- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ อายุ 5 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ มีอัตราผลตอบแทนลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ในวันจันทร์ ถึงพฤหัสบดี โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในวันศุกร์ หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแถลงการณ์ภายหลังการประชุม Fed ที่ระบุเป็นนัยว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อาจสิ้นสุดลงในระยะเวลาอันใกล้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.875 ต่อปี ในวันศุกร์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ก่อนจะกลับมาปิดตลาดในอัตราเดียวกับช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์กลับมามีความต้องการลงทุนสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้าระหว่าง ร้อยละ 4.5 - 5.02 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 43,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 7 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 130,844 ล้านบาท คิดเป็น 26,169 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 62 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปลายสัปดาห์ ซึ่งเมื่อ Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาดพร้อมกับออกแถลงการณ์ที่แสดงว่าอาจมีการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้านี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงในวันศุกร์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-2 basis points ส่วนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลง 1-3 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 5 basis points ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชนลดลง 7 basis points
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน 7-11 basis points โดยปรับลดลงภายหลังจาก Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดี และการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงในวันศุกร์ ซึ่งเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุนว่า Fed คงจะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยตึงตัวไปอีกไม่นานนัก
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 19 - 23 มิ.ย. 49 38.34
26 มิ.ย. 49 38.42
27 มิ.ย. 49 38.37
28 มิ.ย. 49 38.40
29 มิ.ย. 49 38.42
30 มิ.ย. 49 38.19
เฉลี่ย 26 - 30 มิ.ย. 49 38.36
เงินบาทในวันจันทร์ถึงพฤหัสบดีเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.37 - 38.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะเงินเยนที่ยังถูกกดดันจากเรื่องอื้อฉาวของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งอาจส่งผลให้ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกและการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมวันที่ 29 มิ.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ตามการคาดการณ์ของตลาด พร้อมทั้งระบุในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมเป็นนัยว่าอาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก และทำให้เงินสกุลเอเชียรวมทั้งเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยเงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ที่ระดับ 38.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ อายุ 5 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี อัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ มีอัตราผลตอบแทนลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ในวันจันทร์ ถึงพฤหัสบดี โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในวันศุกร์ หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแถลงการณ์ภายหลังการประชุม Fed ที่ระบุเป็นนัยว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อาจสิ้นสุดลงในระยะเวลาอันใกล้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.875 ต่อปี ในวันศุกร์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี โดยธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ก่อนจะกลับมาปิดตลาดในอัตราเดียวกับช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์กลับมามีความต้องการลงทุนสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้าระหว่าง ร้อยละ 4.5 - 5.02 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 43,000 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 7 ปี วงเงิน 2,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 130,844 ล้านบาท คิดเป็น 26,169 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 62 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปลายสัปดาห์ ซึ่งเมื่อ Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาดพร้อมกับออกแถลงการณ์ที่แสดงว่าอาจมีการยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้านี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวลดลงในวันศุกร์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-2 basis points ส่วนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลง 1-3 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 5 basis points ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชนลดลง 7 basis points
สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน 7-11 basis points โดยปรับลดลงภายหลังจาก Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดี และการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงในวันศุกร์ ซึ่งเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุนว่า Fed คงจะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยตึงตัวไปอีกไม่นานนัก
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 19 - 23 มิ.ย. 49 38.34
26 มิ.ย. 49 38.42
27 มิ.ย. 49 38.37
28 มิ.ย. 49 38.40
29 มิ.ย. 49 38.42
30 มิ.ย. 49 38.19
เฉลี่ย 26 - 30 มิ.ย. 49 38.36
เงินบาทในวันจันทร์ถึงพฤหัสบดีเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.37 - 38.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะเงินเยนที่ยังถูกกดดันจากเรื่องอื้อฉาวของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งอาจส่งผลให้ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกและการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมวันที่ 29 มิ.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ตามการคาดการณ์ของตลาด พร้อมทั้งระบุในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมเป็นนัยว่าอาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก และทำให้เงินสกุลเอเชียรวมทั้งเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยเงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ที่ระดับ 38.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-