(ต่อ5)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ ปี 2547 และแนวโน้มปี 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 9, 2005 15:49 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          5.  ประมาณการเศรษฐกิจปี 2547 
ในปี 2547 เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีและมีเสถียรภาพ ซึ่งนับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยสำหรับการขยาย ตัวต่อไป โดยในปี 2548 จะมีปัจจัยสนับสนุนจากการจ้างงาน การเพิ่มค่าจ้างเงินเดือน การลดภาษี การใช้จ่ายรัฐบาลและ การลงทุนรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่เป็นข้อ จำกัดที่ต้องเร่งดำเนินมาตรการในด้านต่าง ๆ เพื่อรักษาการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับใกล้เคียงศักยภาพการ ผลิตทั้งในระยะสั้นและมีความยั่งยืนในระยาว ประกอบด้วย ราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับค่อนข้างสูง ผล กระทบจากภัยแล้ง และการฟื้นฟูจากความเสียหายจากธรณี พิบัติภัยที่อาจจะล่าช้า สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกนั้นไม่ เอื้ออำนวยต่อการส่งออกของไทยได้มากเช่นในปี 2547 แต่ โดยภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจที่เป็นตลาดส่งออก สำคัญ ของไทยนับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามประเทศ ไทยต้องเร่งดำเนินการในเรื่องการส่งออกไก่แปรรูปและเพิ่ม คุณภาพสินค้าประมงและอาหารส่งออก รวมทั้งคุณภาพสินค้า ส่งออกอื่น ๆ ให้แข่งขันได้ในภาวะที่ตลาดโลกขยายตัวช้าลง
5.1 การทบทวนและปรับประมาณการ เศรษฐกิจปี 2548
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 มีทั้งปัจจัยด้านลบและด้านบวกที่เพิ่มขึ้นจาก สมมติฐานเดิม รวมทั้งข้อมูลทางเศรษฐกิจที่มีเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
(1) ข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติม ประกอบด้วย
* ข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจล่าสุดไตรมาสที่ 4 ซึ่ง ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้เดิม และการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในปี 2547 เท่ากับร้อยละ 6.1 ต่ำกว่าที่คาด การณ์ไว้ร้อยละ 6.2 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมเล็กน้อย โดย ที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ช้าลงในไตรมาสสุดท้ายอัน เนื่องจากการใช้จ่าย การลงทุนเอกชน และการส่งออก ขยายตัวได้ช้าลง
* ข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน ประจำเดือนมกราคม 2548 แสดงว่าอุปสงค์โดยรวมของประเทศขยายตัวได้ ช้าลง รวมทั้งการส่งออก แต่การนำเข้ายังขยายตัวเร็ว กว่าการส่งออกเช่นในปี 2547 ที่ผ่านมา แม้ว่าในเดือน มกราคมจะมีการนำเข้าทองคำและวัตถุดิบมากจากที่ชะลอการนำเข้าในเดือนธันวาคม 2547 ประกอบกับ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงต้นปี แต่ก็สะท้อนว่าโดยรวม และโดยสุทธิแล้วเศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งพิงการนำเข้า มาก เพียงแต่ผู้ประกอบการอาจจะบริหารจัดการเวลา การนำเข้าตามที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ราคา น้ำมันที่ผันผวนทำให้ข้อมูลรายเดือนเคลื่อนไหวต่าง ไปจากแนวโน้มปกติ
* ข้อมูลที่มีเพิ่มมากขึ้นกว่าในการประมาณการครั้งที่ แล้วแสดงว่าทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงเป็นไปใน ทิศทางที่ สศช. คาดการณ์ ไว้เดิม
(2) การเกิดธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ มีผลกระทบ ระยะสั้นต่อการท่องเที่ยว การประกอบอาชีพและรายได้ ของประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพการประมงและการ ท่องเที่ยวที่จะมีผลต่อเนื่องต่อการใช้จ่าย และการส่งออก สินค้าประมง รวมทั้งผลต่อเนื่องต่อผลประกอบการของ ภาคสถาบันการเงินและประกันภัย แต่ในขณะเดียวกันใน อีกด้านหนึ่งก็มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดมากขึ้นในช่วง ของการฟื้นฟูความเสียหาย อาทิ การลงทุนด้านการก่อ สร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อทดแทนทรัพย์สินและสิ่ง ปลูกสร้างที่เสียหายไป การจับจ่ายใช้สอยเพื่อทดแทน ทรัพย์สินและเครื่องใช้ประจำวันที่เสียหายไป การใช้จ่าย ของภาครัฐเพื่อการฟื้นฟูสถานการณ์และเงินช่วยเหลือ จากรัฐบาลสู่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และการช่วย เหลือจากต่างประเทศที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่นกัน ซึ่งคาดว่าถ้าการฟื้นฟูสามารดำเนินไปได้ตามแผน งานและแผนเงินที่กำหนดไว้ โดยรวมผลด้านกิจกรรม ชดเชยความเสียหายจะมากกว่าการสูญเสียรายได้ในปีนี้ เล็กน้อย
(3) ผลกระทบจากภัยแล้ง ผลกระทบจากภัยแล้งทั้งทางอ้อม ต่อสาขาเศรษฐกิจอื่นที่เชื่อมโยงกับสาขาพืชผล เช่น ปุ๋ย เคมี ปิโตรเคมี และการขนส่ง เป็นต้น แสดงว่าผลกระทบ ภัยแล้งสูงกว่าที่คาดไว้เดิมอีกประมาณ 6,000 ล้านบาท จากเดิมที่ประเมินความเสียหายในปี 2548 เท่ากับ 5,000 ล้านบาท
(4) ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าที่คาดไว้เดิม การปรับเพิ่มราคาน้ำมันดีเซลก่อนกำหนดเดิม ประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ภายในประเทศในไตรมาสแรกสูงกว่าที่คาดไว้เดิมลิตรละ 60 สตางค์ หรือประมาณร้อยละ 4.11 ซึ่งมีผลทำให้อัตรา เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียงประมาณร้อยละ 0.1 ในไตรมาสแรกซึ่ง คิดเป็นการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 0.025 ซึ่งจะมี ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไม่มาก แต่ราคาน้ำมันดิบยัง มีความอ่อนไหวและทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าที่คาด (5) การเบิกจ่ายงบประมาณจากงบประมาณกลางสูงกว่า ที่คาดไว้เดิม จากค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบธรณี พิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้และการฟื้นฟูจากความเสีย หาย และค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาภัยแล้ง
(6) การขยายกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2548 ของ รัฐวิสาหกิจ จากเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบ งบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 โดยมีกรอบวงเงินดำเนินการ 315,485 ล้านบาท และวงเงินที่คาดว่าจะจ่ายจริงในเบื้องต้นมี จำนวน 248,921 ล้านบาท ซึ่งในภายหลังได้มีการอนุมัติ ปรับเพิ่มวงเงินเบิกจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวน 23,554 ล้าน บาท สำหรับหลายโครงการอาทิ การลงทุนที่ท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด โครง การบ้านเอื้ออาทรในระยะที่ 4 ของการเคหะแห่งชาติ และ โครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ เป็นต้น ทำให้ ภาพรวมงบประมาณรัฐวิสาหกิจประจำปี 2548 มีวงเงินที่ ต้องเบิกจ่ายเพิ่มเป็น 272,476 ล้านบาท และล่าสุดเมื่อวัน ที่ 31 มกราคมรัฐวิสาหกิจได้ขอขยายกรอบวงเงินงบ ประมาณเพิ่มเติมอีกจำนวน 57,074 ล้านบาท เนื่องจาก บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชนได้เสนอขออนุมัติงบลง ทุนเพิ่มเติมระหว่างปี ดังนั้นกรอบวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจ จึงเพิ่มขึ้นเป็น 329,550 ล้านบาท โดยที่เป็นวงเงินอนุมัติ หลังปรับเพิ่มจำนวน 272,476 ล้านบาทและ วงเงินที่อยู่ใน ระหว่างการพิจารณาอีก จำนวน 57,074 ล้านบาท
สำหรับการกระบาดไข้หวัดนกนั้นได้ประเมินไว้เป็นความเสี่ยง ที่ต้องระมัดระวังและเป็นข้อจำกัดต่อการส่งออกสัตว์ปีกทั้งที่มี ชีวิต เนื้อสัตว์สดและแช่แข็ง และในรูปของผลิตภัณฑ์เช่น เดียวกับความไม่สงบในภาคใต้ที่ยังยืดเยื้อแต่ไม่ได้รุนแรงไป กว่าที่ประเมินไว้ในการประมาณการสถานการณ์เศรษฐกิจเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2547
จากการประเมินปัจจัยทั้งด้านบวกและลบทั้งที่ได้ประเมินไว้ แล้วในการประมาณการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2547 และสถาน การณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สศช. ประเมินว่ามาตรการด้านบวกที่ เพิ่มขึ้นสามารถชดเชยผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจได้ถ้า สามารถดำเนินการได้เต็มที่ ดังนั้น สศช. ยังคงช่วงประมาณ การการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2548 ที่ร้อยละ 5.5-6.5 โดย ที่แนวโน้มอัตราการขยายตัวยังคงเป็นร้อยละ 6.0 แต่อัตรา เงินเฟ้อจะสูงกว่าในปี 2547 เป็นร้อยละ 3.0-3.2 จากราคาน้ำ มันที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาสินค้าในตลาดโลกที่มีแนว โน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าในปีที่ผ่านมา และอัตราแลก เปลี่ยนมีแนวโน้มแข็งขึ้น จะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาสินค้า
เศรษฐกิจจะยังมีเสถียรภาพต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานจะ อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2 ทุนสำรองเงินตราระหว่าง ประเทศอยู่ในระดับสูง หนี้ต่างประเทศระยะสั้นทรงตัว สัดส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว ในช่วงแคบ ๆ
5.2 การประมาณการเศรษฐกิจในกรณีต่ำ
ในปี 2548 มียังปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว ได้ต่ำกว่าร้อยละ 6.0 และขยายตัวอยู่ในด้านต่ำของช่วงการ ประมาณการ ได้แก่
(1) ราคาน้ำมันดิบ หากเพิ่มสูงกว่า 38 ดอลลาร์ต่อบาเรล และราคาน้ำมันดีเซลลอยตัวจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และการใช้จ่าย
(2) ภัยแล้ง หากภาวะแห้งแล้งยังต่อเนื่องถึงหลังเดือน พฤษภาคม จะเกิดความเสียหายต่อฤดูเพาะปลูกในปี 2548/2549 ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อผลผลิตบางส่วนที่มีฤดู เก็บเกี่ยวในปี 2548 นี้ ในกรณีนี้ความเสียหายต่อภาค เกษตรจะสูงกว่าที่ประเมินไว้ในปัจจุบัน
(3) การฟื้นฟูหลังธรณีพิบัติภัย แม้การท่องเที่ยวจะมี สัญญาณฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด โดยที่ในเดือนมกราคม จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 26 และข้อมูลบางส่วน ของเดือนกุมภาพันธ์แสดงว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมาตรการด้านสินเชื่อใหม่และการ ปรับโครงสร้างหนี้เก่าสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเพื่อฟื้นฟูการก่อสร้างยังไม่ ก้าวหน้า เช่นเดียวกับการจัดผังเมืองที่ยังจะต้องมีความ ชัดเจนและมีความพร้อมมากกว่านี้เพื่อให้เอกชนสามารถ ได้ตามแผนการฟื้นฟูที่กำหนดเป้าหมายไว้
(4) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เงินลง ทุนได้เต็มที่ตามกำหนดในปี 2548
(ยังมีต่อ).../5.3 การประมาณ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ