- ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.4375 - 4.40625 และ 4.46875 - 4.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายธุรกรรม Outright ของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทย
และสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลของการปรับขึ้น Fed Fund Rate
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก แต่ยังคง
ถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนช่วงการเลือกตั้ง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากการขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุน หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในสัปดาห์หน้า จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจาก 4.434375 และ 4.4375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.4375 - 4.40625 และ 4.46875 - 4.5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.375 และ 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.2 -4.48 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนและปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.38 - 4.4 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,500 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่อง และยังมีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 8 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท.น้อยกว่าวงเงินที่เปิดประมูล ซึ่งทำให้ตราสารทั้งสองรุ่นได้รับการจัดสรรเพียง 4,000 และ 10,616 ล้านบาท ตามลำดับ ตราสารที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้จึงมีจำนวน 29,116 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 27,000 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 2,116 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 115,045 ล้านบาท หรือ 23,009 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 24.9 แต่ธุรกรรม Outright ลดลงร้อยละ 7.9 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะหลังจากที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 11-22 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 74 และ 26 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันอังคารที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และประกาศว่ายังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3-20 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือนอัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 20 - 24 มี.ค. 49 38.88
27 มี.ค. 49 38.89
28 มี.ค. 49 38.84
29 มี.ค. 49 38.96
30 มี.ค. 49 38.84
31 มี.ค. 49 38.80
เฉลี่ย 27 - 31 มี.ค. 49 38.86
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.86 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแข็งค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกในประเทศ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 เม.ย. โดยเฉพาะการชุมชุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีบริเวณย่านธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยวันพุธ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมากต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดในช่วงต้นสัปดาห์ และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ แต่เงินดอลลาร์ สรอ. ไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2549
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายธุรกรรม Outright ของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทย
และสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลของการปรับขึ้น Fed Fund Rate
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก แต่ยังคง
ถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนช่วงการเลือกตั้ง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ จากการขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุน หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงก่อนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในสัปดาห์หน้า จึงมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจาก 4.434375 และ 4.4375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.4375 - 4.40625 และ 4.46875 - 4.5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.375 และ 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.2 -4.48 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนและปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.38 - 4.4 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,500 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่อง และยังมีการประมูลพันธบัตรการรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 8 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท.น้อยกว่าวงเงินที่เปิดประมูล ซึ่งทำให้ตราสารทั้งสองรุ่นได้รับการจัดสรรเพียง 4,000 และ 10,616 ล้านบาท ตามลำดับ ตราสารที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้จึงมีจำนวน 29,116 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 27,000 ล้านบาท เท่ากับมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 2,116 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 115,045 ล้านบาท หรือ 23,009 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 24.9 แต่ธุรกรรม Outright ลดลงร้อยละ 7.9 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ยังคงมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะหลังจากที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 11-22 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 74 และ 26 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันอังคารที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และประกาศว่ายังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีก ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 3-20 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือนอัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 20 - 24 มี.ค. 49 38.88
27 มี.ค. 49 38.89
28 มี.ค. 49 38.84
29 มี.ค. 49 38.96
30 มี.ค. 49 38.84
31 มี.ค. 49 38.80
เฉลี่ย 27 - 31 มี.ค. 49 38.86
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.86 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ตลอดสัปดาห์ ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแข็งค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกในประเทศ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 เม.ย. โดยเฉพาะการชุมชุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีบริเวณย่านธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยวันพุธ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมากต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดในช่วงต้นสัปดาห์ และความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรของนักลงทุน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ แต่เงินดอลลาร์ สรอ. ไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2549
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-