- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ พันธบัตรฯ ไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ สวนทางกับค่าเงินภูมิภาค โดยมีปัจจัยสำคัญจากการเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ หลังจากตัวเลขภาคการผลิตและตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือน มิ.ย. ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดต่อเนื่องยังไม่กลับคืนสู่ระบบมากนัก ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.84375 4.96875 และ 5.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดังสูงในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนหลังจากทราบผลเคลียริ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการลดการดำรงเงินสดสำรองลง จึงนำสภาพคล่องมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวยังปิดตลาดในอัตราเดิม เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.6 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 12,500 ล้านบาท ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้มีการเปิดประมูลไปเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตราสารทั้งสองประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 21,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 8,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 84,453 ล้านบาท คิดเป็น 21,113 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 35 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 57 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวในช่วงแคบๆ โดยปรับตัวสูงขึ้นในวันอังคาร และปรับลดลงในวันพุธตามการปรับลดลงของการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก และยังปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-2 basis points พันธบัตรฯ อายุระหว่าง 1-7 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 0-2 basis points และพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-2 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 และ 4 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงหลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ประกอบกับผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำลงมาก ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง จึงมีความต้องการเข้าลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ Yield ลดลงโดยเฉพาะในพันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาว ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 11-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 49 37.96
เฉลี่ย 4 - 11 ส.ค. 49 37.56
15 ส.ค. 49 37.35
16 ส.ค. 49 37.36
17 ส.ค. 49 37.49
18 ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 15 - 18 ส.ค. 49 37.42
ค่าเงินบาทในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์หลังจากวันหยุดต่อเนื่องอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันสำคัญจากคำกล่าวของผู้ว่าการ ธปท. ว่าจะดูแลการเคลื่อนไหวของเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อภาคเศรษฐกิจ หลังจากมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเงินทุนจากนิวยอร์กเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งทำให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนในตลาดต่างประเทศ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทดังกล่าวสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขภาคการผลิตและตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือน มิ.ย. ที่อยู่ในระดับสูงและเพียงพอจะชดเชยยอดการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกันได้ ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของ พันธบัตรฯ ไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลง
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ สวนทางกับค่าเงินภูมิภาค โดยมีปัจจัยสำคัญจากการเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ หลังจากตัวเลขภาคการผลิตและตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือน มิ.ย. ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดต่อเนื่องยังไม่กลับคืนสู่ระบบมากนัก ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.84375 4.96875 และ 5.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดังสูงในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนหลังจากทราบผลเคลียริ่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการลดการดำรงเงินสดสำรองลง จึงนำสภาพคล่องมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวยังปิดตลาดในอัตราเดิม เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.6 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 12,500 ล้านบาท ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้มีการเปิดประมูลไปเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตราสารทั้งสองประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 21,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 8,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 84,453 ล้านบาท คิดเป็น 21,113 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 35 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 57 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวในช่วงแคบๆ โดยปรับตัวสูงขึ้นในวันอังคาร และปรับลดลงในวันพุธตามการปรับลดลงของการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก และยังปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-2 basis points พันธบัตรฯ อายุระหว่าง 1-7 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 0-2 basis points และพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-2 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 และ 4 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวลดลงหลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ประกอบกับผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำลงมาก ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง จึงมีความต้องการเข้าลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ Yield ลดลงโดยเฉพาะในพันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาว ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 11-14 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 49 37.96
เฉลี่ย 4 - 11 ส.ค. 49 37.56
15 ส.ค. 49 37.35
16 ส.ค. 49 37.36
17 ส.ค. 49 37.49
18 ส.ค. 49 37.59
เฉลี่ย 15 - 18 ส.ค. 49 37.42
ค่าเงินบาทในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์หลังจากวันหยุดต่อเนื่องอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันสำคัญจากคำกล่าวของผู้ว่าการ ธปท. ว่าจะดูแลการเคลื่อนไหวของเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อภาคเศรษฐกิจ หลังจากมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเงินทุนจากนิวยอร์กเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งทำให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนในตลาดต่างประเทศ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทดังกล่าวสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจีนเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขภาคการผลิตและตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือน มิ.ย. ที่อยู่ในระดับสูงและเพียงพอจะชดเชยยอดการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกันได้ ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-