ตารางที่ 3: การเปรียบเทียบประโยชน์ของการรีไซเคิลพลาสติก
รายการ โรงงานพลาสติกดั้งเดิม โรงงานรีไซเคิลพลาสติก
ต้นทุนโรงงาน สูง ต่ำ
ต้นทุนกระบวนการ กลาง ต่ำที่สุด
วัตถุดิบ ปิโตรเคมี เศษพลาสติก
ต้นทุนวัตถุดิบ กลางถึงสูง ต่ำ
กระบวนการ ใช้สารเคมี ใช้เครื่องจักรกล
การใช้ไฟฟ้า ระหว่าง 50 และ 100 MJ/kg น้อยกว่า 5 MJ/kg
การใช้น้ำ 0.18 ลบ.เมตร/kg น้อยกว่า 1% ของพลาสติกบริสุทธิ์
การลดก๊าซเรือนกระจก 2-3 กก. ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อทุกๆ กก.ของ การรีไซเคิลพลาสติก
ความยืดหยุ่นทาง I/O เกือบไม่มี สูง
ที่มา: MBA Polymers Inc., 2006
5. การศึกษาดูงาน
เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน 3 โรงงานที่อยู่ในเครือเดียวกัน ประกอบด้วยโรงงานรีไซเคิลเหล็ก (Ferrous metals
recycling) ที่ Muller-Guttenbrunn GmbH โรงงานรีไซเคิลสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-ferrous recycling) ที่ Metran Rohstoff-
Aufbereitung GmbH และ โรงงานการรีไซเคิลพลาสติก ที่ MBA Polymers Austria Kunstoffverarbeitung GmbH โดยแบ่งออกเป็น
3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งไปดูโรงงานรีไซเคิลเหล็ก โรงงานรีไซเคิลสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก และโรงงานรีไซเคิลพลาสติก ตามลำดับ กลุ่มที่สองไปโรงงานรีไซเคิล
สิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก โรงงานรีไซเคิลพลาสติก และโรงงานรีไซเคิลเหล็กตามลำดับ และกลุ่มที่สามไปโรงงานรีไซเคิลพลาสติก โรงงานรีไซเคิลเหล็ก และ
โรงงานรีไซเคิลสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก ตามลำดับ พอดีดิฉันและคนไทยอื่นๆ อยู่ในกลุ่มที่สามจึงได้ไปดูโรงงานรีไซเคิลพลาสติกตลอดภาคเช้า
และไปโรงงานรีไซเคิลเหล็กและที่มิใช่เหล็กในภาคบ่าย จึงขอนำเน้นในเรื่องการรีไซเคิลพลาสติกมากกว่า เนื่องจากการดูงานในภาคบ่ายประสบข้อ
จำกัดด้านเวลาและอุปสรรคด้านฝน เพราะมีผู้ที่ต้องไปสนามบินให้ทันเวลาขึ้นเครื่องบินในตอนเย็น ทำให้การดูงานค่อนข้างรวบรัดไม่ละเอียดเท่าที่ควร
5.1 MBA Polymers Austria:
องค์ความรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญ เนื่องจากน้ำมันดิบที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติกหายากทุกที ผล
กระทบในอนาคตของการขาดแคลนน้ำมันดิบที่มีต่อต้นทุนวัตถุดิบและสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน ในขณะที่พลาสติกกำลังมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นใน
ชีวิตประจำวัน เนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่เครื่องใช้ในครัวเรือนสู่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์จนถึงชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้น องค์ความรู้จากการ
ศึกษาดูงานครั้งนี้จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมาก
MBA Polymer Austria (แผนภาพที่ 5) เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงจากวัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลสินค้าคง
ทนถาวร (Durable goods) ตลอดวงจรชีวิต และเป็นโรงงานที่มีเครื่องมือในการรีไซเคิลพลาสติกที่ทันสมัยมากที่สุด (แผนภาพที่ 6) มีกำลังการผลิต
พลาสติกผสม (Mixed Plastic-rich streams) มากกว่า 80,000 เมตริกตันต่อปี จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นโรงงานร่วมทุน (Joint
venture) ระหว่างออสเตรียและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบ WEEE สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และตามระเบียบ ELV สำหรับ
อุตสาหกรรมยานยนต์
พลาสติกผสมได้รับการแยกออกจากสิ่งที่ไม่ใช่พลาสติกในเบื้องต้นด้วยนวัตกรรม และแล้วแยกอีกตามประเภทและคุณภาพของพลาสติกด้วย
กระบวนการอัตโนมัติ เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบดั้งเดิมไปสู่วัตถุดิบใหม่ที่มีมูลค่าสูงสำหรับการใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้หลายด้าน โดยพลาสติกจาก MBA
Polymers ได้ผ่านกระบวนการเป็นพลาสติกบริสุทธิ์ และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเดียวกับพลาสติกบริสุทธิ์ แหล่งวัตถุดิบ: MBA Polymer รีไซเคิลพ
ลาสติกจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่รีไซเคิลในอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งวิธีการรีไซเคิลจะแตกต่างกันไปแต่ละภูมิภาค
การพัฒนาการประยุกต์ใช้: มีการตั้งมาตรฐานคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความแข็ง ความตึง การหลอมละลาย โดยอิงกับ ISO 179,
ISO 527 และ ISO 1133 เป็นต้น และสีที่ได้ ซึ่งจะมีการตรวจสอบและทดสอบในห้องทดลอง
MBA Polymers ผลิตเม็ดพลาสติกประเภท ABS HIPS และ PP ที่มีคุณภาพสูงสุด เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีราคาแพงและมี
จำนวนจำกัดเหล่านั้น โดยสามารถใช้พลังงานน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการใช้ในการผลิตพลาสติกแบบเดียวกันด้วยน้ำมัน ในขณะเดียวกันมี
ทางที่จะลดขยะพลาสติกผสมให้น้อยที่สุดด้วยเทคโนโลยีการแยกที่ก้าวหน้ามากที่สุดได้ นอกจากนี้ทุกๆ 1 ตันของเม็ดพลาสติกที่รีไซเคิลจาก MBA จะ
สามารถลด GHG ได้ 2-3 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตโดยทั่วๆ ไป ดังนั้นการแยกพลาสติกด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติจึง
เป็นวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยปราศจากการใช้สารเคมี
5.2 การรีไซเคิลเหล็กและสิ่งที่มิใช่เหล็ก: เป็นการรีไซเคิลตามแนวทางของ WEEE และ ELV โดยที่โรงงานรีไซเคิลเหล็กมีซากรถ
ยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานจำนวนมากเพื่อรอการบดอย่างหยาบๆ ก่อนที่จะแยกและคัดเลือกชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กออก
ไว้ที่หนึ่งต่างหากและชิ้นส่วนที่เหลือส่งไปแยกและคัดเลือกในโรงงานรีไซเคิลสิ่งที่มิใช่เหล็กซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณไม่ไกลจากกันมากต่อไป โดยชิ้นส่วนที่เป็น
พลาสติกที่แยกแล้วจะส่งไปเป็นวัตถุดิบในโรงงานรีไซเคิลพลาสติกต่อไป ส่วนที่เหลือจะทำการแยกตามประเภทของวัตถุดิบ เพื่อการจำหน่ายหรือฝังกลบ
ต่อไป
6. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ:
ผลการประชุมฯ และศึกษาดูงานได้นำมาสรุปเป็นข้อคิดเห็น ตั้งเป็นข้อสังเกต และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะดังนี้
6.1 ข้อคิดเห็น
1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะประสบการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดภายในอีก 15-20 ปีข้างหน้า เพื่อไปสู่สังคม
อิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถทำให้เกิดได้ด้วยแนวคิดทางเทคโนโลยีใหม่ (Technological Paradigms) ภายใต้ข้อสมมติฐานพื้นฐานนี้ จึงนำไป
สู่การกำหนดคำจำกัดความ อธิบายสิ่งที่หมายถึงนวัตกรรมระบบ (System Innovation) และ การเปลี่ยนแปลง (transition)
2) การปรับเปลี่ยนแนวคิด (Paradigm Shift) ทางเทคโนโลยี (Technological Trajectory) หมายถึงทางที่ก่อ
ให้เกิดนวัตกรรมในสาขาที่กำหนดให้ ซึ่งตัวอย่างในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คือทางสำหรับท่อสุญญากาศ (Vacuum Tubes) ซึ่งในระยะแรกๆ ได้
รับการพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมวิทยุ แต่นำไปใช้ในวงการสร้างโทรทัศน์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
3) บทบาทของห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญมาก โดยผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ต้องรู้บทบาทของตนเองที่มีต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
และศักยภาพในการปรับปรุงและต้องสามารถที่จะสื่อสารได้ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
4) เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบดังกล่าวเกิดในทางปฏิบัติและมีผลต่อการเปลี่ยน
แปลงด้านการออกแบบตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีมาตรการประกันต้นทุนในอนาคตของผลิตภัณฑ์ใหม่และควรมีมาตรการสิ่งจูงใจอื่นๆ มารองรับด้วย
5) ธุรกิจในปัจจุบันและในอนาคตภายใต้การขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้หากยังมุ่งเน้นการแสวงหากำไร
สูงสุด (Profit Maximization) จึงควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสวงหากำไรจากกำไรสูงสุดมาเป็นกำไรที่เหมาะสม (Profit
Optimization)
6.2 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย: ประกอบด้วย 2 ด้าน
1) ด้านเทคโนโลยีประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมในการรับมือกับกฎระเบียบต่างๆ ทั้งของ EU และญี่ปุ่น ในระดับ
หนึ่ง โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สศช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนเพื่อผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและ
สร้างความพร้อมสำหรับ SMEs ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป โดยใช้ Green Camp ตั้งแต่สิงหาคม 2548
และ สิ้นสุดโครงการในปลายปี 2549 อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าปัจจัยขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนทาง เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่ง
แวดล้อมนั้นควรมาจากภายในระบบการบริหารจัดการหรือระบบของอุตสาหกรรมนั้นๆ นอกเหนือจากกฎระเบียบ/กฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีใน
การขับเคลื่อน และอาศัยรูปแบบของความร่วมมือ เช่น คลัสเตอร์ (cluster) การลงทุนร่วม (Joint venture) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
(Supply chain management) การร่วมมือกันเชิงกลยุทธ์ (Strategic alliances) เป็นต้น นอกจากนี้การจัดการฐานข้อมูลมีความสำคัญและ
จำเป็นมาก แต่เป็นจุดอ่อนของประเทศไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy) ซึ่ง
เทคโนโลยีเป็นปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ (ไม่ได้ขัดแย้งกับธรรมชาติ) และการมีเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อัจฉริยะ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
อาจเป็นประตูนำไปสู่รูปแบบการจัดการพลังงานแบบใหม่เพื่อให้เป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะการประหยัดพลังงาน
ประเทศไทยควรมีโครงการการรีไซเคิลพลาสติก/พลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่าย (ไบโอพลาสติก) เพื่อลดการใช้พลังงานและเป็นการปิด
ช่องโหว่ของอุตสาหกรรม EEE และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ยานยนต์ ซึ่ง สศช. ได้ให้การสนับสนุน Eco-Car มาแล้ว และควรจะให้การ
สนับสนุนการรีไซเคิลพลาสติก/ไบโอพลาสติกต่อไป เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) ด้านสังคม/พฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภค: การสร้าง ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความ
รับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนในการทำธุรกิจ โดยนำหลักปรัชญาทางเศรษฐกิจพอ
เพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการธุรกิจ โดยบริโภคให้พอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลในทางบวกกับสิ่งแวดล้อม การทำ
ธุรกิจควรแสวงหากำไรที่เหมาะสม (Optimum profit) แทนการแสวงหากำไรสูงสุด (Maximum Profit) และการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบ
ริโภค การมีกฎระเบียบในเชิงรุก เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) และกฎระเบียบ Thai-WEEE จะช่วย
สนับสนุนการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้เกิดได้รวดเร็วขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รายการ โรงงานพลาสติกดั้งเดิม โรงงานรีไซเคิลพลาสติก
ต้นทุนโรงงาน สูง ต่ำ
ต้นทุนกระบวนการ กลาง ต่ำที่สุด
วัตถุดิบ ปิโตรเคมี เศษพลาสติก
ต้นทุนวัตถุดิบ กลางถึงสูง ต่ำ
กระบวนการ ใช้สารเคมี ใช้เครื่องจักรกล
การใช้ไฟฟ้า ระหว่าง 50 และ 100 MJ/kg น้อยกว่า 5 MJ/kg
การใช้น้ำ 0.18 ลบ.เมตร/kg น้อยกว่า 1% ของพลาสติกบริสุทธิ์
การลดก๊าซเรือนกระจก 2-3 กก. ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อทุกๆ กก.ของ การรีไซเคิลพลาสติก
ความยืดหยุ่นทาง I/O เกือบไม่มี สูง
ที่มา: MBA Polymers Inc., 2006
5. การศึกษาดูงาน
เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน 3 โรงงานที่อยู่ในเครือเดียวกัน ประกอบด้วยโรงงานรีไซเคิลเหล็ก (Ferrous metals
recycling) ที่ Muller-Guttenbrunn GmbH โรงงานรีไซเคิลสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-ferrous recycling) ที่ Metran Rohstoff-
Aufbereitung GmbH และ โรงงานการรีไซเคิลพลาสติก ที่ MBA Polymers Austria Kunstoffverarbeitung GmbH โดยแบ่งออกเป็น
3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งไปดูโรงงานรีไซเคิลเหล็ก โรงงานรีไซเคิลสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก และโรงงานรีไซเคิลพลาสติก ตามลำดับ กลุ่มที่สองไปโรงงานรีไซเคิล
สิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก โรงงานรีไซเคิลพลาสติก และโรงงานรีไซเคิลเหล็กตามลำดับ และกลุ่มที่สามไปโรงงานรีไซเคิลพลาสติก โรงงานรีไซเคิลเหล็ก และ
โรงงานรีไซเคิลสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก ตามลำดับ พอดีดิฉันและคนไทยอื่นๆ อยู่ในกลุ่มที่สามจึงได้ไปดูโรงงานรีไซเคิลพลาสติกตลอดภาคเช้า
และไปโรงงานรีไซเคิลเหล็กและที่มิใช่เหล็กในภาคบ่าย จึงขอนำเน้นในเรื่องการรีไซเคิลพลาสติกมากกว่า เนื่องจากการดูงานในภาคบ่ายประสบข้อ
จำกัดด้านเวลาและอุปสรรคด้านฝน เพราะมีผู้ที่ต้องไปสนามบินให้ทันเวลาขึ้นเครื่องบินในตอนเย็น ทำให้การดูงานค่อนข้างรวบรัดไม่ละเอียดเท่าที่ควร
5.1 MBA Polymers Austria:
องค์ความรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลพลาสติกเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญ เนื่องจากน้ำมันดิบที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติกหายากทุกที ผล
กระทบในอนาคตของการขาดแคลนน้ำมันดิบที่มีต่อต้นทุนวัตถุดิบและสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน ในขณะที่พลาสติกกำลังมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นใน
ชีวิตประจำวัน เนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่เครื่องใช้ในครัวเรือนสู่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์จนถึงชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้น องค์ความรู้จากการ
ศึกษาดูงานครั้งนี้จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมาก
MBA Polymer Austria (แผนภาพที่ 5) เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงจากวัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลสินค้าคง
ทนถาวร (Durable goods) ตลอดวงจรชีวิต และเป็นโรงงานที่มีเครื่องมือในการรีไซเคิลพลาสติกที่ทันสมัยมากที่สุด (แผนภาพที่ 6) มีกำลังการผลิต
พลาสติกผสม (Mixed Plastic-rich streams) มากกว่า 80,000 เมตริกตันต่อปี จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นโรงงานร่วมทุน (Joint
venture) ระหว่างออสเตรียและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบ WEEE สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และตามระเบียบ ELV สำหรับ
อุตสาหกรรมยานยนต์
พลาสติกผสมได้รับการแยกออกจากสิ่งที่ไม่ใช่พลาสติกในเบื้องต้นด้วยนวัตกรรม และแล้วแยกอีกตามประเภทและคุณภาพของพลาสติกด้วย
กระบวนการอัตโนมัติ เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบดั้งเดิมไปสู่วัตถุดิบใหม่ที่มีมูลค่าสูงสำหรับการใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้หลายด้าน โดยพลาสติกจาก MBA
Polymers ได้ผ่านกระบวนการเป็นพลาสติกบริสุทธิ์ และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเดียวกับพลาสติกบริสุทธิ์ แหล่งวัตถุดิบ: MBA Polymer รีไซเคิลพ
ลาสติกจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่รีไซเคิลในอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งวิธีการรีไซเคิลจะแตกต่างกันไปแต่ละภูมิภาค
การพัฒนาการประยุกต์ใช้: มีการตั้งมาตรฐานคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความแข็ง ความตึง การหลอมละลาย โดยอิงกับ ISO 179,
ISO 527 และ ISO 1133 เป็นต้น และสีที่ได้ ซึ่งจะมีการตรวจสอบและทดสอบในห้องทดลอง
MBA Polymers ผลิตเม็ดพลาสติกประเภท ABS HIPS และ PP ที่มีคุณภาพสูงสุด เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีราคาแพงและมี
จำนวนจำกัดเหล่านั้น โดยสามารถใช้พลังงานน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการใช้ในการผลิตพลาสติกแบบเดียวกันด้วยน้ำมัน ในขณะเดียวกันมี
ทางที่จะลดขยะพลาสติกผสมให้น้อยที่สุดด้วยเทคโนโลยีการแยกที่ก้าวหน้ามากที่สุดได้ นอกจากนี้ทุกๆ 1 ตันของเม็ดพลาสติกที่รีไซเคิลจาก MBA จะ
สามารถลด GHG ได้ 2-3 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการผลิตโดยทั่วๆ ไป ดังนั้นการแยกพลาสติกด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติจึง
เป็นวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยปราศจากการใช้สารเคมี
5.2 การรีไซเคิลเหล็กและสิ่งที่มิใช่เหล็ก: เป็นการรีไซเคิลตามแนวทางของ WEEE และ ELV โดยที่โรงงานรีไซเคิลเหล็กมีซากรถ
ยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานจำนวนมากเพื่อรอการบดอย่างหยาบๆ ก่อนที่จะแยกและคัดเลือกชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กออก
ไว้ที่หนึ่งต่างหากและชิ้นส่วนที่เหลือส่งไปแยกและคัดเลือกในโรงงานรีไซเคิลสิ่งที่มิใช่เหล็กซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณไม่ไกลจากกันมากต่อไป โดยชิ้นส่วนที่เป็น
พลาสติกที่แยกแล้วจะส่งไปเป็นวัตถุดิบในโรงงานรีไซเคิลพลาสติกต่อไป ส่วนที่เหลือจะทำการแยกตามประเภทของวัตถุดิบ เพื่อการจำหน่ายหรือฝังกลบ
ต่อไป
6. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ:
ผลการประชุมฯ และศึกษาดูงานได้นำมาสรุปเป็นข้อคิดเห็น ตั้งเป็นข้อสังเกต และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะดังนี้
6.1 ข้อคิดเห็น
1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะประสบการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดภายในอีก 15-20 ปีข้างหน้า เพื่อไปสู่สังคม
อิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถทำให้เกิดได้ด้วยแนวคิดทางเทคโนโลยีใหม่ (Technological Paradigms) ภายใต้ข้อสมมติฐานพื้นฐานนี้ จึงนำไป
สู่การกำหนดคำจำกัดความ อธิบายสิ่งที่หมายถึงนวัตกรรมระบบ (System Innovation) และ การเปลี่ยนแปลง (transition)
2) การปรับเปลี่ยนแนวคิด (Paradigm Shift) ทางเทคโนโลยี (Technological Trajectory) หมายถึงทางที่ก่อ
ให้เกิดนวัตกรรมในสาขาที่กำหนดให้ ซึ่งตัวอย่างในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คือทางสำหรับท่อสุญญากาศ (Vacuum Tubes) ซึ่งในระยะแรกๆ ได้
รับการพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมวิทยุ แต่นำไปใช้ในวงการสร้างโทรทัศน์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
3) บทบาทของห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญมาก โดยผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ต้องรู้บทบาทของตนเองที่มีต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
และศักยภาพในการปรับปรุงและต้องสามารถที่จะสื่อสารได้ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
4) เพื่อให้กระบวนการดำเนินงานของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบดังกล่าวเกิดในทางปฏิบัติและมีผลต่อการเปลี่ยน
แปลงด้านการออกแบบตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีมาตรการประกันต้นทุนในอนาคตของผลิตภัณฑ์ใหม่และควรมีมาตรการสิ่งจูงใจอื่นๆ มารองรับด้วย
5) ธุรกิจในปัจจุบันและในอนาคตภายใต้การขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้หากยังมุ่งเน้นการแสวงหากำไร
สูงสุด (Profit Maximization) จึงควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสวงหากำไรจากกำไรสูงสุดมาเป็นกำไรที่เหมาะสม (Profit
Optimization)
6.2 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย: ประกอบด้วย 2 ด้าน
1) ด้านเทคโนโลยีประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมในการรับมือกับกฎระเบียบต่างๆ ทั้งของ EU และญี่ปุ่น ในระดับ
หนึ่ง โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สศช. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนเพื่อผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและ
สร้างความพร้อมสำหรับ SMEs ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป โดยใช้ Green Camp ตั้งแต่สิงหาคม 2548
และ สิ้นสุดโครงการในปลายปี 2549 อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าปัจจัยขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนทาง เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่ง
แวดล้อมนั้นควรมาจากภายในระบบการบริหารจัดการหรือระบบของอุตสาหกรรมนั้นๆ นอกเหนือจากกฎระเบียบ/กฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีใน
การขับเคลื่อน และอาศัยรูปแบบของความร่วมมือ เช่น คลัสเตอร์ (cluster) การลงทุนร่วม (Joint venture) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
(Supply chain management) การร่วมมือกันเชิงกลยุทธ์ (Strategic alliances) เป็นต้น นอกจากนี้การจัดการฐานข้อมูลมีความสำคัญและ
จำเป็นมาก แต่เป็นจุดอ่อนของประเทศไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy) ซึ่ง
เทคโนโลยีเป็นปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ (ไม่ได้ขัดแย้งกับธรรมชาติ) และการมีเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อัจฉริยะ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
อาจเป็นประตูนำไปสู่รูปแบบการจัดการพลังงานแบบใหม่เพื่อให้เป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะการประหยัดพลังงาน
ประเทศไทยควรมีโครงการการรีไซเคิลพลาสติก/พลาสติกที่ย่อยสลายได้ง่าย (ไบโอพลาสติก) เพื่อลดการใช้พลังงานและเป็นการปิด
ช่องโหว่ของอุตสาหกรรม EEE และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ยานยนต์ ซึ่ง สศช. ได้ให้การสนับสนุน Eco-Car มาแล้ว และควรจะให้การ
สนับสนุนการรีไซเคิลพลาสติก/ไบโอพลาสติกต่อไป เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) ด้านสังคม/พฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภค: การสร้าง ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความ
รับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนในการทำธุรกิจ โดยนำหลักปรัชญาทางเศรษฐกิจพอ
เพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการธุรกิจ โดยบริโภคให้พอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลในทางบวกกับสิ่งแวดล้อม การทำ
ธุรกิจควรแสวงหากำไรที่เหมาะสม (Optimum profit) แทนการแสวงหากำไรสูงสุด (Maximum Profit) และการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบ
ริโภค การมีกฎระเบียบในเชิงรุก เช่น การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) และกฎระเบียบ Thai-WEEE จะช่วย
สนับสนุนการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้เกิดได้รวดเร็วขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-