บทสรุปผู้บริหาร "บทเรียนจากผู้ค้าปลีกระดับโลก : บทสัมภาษณ์ประธานบริษัทคาร์ฟูร์ ในประเทศจีน" (*)
Mr. Jean-Luc Chreau ประธานบริษัทคาร์ฟูร์สาขาประเทศจีน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประสบการณ์ของบริษัทคาร์ฟูร์จากฝรั่งเศสในการขยายกิจการจากเมืองขนาดใหญ่ของจีนเข้าสู่มณฑลตอนใน เขาเข้ามายังจีนหลังจากดำเนินธุรกิจในไต้หวันมาแล้ว 7 ปี เป็นผู้นำบริหารกิจการคาร์ฟูร์ในจีนตั้งแต่ปี 1999
คาร์ฟูร์เป็นผู้ค้าปลีกต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในจีน มี Hypermarket 73 แห่งใน 29 เมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึง Supermarket และร้านสะดวกซื้อ ทำรายได้ปี 2005 ถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กิจการคาร์ฟูร์ในจีนอยู่อันดับ 5 คาดว่ายอดขายใน 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตอีกประมาณ 25-30% ต่อปี กิจการคาร์ฟูร์ระยะแรกเริ่มต้นจากเมืองขนาดใหญ่ก่อน และจึงเพิ่มจำนวนสาขาไปตามมณฑลต่างๆ ทำการศึกษาผู้บริโภคชาวจีนโดยเริ่มจากเมืองหลักชายฝั่งตะวันออกต่อเนื่องไปยังมณฑลตอนในและพบว่าทางตอนกลางและตะวันตกเป็นตลาดที่มีความเจริญน้อยกว่า ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ต่ำกว่า
บริษัทต่างชาติที่มีประสบการณ์ในไต้หวันในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมาจะมีความได้เปรียบในการทำธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเรียนรู้การปรับรูปแบบธุรกิจให้เหมาะสม อาทิ การกำหนดขนาดและองค์ประกอบหลักของห้างขึ้นใหม่โดยคำนึงถึงข้อจำกัดทางสภาพพื้นที่และทำเลที่ตั้งกิจการ การที่จีนยังมีความซับซ้อนของกฎระเบียบทางธุรกิจอยู่มากแตกต่างจากมาตรฐานการทำความตกลงธุรกิจแบบในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา การทำธุรกิจกับจีนจึงมีความเสี่ยงสูงซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลาและความสัมพันธ์ การเรียนรู้รสนิยมบริโภคของชาวจีนมีความสำคัญ ชาวจีนนิยมบริโภคอาหารสด คาร์ฟูร์จึงมีการประยุกต์การเสนอขายสินค้าที่ชาวจีนนิยมแต่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและสะอาดกว่าแต่จากข้อจำกัดของระยะทางที่ห่างไกลของมณฑลทางตอนกลางและตะวันตก ทำให้รูปแบบเสนอขายสินค้าในแต่ละพื้นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และต้องสร้างความคุ้นเคยต่อสินค้าแก่ชาวจีนแบบค่อยเป็นค่อยไป คาร์ฟูร์เรียนรู้รูปแบบการตลาดจากคู่แข่งค้าปลีกท้องถิ่นซึ่งยังครองตลาดภายใน โดยให้มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวของสินค้าท้องถิ่นจีนกับสินค้าแบบตะวันตกเพื่อดึงดูดและสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริโภค
การที่จีนเป็นสมาชิก WTO ไม่ได้ทำให้เปลี่ยนแปลงได้ทุกสิ่ง แต่จีนเป็นตลาดที่จะคงความยากต่อไป การแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกข้ามชาติกับศักยภาพจีนจะเข้มข้นสูงขึ้น กลยุทธ์การค้าจึงต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วเพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้คาร์ฟูร์ใช้บุคลากรที่ฝึกอบรมจากในไต้หวันมาร่วมกันพัฒนาธุรกิจในจีน เป็นคนจีนที่พูดภาษาจีนและบริโภคอาหารจีน เหล่านี้เป็นจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบของคาร์ฟูร์ต่อคู่แข่งข้ามชาติรายอื่นมีการจัดตั้งสถาบันคาร์ฟูร์ประเทศจีนขึ้นเพื่อฝึกอบรมพนักงานจีน ปัจจุบัน Hypermarket จำนวน 50 แห่ง ใน 73 แห่ง บริหารจัดการโดยชาวจีนที่มีความสามารถ กิจการที่ประสบความสำเร็จมากและจะมากขึ้นไปอีกในอนาคตคือ Hypermarket และร้านสะดวกซื้อ แต่อนาคต Supermarket ที่มีขนาด 1,000-2,500 ตารางเมตร ค่อนข้างมีความยากกว่า
แม้กฎหมายจีนเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการค้าปลีกได้ แต่คาร์ฟูร์จะยังคงมีหุ้นส่วนท้องถิ่นเนื่องจากตลาดจีนมีความซับซ้อนเข้าถึงยากและมีขนาดใหญ่มาก การมีหุ้นส่วนท้องถิ่นจะช่วยให้เข้าใจและเคลื่อนกิจการไปได้เร็วกว่า และจากการที่จีนกระจายอำนาจไปในระดับมณฑล กฎการทำธุรกิจในจีนคือ ต้องหาหุ้นส่วนท้องถิ่นของท้องถิ่นหรือมณฑลนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น หุ้นส่วนต้องมีเครือข่ายชุมชน ต้องรู้จักผู้ผลิตและผู้จัดส่งและกระจายสินค้าที่ดี หุ้นส่วนที่เครือข่ายดีจะช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานกับรัฐบาลท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
คาร์ฟูร์ตั้งเป้าหมายกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจที่ต้องการเป็นผู้นำใน 5 เมืองหลักขนาดใหญ่ และ 25 เมืองหลักขนาดรองของประเทศจีน สำหรับมณฑลอื่น ๆ คาร์ฟูร์จะเลือกขยายกิจการไปตามเมืองหลวง การควบรวมกิจการเป็นกลยุทธ์ขยายกิจการอีกด้านหนึ่งของคาร์ฟูร์ ขนาดการลงทุนในเมืองขนาดเล็กจะต่ำกว่าเมืองใหญ่ 20-25% โดยคาร์ฟูร์จัดสรรงบประมาณให้ผู้จัดการท้องถิ่นให้เสนอกิจกรรมที่ทำกำไรได้ภายใน 1-2 ปี และให้ความสำคัญต่อสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในท้องถิ่นโดยพิจารณาจากส่วนแบ่งการครองตลาดในท้องถิ่นนั้น
การที่จีนไม่มีระบบโครงข่ายคมนาคมและลอจิสติกส์ในระดับประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการกระจายสินค้าจึงตกเป็นของผู้กระจายสินค้าระดับท้องถิ่น คาร์ฟูร์จะสร้าง Platform และเครือข่ายกลางสำหรับเมืองใหญ่ อาทิ มหานครเซี่ยงไฮ้ โดยมีห้าง 10-15 แห่งอยู่ในเครือข่าย แต่สำหรับห้างที่ไกลออกไปในรัศมี 100-200 กม. จะไม่สามารถเชื่อมตัวเองเข้ากับระบบเครือข่ายกลางได้
แม้ว่าการทำธุรกิจในจีนเป็นสิ่งที่คุ้มค่าและท้าทาย การควบคุมต้นทุนกิจการอย่างเข้มงวดและความเข้าใจถ่องแท้ต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการค้าปลีกในจีน ที่แม้จะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น แต่สภาพการแข่งขันจะยิ่งทวีความรุนแรงและ Margin จะแคบลง ผู้ที่สามารถปรับตัวและเคลื่อนไหวเร็วกว่าจะเห็นความสำเร็จและศักยภาพผลกำไรในตลาดจีนได้ดีกว่า ปัจจุบันมี 7 ใน 20 ของธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติที่เปิดสาขาในจีน ที่เหลือยังคงลังเลเนื่องจากกฎหมายจีนที่ต้องร่วมทุนกับหุ้นส่วนท้องถิ่น และความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลตอบแทนที่จะได้รับ แต่เมื่อกฎสิ้นสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2004 ทำให้บริษัทค้าปลีกข้ามชาติมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนอีก
การที่บริษัทค้าปลีกทั้งข้ามชาติจะเข้ามาเร่งสร้างส่วนแบ่งตลาดนั้น จำเป็นต้องหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด แต่อาจติดกับดักและอาจเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้ใน 3 ประการคือ การที่ผู้ค้าปลีกบางรายพยายามเน้นความต่างของตนด้วยการลงทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ความหรูหราโอ่โถงของสถานที่ซึ่งลูกค้าจีนส่วนใหญ่ไม่สนใจนัก กลายเป็นเพิ่มต้นทุนสูงขึ้นและทำให้ลูกค้าคิดว่าสินค้าต้องแพงกว่าห้างอื่น ประการที่ 2 คือขนาดที่ใหญ่เกินไป โดยห้างในเมืองขนาดรองควรเล็กกว่าในเมืองใหญ่และขายสินค้าที่มีราคาย่อมเยากว่า คาร์ฟูร์พบว่าผลิตภาพของผู้ค้าปลีกกิจการขนาดใหญ่ที่อยู่ในเมืองขนาดรองจะต่ำว่าขนาดกิจการเดียวกันที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่สุดถึง 50% การมีคลังสินค้าภูมิภาคเพื่อจัดเก็บและขนถ่ายสินค้าไปสู่ห้างอย่างรวดเร็ว อาจเป็นวิธีการเพิ่มชนิดสินค้าในห้างมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดห้าง ทั้งนี้ต้องวางแผนและประสานกับผู้กระจายสินค้าท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และประการที่ 3 คือความเหมือนกับห้างใจกลางเมืองเกินไป โดยที่รูปแบบการค้าปลีกชานเมืองจะมีผู้แข่งขันน้อยรายกว่าห้างชานเมืองจึงต้องปรับตัวไปตามลักษณะความต้องการของประชากรที่มีทั้งคนที่มีกำลังการซื้อน้อย และคนรวยที่ยังสามารถจับจ่ายซื้อของจากใจกลางเมืองได้เนื่องจากเป็นแหล่งงาน โดยต้องพิจารณาความแตกต่างของความสามารถซื้อ และให้ความสำคัญต่อสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคของท้องถิ่นนั้นและมีราคาย่อมเยากว่า
___________________________________________________________________________________________________________
(*) สรุปจากบทสัมภาษณ์เรื่อง Lessons from a global retailer: An interview with the president of Carrefour China โดย Peter N. Child ซึ่งตีพิมพ์ลงใน The Mckinsey Quarterly 2006 Special Edition: Serving the new Chinese consumer โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2549
___________________________________________________________________________________________________________
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
Mr. Jean-Luc Chreau ประธานบริษัทคาร์ฟูร์สาขาประเทศจีน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประสบการณ์ของบริษัทคาร์ฟูร์จากฝรั่งเศสในการขยายกิจการจากเมืองขนาดใหญ่ของจีนเข้าสู่มณฑลตอนใน เขาเข้ามายังจีนหลังจากดำเนินธุรกิจในไต้หวันมาแล้ว 7 ปี เป็นผู้นำบริหารกิจการคาร์ฟูร์ในจีนตั้งแต่ปี 1999
คาร์ฟูร์เป็นผู้ค้าปลีกต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในจีน มี Hypermarket 73 แห่งใน 29 เมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึง Supermarket และร้านสะดวกซื้อ ทำรายได้ปี 2005 ถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กิจการคาร์ฟูร์ในจีนอยู่อันดับ 5 คาดว่ายอดขายใน 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตอีกประมาณ 25-30% ต่อปี กิจการคาร์ฟูร์ระยะแรกเริ่มต้นจากเมืองขนาดใหญ่ก่อน และจึงเพิ่มจำนวนสาขาไปตามมณฑลต่างๆ ทำการศึกษาผู้บริโภคชาวจีนโดยเริ่มจากเมืองหลักชายฝั่งตะวันออกต่อเนื่องไปยังมณฑลตอนในและพบว่าทางตอนกลางและตะวันตกเป็นตลาดที่มีความเจริญน้อยกว่า ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ต่ำกว่า
บริษัทต่างชาติที่มีประสบการณ์ในไต้หวันในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมาจะมีความได้เปรียบในการทำธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเรียนรู้การปรับรูปแบบธุรกิจให้เหมาะสม อาทิ การกำหนดขนาดและองค์ประกอบหลักของห้างขึ้นใหม่โดยคำนึงถึงข้อจำกัดทางสภาพพื้นที่และทำเลที่ตั้งกิจการ การที่จีนยังมีความซับซ้อนของกฎระเบียบทางธุรกิจอยู่มากแตกต่างจากมาตรฐานการทำความตกลงธุรกิจแบบในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา การทำธุรกิจกับจีนจึงมีความเสี่ยงสูงซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลาและความสัมพันธ์ การเรียนรู้รสนิยมบริโภคของชาวจีนมีความสำคัญ ชาวจีนนิยมบริโภคอาหารสด คาร์ฟูร์จึงมีการประยุกต์การเสนอขายสินค้าที่ชาวจีนนิยมแต่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและสะอาดกว่าแต่จากข้อจำกัดของระยะทางที่ห่างไกลของมณฑลทางตอนกลางและตะวันตก ทำให้รูปแบบเสนอขายสินค้าในแต่ละพื้นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และต้องสร้างความคุ้นเคยต่อสินค้าแก่ชาวจีนแบบค่อยเป็นค่อยไป คาร์ฟูร์เรียนรู้รูปแบบการตลาดจากคู่แข่งค้าปลีกท้องถิ่นซึ่งยังครองตลาดภายใน โดยให้มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวของสินค้าท้องถิ่นจีนกับสินค้าแบบตะวันตกเพื่อดึงดูดและสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริโภค
การที่จีนเป็นสมาชิก WTO ไม่ได้ทำให้เปลี่ยนแปลงได้ทุกสิ่ง แต่จีนเป็นตลาดที่จะคงความยากต่อไป การแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกข้ามชาติกับศักยภาพจีนจะเข้มข้นสูงขึ้น กลยุทธ์การค้าจึงต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วเพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้คาร์ฟูร์ใช้บุคลากรที่ฝึกอบรมจากในไต้หวันมาร่วมกันพัฒนาธุรกิจในจีน เป็นคนจีนที่พูดภาษาจีนและบริโภคอาหารจีน เหล่านี้เป็นจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบของคาร์ฟูร์ต่อคู่แข่งข้ามชาติรายอื่นมีการจัดตั้งสถาบันคาร์ฟูร์ประเทศจีนขึ้นเพื่อฝึกอบรมพนักงานจีน ปัจจุบัน Hypermarket จำนวน 50 แห่ง ใน 73 แห่ง บริหารจัดการโดยชาวจีนที่มีความสามารถ กิจการที่ประสบความสำเร็จมากและจะมากขึ้นไปอีกในอนาคตคือ Hypermarket และร้านสะดวกซื้อ แต่อนาคต Supermarket ที่มีขนาด 1,000-2,500 ตารางเมตร ค่อนข้างมีความยากกว่า
แม้กฎหมายจีนเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการค้าปลีกได้ แต่คาร์ฟูร์จะยังคงมีหุ้นส่วนท้องถิ่นเนื่องจากตลาดจีนมีความซับซ้อนเข้าถึงยากและมีขนาดใหญ่มาก การมีหุ้นส่วนท้องถิ่นจะช่วยให้เข้าใจและเคลื่อนกิจการไปได้เร็วกว่า และจากการที่จีนกระจายอำนาจไปในระดับมณฑล กฎการทำธุรกิจในจีนคือ ต้องหาหุ้นส่วนท้องถิ่นของท้องถิ่นหรือมณฑลนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น หุ้นส่วนต้องมีเครือข่ายชุมชน ต้องรู้จักผู้ผลิตและผู้จัดส่งและกระจายสินค้าที่ดี หุ้นส่วนที่เครือข่ายดีจะช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานกับรัฐบาลท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
คาร์ฟูร์ตั้งเป้าหมายกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจที่ต้องการเป็นผู้นำใน 5 เมืองหลักขนาดใหญ่ และ 25 เมืองหลักขนาดรองของประเทศจีน สำหรับมณฑลอื่น ๆ คาร์ฟูร์จะเลือกขยายกิจการไปตามเมืองหลวง การควบรวมกิจการเป็นกลยุทธ์ขยายกิจการอีกด้านหนึ่งของคาร์ฟูร์ ขนาดการลงทุนในเมืองขนาดเล็กจะต่ำกว่าเมืองใหญ่ 20-25% โดยคาร์ฟูร์จัดสรรงบประมาณให้ผู้จัดการท้องถิ่นให้เสนอกิจกรรมที่ทำกำไรได้ภายใน 1-2 ปี และให้ความสำคัญต่อสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในท้องถิ่นโดยพิจารณาจากส่วนแบ่งการครองตลาดในท้องถิ่นนั้น
การที่จีนไม่มีระบบโครงข่ายคมนาคมและลอจิสติกส์ในระดับประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการกระจายสินค้าจึงตกเป็นของผู้กระจายสินค้าระดับท้องถิ่น คาร์ฟูร์จะสร้าง Platform และเครือข่ายกลางสำหรับเมืองใหญ่ อาทิ มหานครเซี่ยงไฮ้ โดยมีห้าง 10-15 แห่งอยู่ในเครือข่าย แต่สำหรับห้างที่ไกลออกไปในรัศมี 100-200 กม. จะไม่สามารถเชื่อมตัวเองเข้ากับระบบเครือข่ายกลางได้
แม้ว่าการทำธุรกิจในจีนเป็นสิ่งที่คุ้มค่าและท้าทาย การควบคุมต้นทุนกิจการอย่างเข้มงวดและความเข้าใจถ่องแท้ต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในสภาพแวดล้อมทางการค้าปลีกในจีน ที่แม้จะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น แต่สภาพการแข่งขันจะยิ่งทวีความรุนแรงและ Margin จะแคบลง ผู้ที่สามารถปรับตัวและเคลื่อนไหวเร็วกว่าจะเห็นความสำเร็จและศักยภาพผลกำไรในตลาดจีนได้ดีกว่า ปัจจุบันมี 7 ใน 20 ของธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติที่เปิดสาขาในจีน ที่เหลือยังคงลังเลเนื่องจากกฎหมายจีนที่ต้องร่วมทุนกับหุ้นส่วนท้องถิ่น และความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลตอบแทนที่จะได้รับ แต่เมื่อกฎสิ้นสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2004 ทำให้บริษัทค้าปลีกข้ามชาติมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนอีก
การที่บริษัทค้าปลีกทั้งข้ามชาติจะเข้ามาเร่งสร้างส่วนแบ่งตลาดนั้น จำเป็นต้องหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด แต่อาจติดกับดักและอาจเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้ใน 3 ประการคือ การที่ผู้ค้าปลีกบางรายพยายามเน้นความต่างของตนด้วยการลงทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ความหรูหราโอ่โถงของสถานที่ซึ่งลูกค้าจีนส่วนใหญ่ไม่สนใจนัก กลายเป็นเพิ่มต้นทุนสูงขึ้นและทำให้ลูกค้าคิดว่าสินค้าต้องแพงกว่าห้างอื่น ประการที่ 2 คือขนาดที่ใหญ่เกินไป โดยห้างในเมืองขนาดรองควรเล็กกว่าในเมืองใหญ่และขายสินค้าที่มีราคาย่อมเยากว่า คาร์ฟูร์พบว่าผลิตภาพของผู้ค้าปลีกกิจการขนาดใหญ่ที่อยู่ในเมืองขนาดรองจะต่ำว่าขนาดกิจการเดียวกันที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่สุดถึง 50% การมีคลังสินค้าภูมิภาคเพื่อจัดเก็บและขนถ่ายสินค้าไปสู่ห้างอย่างรวดเร็ว อาจเป็นวิธีการเพิ่มชนิดสินค้าในห้างมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดห้าง ทั้งนี้ต้องวางแผนและประสานกับผู้กระจายสินค้าท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และประการที่ 3 คือความเหมือนกับห้างใจกลางเมืองเกินไป โดยที่รูปแบบการค้าปลีกชานเมืองจะมีผู้แข่งขันน้อยรายกว่าห้างชานเมืองจึงต้องปรับตัวไปตามลักษณะความต้องการของประชากรที่มีทั้งคนที่มีกำลังการซื้อน้อย และคนรวยที่ยังสามารถจับจ่ายซื้อของจากใจกลางเมืองได้เนื่องจากเป็นแหล่งงาน โดยต้องพิจารณาความแตกต่างของความสามารถซื้อ และให้ความสำคัญต่อสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคของท้องถิ่นนั้นและมีราคาย่อมเยากว่า
___________________________________________________________________________________________________________
(*) สรุปจากบทสัมภาษณ์เรื่อง Lessons from a global retailer: An interview with the president of Carrefour China โดย Peter N. Child ซึ่งตีพิมพ์ลงใน The Mckinsey Quarterly 2006 Special Edition: Serving the new Chinese consumer โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2549
___________________________________________________________________________________________________________
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-