- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีการทำธุรกรรมระยะ 14 วันไม่มากนักก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันจันทร์ที่ 10 เม.ย.
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นจำนวนมาก และการแข็งค่าขึ้นมากของเงินหยวน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.ถูกกดดันจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ธนาคารพาณิชย์จึงทยอยนำสภาพคล่องมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปีในวันอังคาร ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงในวันหยุดจักรีและเพื่อการปิดสภาพคล่องรายปักษ์รายสัปดาห์
ในวันศุกร์ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ ร้อยละ 4.46875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ทั้งนี้ ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ในวันอังคารและมีการทำธุรกรรมเพียงเบาบางในช่วงปลายสัปดาห์ โดยสถาบันการเงินเน้นทำธุรกรรมระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์หน้า (10 เม.ย.) สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4 - 4.45 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 4.4 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.37 - 4.39 ต่อปีในช่วงกลางและปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 45,000 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 363 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 30,000 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 112,265 ล้านบาท หรือ 28,066 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22 โดยเป็นธุรกรรม Outright เพียงร้อยละ 42 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค.เร่งตัวขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงเป็นลบ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-18 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 67 และ 45 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ US Treasury Yield ปรับลดลงหลังจากมีข่าวว่า Fed อาจจะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไม่ช้า แต่ในวันศุกร์มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่สูงกว่าที่คาดการณ์ และอัตราการว่างงานลดต่ำลงที่สุดในรอบ 5 ปี ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 27 - 31 มี.ค. 49 38.86
3 เม.ย. 49 38.86
4 เม.ย. 49 38.68
5 เม.ย. 49 38.28
7 เม.ย. 49 38.19
เฉลี่ย 3 - 7 เม.ย. 49 38.50
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงหลังจากมีเงินทุนไหลออกเพื่อซื้อสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 38.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ปัจจัยในประเทศที่สนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สถานการณ์ทางเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง หลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศเว้น
วรรคทางการเมืองในวันอังคาร ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวดีขึ้นและนักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาทตลอดสัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินบาทอีกทางหนึ่ง สำหรับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ ทิศทางการแข็งค่าของเงินหยวนที่ปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่มีการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในเดือน ก.ค. 48 ส่งผลให้เงินในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ รวมถึงเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตาม ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังจากถูกกดดันจากความต้องการขายเงิน ดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นจำนวนมาก และการแข็งค่าขึ้นมากของเงินหยวน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.ถูกกดดันจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ธนาคารพาณิชย์จึงทยอยนำสภาพคล่องมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 และ 4.4375 ต่อปีในวันอังคาร ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงในวันหยุดจักรีและเพื่อการปิดสภาพคล่องรายปักษ์รายสัปดาห์
ในวันศุกร์ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ ร้อยละ 4.46875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ทั้งนี้ ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ในวันอังคารและมีการทำธุรกรรมเพียงเบาบางในช่วงปลายสัปดาห์ โดยสถาบันการเงินเน้นทำธุรกรรมระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์หน้า (10 เม.ย.) สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4 - 4.45 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 4.4 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.37 - 4.39 ต่อปีในช่วงกลางและปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 45,000 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 363 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 30,000 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 112,265 ล้านบาท หรือ 28,066 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22 โดยเป็นธุรกรรม Outright เพียงร้อยละ 42 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค.เร่งตัวขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงเป็นลบ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-18 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 67 และ 45 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ US Treasury Yield ปรับลดลงหลังจากมีข่าวว่า Fed อาจจะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไม่ช้า แต่ในวันศุกร์มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่สูงกว่าที่คาดการณ์ และอัตราการว่างงานลดต่ำลงที่สุดในรอบ 5 ปี ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 27 - 31 มี.ค. 49 38.86
3 เม.ย. 49 38.86
4 เม.ย. 49 38.68
5 เม.ย. 49 38.28
7 เม.ย. 49 38.19
เฉลี่ย 3 - 7 เม.ย. 49 38.50
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากร้อยละ 0.9 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงหลังจากมีเงินทุนไหลออกเพื่อซื้อสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 38.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ปัจจัยในประเทศที่สนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สถานการณ์ทางเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง หลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศเว้น
วรรคทางการเมืองในวันอังคาร ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวดีขึ้นและนักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาทตลอดสัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินบาทอีกทางหนึ่ง สำหรับปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ ทิศทางการแข็งค่าของเงินหยวนที่ปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่มีการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในเดือน ก.ค. 48 ส่งผลให้เงินในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ รวมถึงเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตาม ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังจากถูกกดดันจากความต้องการขายเงิน ดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-