เมื่อวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมา Bank Negara Malaysia และ The European Commission ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The Euro Conference ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้แทนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนของประเทศในภูมิภาค ASEAN และสหภาพยุโรป (EU) เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก และ สศช. ได้ส่งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย 2 คน สาระสำคัญในการประชุมครอบคลุมประเด็นด้านการพัฒนาตลาดการเงินใน EU และ ASEAN ในช่วงที่ ผ่านมาและแนวโน้มในอนาคต บทบาทที่เพิ่มขึ้นของ Euro ในเอเชียและในระบบการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ภูมิภาค โดยสรุปประเด็นได้ดังนี้
1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคยุโรป
- การรวมตัวของ Euro ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์การเงินโลก กระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในยุโรปเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 จนในที่สุดมีการรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศ Euro ในปี 1999 มีธนาคารกลาง (European Central Bank, ECB) และมีการใช้เงินเหรียญและธนบัตรสกุล Euro ในปี 2002 "หลังการรวมตัวของ Euro เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศในกลุ่มดีขึ้น" เนื่องจากประเทศสมาชิกต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของ Euro ในการรักษาสมดุลทางการคลังและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง การใช้เงินสกุลเดียวกันช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรม ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มขยายตัวขึ้นขณะเดียวกันขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 ของการค้า และ GDP ของโลก ทำให้เงิน Euro กลายเป็นสกุลเงินสำคัญอันดับ 2 ในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบของกลุ่ม Euro ในการดำเนินนโยบายการเงินที่จะกระทบต่อตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
- การประเมินเสถียรภาพทางการเงินของกลุ่ม Euro ระบบการเงินมีส่วนช่วยในการสนับสนุนเศรษฐกิจและจัดสรรทรัพยากรจากผู้ออมไปสู่ผู้ลงทุน ECB จึงให้ความสำคัญต่อและความสามารถของระบบการเงินในการรองรับผลกระทบในทางลบจากปัจจัยต่าง ๆ และจัดทำ ECB Financial Stability Review เป็นประจำทุก 6 เดือน โดยมีการประเมินในเรื่อง (1) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของโลก (2) ภาวะตลาดการเงิน (3) สถานะของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (Sectoral balance) ในเขต Euro ทั้งครัวเรือน ธุรกิจ และสถาบันการเงิน และ (4) ประเมินความเสี่ยงในอนาคต ทั้งนี้เสถียรภาพทางการเงินในเขต Euro ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่มีความเสี่ยงจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น และมีประเด็นที่ท้าทาย ได้แก่ (1) การเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของEuro ที่ปัจจุบันค่อนข้างต่ำ (2) การขยายความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย (3) พลวัตการเปลี่ยนแปลงในยุโรปที่จะนำไปสู่การใช้เงินสกุลเดียว และ (4) การดำเนินนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิกในการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบ Single Monetary Union และการปฏิรูปทางการคลัง
2. การพัฒนาตลาดการเงินใน EU และ ASEAN
- บทบาทของเงิน Euro ในตลาดการเงินระหว่างประเทศ Euro มีฐานะเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศครบในทั้ง 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) เป็นสื่อกลางในการชำระเงินสำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (2) เป็นหน่วยเงินในทางบัญชี (Unit of account) เช่นใช้ในการกำหนดราคาสินค้า (3) เป็นเครื่องมือในการรักษามูลค่า สำหรับการลงทุนและการกู้ยืม เงินEuro มีน้ำหนักประมาณร้อยละ 18 ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เป็นอันดับสองรองจากดอลลาร์ สรอ. สัดส่วนของตราสารหนี้ระหว่างประเทศในสกุล Euro เพิ่มจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 30 ในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งมีสัดส่วนในสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยหลักที่ทำให้เงิน Euro ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจาก ขนาดของเศรษฐกิจของกลุ่ม Euro ที่ใหญ่ขึ้นโดยเปรียบเทียบ ตลาดการเงินยุโรปที่มีความลึกและเปิดกว้าง และกรอบนโยบายของกลุ่ม Euro ที่เน้นเสถียรภาพ นอกจากนี้ กลุ่ม Euro ยังมีแนวโน้มขยายตัวจากการรวมสมาชิก EU รายอื่นเพิ่มขึ้น และมีการรวมตัวในภาคการเงิน(Financial sector integration) อย่างต่อเนื่อง
- ตลาดการเงินใน ASEAN และศักยภาพสำหรับบริการทางการเงินในภูมิภาค เอเชียมีประชากรประมาณร้อยละ 55 ของประชากรโลก มีสัดส่วนการค้าประมาณร้อยละ 25 แต่ตลาดการเงินมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะถ้าไม่นับรวมญี่ปุ่นระบบการเงินในภูมิภาคในปัจจุบันยังพึ่งพิงระบบธนาคารเป็นหลัก และมีการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์สูง เอเชียมีการออมที่สูงมากแต่ตลาดการเงินยังแยกส่วน จึงทำให้ต้องอาศัยตลาดในภูมิภาคอื่นในการกระจายความเสี่ยง ขณะเดียวกัน การขยายตัวของประชากรสูงอายุทำให้มีความต้องการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุที่มีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และตลาดที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น รายได้ของประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการบริการทางการเงินมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งConsumer banking, Private banking และการบริหารสินทรัพย์ ระบบการเงินของASEAN ยังต้องการทักษะจากต่างประเทศมาช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงินสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลได้ รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินใหม่ ๆ นอกจากนี้ การลงทุนในรูปของ Venture capital และกองทุนส่วนบุคคลจะมีบทบาทในตลาดมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการขยายความความร่วมมือระหว่าง 2 ภูมิภาค
- การสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดการเงิน ASEAN วิกฤตปี 1997 ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบธนาคารอย่างมหาศาลนั้น สะท้อนถึงจุดอ่อนในการบริหารความเสี่ยงของ ASEAN และตลาดทุนที่ยังไม่เติบโต ภาคธุรกิจพึ่งพิงเงินกู้ยืมเป็นหลัก ทั้งจากธนาคารและ ต่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นหนี้ระยะสั้นดอกเบี้ยลอยตัว ขณะที่การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้หรือตลาดพันธบัตรจะทำโดยภาครัฐเป็นเป็นส่วนใหญ่และมีสัดส่วนต่อ GDP ต่ำกว่าตลาดที่พัฒนาแล้ว ตลาดทุนที่มีสภาพคล่องต่ำทำให้เกิดการบิดเบือนราคา หลังจากวิกฤตเป็นต้นมา มีการปฏิรูปในหลายด้าน ได้แก่ การฟื้นฟูระบบธนาคารพาณิชย์ โดยการตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อรับซื้อและบริหาร NPLs หรือให้แรงจูงใจทางภาษีสำหรับ AMC เอกชน ส่งเสริมให้เกิด Corporate governance ในภาคเอกชน การปรับปรุงกฎหมายและเกณฑ์การกำกับดูแลตลาดทุนของภาครัฐ การออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อสร้างดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาด สร้างและปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็น นักลงทุนสถาบันที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุน ด้านความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและส่งเสริมตลาดทุนในภูมิภาค มีการทำข้อตกลง ASEAN Swap Arrangement และ Bilateral Swap Arrangement ภายใต้กรอบ Chiang Mai Initiative การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย โดยมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและผลักดัน ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6 คณะ ตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย และอนุญาตให้หน่วยงาน ระหว่างประเทศออกพันธบัตรระดมทุนเป็นสกุลเงินท้องถิ่นได้ แม้จะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาตลาดการเงินไปมาก แต่ยังคงมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญได้แก่ (1) การปฏิรูปเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมาตรการในการดึงดูดเงินลงทุน (2) ความเข้มแข็งและสอดประสานระหว่างตลาดท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาตลาดภูมิภาค (3) ภาคเอกชนควรมีบทบาทในการพัฒนาตลาดการเงินให้เกิดความยั่งยืน โดยรัฐเป็นผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแต่ไม่ควรชี้นำตลาด
3. การขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง ASEAN-EU
- EU single market และการเข้าถึงตลาด EU การรวมตลาดยุโรปเป็นตลาดเดียวมีความก้าวหน้ามากในตลาดสินค้า แต่ยังคงมีปัญหาในภาคบริการ โดยเฉพาะบริการทาง การเงิน โดยสาเหตุสำคัญมักจะเป็นประเด็นทางการเมืองในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ พัฒนาการของ EU จะเป็นกรณีศึกษาและหาทางแก้ไขสำหรับ ASEAN ที่จะรวมเป็นตลาดเดียวในปี 2020 ในด้านของการสอดประสานในเชิงนโยบายของแต่ละประเทศ นโยบายการค้าของ EU ถือว่าเปิดกว้างมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในระยะที่ผ่านมาจึงไม่มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง EU กับ ASEAN อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม EU ขาดดุลการค้ากับ ASEAN เป็นจำนวนมาก และ EU เป็นผู้บริโภครายใหญ่สำหรับบริการจาก ASEAN สำหรับการเข้าถึงตลาด EU นั้น จะต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่แตกต่างกัน
-โอกาสทางการค้าและการลงทุนสำหรับ EU ใน ASEAN ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมกัน (Complementarities) และระดับการพัฒนาที่ต่างกัน ทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ภูมิภาค การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยบวกต่อการค้าและการลงทุน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ ASEAN จะทำให้เกิดตลาดขนาดใหญ่มากกว่า 500 ล้านคน และการผลิตมี Economy of scale แต่มีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงซึ่งจะกระทบต่อแต่ละประเทศในระดับที่ต่างกัน การแข่งขันจากจีนและอินเดียในบางสินค้า และอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสถียรภาพจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าเงิน Euro แข็งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่น ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรค การก่อการร้ายในบางพื้นที่ และปัญหาแผ่นดินไหว ในด้านของการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน ตลอดจนการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี และผู้นำและในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ASEAN กับ EU Trade Commissioner Consultations ในปี 2003 ทาง EU เสนอกรอบความร่วมมือ "Trans-Regional EU-ASEAN Trade Initiative" หรือ TREATI ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และกฎระเบียบ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรีในอนาคตโดยเน้น 6 ด้าน ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ ป่าไม้ Trade facilitation และ Investment facilitation อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ภูมิภาค เช่น การแข่งขันกันเองระหว่างประเทศสมาชิกในการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพื่อรักษาระดับความสามารถในการแข่งขัน
- การขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นจากการค้าและการลงทุน ความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาจขยายไปสู่ด้านการสร้างเสถียรภาพของระบบการเงิน เช่น การมีส่วนร่วมของ EU ใน Swap currency arrangement เช่นเดียวกับที่ ASEAN มีข้อตกลงกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคยุโรป
- การรวมตัวของ Euro ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภูมิทัศน์การเงินโลก กระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในยุโรปเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 จนในที่สุดมีการรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศ Euro ในปี 1999 มีธนาคารกลาง (European Central Bank, ECB) และมีการใช้เงินเหรียญและธนบัตรสกุล Euro ในปี 2002 "หลังการรวมตัวของ Euro เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศในกลุ่มดีขึ้น" เนื่องจากประเทศสมาชิกต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของ Euro ในการรักษาสมดุลทางการคลังและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง การใช้เงินสกุลเดียวกันช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรม ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มขยายตัวขึ้นขณะเดียวกันขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 ของการค้า และ GDP ของโลก ทำให้เงิน Euro กลายเป็นสกุลเงินสำคัญอันดับ 2 ในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบของกลุ่ม Euro ในการดำเนินนโยบายการเงินที่จะกระทบต่อตลาดการเงินโลกเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
- การประเมินเสถียรภาพทางการเงินของกลุ่ม Euro ระบบการเงินมีส่วนช่วยในการสนับสนุนเศรษฐกิจและจัดสรรทรัพยากรจากผู้ออมไปสู่ผู้ลงทุน ECB จึงให้ความสำคัญต่อและความสามารถของระบบการเงินในการรองรับผลกระทบในทางลบจากปัจจัยต่าง ๆ และจัดทำ ECB Financial Stability Review เป็นประจำทุก 6 เดือน โดยมีการประเมินในเรื่อง (1) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของโลก (2) ภาวะตลาดการเงิน (3) สถานะของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (Sectoral balance) ในเขต Euro ทั้งครัวเรือน ธุรกิจ และสถาบันการเงิน และ (4) ประเมินความเสี่ยงในอนาคต ทั้งนี้เสถียรภาพทางการเงินในเขต Euro ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่มีความเสี่ยงจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น และมีประเด็นที่ท้าทาย ได้แก่ (1) การเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของEuro ที่ปัจจุบันค่อนข้างต่ำ (2) การขยายความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย (3) พลวัตการเปลี่ยนแปลงในยุโรปที่จะนำไปสู่การใช้เงินสกุลเดียว และ (4) การดำเนินนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิกในการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบ Single Monetary Union และการปฏิรูปทางการคลัง
2. การพัฒนาตลาดการเงินใน EU และ ASEAN
- บทบาทของเงิน Euro ในตลาดการเงินระหว่างประเทศ Euro มีฐานะเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศครบในทั้ง 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) เป็นสื่อกลางในการชำระเงินสำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (2) เป็นหน่วยเงินในทางบัญชี (Unit of account) เช่นใช้ในการกำหนดราคาสินค้า (3) เป็นเครื่องมือในการรักษามูลค่า สำหรับการลงทุนและการกู้ยืม เงินEuro มีน้ำหนักประมาณร้อยละ 18 ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เป็นอันดับสองรองจากดอลลาร์ สรอ. สัดส่วนของตราสารหนี้ระหว่างประเทศในสกุล Euro เพิ่มจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 30 ในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งมีสัดส่วนในสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยหลักที่ทำให้เงิน Euro ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจาก ขนาดของเศรษฐกิจของกลุ่ม Euro ที่ใหญ่ขึ้นโดยเปรียบเทียบ ตลาดการเงินยุโรปที่มีความลึกและเปิดกว้าง และกรอบนโยบายของกลุ่ม Euro ที่เน้นเสถียรภาพ นอกจากนี้ กลุ่ม Euro ยังมีแนวโน้มขยายตัวจากการรวมสมาชิก EU รายอื่นเพิ่มขึ้น และมีการรวมตัวในภาคการเงิน(Financial sector integration) อย่างต่อเนื่อง
- ตลาดการเงินใน ASEAN และศักยภาพสำหรับบริการทางการเงินในภูมิภาค เอเชียมีประชากรประมาณร้อยละ 55 ของประชากรโลก มีสัดส่วนการค้าประมาณร้อยละ 25 แต่ตลาดการเงินมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะถ้าไม่นับรวมญี่ปุ่นระบบการเงินในภูมิภาคในปัจจุบันยังพึ่งพิงระบบธนาคารเป็นหลัก และมีการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์สูง เอเชียมีการออมที่สูงมากแต่ตลาดการเงินยังแยกส่วน จึงทำให้ต้องอาศัยตลาดในภูมิภาคอื่นในการกระจายความเสี่ยง ขณะเดียวกัน การขยายตัวของประชากรสูงอายุทำให้มีความต้องการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุที่มีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และตลาดที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น รายได้ของประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการบริการทางการเงินมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งConsumer banking, Private banking และการบริหารสินทรัพย์ ระบบการเงินของASEAN ยังต้องการทักษะจากต่างประเทศมาช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงินสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลได้ รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินใหม่ ๆ นอกจากนี้ การลงทุนในรูปของ Venture capital และกองทุนส่วนบุคคลจะมีบทบาทในตลาดมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการขยายความความร่วมมือระหว่าง 2 ภูมิภาค
- การสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดการเงิน ASEAN วิกฤตปี 1997 ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบธนาคารอย่างมหาศาลนั้น สะท้อนถึงจุดอ่อนในการบริหารความเสี่ยงของ ASEAN และตลาดทุนที่ยังไม่เติบโต ภาคธุรกิจพึ่งพิงเงินกู้ยืมเป็นหลัก ทั้งจากธนาคารและ ต่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นหนี้ระยะสั้นดอกเบี้ยลอยตัว ขณะที่การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้หรือตลาดพันธบัตรจะทำโดยภาครัฐเป็นเป็นส่วนใหญ่และมีสัดส่วนต่อ GDP ต่ำกว่าตลาดที่พัฒนาแล้ว ตลาดทุนที่มีสภาพคล่องต่ำทำให้เกิดการบิดเบือนราคา หลังจากวิกฤตเป็นต้นมา มีการปฏิรูปในหลายด้าน ได้แก่ การฟื้นฟูระบบธนาคารพาณิชย์ โดยการตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อรับซื้อและบริหาร NPLs หรือให้แรงจูงใจทางภาษีสำหรับ AMC เอกชน ส่งเสริมให้เกิด Corporate governance ในภาคเอกชน การปรับปรุงกฎหมายและเกณฑ์การกำกับดูแลตลาดทุนของภาครัฐ การออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อสร้างดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาด สร้างและปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็น นักลงทุนสถาบันที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุน ด้านความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและส่งเสริมตลาดทุนในภูมิภาค มีการทำข้อตกลง ASEAN Swap Arrangement และ Bilateral Swap Arrangement ภายใต้กรอบ Chiang Mai Initiative การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย โดยมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและผลักดัน ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6 คณะ ตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชีย และอนุญาตให้หน่วยงาน ระหว่างประเทศออกพันธบัตรระดมทุนเป็นสกุลเงินท้องถิ่นได้ แม้จะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาตลาดการเงินไปมาก แต่ยังคงมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญได้แก่ (1) การปฏิรูปเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมาตรการในการดึงดูดเงินลงทุน (2) ความเข้มแข็งและสอดประสานระหว่างตลาดท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาตลาดภูมิภาค (3) ภาคเอกชนควรมีบทบาทในการพัฒนาตลาดการเงินให้เกิดความยั่งยืน โดยรัฐเป็นผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแต่ไม่ควรชี้นำตลาด
3. การขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง ASEAN-EU
- EU single market และการเข้าถึงตลาด EU การรวมตลาดยุโรปเป็นตลาดเดียวมีความก้าวหน้ามากในตลาดสินค้า แต่ยังคงมีปัญหาในภาคบริการ โดยเฉพาะบริการทาง การเงิน โดยสาเหตุสำคัญมักจะเป็นประเด็นทางการเมืองในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ พัฒนาการของ EU จะเป็นกรณีศึกษาและหาทางแก้ไขสำหรับ ASEAN ที่จะรวมเป็นตลาดเดียวในปี 2020 ในด้านของการสอดประสานในเชิงนโยบายของแต่ละประเทศ นโยบายการค้าของ EU ถือว่าเปิดกว้างมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในระยะที่ผ่านมาจึงไม่มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง EU กับ ASEAN อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม EU ขาดดุลการค้ากับ ASEAN เป็นจำนวนมาก และ EU เป็นผู้บริโภครายใหญ่สำหรับบริการจาก ASEAN สำหรับการเข้าถึงตลาด EU นั้น จะต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่แตกต่างกัน
-โอกาสทางการค้าและการลงทุนสำหรับ EU ใน ASEAN ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมกัน (Complementarities) และระดับการพัฒนาที่ต่างกัน ทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ภูมิภาค การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยบวกต่อการค้าและการลงทุน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ ASEAN จะทำให้เกิดตลาดขนาดใหญ่มากกว่า 500 ล้านคน และการผลิตมี Economy of scale แต่มีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงซึ่งจะกระทบต่อแต่ละประเทศในระดับที่ต่างกัน การแข่งขันจากจีนและอินเดียในบางสินค้า และอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสถียรภาพจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าเงิน Euro แข็งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่น ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรค การก่อการร้ายในบางพื้นที่ และปัญหาแผ่นดินไหว ในด้านของการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน ตลอดจนการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี และผู้นำและในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ASEAN กับ EU Trade Commissioner Consultations ในปี 2003 ทาง EU เสนอกรอบความร่วมมือ "Trans-Regional EU-ASEAN Trade Initiative" หรือ TREATI ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และกฎระเบียบ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรีในอนาคตโดยเน้น 6 ด้าน ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ ป่าไม้ Trade facilitation และ Investment facilitation อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ภูมิภาค เช่น การแข่งขันกันเองระหว่างประเทศสมาชิกในการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพื่อรักษาระดับความสามารถในการแข่งขัน
- การขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นจากการค้าและการลงทุน ความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาจขยายไปสู่ด้านการสร้างเสถียรภาพของระบบการเงิน เช่น การมีส่วนร่วมของ EU ใน Swap currency arrangement เช่นเดียวกับที่ ASEAN มีข้อตกลงกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-