3) การนำทุนธุรกิจจากนอกชุมชนเข้าไปช่วยสนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็งจำเป็นต้องมีการคัดเลือกธุรกิจที่มีจิตสาธารณะและไม่แสวงประโยชน์/ทรัพยากรจากท้องถิ่น โดยจะต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของธุรกิจนั้นๆก่อนที่จะนำเข้าไปในท้องถิ่น ขณะเดียวกัน จะต้องมีการปกป้องไม่ให้ทุนทางการค้าเข้ามาทำลายดูดกลืนทุนทางสังคมด้วย
4) รัฐควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอในการพัฒนาทุนทางสังคมไม่ใช่เพียงการยอมรับความสำคัญเท่านั้น เช่น งบประมาณในการศึกษาวิจัย การประชาสัมพันธ์ การจัดทำเอกสารความรู้ การจัดสัมมนา ฯลฯ ทั้งนี้ ควรมีการถอดบทเรียนการดำเนินงานทุนทางสังคมในบริบทอื่นๆเพื่อนำมาประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น
5) ควรมีการใช้กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริง 3 ฝ่าย คือ (1) ภาคประชาชน ผู้นำศาสนาและองค์กรพัฒนาเอกชน (2) ภาคราชการ และ (3) ธุรกิจเอกชน
6) สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชนและการจัดทำแผนแม่บทชุมชนอย่างจริงจัง
6) ส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมมากขึ้น มีการเผยแพร่แบบอย่างที่ดีในแต่ละพื้นที่แทนที่รายการสื่อที่ไม่มีสาระที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
7) มอบอำนาจการจัดการทรัพยากรของชุมชนให้มากขึ้น มีระบบ/มาตรการในการจัดการทุนนิยมหรือนายทุนข้ามถิ่นอย่างเข้มงวด เพื่อผลักดันให้เกิดความยุติธรรมในสังคม
8) บรรจุเรื่องทุนทางสังคมไว้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
9) ต้องมีการพัฒนายกระดับจิตใจของคนไทยให้เกิดความศรัทธาต่อตนเอง มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างครอบครัวที่อบอุ่นและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้สังคมโดยรวมดีไปด้วย และทุนทางสังคมไทยจะมีความเข้มแข็งและยั่งยืนในที่สุด
10) ค้นหาทุนทางสังคมไทยในทุกหมู่บ้าน แล้วแยกแยะรวบรวมเป็นหมวดหมู่ มีการทำการวิจัย อนุรักษ์ พัฒนา ต่อยอดโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุน โดยอาจนำระบบ ABCD (Asset --based Community Development) มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการค้นหาศักยภาพภายในชุมชน
11) ปรับวิธีการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นทุกระดับไม่ให้เป็นตัวทำลายทุนทางสังคมและสร้างปัญหาคอรัปชั่นภายในชุมชนขึ้น เพราะจะทำให้คนในชุมชนแตกแยกและอ่อนแอลง
2. ข้อเสนอแนะต่อการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10
1) ต้องใช้วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง เช่น เพื่อประโยชน์และความอยู่รอดของประเทศมากกว่าการรุกรานผู้อื่น มีนโยบายและการปฏิบัติที่ยั่งยืนโดยมองการพัฒนาในระยะยาวที่กระทบต่อคนรุ่นต่อไป ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังไม่ยึดติดกับความเป็นไทยมากเกินไป จนละเลยกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายในประเทศไทย รวมทั้งต้องไม่เน้นการแปรทุนทางสังคมเป็นทุนทางการตลาดมากเกินไปจนทำให้เอกลักษณ์และภูมิปัญญาที่แท้จริงสูญหายไป
2) ศึกษาวิจัยเพื่อคัดกรองประเด็นสำคัญมาใช้ในการทำงานใน 3 ระดับ คือ ระดับนานาชาติ ระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจแตกต่างกันไป โดยอาจทบทวนองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมที่มีการทำไว้แล้วมาต่อยอดต่อไป
3) สนับสนุนให้ผู้ผลิตสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชน แต่ไม่ควรเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเท่านั้น แต่ควรสอดแทรกให้เห็นถึงความเป็นไทยและวิถีชีวิตที่เป็นต้นตอของการผลิตสินค้าด้วย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบัน
4) ฟื้นฟูบทบาทของสถาบันศาสนาและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและมีความเข้มแข็ง
5) ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงานในองค์กร เช่น ค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย การยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ความสำนึกรักท้องถิ่น ฯลฯ โดยมีการรณรงค์อย่างจริงจัง
6) ขยายผลการดำเนินโครงการที่ประสบความสำเร็จให้ชุมชนเข้มแข็งไปยังชุมชนอื่นๆ โดยคำนึงถึงฐานวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
7) ส่งเสริมให้มีการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการสนับสนุนด้านการตลาดและแหล่งทุนแก่ชุมชนเพื่อสร้างผลผลิตทาง ภูมิปัญญาของชุมชน
8) รวบรวมข้อมูลด้านทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อใช้เป็นความรู้ในการ ต่อยอดสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ศิลปกรรม วรรณกรรม ฯลฯ
9) ให้สถาบันการศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นว่าด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นบรรจุเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
10) การดำเนินงานต้องกำหนดเป็นนโยบาย/วาระแห่งชาติของรัฐบาลชัดเจน มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมและมีงบประมาณสนับสนุน รวมทั้งมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในวงกว้างอย่างจริงจังผ่านผู้นำทางวัฒนธรรมและสื่อมวลชน ทั้งนี้ จะต้องมีการศึกษาสภาพความเป็นจริงของแต่ละชุมชนอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเข้าไปดำเนินการพัฒนา
3. ข้อเสนอแนะต่อทิศทางของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ควรให้ความสำคัญกับ
1) ทิศทางการพัฒนาควรเน้น "เศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง คุณค่าความเป็นคน ชุมชนเข้มแข็ง และรู้รัก สามัคคี" โดยที่การกำหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาจะต้องให้มีการปฏิบัติได้จริง
2) การเสริมสร้างทุนทางสังคมให้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ยังมีน้อยมาก
3) การบริหารจัดการเชื่อมต่อการพัฒนาทุนทางสังคมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
4) การส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น
5) การพัฒนาคนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง รวมทั้งพัฒนามาตรฐานการศึกษาและคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา
6) การสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม และสร้างความตระหนักในคุณค่าของ 4 สถาบันหลัก คือ สถาบันชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนาและสถาบันการปกครอง โดยให้มีแบบอย่างที่ดีงามเพื่อกระตุ้นคนในสังคม
7) การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกระดับ โดยใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน/พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนกลาง ไม่เป็นการพัฒนาที่ทำลายทุนเดิมของชุมชน มีการส่งเสริมการจัดทำแผนแม่บทชุมชนโดยชุมชนให้ครบทุกตำบลและนำแผนชุมชนของเครือข่ายภาคประชาชนมาประมวลไว้ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ด้วย
8) การส่งเสริมการออมรูปแบบต่างๆ นับตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนียน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
9) ใช้กระบวนการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตด้านการเกษตร เน้นการลดใช้สารเคมีในภาคการเกษตรอย่างจริงจัง เช่น การมีกฎหมายควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร ฯลฯ
4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
1) สศช.ควรมีการศึกษาทั้งทางกว้างและลึกอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนด Benchmark ของแต่ละเรื่อง มีการประเมินผลการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น การประเมินนโยบาย/วาระแห่งชาติและแผนต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญคือ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จะช่วยให้เกิดการดำเนินงานที่ชัดเจน
2) สศช.ควรจัดสัมมนาที่เจาะลงในรายละเอียดเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ การสร้างเครือข่ายทางสังคม ฯลฯ โดยมีการประชุมสัมมนาผู้นำชุมชนในระดับชาติเพื่อประเมินผลการใช้แผนพัฒนาฯอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งการประชุมกับชาวบ้านในภูมิภาคต่างๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
4) รัฐควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอในการพัฒนาทุนทางสังคมไม่ใช่เพียงการยอมรับความสำคัญเท่านั้น เช่น งบประมาณในการศึกษาวิจัย การประชาสัมพันธ์ การจัดทำเอกสารความรู้ การจัดสัมมนา ฯลฯ ทั้งนี้ ควรมีการถอดบทเรียนการดำเนินงานทุนทางสังคมในบริบทอื่นๆเพื่อนำมาประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น
5) ควรมีการใช้กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริง 3 ฝ่าย คือ (1) ภาคประชาชน ผู้นำศาสนาและองค์กรพัฒนาเอกชน (2) ภาคราชการ และ (3) ธุรกิจเอกชน
6) สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชนและการจัดทำแผนแม่บทชุมชนอย่างจริงจัง
6) ส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์สังคมมากขึ้น มีการเผยแพร่แบบอย่างที่ดีในแต่ละพื้นที่แทนที่รายการสื่อที่ไม่มีสาระที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
7) มอบอำนาจการจัดการทรัพยากรของชุมชนให้มากขึ้น มีระบบ/มาตรการในการจัดการทุนนิยมหรือนายทุนข้ามถิ่นอย่างเข้มงวด เพื่อผลักดันให้เกิดความยุติธรรมในสังคม
8) บรรจุเรื่องทุนทางสังคมไว้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
9) ต้องมีการพัฒนายกระดับจิตใจของคนไทยให้เกิดความศรัทธาต่อตนเอง มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างครอบครัวที่อบอุ่นและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้สังคมโดยรวมดีไปด้วย และทุนทางสังคมไทยจะมีความเข้มแข็งและยั่งยืนในที่สุด
10) ค้นหาทุนทางสังคมไทยในทุกหมู่บ้าน แล้วแยกแยะรวบรวมเป็นหมวดหมู่ มีการทำการวิจัย อนุรักษ์ พัฒนา ต่อยอดโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุน โดยอาจนำระบบ ABCD (Asset --based Community Development) มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการค้นหาศักยภาพภายในชุมชน
11) ปรับวิธีการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นทุกระดับไม่ให้เป็นตัวทำลายทุนทางสังคมและสร้างปัญหาคอรัปชั่นภายในชุมชนขึ้น เพราะจะทำให้คนในชุมชนแตกแยกและอ่อนแอลง
2. ข้อเสนอแนะต่อการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10
1) ต้องใช้วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง เช่น เพื่อประโยชน์และความอยู่รอดของประเทศมากกว่าการรุกรานผู้อื่น มีนโยบายและการปฏิบัติที่ยั่งยืนโดยมองการพัฒนาในระยะยาวที่กระทบต่อคนรุ่นต่อไป ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังไม่ยึดติดกับความเป็นไทยมากเกินไป จนละเลยกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายในประเทศไทย รวมทั้งต้องไม่เน้นการแปรทุนทางสังคมเป็นทุนทางการตลาดมากเกินไปจนทำให้เอกลักษณ์และภูมิปัญญาที่แท้จริงสูญหายไป
2) ศึกษาวิจัยเพื่อคัดกรองประเด็นสำคัญมาใช้ในการทำงานใน 3 ระดับ คือ ระดับนานาชาติ ระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจแตกต่างกันไป โดยอาจทบทวนองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมที่มีการทำไว้แล้วมาต่อยอดต่อไป
3) สนับสนุนให้ผู้ผลิตสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชน แต่ไม่ควรเน้นเฉพาะการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเท่านั้น แต่ควรสอดแทรกให้เห็นถึงความเป็นไทยและวิถีชีวิตที่เป็นต้นตอของการผลิตสินค้าด้วย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบัน
4) ฟื้นฟูบทบาทของสถาบันศาสนาและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและมีความเข้มแข็ง
5) ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงานในองค์กร เช่น ค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย การยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ความสำนึกรักท้องถิ่น ฯลฯ โดยมีการรณรงค์อย่างจริงจัง
6) ขยายผลการดำเนินโครงการที่ประสบความสำเร็จให้ชุมชนเข้มแข็งไปยังชุมชนอื่นๆ โดยคำนึงถึงฐานวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
7) ส่งเสริมให้มีการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการสนับสนุนด้านการตลาดและแหล่งทุนแก่ชุมชนเพื่อสร้างผลผลิตทาง ภูมิปัญญาของชุมชน
8) รวบรวมข้อมูลด้านทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อใช้เป็นความรู้ในการ ต่อยอดสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ศิลปกรรม วรรณกรรม ฯลฯ
9) ให้สถาบันการศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นว่าด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นบรรจุเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
10) การดำเนินงานต้องกำหนดเป็นนโยบาย/วาระแห่งชาติของรัฐบาลชัดเจน มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีการดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมและมีงบประมาณสนับสนุน รวมทั้งมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในวงกว้างอย่างจริงจังผ่านผู้นำทางวัฒนธรรมและสื่อมวลชน ทั้งนี้ จะต้องมีการศึกษาสภาพความเป็นจริงของแต่ละชุมชนอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเข้าไปดำเนินการพัฒนา
3. ข้อเสนอแนะต่อทิศทางของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ควรให้ความสำคัญกับ
1) ทิศทางการพัฒนาควรเน้น "เศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง คุณค่าความเป็นคน ชุมชนเข้มแข็ง และรู้รัก สามัคคี" โดยที่การกำหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาจะต้องให้มีการปฏิบัติได้จริง
2) การเสริมสร้างทุนทางสังคมให้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ยังมีน้อยมาก
3) การบริหารจัดการเชื่อมต่อการพัฒนาทุนทางสังคมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
4) การส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น
5) การพัฒนาคนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง รวมทั้งพัฒนามาตรฐานการศึกษาและคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา
6) การสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม และสร้างความตระหนักในคุณค่าของ 4 สถาบันหลัก คือ สถาบันชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนาและสถาบันการปกครอง โดยให้มีแบบอย่างที่ดีงามเพื่อกระตุ้นคนในสังคม
7) การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกระดับ โดยใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน/พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนกลาง ไม่เป็นการพัฒนาที่ทำลายทุนเดิมของชุมชน มีการส่งเสริมการจัดทำแผนแม่บทชุมชนโดยชุมชนให้ครบทุกตำบลและนำแผนชุมชนของเครือข่ายภาคประชาชนมาประมวลไว้ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ด้วย
8) การส่งเสริมการออมรูปแบบต่างๆ นับตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนียน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
9) ใช้กระบวนการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตด้านการเกษตร เน้นการลดใช้สารเคมีในภาคการเกษตรอย่างจริงจัง เช่น การมีกฎหมายควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร ฯลฯ
4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
1) สศช.ควรมีการศึกษาทั้งทางกว้างและลึกอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนด Benchmark ของแต่ละเรื่อง มีการประเมินผลการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น การประเมินนโยบาย/วาระแห่งชาติและแผนต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญคือ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จะช่วยให้เกิดการดำเนินงานที่ชัดเจน
2) สศช.ควรจัดสัมมนาที่เจาะลงในรายละเอียดเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ การสร้างเครือข่ายทางสังคม ฯลฯ โดยมีการประชุมสัมมนาผู้นำชุมชนในระดับชาติเพื่อประเมินผลการใช้แผนพัฒนาฯอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งการประชุมกับชาวบ้านในภูมิภาคต่างๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-