เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุมประจำปีของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The Annual Meeting of the UNDP Resident Representatives and Deputy Resident Representatives of Asia and the Pacific Region) จาก 25 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ UNDP นับว่ามีความสัมพันธ์และประสบการณ์การดำเนินงานร่วมกันมาช้านาน โดยเริ่มจากแผนปฏิบัติการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์การสหประชาชาติ (Thai-UNCAP) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ในการผลักดันแผนฯ 8 ที่มุ่งพัฒนาประเทศโดยมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการสนับสนุนในการปรับปรุงหลักการสำหรับคำนวณเส้นความยากจนอย่างเป็นทางการให้แก่ประเทศไทย (และในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่มุ่งพัฒนาประเทศโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง โครงการภายใต้ Thai-UNCAP สู่เป้าหมาย และสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในการพัฒนาในระดับพื้นที่และชุมชน โดยเฉพาะโครงการปรับปรุงหลักการคำนวณเส้นความยากจนอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของคนไทย)
นอกจากนี้ สศช. UNDP และธนาคารโลก ได้ร่วมดำเนินโครงการการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ซึ่งได้สร้างความสำเร็จให้กับประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยได้ก้าวผ่านขั้นตอนรายงานความก้าวหน้า MDGs สู่การขยายและพัฒนาเป้าหมายที่ท้าทายต่อไปด้วย ซึ่งในการที่จะบรรลุเป้าหมาย MDGs ภายใต้แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ดังที่ประเทศไทยสามารถฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ได้อย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เน้นทางสายกลางในการจัดการ สร้างความพอเพียงเพื่อป้องกันวิกฤตจากภายในและภายนอก โดยประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นหลักนำทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545-2549) และได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการต่างๆ สู่การพัฒนาที่สมดุล ช่วยลดความเสี่ยงของวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์
รัฐบาลได้มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระดับรากหญ้า ทำให้เศรษฐกิจมีความสมดุล และสามารถต้านทานต่อวิกฤตภายนอกได้ ซึ่งการยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม จะช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ตระหนักถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ ดำเนินนโยบายสังคมเชิงรุก และการกำหนดตำแหน่งของโลกและภูมิภาคเพื่อลดความยากจน
ทั้งนี้ ได้วางแผนขยายกรอบนโยบายลดความยากจนใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล จะได้รับการตรวจสอบ และแนะนำจากหน่วยแก้ปัญหาความยากจนเป็นการเฉพาะ ระดับมหภาค เพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชน ให้พ้นจากความยากจน โดยเน้นการสร้างแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร การเป็นเจ้าของที่ดิน และการพัฒนาคุณภาพดิน การขับเคลื่อนเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนยากจน จัดหาความเชื่อมโยงต่อตลาด และสร้างแหล่งเงินทุนสำหรับคนยากจน
ในระดับหมู่บ้านและชุมชน รัฐบาลมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงบุคคลกับระดับมหภาค กองทุนหมู่บ้านจะขยายจากการให้ยืมสู่การออม และให้บริการการเงินพื้นฐาน จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ชุมชนโดยตรงตามความต้องการ สนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ การพัฒนาอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยสร้างคุณค่าสำหรับผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มั่นคงและยั่งยืน โดยมีนโยบายการเงินการคลังที่เข้มแข็ง มีการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เน้นการป้องกันโดยสร้างพฤติกรรมเสริมสร้างสุขภาพ และเตรียมคนไทยสำหรับสังคมคนชราและความรู้ นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเร่งพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และลดช่องว่างระหว่างรายได้ในระดับอนุภูมิภาค เพื่อประโยชน์อันเท่าเทียมกันของบรรดาสมาชิกในภูมิภาค
เลขาธิการฯ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า การดำเนินงานสู่เป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษนับเป็นงานที่ท้าทาย ต้องตระหนักในประโยชน์ร่วมกัน และสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้โอกาสในการพัฒนาตนเอง ให้อำนาจ และแก้ปัญหาเพื่อเสริมสร้างทุนทางสังคมที่เข้มแข็ง มีฐานความรู้ เงินทุนและบริการโครงสร้างพื้นฐาน การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน และระดับประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ UNDP นับว่ามีความสัมพันธ์และประสบการณ์การดำเนินงานร่วมกันมาช้านาน โดยเริ่มจากแผนปฏิบัติการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์การสหประชาชาติ (Thai-UNCAP) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ในการผลักดันแผนฯ 8 ที่มุ่งพัฒนาประเทศโดยมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการสนับสนุนในการปรับปรุงหลักการสำหรับคำนวณเส้นความยากจนอย่างเป็นทางการให้แก่ประเทศไทย (และในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่มุ่งพัฒนาประเทศโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง โครงการภายใต้ Thai-UNCAP สู่เป้าหมาย และสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในการพัฒนาในระดับพื้นที่และชุมชน โดยเฉพาะโครงการปรับปรุงหลักการคำนวณเส้นความยากจนอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของคนไทย)
นอกจากนี้ สศช. UNDP และธนาคารโลก ได้ร่วมดำเนินโครงการการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ซึ่งได้สร้างความสำเร็จให้กับประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยได้ก้าวผ่านขั้นตอนรายงานความก้าวหน้า MDGs สู่การขยายและพัฒนาเป้าหมายที่ท้าทายต่อไปด้วย ซึ่งในการที่จะบรรลุเป้าหมาย MDGs ภายใต้แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ดังที่ประเทศไทยสามารถฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ได้อย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เน้นทางสายกลางในการจัดการ สร้างความพอเพียงเพื่อป้องกันวิกฤตจากภายในและภายนอก โดยประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นหลักนำทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545-2549) และได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการต่างๆ สู่การพัฒนาที่สมดุล ช่วยลดความเสี่ยงของวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์
รัฐบาลได้มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระดับรากหญ้า ทำให้เศรษฐกิจมีความสมดุล และสามารถต้านทานต่อวิกฤตภายนอกได้ ซึ่งการยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม จะช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ตระหนักถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ ดำเนินนโยบายสังคมเชิงรุก และการกำหนดตำแหน่งของโลกและภูมิภาคเพื่อลดความยากจน
ทั้งนี้ ได้วางแผนขยายกรอบนโยบายลดความยากจนใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล จะได้รับการตรวจสอบ และแนะนำจากหน่วยแก้ปัญหาความยากจนเป็นการเฉพาะ ระดับมหภาค เพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชน ให้พ้นจากความยากจน โดยเน้นการสร้างแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร การเป็นเจ้าของที่ดิน และการพัฒนาคุณภาพดิน การขับเคลื่อนเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนยากจน จัดหาความเชื่อมโยงต่อตลาด และสร้างแหล่งเงินทุนสำหรับคนยากจน
ในระดับหมู่บ้านและชุมชน รัฐบาลมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงบุคคลกับระดับมหภาค กองทุนหมู่บ้านจะขยายจากการให้ยืมสู่การออม และให้บริการการเงินพื้นฐาน จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ชุมชนโดยตรงตามความต้องการ สนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ การพัฒนาอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยสร้างคุณค่าสำหรับผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มั่นคงและยั่งยืน โดยมีนโยบายการเงินการคลังที่เข้มแข็ง มีการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เน้นการป้องกันโดยสร้างพฤติกรรมเสริมสร้างสุขภาพ และเตรียมคนไทยสำหรับสังคมคนชราและความรู้ นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเร่งพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และลดช่องว่างระหว่างรายได้ในระดับอนุภูมิภาค เพื่อประโยชน์อันเท่าเทียมกันของบรรดาสมาชิกในภูมิภาค
เลขาธิการฯ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า การดำเนินงานสู่เป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษนับเป็นงานที่ท้าทาย ต้องตระหนักในประโยชน์ร่วมกัน และสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้โอกาสในการพัฒนาตนเอง ให้อำนาจ และแก้ปัญหาเพื่อเสริมสร้างทุนทางสังคมที่เข้มแข็ง มีฐานความรู้ เงินทุนและบริการโครงสร้างพื้นฐาน การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน และระดับประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-