แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจ
การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี แต่มีสัญญาณชะลอตัวในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐสนับสนุนการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจได้มากขึ้นในปี 2548
%YOY 2547 2548
Q1 Q2 H1 Q3 9M ทั้งปี_f
การใช้จ่ายเอกชน 5.9 4.4 4.7 4.6 4.5 4.6 4.7
การลงทุนเอกชน 16.3 11.7 12.3 12.0 11.5 11.8 11.0
การใช้จ่ายรัฐบาล 4.7 16.1 9.6 12.8 15.0 13.6 12.8
การลงทุนภาครัฐ 6.8 27.4 22.1 24.1 0.2 13.6 11.5
ที่มา: สศช.
* การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ในสามไตรมาสแรกของปี 2548 ชะลอลงอย่างชัดเจนจากร้อยละ5.9 ในปี
2547 แต่นับว่เป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับการใช้จ่ายที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ร้อนแรงเกินไปเนื่องจากปัจจัยสำคัญได้แก่ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่
เพิ่มขึ้นมากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง
* อย่างไรก็ตามรายได้ที่ยังเพิ่มขึ้นเร็วกว่า อัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งการดูแลราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มขึ้นเร็วเกินไปช่วยสนับสนุนมีการใช้จ่าย
เพื่อการอุปโภค บริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
* โดยรวมคาดว่าการบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 4.8 ในปี 2548 และ 2549 ตามลำดับ
* การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11.8 ในสามไตรมาสแรกของปี2548 ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 12.3 ในปี
2547 เป็นผลจากการชะลอการลงทุนด้านการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามนับว่าการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญตลอดช่วงปี
2548 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 11.0 และปัจจัยต่างๆ ยังคงสนับสนุนการลงทุนให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไปใน ปี 2549 ในอัตราร้อยละ 12.0
* การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนั้นอยู่ในช่วงของการชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 0.1 ในสามไตรมาสแรกของปี เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ในปี 2547
* รายได้เพิ่มขึ้น จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น การปรับเพิ่มเงินเดือนของภาคราชการ และรัฐ
วิสาหกิจ และราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลประกอบการภาคธุรกิจ และเงินปันผลเพิ่มขึ้น
* การดูแลระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายใต้มาตรการเสริมสร้าง เสถียรภาพของรัฐบาล
2547 2548
Q1 Q2 Q3 Oct Nov 11M
รายได้เกษตร 16.7 10.5 14.3 29.3 33.1 33.8 20.8
ผลผลิตพืชผล 0.3 -7.8 -3.4 3.0 -0.3 0.7 -2.2
ราคาพืชผล 16.4 18.3 18.3 25.6 33.5 32.8 23.4
ที่มา: ธปท.
* อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่ม
2547 2548
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 ต.ค. พ.ย. 11M
อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 68.7 70.7 70.0 71.0 72.3 70.3 70.8
* หัวอ่านข้อมูล 82.7 99.8 101.3 107.5 116.0 116.1 105.3
* แผงวงจรรวม 72.4 75.9 78.5 85.6 97.4 92.1 82.5
* รถยนต์พาณิชย์ 78.8 76.6 82.8 90.9 99.1 103.0 86.6
ที่มา: ธปท.
* อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังอยู่ในระดับต่ำจึงยังจูงใจสำหรับการลงทุนที่มีศักยภาพ และสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ภาคธุรกิจก็ยังคงขยายตัว
* วงเงินลงทุนขอรับการส่งเสริมลงทุนสุทธิ ได้รับอนุมัติ และเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้นในปี 2548 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนจากวงเงินลง
ทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปในปี 2547 ที่มีมูลค่าทั้งสิ้น 600.7 พันล้านบาท
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เศรษฐกิจได้มากขึ้นในปี 2548
%YOY 2547 2548
Q1 Q2 H1 Q3 9M ทั้งปี_f
การใช้จ่ายเอกชน 5.9 4.4 4.7 4.6 4.5 4.6 4.7
การลงทุนเอกชน 16.3 11.7 12.3 12.0 11.5 11.8 11.0
การใช้จ่ายรัฐบาล 4.7 16.1 9.6 12.8 15.0 13.6 12.8
การลงทุนภาครัฐ 6.8 27.4 22.1 24.1 0.2 13.6 11.5
ที่มา: สศช.
* การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ในสามไตรมาสแรกของปี 2548 ชะลอลงอย่างชัดเจนจากร้อยละ5.9 ในปี
2547 แต่นับว่เป็นการปรับตัวเข้าสู่ระดับการใช้จ่ายที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ร้อนแรงเกินไปเนื่องจากปัจจัยสำคัญได้แก่ราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่
เพิ่มขึ้นมากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง
* อย่างไรก็ตามรายได้ที่ยังเพิ่มขึ้นเร็วกว่า อัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งการดูแลราคาสินค้าไม่ให้เพิ่มขึ้นเร็วเกินไปช่วยสนับสนุนมีการใช้จ่าย
เพื่อการอุปโภค บริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
* โดยรวมคาดว่าการบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 4.8 ในปี 2548 และ 2549 ตามลำดับ
* การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11.8 ในสามไตรมาสแรกของปี2548 ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 12.3 ในปี
2547 เป็นผลจากการชะลอการลงทุนด้านการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามนับว่าการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญตลอดช่วงปี
2548 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 11.0 และปัจจัยต่างๆ ยังคงสนับสนุนการลงทุนให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไปใน ปี 2549 ในอัตราร้อยละ 12.0
* การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนั้นอยู่ในช่วงของการชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 0.1 ในสามไตรมาสแรกของปี เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ในปี 2547
* รายได้เพิ่มขึ้น จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น การปรับเพิ่มเงินเดือนของภาคราชการ และรัฐ
วิสาหกิจ และราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลประกอบการภาคธุรกิจ และเงินปันผลเพิ่มขึ้น
* การดูแลระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายใต้มาตรการเสริมสร้าง เสถียรภาพของรัฐบาล
2547 2548
Q1 Q2 Q3 Oct Nov 11M
รายได้เกษตร 16.7 10.5 14.3 29.3 33.1 33.8 20.8
ผลผลิตพืชผล 0.3 -7.8 -3.4 3.0 -0.3 0.7 -2.2
ราคาพืชผล 16.4 18.3 18.3 25.6 33.5 32.8 23.4
ที่มา: ธปท.
* อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่ม
2547 2548
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 ต.ค. พ.ย. 11M
อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 68.7 70.7 70.0 71.0 72.3 70.3 70.8
* หัวอ่านข้อมูล 82.7 99.8 101.3 107.5 116.0 116.1 105.3
* แผงวงจรรวม 72.4 75.9 78.5 85.6 97.4 92.1 82.5
* รถยนต์พาณิชย์ 78.8 76.6 82.8 90.9 99.1 103.0 86.6
ที่มา: ธปท.
* อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังอยู่ในระดับต่ำจึงยังจูงใจสำหรับการลงทุนที่มีศักยภาพ และสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ภาคธุรกิจก็ยังคงขยายตัว
* วงเงินลงทุนขอรับการส่งเสริมลงทุนสุทธิ ได้รับอนุมัติ และเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้นในปี 2548 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนจากวงเงินลง
ทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปในปี 2547 ที่มีมูลค่าทั้งสิ้น 600.7 พันล้านบาท
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-