เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค เรื่อง “แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” ในภาคตะวันออก ณ โรงแรมสตาร์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ทุนของประเทศ ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งแนวทางการเสริมสร้างทุนดังกล่าวและบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกรอบและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน” โดยวางแนวทางการพัฒนาจากคนในระดับปัจเจก ขยายออกไปในระดับครอบครัว ชุมชน สถาบัน และประเทศ ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะเน้นการสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยผ่านการพัฒนาทุน 3 ประการคือ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดพื้นฐานของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังคงเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางในการบริหารและพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ 9
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ระดมความคิดเห็นจากภาคีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาผู้นำชุมชน ภาคเอกชน ภาคราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และองค์การอิสระ อย่างต่อเนื่อง และได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) ในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ ถือเป็นแนวทางสำคัญของการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
หลังจากนั้น สศช. ได้จัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค 4 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2548 เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และได้ระดมความคิดเห็นระดับประเทศ ในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ใน 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ การพัฒนาสังคมเชิงรุก และการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
ต่อจากนั้น สศช. ได้ระดมความคิดเห็นในระดับชุมชนใน 36 ตำบล 108 หมู่บ้าน 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อหารือการมีส่วนร่วมของชุมชนใน 3 เรื่อง คือ (1) การรับรู้ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบชุมชน ได้แก่ การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม และแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค (2) การเตรียมตัวหรือบทบาทของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง และ (3) ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
จากกระบวนการจัดทำแผนฯ อย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทำให้ สศช. ได้คลังความรู้ (Stock of Knowledge) ที่จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Common Understanding) ก่อนที่จะดำเนินการจัดทำแผนในขั้นตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง 5 บริบทดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งหลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้สมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4 เรื่อง คือ (1) ฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (3) นโยบายสังคมเชิงรุก และ (4) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Economy) สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) สังคมที่มีความสุข (Green Society) ตลอดจนความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของการจัดสรรงบประมาณ และนโยบายต่างๆ ในการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรผ่านกระบวนการกระจายอำนาจ จากกระทรวง ทบวง กรม ไปสู่องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และผู้ว่า CEO การสร้างโอกาสให้ประชาชนระดับรากหญ้า โดยจัดสรรทรัพยากรผ่านกิจกรรมใหม่ที่สำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) โครงการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) เป็นต้น ทั้งนี้ ความรู้ต่างๆ ดังกล่าว จะต้องนำมาประมวลสังเคราะห์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ สศช. ได้ประมวลสังเคราะห์คลังความรู้ดังกล่าว และจัดทำรายละเอียดของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างทุนแต่ละด้านอย่างเป็นระบบ อาทิ ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาคน ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น โดย สศช.ได้นำรายละเอียดการวิเคราะห์ทุน 3 ลักษณะ และผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นในระดับต่างๆ ดังกล่าว รวมทั้งผลจากการติดตามประเมินผลแผนฯ 9 สศช. ได้นำมาประมวลยกร่างเป็นเอกสาร “แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมในการสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นในระดับภาครวม 4 ภาค ในช่วงเดือนธันวาคม 2548 เพื่อให้ภาคีการพัฒนาได้มีส่วนกำหนดจุดร่วมที่ทุกภาคส่วนมีความเห็นพ้องร่วมกัน (Common Understanding) ซึ่งการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น ควรให้ภาคีการพัฒนาพิจารณาถึงสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน (2) ยุทธศาสตร์พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ (3) ยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล แข่งขันได้ (4) ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (5) ยุทธศาสตร์ต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยดูทั้งในแง่บวกและแง่ลบว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี ควรดำเนินการต่อ พร้อมทั้งให้ภาคีการพัฒนากำหนดบทบาทของตนเองว่า จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งพิจารณาสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการไปแล้วด้วยว่า เป็นผลเสียต่อทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ภาคเช้า จะเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” โดย นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการฯ ต่อจากนั้นจะเป็นการนำเสนอรายละเอียดทุนแต่ละด้านในประเด็น กรอบแนวคิด ความเชื่อมโยงกับทุนอื่น ข้อเสนอแนวทางการพัฒนา และบทบาทของภาคีการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย ทุนทางเศรษฐกิจ นำเสนอโดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ ทุนทางสังคม นำเสนอโดย นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอโดย นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการฯ จากนั้นจะแบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเสนอรายละเอียดทุนแต่ละด้าน เพื่อนำข้อคิดเห็นจากที่ประชุมกลุ่มย่อยมาสรุปเสนอผลการประชุมในวันรุ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางต่อไป
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานขั้นต่อไป สศช. จะยกร่างรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างแผนในแต่ละยุทธศาสตร์ รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคม ในการสังเคราะห์เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน หลังจากนั้นจะจัดประชุมระดับชาติ เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับ “ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” ในการประชุมประจำปี 2549 ของ สศช. ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2549 และกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2549
ทั้งนี้ สศช. ได้จัดการสัมมนาฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 จ.ขอนแก่น และครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 2 สำหรับภาคต่อไป สศช.กำหนดจัดการสัมมนาที่ ภาคเหนือ ในระหว่างวันที่ 22-23 ธ.ค. 48 ณ โรงแรมปางสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และภาคใต้ ในระหว่างวันที่ 26-27 ธ.ค. 48 ณ โรงแรมแกรนไดมอนด์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน” โดยวางแนวทางการพัฒนาจากคนในระดับปัจเจก ขยายออกไปในระดับครอบครัว ชุมชน สถาบัน และประเทศ ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จะเน้นการสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยผ่านการพัฒนาทุน 3 ประการคือ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดพื้นฐานของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังคงเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางในการบริหารและพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ 9
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ระดมความคิดเห็นจากภาคีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาผู้นำชุมชน ภาคเอกชน ภาคราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และองค์การอิสระ อย่างต่อเนื่อง และได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) ในเดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ ถือเป็นแนวทางสำคัญของการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
หลังจากนั้น สศช. ได้จัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นระดับภาค 4 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2548 เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และได้ระดมความคิดเห็นระดับประเทศ ในการประชุมประจำปี 2548 ของ สศช. ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ใน 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาประเทศไทย การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ การพัฒนาสังคมเชิงรุก และการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
ต่อจากนั้น สศช. ได้ระดมความคิดเห็นในระดับชุมชนใน 36 ตำบล 108 หมู่บ้าน 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อหารือการมีส่วนร่วมของชุมชนใน 3 เรื่อง คือ (1) การรับรู้ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบชุมชน ได้แก่ การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สังคม สิ่งแวดล้อม และแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค (2) การเตรียมตัวหรือบทบาทของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง และ (3) ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
จากกระบวนการจัดทำแผนฯ อย่างต่อเนื่องดังกล่าว ทำให้ สศช. ได้คลังความรู้ (Stock of Knowledge) ที่จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Common Understanding) ก่อนที่จะดำเนินการจัดทำแผนในขั้นตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง 5 บริบทดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งหลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้สมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4 เรื่อง คือ (1) ฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน (2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (3) นโยบายสังคมเชิงรุก และ (4) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Economy) สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) สังคมที่มีความสุข (Green Society) ตลอดจนความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของการจัดสรรงบประมาณ และนโยบายต่างๆ ในการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรผ่านกระบวนการกระจายอำนาจ จากกระทรวง ทบวง กรม ไปสู่องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และผู้ว่า CEO การสร้างโอกาสให้ประชาชนระดับรากหญ้า โดยจัดสรรทรัพยากรผ่านกิจกรรมใหม่ที่สำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) โครงการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) เป็นต้น ทั้งนี้ ความรู้ต่างๆ ดังกล่าว จะต้องนำมาประมวลสังเคราะห์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ต่อไป
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ สศช. ได้ประมวลสังเคราะห์คลังความรู้ดังกล่าว และจัดทำรายละเอียดของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างทุนแต่ละด้านอย่างเป็นระบบ อาทิ ความเชื่อมโยงและผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาคน ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น โดย สศช.ได้นำรายละเอียดการวิเคราะห์ทุน 3 ลักษณะ และผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นในระดับต่างๆ ดังกล่าว รวมทั้งผลจากการติดตามประเมินผลแผนฯ 9 สศช. ได้นำมาประมวลยกร่างเป็นเอกสาร “แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมในการสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นในระดับภาครวม 4 ภาค ในช่วงเดือนธันวาคม 2548 เพื่อให้ภาคีการพัฒนาได้มีส่วนกำหนดจุดร่วมที่ทุกภาคส่วนมีความเห็นพ้องร่วมกัน (Common Understanding) ซึ่งการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น ควรให้ภาคีการพัฒนาพิจารณาถึงสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน (2) ยุทธศาสตร์พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ (3) ยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล แข่งขันได้ (4) ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (5) ยุทธศาสตร์ต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยดูทั้งในแง่บวกและแง่ลบว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี ควรดำเนินการต่อ พร้อมทั้งให้ภาคีการพัฒนากำหนดบทบาทของตนเองว่า จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งพิจารณาสิ่งที่รัฐได้ดำเนินการไปแล้วด้วยว่า เป็นผลเสียต่อทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ภาคเช้า จะเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” โดย นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการฯ ต่อจากนั้นจะเป็นการนำเสนอรายละเอียดทุนแต่ละด้านในประเด็น กรอบแนวคิด ความเชื่อมโยงกับทุนอื่น ข้อเสนอแนวทางการพัฒนา และบทบาทของภาคีการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย ทุนทางเศรษฐกิจ นำเสนอโดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ ทุนทางสังคม นำเสนอโดย นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอโดย นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการฯ จากนั้นจะแบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเสนอรายละเอียดทุนแต่ละด้าน เพื่อนำข้อคิดเห็นจากที่ประชุมกลุ่มย่อยมาสรุปเสนอผลการประชุมในวันรุ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางต่อไป
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานขั้นต่อไป สศช. จะยกร่างรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างแผนในแต่ละยุทธศาสตร์ รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคม ในการสังเคราะห์เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน หลังจากนั้นจะจัดประชุมระดับชาติ เพื่อระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับ “ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” ในการประชุมประจำปี 2549 ของ สศช. ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2549 และกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2549
ทั้งนี้ สศช. ได้จัดการสัมมนาฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 จ.ขอนแก่น และครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 2 สำหรับภาคต่อไป สศช.กำหนดจัดการสัมมนาที่ ภาคเหนือ ในระหว่างวันที่ 22-23 ธ.ค. 48 ณ โรงแรมปางสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และภาคใต้ ในระหว่างวันที่ 26-27 ธ.ค. 48 ณ โรงแรมแกรนไดมอนด์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-