรือแม้แต่ถูก
บังคับให้หยุดการผลิต
5) SMEs เป็นองค์ประกอบใหญ่ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (มากกว่า 26,000 รายในจีน) และมีสัดส่วนการจ้างงานที่
ใหญ่มากในเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งสามารถส่งผลต่อการว่างงานอย่างมีนัยสำคัญในทำเลที่ไม่มีงานประเภทอื่นให้ทำผลกระทบในระยะกลางและระยะ
ยาว: การวิจัยในจีน อินเดีย และไทยให้ภาพที่ค่อนข้างเป็นบวกมากกว่า 1) หลังจากปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้แล้วอุตสหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะ
เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และต่อสนองต่อการท้าทายและโอกาสทางตลาดได้ดีขึ้น 2)
ความตระหนักเพิ่มขึ้นและปัญหาต่างๆ สามารถช่วยกระตุ้นและก่อให้เกิดอุตสาหกรรมรีไซเคิล WEEE มากขึ้น ทำให้การจัดการดีขึ้น
6) บทเรียนจากประเทศจีน:
ทำไมความสนใจระหว่างประเทศจึงมุ่งไปที่ประเทศจีนเพราะกฎระเบียบ WEEE และ RoHS .ในปัจจุบันมีผลกระทบอย่าง
ใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของจีน และมีการส่งออก WEEE จากสหรัฐฯ (ประมาณร้อยละ 50-80 ของ WEEE ที่รวบรวมได้ในสหรัฐฯ
ไม่ได้รีไซเคิลในสหรัฐฯ) ไปยังประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยเฉพาะจีนเนื่องจากต้นทุนแรงงานที่ต่ำ การบังคับใช้กฎระเบียบสิ่งแวดล้อมยังไม่เข้ม
งวดเท่าที่ควร และการส่งออกสิ่งที่เป็นอันตรายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฎหมายสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากเข้าสู่ครัวเรือนจีนในกลาง ค.ศ. 1980 ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะสิ้นสุดอายุการใช้งานตั้งแต่
ปี 2003 เป็นต้นไป พบว่าจะเป็นโทรทัศน์ อย่างน้อย 5 ล้านเครื่อง ตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง และเครื่องซักผ้าอีก 6 ล้านเครื่อง ที่จะหมดอายุการใช้
งานนอกจากนี้จากตัวเลขทางสถิติแสดงให้เห็นว่าประเทศจีนจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลเกือบ 20 ล้านเครื่อง และโทรศัพท์มือถืออีก 190 ล้าน
เครื่อง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้จีนมีความจำเป็นมากในการใช้กฎระเบียบ WEEE เพราะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากและกำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี
รัฐบาลจีนจึงได้เร่งเตรียมร่างกฎระเบียบ WEEE ตามหลังญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป กฎระเบียบ RoHS ก็เช่นเดียวกันได้รับการปฏิบัติโดยกระทรวง
อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสาร(Ministry of Information Industry: MII) ในเดือนมีนาคม 2006 โดยในระยะแรกให้เน้นแค่ผลิตภัณฑ์ ICT
เท่านั้น ส่วนกฎระเบียบ WEEE ก็อยู่ภายใต้การเตรียมการของคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform
Committee: NDRC) และได้จัดตั้งระบบเรียกคืน WEEE ตั้งแต่ต้นปี 2006
กฎระเบียบ WEEE และ RoHS ของ EU จะส่งผลกระทบทางการเงินต่อผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ของจีนเป็นจำนวน 31.7 พัน
ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจีนส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ไป EU เกือบร้อยละ 25 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์
ของจีนจะมีต้นทุนทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ของต้นทุนทั้งหมด ราคาสินค้าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 15 ทำให้อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ของจีนจะไม่มีความได้เปรียบในต้นทุนต่ำดังเช่นในอดีต การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นอีก ความท้าทายหนึ่งสำหรับผู้ผลิตจีน
เนื่องจากการออกแบบดังกล่าวยังเป็นแนวคิดใหม่สำหรับพวกเขา
กำไรของธุรกิจ SMEs ที่ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในจีนต่ำมาก(ร้อยละ 3-5) ซึ่งกำไรดังกล่าวไม่
สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลและเรียกคืนซาก ดังนั้น SMEs กลุ่มนี้จึงตัดสินใจไม่ส่งสินค้าไปตลาด EU ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่มีการตอบ
สนองต่อกฎระเบียบอย่างเชิงรุก โดยจัดตั้งคณะกรรมการในระดับบริษัทเพื่อตอบสนองต่อกฎระเบียบทั้งสอง นอกจากนี้ยังผลักดันแผนงานห่วงโซ่อุปทานสี
เขียว และส่งวิศวกรไปยุโรปเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการรีไซเคิลในระยะแรกๆ ในขณะที่ภาครัฐของจีนก็
พยายามเร่งออกกฎระเบียบเช่น WEEE และ RoHS เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ และเข้มงวดมากยิ่งขึ้นกับการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กฎ
ระเบียบ WEEE และ RoHS มีส่วนผลักดันจีนอย่างเป็นบวกไปสู่นวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว (Green Electronics Innovation) เร็วขึ้น
3.2 เทคโนโลยี:
การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นต้องมีการปรับเปลี่ยนในรูปแบบของวิธีการคิดไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดหรือการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมที่แตกต่างกันไป ทั้งในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์
1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎระเบียบของ EU ในปัจจุบัน เช่น WEEE, RoHS
1.1) ควรเริ่มจากวิธีการคิดคลอดวงจรชีวิต (Life cycle thinking) ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การใช้ และการกำจัดเศษซาก
เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการผลิต 1.2) ใช้เครื่องมือ การรีไซเคิล การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) และการออกแบบเชิง
นิเวศเศรษฐกิจ (Eco-design) เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ควบคุมความเสี่ยง และลดการใช้พลังงานและวัตถุดิบ
หากมองย้อนกลับไป 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนทางเทคโนโลยีของโลกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยน
แปลงจากลักษณะสังคม-เทคนิค (Socio-technical configuration) ที่ค่อนข้างคงที่โดยอาศัยการผลักดันเทคโนโลยีก่อนหน้านี้อย่างขนานใหญ่ทำ
ให้เกิดความก้าวหน้าในไมโครอิเล็กทรอนิกส์อย่างรวดเร็ว ซึ่งได้พัฒนามาจากผลของนวัตกรรมต่อยอด เช่น การปรับปรุงเทคโนโลยีอย่างเป็นขั้นเป็น
ตอน (การปรับปรุงประสิทธิภาพทางเทคนิคของชิ้นส่วน) ผลิตภัณฑ์ (ก็มีการปรับปรุงหน้าที่ให้ดีขึ้นเพื่อบรรลุความต้องการของผู้บริโภค เช่น white
goods) และได้รับการขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งปลายปีทศวรรษ 1900 ไปสู่อีกลักษณะหนึ่งเชิงบริการ โดยนวัตกรรมพื้นฐาน (เช่น
การเปลี่ยนจากระบบอนาลอกมาเป็นระบบดิจิตอล การสื่อสารด้วย broadband เป็นต้น) จากการปฏิวัติระบบดิจิตอลทำให้รูปแบบของเทคโนโลยีใหม่
ที่ขยายผลถึงบริการ (เช่น GPS, โทรทัศน์ที่สามารถสื่อสารได้ 2 ทาง เป็นต้น) และคาดว่าเทคโนโลยีรูปแบบใหม่นี้ให้ความได้เปรียบในด้านความ
ยั่งยืนทางเศรษฐกิจได้
ส่วนในปัจจุบันเนื่องจากมีการดำเนินงานตามระเบียบ/กฎหมายใหม่ของบางประเทศ เช่น WEEE RoHS และ EuP อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากห่วงโซ่มูลค่าที่เป็นเส้นตรงไปสู่ห่วงโซ่มูลค่าที่เป็นวงกลม (มองทั้งระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นวงกลม) และเปิด
ให้มีระบบบริการเพิ่มขึ้นเพื่อปิดช่องโหว่ในขั้นตอนต่างๆของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การจัดตั้งบริการบำรุงรักษา ยกระดับ และการนำ
ทรัพยากร/ชิ้นส่วน กลับมาใช้ใหม่ในขั้นตอนการใช้ และการนำบริการการจัดการของเสียและการคืนซากมาใช้ เป็นต้น การปรับเปลี่ยนนี้ก่อให้เกิด
เทคโนโลยีการรีไซเคิลใหม่และระบบการเรียกคืนซากที่หมดอายุการใช้งาน
หากมองถึงอนาคตจะพบว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะประสบการเปลี่ยนแปลงอย่างมากภายในอีก 15-20 ปีข้างหน้า เพื่อการเป็น
สังคมอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรูปแบบด้านเทคโนโลยีใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเศรษฐกิจฐานความรู้ไปสู่
เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับมหภาค (Macro level) ระดับกลาง/โครงข่าย (Meso level) และระดับจุลภาค
(Micro level) โดย
1.1) ระดับมหภาค: เกี่ยวกับกรอบเงื่อนไขที่เสมอภาคสำหรับทุกภาคส่วนจากการเรียกร้องของสังคมเพื่อให้ลดความเป็นเจ้าของและ
การใช้ โดยให้ยึดความสันโดษมากขึ้น และยึดนโยบายประเมินต้นทุนทางสังคมเข้าในต้นทุนการผลิต
1.2) ระดับโครงข่าย: เกี่ยวกับนโยบายเฉพาะและสถาบันสำหรับสาขาหรือภาคส่วนที่ได้คัดเลือกขึ้นมา ระดับนี้จะประกอบด้วยความ
ร่วมมือระหว่างภูมิภาคและผลการเรียนรู้ที่สะสมมาเป็นเวลานาน กรอบสถาบันเชิงคลัสเตอร์ ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ
การกระจายความสามารถในการดำเนินงานไปให้หลายภาคส่วน กำหนดเป้าหมายและนโยบายคลัสเตอร์ การสร้างขีดความสามารถ โดยยึดแนวคิด
ของระบบนวัตกรรมท้องถิ่น-โลก
1.3) ระดับจุลภาค: เกี่ยวกับการกระทำของปัจเจกบุคคล รูปแบบธุรกิจใหม่ เครือข่ายบริการและบำรุงรักษา ตลอดวัฏจักรชีวิตของ
ผลิตภัณฑ์ เป็นนวัตกรรมหลายรุ่น เป็นการจัดการกันเองลดหลั่นกันในการเผชิญหน้ากับเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป ยึดแนวคิดระยะยาว 3 ด้าน คือ
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การแข่งขันแบบมีระบบ
ส่วนหัวใจของการปรับเปลี่ยนระบบนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากการผลิตไปสู่บริการจะอยู่ในระดับล่างและ
ระดับกลางโดย
ระดับล่าง (จุลภาค/บริษัท) นวัตกรรมจากภาคส่วนต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ (เช่น ผู้ให้การสื่อสาร ผู้จัดหาวัสดุ ผู้
จัดการของเสีย ผู้รีไซเคิล เป็นต้น) จะให้ประโยชน์โดยการนำเอาสื่อ ICT ที่แตกต่างกันมาผสมกัน (เสียง-ภาพ-การสื่อสาร เป็นต้น) เพื่อกระตุ้น
และจูงใจให้เกิดกระบวนการนวัต กรรมของแต่ละ คนที่เกี่ยวข้องหลักๆ (ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) ระดับกลาง (โครงข่าย) เน้น
กระบวนการนวัตกรรมร่วมมือกันและแผนงานการทำวิจัยและพัฒนาร่วมมือกันอย่างเข้มข้นตลอดห่วงโซ่อุปทานและนักวิทยาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น ในกระบวนการปรับเปลี่ยนทางเทคโนโลยีนั้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นผู้รับความคิดได้ง่ายที่จะเข้าไป
เกี่ยวข้องกับผู้เล่นใหม่ๆ และทำงานด้วยกันได้ การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมต้องอยู่ภายในระบบหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ธุรกิจผู้ผลิต
ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี ผู้เสนอวัตถุดิบ หรือลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงผู้ลงทุน ผู้กำกับ สหภาพแรงงาน สมาคมวิชาชีพ ภาครัฐ หน่วยงานการวิจัย
การศึกษา และการเมือง ซึ่งมีความหลากหลายทางความคิด
อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เก่ง มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน และปลอดภัย บรรลุความต้องการของคน
เตรียมพร้อมสำหรับกฎระเบียบ/กฎหมาย มากขึ้น สอนผู้บริโภคให้รู้จักใช้ผลิตภัณฑ์ในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(ยังมีต่อ).../2) อุตสาหกรรมยานยนต์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ