- สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาด R/P 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P
1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับมาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 ต่อปี ในวันศุกร์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่
เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากมาตรการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นจากต่าง
ประเทศ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ US Treasury Yield
- เงินบาทยังคงปรับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนจากเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาค โดยมาตรการป้องกันการ
เก็งกำไรระยะสั้นของ ธปท. ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ แต่การอ่อนค่าดังกล่าวถูก
จำกัดด้วยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการสำรองเงินสดให้ได้
ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอน
เงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง จึงลดความต้องการลงทุนลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1
วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 ต่อปี ใน
ช่วงปลายสัปดาห์นี้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.60 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ไม่เปลี่ยน
แปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 43,700 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
13,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 13 วัน 3 วงเงิน 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 20 ปี วงเงินรวม 6,700 ล้าน
บาท โดยตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผล
ตอบแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พันธบัตร ธปท. ยังมีผู้เสนอประมูลน้อยกว่าวงเงินที่เปิดให้ประมูล จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. เพียง 20,247 ล้านบาท
ดังนั้น จึงมีพันธบัตรที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้รวม 39,047 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 35,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนใน
ตลาดเพิ่มขึ้น 4,047 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 168,718 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42,180 ล้านบาทต่อวัน ลด
ลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 87 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้ง
แรกหลังจากที่ปรับลดลง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมาตรการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นจากต่างชาติของ ธปท. ที่ส่งผลให้แรง
ซื้อพันธบัตรจากนักลงทุนต่างประเทศลดลง ประกอบกับมีแรงขายเพื่อทำกำไรหลังจากที่ราคาพันธบัตรได้ปรับตัวสูงขึ้นมาต่อเนื่อง ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-17 basis points ส่วนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราผลตอบแทนเกือบ
ไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 53 และ 15 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ จากการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการบริการของสถาบัน
จัดการด้านอุปทาน ISM ในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับขึ้นสูงอีกครั้งในวันศุกร์หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาดการณ์ ส่งผล
ให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-16 basis points ในขณะที่พันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี มี
อัตราผลตอบแทนลดลง 3-32 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย. 49 36.50
เฉลี่ย 27 พ.ย. - 1 ธ.ค. 49 36.06
4 ธ.ค. 49 35.86
6 ธ.ค. 49 35.60
7 ธ.ค. 49 35.59
8 ธ.ค. 49 35.52
เฉลี่ย 4 - 8 ธ.ค. 49 35.64
เงินบาทยังปรับแข็งค่าขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 1.2 จากค่า
เฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อน จากเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลง
ทุนมีความต้องการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทเพิ่มเติมของ ธปท. เพื่อป้องกันการเก็งกำไรระยะ
สั้นของนักลงทุนต่างชาติ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของเงิน
บาท อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนจากเงินทุนต่างประเทศที่
ยังคงไหลเข้าสู่ภูมิภาคเป็นจำนวนมาก แต่เงินบาทยังคงเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แม้ว่า ธปท. จะมีการแทรก
แซงเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตออก
มาไม่ดี แต่เงินดอลลาร์ สรอ. ไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของ
ตลาด ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค. จะออกมาดีด้วยเช่นกัน ทั้งนี้
การจ้างนอกภาคเกษตรในเดือน พ.ย. ที่ประกาศในคืนวันศุกร์ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์
สรอ. ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับมาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 ต่อปี ในวันศุกร์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่
เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากมาตรการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นจากต่าง
ประเทศ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ US Treasury Yield
- เงินบาทยังคงปรับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนจากเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาค โดยมาตรการป้องกันการ
เก็งกำไรระยะสั้นของ ธปท. ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ แต่การอ่อนค่าดังกล่าวถูก
จำกัดด้วยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการสำรองเงินสดให้ได้
ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพฤหัสบดี ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอน
เงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง จึงลดความต้องการลงทุนลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1
วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 4.84375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.90625 ต่อปี ใน
ช่วงปลายสัปดาห์นี้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.60 - 4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ไม่เปลี่ยน
แปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 43,700 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
13,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 13 วัน 3 วงเงิน 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 20 ปี วงเงินรวม 6,700 ล้าน
บาท โดยตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผล
ตอบแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พันธบัตร ธปท. ยังมีผู้เสนอประมูลน้อยกว่าวงเงินที่เปิดให้ประมูล จึงมีการจัดสรรพันธบัตร ธปท. เพียง 20,247 ล้านบาท
ดังนั้น จึงมีพันธบัตรที่ออกใหม่ในสัปดาห์นี้รวม 39,047 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 35,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนใน
ตลาดเพิ่มขึ้น 4,047 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 168,718 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42,180 ล้านบาทต่อวัน ลด
ลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 87 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้ง
แรกหลังจากที่ปรับลดลง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมาตรการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นจากต่างชาติของ ธปท. ที่ส่งผลให้แรง
ซื้อพันธบัตรจากนักลงทุนต่างประเทศลดลง ประกอบกับมีแรงขายเพื่อทำกำไรหลังจากที่ราคาพันธบัตรได้ปรับตัวสูงขึ้นมาต่อเนื่อง ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-17 basis points ส่วนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราผลตอบแทนเกือบ
ไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง 53 และ 15 basis point ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ จากการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการบริการของสถาบัน
จัดการด้านอุปทาน ISM ในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับขึ้นสูงอีกครั้งในวันศุกร์หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาดการณ์ ส่งผล
ให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-16 basis points ในขณะที่พันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี มี
อัตราผลตอบแทนลดลง 3-32 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย. 49 36.50
เฉลี่ย 27 พ.ย. - 1 ธ.ค. 49 36.06
4 ธ.ค. 49 35.86
6 ธ.ค. 49 35.60
7 ธ.ค. 49 35.59
8 ธ.ค. 49 35.52
เฉลี่ย 4 - 8 ธ.ค. 49 35.64
เงินบาทยังปรับแข็งค่าขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 35.64 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 1.2 จากค่า
เฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อน จากเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลง
ทุนมีความต้องการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทเพิ่มเติมของ ธปท. เพื่อป้องกันการเก็งกำไรระยะ
สั้นของนักลงทุนต่างชาติ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของเงิน
บาท อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนจากเงินทุนต่างประเทศที่
ยังคงไหลเข้าสู่ภูมิภาคเป็นจำนวนมาก แต่เงินบาทยังคงเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แม้ว่า ธปท. จะมีการแทรก
แซงเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตออก
มาไม่ดี แต่เงินดอลลาร์ สรอ. ไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของ
ตลาด ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค. จะออกมาดีด้วยเช่นกัน ทั้งนี้
การจ้างนอกภาคเกษตรในเดือน พ.ย. ที่ประกาศในคืนวันศุกร์ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์
สรอ. ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ในสัปดาห์หน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-