-คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 ต่อปี
เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับช่วงกลางสัปดาห์สภาพ
คล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าระหว่างวันหยุดยาวในช่วงเทศกาล
สงกรานต์
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยและ
สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นมาก และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ที่ระดับ 37.95 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคารเนื่องจากการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 10 เมษายน 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มา
อยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสแรกจะลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับลดลง
แต่คณะกรรมการฯ ต้องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังเห็นว่า
เศรษฐกิจไทยยังสามารถรองรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจโดย
เฉพาะภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีตามเศรษฐกิจโลก
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง หลังจากที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ดำรงเงินสดสำรองไว้เป็น
จำนวนมากในช่วงก่อนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืน
พันธบัตรระยะ 1 วัน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในวันทำการแรกของสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ
4.625 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับในวันพุธซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคาร
พาณิชย์มีการต้องเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าระหว่างวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยัง
ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.78125 ต่อปี ตลอดสัปดาห์สำหรับ
อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.7 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
4.38 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.63 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 16,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตร ธปท. อายุ 363 วัน วงเงิน 12,000 ล้าน
บาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี 5 วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทั้งสองรุ่นปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้มีการประมูล
พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 8 และ 9 ปี วงเงินรวม 1,500 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 16,000 ล้าน
บาท ปริมาณพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดจึงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน ทำให้ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาด
รองลดลงเป็น 90,574 ล้านบาท แต่มูลค่าเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.6 หรือเท่ากับ 30,191 ล้านบาทต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม
Outright ร้อยละ 44 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของ
พันธบัตรฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องหลังจากการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ก่อน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-12 basis points
ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 42 และ 20 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขค้าปลีก และดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมครั้งหน้า ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield
ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 3 - 7 เม.ย. 49 38.50
10 เม.ย. 49 38.03
11 เม.ย. 49 37.95
12 เม.ย. 49 37.99
เฉลี่ย 10 - 12 เม.ย. 49 37.99
ปริมาณการซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบางเนื่องจากมีวันทำการเพียง 3 วันก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากถึงร้อยละ 1.33 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทมีทิศทาง
แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ในช่วง 6 ปีที่ระดับ 37.95 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ
จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธปท. ยืนยันว่าจะดูแล
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เงินบาท
เคลื่อนไหวผันผวนเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคการส่งออก โดยการแข็งค่าของเงินบาทยังไม่เป็นข้อจำกัดต่อภาคการส่ง
ออกในช่วงไตรมาสแรกแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องแรงขายทำกำไร
ของนักลงทุนหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือนมีนาคมออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับช่วงกลางสัปดาห์สภาพ
คล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าระหว่างวันหยุดยาวในช่วงเทศกาล
สงกรานต์
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยและ
สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นมาก และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ที่ระดับ 37.95 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคารเนื่องจากการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 10 เมษายน 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มา
อยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในไตรมาสแรกจะลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับลดลง
แต่คณะกรรมการฯ ต้องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกระทั่งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังเห็นว่า
เศรษฐกิจไทยยังสามารถรองรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจโดย
เฉพาะภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีตามเศรษฐกิจโลก
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง หลังจากที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ดำรงเงินสดสำรองไว้เป็น
จำนวนมากในช่วงก่อนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืน
พันธบัตรระยะ 1 วัน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในวันทำการแรกของสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ
4.625 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับในวันพุธซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคาร
พาณิชย์มีการต้องเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าระหว่างวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยัง
ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.78125 ต่อปี ตลอดสัปดาห์สำหรับ
อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.7 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
4.38 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.63 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 16,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตร ธปท. อายุ 363 วัน วงเงิน 12,000 ล้าน
บาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี 5 วงเงิน 2,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทั้งสองรุ่นปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้มีการประมูล
พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 8 และ 9 ปี วงเงินรวม 1,500 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 16,000 ล้าน
บาท ปริมาณพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดจึงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน ทำให้ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาด
รองลดลงเป็น 90,574 ล้านบาท แต่มูลค่าเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.6 หรือเท่ากับ 30,191 ล้านบาทต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม
Outright ร้อยละ 44 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของ
พันธบัตรฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องหลังจากการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์ก่อน ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-12 basis points
ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 42 และ 20 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขค้าปลีก และดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมครั้งหน้า ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield
ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 3 - 7 เม.ย. 49 38.50
10 เม.ย. 49 38.03
11 เม.ย. 49 37.95
12 เม.ย. 49 37.99
เฉลี่ย 10 - 12 เม.ย. 49 37.99
ปริมาณการซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบางเนื่องจากมีวันทำการเพียง 3 วันก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากถึงร้อยละ 1.33 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทมีทิศทาง
แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ในช่วง 6 ปีที่ระดับ 37.95 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ
จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธปท. ยืนยันว่าจะดูแล
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เงินบาท
เคลื่อนไหวผันผวนเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคการส่งออก โดยการแข็งค่าของเงินบาทยังไม่เป็นข้อจำกัดต่อภาคการส่ง
ออกในช่วงไตรมาสแรกแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องแรงขายทำกำไร
ของนักลงทุนหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประจำเดือนมีนาคมออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-