แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดยาวเริ่มทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่สภาพคล่องจะตึงตัวขึ้น
เล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตรา
เดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัว
เพิ่มขึ้น สวนทางกับการเคลื่อนไหวในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ
- เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงโดยเฉพาะช่วงต้นสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคจากแรงขายเพื่อทำกำไรและการขายสุทธิของนักลงทุน
ต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลาง
สหรัฐฯ ยืนยันว่าอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดต่อเนื่องเริ่มทยอยไหล
กลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.59375 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัว
ขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองไว้
ในระดับสูงหรือเพื่อชดเชยการดุลเคลียริ่ง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อย
ละ 4.625 - 4.65625 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนที่ร้อยละ 4.6875 และ 4.75 ต่อปี
ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.45 -4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 4.65 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.66 -- 467 ต่อปี ในช่วงปลาย
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 47,760 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 15 ปี วงเงินรวม
5,900 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี นอกจากนี้มีการ
ออกพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 15 ปี วงเงิน 1,860 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 33,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณ
พันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,760 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 118,150 ล้านบาท คิดเป็น 23,630 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ
10 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 60 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบ
แทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ US Treasury Yield ในปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่จะ
ปรับตัวลดลงในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์จากการเข้าซื้อพันธบัตรจาก ธปท. อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-10 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร
รัฐบาลลดลง 17 basis points ในขณะที่ดัชนีของหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 15 basis points
สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในรอบสัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์จากตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น
น้อยกว่าที่คาดการณ์ ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นในวันพุธจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงเกินคาด และปรับตัวลดลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์จากจำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุมีอัตราผลตอบแทนลดลง 0-16 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 8 - 10 พ.ค. 49 37.61
15 พ.ค. 49 37.92
16 พ.ค. 49 38.22
17 พ.ค. 49 37.84
18 พ.ค. 49 38.14
19 พ.ค. 49 38.04
เฉลี่ย 15 - 19 พ.ค. 49 38.03
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.03 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ซึ่งถูกกดดันความต้องการขายเงินสกุลภูมิภาคเพื่อทำ
กำไร ประกอบกับมีเงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาค รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ไทยที่นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนจากการระดมทุนใน
ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ ซึ่งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก (ก) ส่งผลทางจิตวิทยาให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการ
ประชุมครั้งต่อไป หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด สำหรับในวันพฤหัสบดี เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากแรง
ขายของนักลงทุนเพื่อทำกำไร ก่อนที่จะแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในวันศุกร์ สอดคล้องกับการแข็งค่าของเงินสกุลเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นค่อน
ข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจำเป็น
ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ก) บริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ จะเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนระหว่างประเทศ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ นักลงทุนอื่นๆ ในสิงคโปร์
และนักลงทุนรายย่อยสิงคโปร์ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของบริษัทและชำระคืนหนี้ในประเทศไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตรา
เดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัว
เพิ่มขึ้น สวนทางกับการเคลื่อนไหวในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ
- เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงโดยเฉพาะช่วงต้นสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคจากแรงขายเพื่อทำกำไรและการขายสุทธิของนักลงทุน
ต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลาง
สหรัฐฯ ยืนยันว่าอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดต่อเนื่องเริ่มทยอยไหล
กลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.59375 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัว
ขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองไว้
ในระดับสูงหรือเพื่อชดเชยการดุลเคลียริ่ง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อย
ละ 4.625 - 4.65625 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนที่ร้อยละ 4.6875 และ 4.75 ต่อปี
ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.45 -4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 4.65 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.66 -- 467 ต่อปี ในช่วงปลาย
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 47,760 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
18,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 15 ปี วงเงินรวม
5,900 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี นอกจากนี้มีการ
ออกพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 15 ปี วงเงิน 1,860 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 33,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณ
พันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 14,760 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 118,150 ล้านบาท คิดเป็น 23,630 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ
10 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 60 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบ
แทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ US Treasury Yield ในปลายสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่จะ
ปรับตัวลดลงในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์จากการเข้าซื้อพันธบัตรจาก ธปท. อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-10 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตร
รัฐบาลลดลง 17 basis points ในขณะที่ดัชนีของหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 15 basis points
สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในรอบสัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงในต้นสัปดาห์จากตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น
น้อยกว่าที่คาดการณ์ ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นในวันพุธจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงเกินคาด และปรับตัวลดลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์จากจำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุมีอัตราผลตอบแทนลดลง 0-16 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 8 - 10 พ.ค. 49 37.61
15 พ.ค. 49 37.92
16 พ.ค. 49 38.22
17 พ.ค. 49 37.84
18 พ.ค. 49 38.14
19 พ.ค. 49 38.04
เฉลี่ย 15 - 19 พ.ค. 49 38.03
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.03 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ซึ่งถูกกดดันความต้องการขายเงินสกุลภูมิภาคเพื่อทำ
กำไร ประกอบกับมีเงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาค รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ไทยที่นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนจากการระดมทุนใน
ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ ซึ่งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก (ก) ส่งผลทางจิตวิทยาให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการ
ประชุมครั้งต่อไป หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด สำหรับในวันพฤหัสบดี เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากแรง
ขายของนักลงทุนเพื่อทำกำไร ก่อนที่จะแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในวันศุกร์ สอดคล้องกับการแข็งค่าของเงินสกุลเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นค่อน
ข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจำเป็น
ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ก) บริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ จะเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนระหว่างประเทศ นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ นักลงทุนอื่นๆ ในสิงคโปร์
และนักลงทุนรายย่อยสิงคโปร์ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของบริษัทและชำระคืนหนี้ในประเทศไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-