(ต่อ4)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสาม และแนวโน้มปี 2549 - 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 12, 2006 15:17 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    3.2.2  ประเด็นภายในประเทศที่ต้องระมัดระวัง ประกอบด้วย 
(1) การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน คาดว่านักลงทุนส่วนหนึ่งยังจะชะลอการตัดสินใจไปจนกว่าจะเห็นความ
ชัดเจนของรัฐบาลชุดต่อไป สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้นจะรอให้การแก้ปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าวมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องสิทธิการออก
เสียง และความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ และการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติดำเนินธุรกิจในกิจการที่เคยคุ้มครองไว้เฉพาะคนไทย นอกจาก
นี้ต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่จากการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สูงขึ้น และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ใน ระดับค่อนข้างสูง อาจจะยังไม่
จูงใจให้ขยายการลงทุนมาก เครื่องชี้การลงทุนในช่วงที่ผ่านมาแสดงว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนยังต่ำ เงินทุนของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน
และได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนลดลงร้อยละ 32.7 และร้อยละ 43.8 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ซึ่ง
เป็นตัวแปรชี้นำว่าการลงทุนในปี 2550 อาจจะยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ นอกจากนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตเริ่มชะลอตัว
การลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
วงเงิน (พันล้านบาท) 2548 10 เดือน (ม.ค. - ต.ค)
(%)
BOI ทั้งปี 2548 2549
- วงเงินขอรับการส่งเสริม 674.3 630.9 424.8
(%) (5.8) (34.6) (-32.7)
- วงเงินได้รับอนุมัติส่งเสริม 571.3 486.3 272.9
(%) (-4.9) (50.8) (-43.8)
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(2) ราคาสินค้าเกษตรชะลอตัวและจะกระทบรายได้เกษตรกรโดยเฉพาะราคายางพารา ข้าวโพด และข้าวเปลือก
(3) การปรับตัวของภาคการผลิตเพื่อการส่งออกภายใต้มาตรการทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น อาจจะเป็นข้อจำกัดด้านการส่งออก อาทิ
(i) ตั้งแต่ต้นปี 2550 สหรัฐฯ จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) สำหรับการส่งออกอัญมณีซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกต้องเสียภาษีร้อยละ 6.5 (ii) นอก
จากนี้สหรัฐฯ ยังจะพิจารณาว่าในปี 2550 จะตัดสิทธิ GSP ที่ให้กับการส่งออกโทรทัศน์ของไทยหรือไม่เนื่องจากพิจารณาว่าประเทศไทยมีศักยภาพใน
การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สูงขึ้น จนทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยเพิ่มขึ้น (iii) กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเตรียมประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการ
จำกัดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์เล็กทรอนิกส์ (Restriction on Hazardous Substances: RoHS) ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบ
การขนาดกลางขนาดเล็กต้องปรับตัวที่จะรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น และ (iv) คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมกำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าอาหารและอาหารของ
สัตว์น้ำต้องมีใบรับรองการตรวจสอบสารไดออกซินก่อนส่งออกไปประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการส่งออกสูงขึ้น
3.3 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2550: เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 4.2 ราคาน้ำมันดิบดูไบราคาบาเรลละ 60
ดอลลาร์ สรอ.
(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2550 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ในปี 2549 และร้อยละ 4.4 ใน
ปี 2548 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลัก ๆ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเอเชีย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด
มากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การชะลอตัวของวัฏจักร อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไปตามวัฏจักรการลงทุนภาคเอกชนที่มีการขยายตัวสูงในช่วงปี 2547-2549
และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ดังนั้นในปี 2550 การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจะชะลอตัวและกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อย
กว่าในปี 2548-2549
(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยบาเรลละ 58-62 ดอลลาร์ สรอ.
ในปี 2550 ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ในช่วง 58-62 ดอลลาร์ สรอ. โดยราคา
เฉลี่ยที่เป็นค่ากลางเท่ากับ 60 ดอลลาร์ สรอ. ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.3 จากราคาบาเรลละ 61.30 ดอลลาร์ในปี 2549 (ในปี 2549 คาดว่า
ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.45 จากราคาเฉลี่ย 49.33 ดอลลาร์ ต่อบาเรลในปี 2548) แต่นับว่ายังเป็นระดับราคาที่สูง โดยคาดว่าราคาน้ำมันจะ
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกตามฤดูกาลที่เป็นฤดูหนาว และทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไปเนื่องจากข้อจำกัดด้านการผลิตจากการที่กลุ่มโอเปคได้ประกาศ
ว่าจะลดปริมาณการผลิตโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป(E) ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตเหลืออยู่ประมาณ 1.3 - 1.8 ล้านบา
เรลต่อวันในประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ยังเป็นระดับที่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี ทั้งนี้ในเดือนพฤศจิกายน
2549 International Energy Agency (IEA) คาดว่าในปี 2550 ปริมาณการผลิตน้ำมันรวมของโลกจะเท่ากับ 86.4 ล้านบาเรล ลดลงจากวัน
ละ 86.6 ล้านบาเรลในปี 2549 เล็กน้อย ในขณะที่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากวันละ 85 ล้านบาเรลต่อวันในปี 2549
เป็นวันละ 86.5 ล้านบาเรล โดยที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกนั้นเป็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ และจีน ประกอบ
กับความต้องการใช้ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเองก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้
เป็นที่คาดว่าปริมาณสะต็อคน้ำมันของประเทศ OECD จะลดลงในปลายปี 2550
* ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบอ้างอิง West
Texas Intermediate (WTI) ในปี 2549 จะอยู่ที่บาเรลละ 66 ดอลลาร์ สรอ. และลดลงเป็นเฉลี่ย 65 ดอลลาร์ ปี 2550 โดยปกติราคาอ้าง
อิง WTI จะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 3-5 ดอลลาร์ สรอ.(F)
* ณ วันที่ 1 ธันวาคม Lehman Brothers คาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยในปี 2550 จะเท่ากับ บาเรลละ 72 ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นจากบาเรลละ 66 ดอลลาร์ในปี 2549 โดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบ เบรนท์จะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 3-8 ดอลลาร์
สรอ.(G)
***********************************************************************************************************
(E) การลดการผลิตในครั้งนี้แตกต่างจากในครั้งก่อน ๆ คือเป็นเป้าหมายการลดปริมาณการผลิตที่มีการผลิตจริง แต่ไม่ใช่การปรับลด
โควต้าการผลิต แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มโอเปคไม่ได้มีการประกาศปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศสมาชิกที่จะใช้เป็นจุดเริ่มต้นอ้างอิงในการลดการผลิต
ซึ่งทำให้ยังมีความไม่แน่นอนเรื่องปริมาณการผลิตที่แต่ละประเทศจะดำเนินการ
(F) Short-Term Energy Outlook, EIA, 7 November 2006
(G) Global Weekly Economic Monitor, Lehman Brothers, 1 December 2006
************************************************************************************************************
(ยังมีต่อ).../(3) ราคาส่งออก..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ