-ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อการปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ปิด
ตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย
ปรับตัวลดลง ในขณะที่ พันธบัตรฯ สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และการอ่อนค่าของเงินสกุลภูมิภาค ขณะที่
เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงครึ่งปีแรก
ของปี 2549
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงการเตรียมจ่ายเงินเดือนของภาครัฐ โดยธนาคาร
พาณิชย์มีความต้องลงทุนระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อย
ละ 4.09375 4.21875 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อการปิดสำรอง
สภาพคล่องรายปักษ์ในวันพุธ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
ร้อยละ 4.125 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ระดับเดิมในวันพฤหัสบดีหลังจากสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอีกครั้ง สำหรับในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ธนาคาร
พาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง จึงลดความต้องการลงทุนลง แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยัง
มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28125 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank
มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.22 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังคงปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 49,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 10 ปี 6
เดือน วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน ปรับตัวลดลง ใน
ขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000
ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 24,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 99,032 ล้านบาท หรือ
19,806 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.3 โดยเป็นธุรกรรม
Outright ร้อยละ 75 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดย
รวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง และยังทำให้ปริมาณการ
ซื้อขายในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ลดต่ำลง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวลดลง 0-1 basis points และ
พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-14 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 ปี ที่มีอัตรา
ผลตอบแทนฯ เพิ่มขึ้น 4 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น
5 และ 26 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงระหว่างสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-9 basis
points จากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่บ่งชี้ถึงภาวะตลาดแรงงานที่ยังเติบโตด้วยดี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 14 - 17 ก.พ. 49 39.29
20 ก.พ. 49 39.23
21 ก.พ. 49 39.36
22 ก.พ. 49 39.43
23 ก.พ. 49 39.44
24 ก.พ. 49 39.31
เฉลี่ย 20 - 24 ก.พ. 49 39.39
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเกือบตลอดสัปดาห์ โดยความไม่แน่นอนทาง
การเมืองในประเทศและการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรียังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินบาทต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดัน
จากทิศทางการอ่อนค่าของเงินเยนในช่วงต้นสัปดาห์ และการอ่อนค่าของเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเปโซฟิลิปปินส์หลังจากประธานาธิบดีอาร์โรโย
ประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
ของสำหรับการประชุมวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมาระบุถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ต่อไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก
ภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปัจจุบันเกือบเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมแล้วก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่จึงคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินเยนที่กลับมาแข็ง
ค่าขึ้นมาก หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในระยะเวลาอันใกล้ นอกจากนี้ ปัจจัยทางการเมือง
ภายในประเทศและกระแสข่าวการยุบสภายังมีความชัดเจนมากขึ้น สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.39 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย
ปรับตัวลดลง ในขณะที่ พันธบัตรฯ สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และการอ่อนค่าของเงินสกุลภูมิภาค ขณะที่
เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงครึ่งปีแรก
ของปี 2549
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงการเตรียมจ่ายเงินเดือนของภาครัฐ โดยธนาคาร
พาณิชย์มีความต้องลงทุนระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อย
ละ 4.09375 4.21875 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงเพื่อการปิดสำรอง
สภาพคล่องรายปักษ์ในวันพุธ จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
ร้อยละ 4.125 ต่อปี ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ระดับเดิมในวันพฤหัสบดีหลังจากสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอีกครั้ง สำหรับในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ธนาคาร
พาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง จึงลดความต้องการลงทุนลง แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยัง
มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28125 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank
มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.22 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ยังคงปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 49,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงิน 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน และ 10 ปี 6
เดือน วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน ปรับตัวลดลง ใน
ขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000
ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 24,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 99,032 ล้านบาท หรือ
19,806 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.3 โดยเป็นธุรกรรม
Outright ร้อยละ 75 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดย
รวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวลดลงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง และยังทำให้ปริมาณการ
ซื้อขายในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ลดต่ำลง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับตัวลดลง 0-1 basis points และ
พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 3-14 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 ปี ที่มีอัตรา
ผลตอบแทนฯ เพิ่มขึ้น 4 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น
5 และ 26 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงระหว่างสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-9 basis
points จากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่บ่งชี้ถึงภาวะตลาดแรงงานที่ยังเติบโตด้วยดี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 14 - 17 ก.พ. 49 39.29
20 ก.พ. 49 39.23
21 ก.พ. 49 39.36
22 ก.พ. 49 39.43
23 ก.พ. 49 39.44
24 ก.พ. 49 39.31
เฉลี่ย 20 - 24 ก.พ. 49 39.39
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเกือบตลอดสัปดาห์ โดยความไม่แน่นอนทาง
การเมืองในประเทศและการชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรียังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินบาทต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดัน
จากทิศทางการอ่อนค่าของเงินเยนในช่วงต้นสัปดาห์ และการอ่อนค่าของเงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเปโซฟิลิปปินส์หลังจากประธานาธิบดีอาร์โรโย
ประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
ของสำหรับการประชุมวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมาระบุถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ต่อไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก
ภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปัจจุบันเกือบเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมแล้วก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่จึงคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินเยนที่กลับมาแข็ง
ค่าขึ้นมาก หลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในระยะเวลาอันใกล้ นอกจากนี้ ปัจจัยทางการเมือง
ภายในประเทศและกระแสข่าวการยุบสภายังมีความชัดเจนมากขึ้น สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.39 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-