ตามที่ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน กลุ่ม 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 (ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2548 ณ ห้องสุโขทัย โรงแรมไพลิน จังหวัดสุโขทัย นั้น
สำนักงานฯ ได้มีการประชุมเตรียมการกับภาคเอกชน ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรเอกชนในพื้นที่ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 12 และ 27 พฤศจิกายน 2548 ณ จังหวัดสุโขทัย และได้จัดประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ซึ่งสำนักงานฯ ได้จัดทำผลการประชุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีมติและการมอบหมายงาน ดังนี้
1. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนอย่าง เป็นทางการนอกสถานที่
1.1 นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาในการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2548 ให้รองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลกลุ่มจังหวัดติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน หลังจากที่ได้มีประชุมไปแล้ว 6 เดือน โดยมี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการ และให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย รายงานโดยตรงต่อ สศช. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี นั้น สศช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมฯ จำนวน 5 ครั้ง (มิถุนายน -- ธันวาคม 2548) พบว่า มีเรื่องที่อนุมัติทั้งหมด 71 เรื่อง มีความก้าวหน้า 31 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินงาน 26 เรื่อง และมีเรื่องที่ยังไม่ได้รับรายงาน 6 เรื่อง (รายละเอียดปรากฏตามเอกสาร รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานฯ ที่แนบท้าย)
1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมของกลุ่ม 8 จังหวัดล้านนา ซึ่งมีการดำเนินงานครบ 6 เดือน มีเรื่องอนุมัติ 10 เรื่อง มีความก้าวหน้าในการดำเนินการจำนวน 5 เรื่อง สรุปได้ ดังนี้
1.2.1 การสร้างคลัสเตอร์นวัตกรรมภาคเหนือ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดงานเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับภาคเอกชน และสร้างเครือข่ายกลุ่มนวัตกรรมในอุตสาหกรรม นอกจากนั้น ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนด
แนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์นวัตกรรม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 และมีมติให้สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์นวัตกรรม ต่อไป
1.2.2 โครงการเชื่อมทางรถไฟไทย-จีน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างบริษัทที่ ปรึกษาให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อนำเสนอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาในรายละเอียดโครงการ
1.2.3 การพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกในภาคเหนือ สศช.ได้ศึกษาพบว่า ลำไยและลิ้นจี่เป็นพืชที่ควรเริ่มดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิต โดยการใช้ฐานความรู้ วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นพืชแรกในลักษณะนำร่อง
1.2.4 การจัดตั้งศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยมีการบูรณาการการใช้พื้นที่ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ได้มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) กำกับการดำเนินโครงการ และ สสปน. บริหารจัดการ
1.2.5 การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวไทย -- จีน รองนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมเยือนกันอย่างเป็นทางการ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2548 เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
สำหรับในอีก 5 เรื่องนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการให้เป็นไปตามมติการประชุมดังกล่าว ได้แก่ (1) โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาและกำกับยุทธศาสตร์กลุ่มล้านนา (2) โครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น (3) การต่ออายุสัมปทานเหมืองดินขาว (4) การพัฒนาถนนในจังหวัดน่านและพะเยา (5) การค้าชายแดนไทย-จีน
1.3 ความเห็นที่ประชุม
ที่ประชุมเห็นว่าสำหรับโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น ขอให้พิจารณาความเหมาะสมของโครงการอีกครั้ง โดยคำนึงถึงวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ด้วยการเชื่อมระบบน้ำ ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะแม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหรือทำระบบแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำ ซึ่งหากวิธีการดังกล่าวได้ผลดีจะทำให้ความจำเป็นของโครงการก่อสร้างแก่งเสือเต้นลดน้อยลงไป
1.4 มติที่ประชุม
มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไปทุก 6 เดือน
2. ข้อเสนอของภาคเอกชนกลุ่ม 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1
2.1 การส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดให้มีลักษณะ Historical Marketing (H-Marketing) และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
2.1.1 ข้อเสนอของภาคเอกชน มีดังนี้
1) ขยายตลาดการท่องเที่ยวมายังกลุ่มจังหวัดให้มากขึ้น
1.1) นำจุดเด่นด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุโขทัย เป็นจุดขายที่สำคัญด้านการท่องเที่ยว ในลักษณะ Historical Marketing (H-Marketing) โดยเร่งบูรณะฟื้นฟูแหล่งโบราณสถาน พร้อมทั้งร้อยเรียงเรื่องราวเชื่อมโยงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เพื่อสร้าง Magnet ให้แก่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้แนวคิด "แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก" (World Heritage) ปรับปรุงภูมิทัศน์พระราชวังจันทน์และเชื่อมโยงกับวัดพระศรีมหาธาตุ สร้างอาคารศูนย์วัฒนธรรมของภาคเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม จังหวัดพิษณุโลก สร้างสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ บริเวณทัณฑสถาน (เก่า) จังหวัดพิษณุโลก
1.2) ปรับระบบบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจ มีชีวิต-ชีวา (Live Museum) และสร้างมูลค่าในเชิงธุรกิจมากขึ้น โดยให้เอกชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม การปรับปรุง หลักเกณฑ์การเก็บเงินเข้ากองทุนโบราณคดีใหม่
1.3) สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมเพื่อกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยประชาสัมพันธ์การสร้างเรื่องราวในลักษณะภาพยนตร์/ละคร ตำนานประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย และพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เช่นเดียวกับเรื่อง สุริโยทัย ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว และเผยแพร่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง และพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ที่มีการสร้างกิจกรรมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของกลุ่มจังหวัด เพื่อเพิ่มจำนวนวันพักเฉลี่ย อาทิ เส้นทางมรดกโลก เส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ ประกอบด้วย สุโขทัย/ตาก หรือ พิษณุโลก/เพชรบูรณ์ เป็นต้น
2) พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ และให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัยให้เปิดสอนสาขา ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็น Edu-tourism และการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์เป็นสาขานำร่อง และการจัดส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความรู้ความ
ชำนาญร่วมหารือกับภาคเอกชนเพื่อจัดทำโครงการภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ The Heritage Necklace of Asia ภายใต้กรอบ ACMECS
3) ส่งเสริมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสิ น ค้ แ ล ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ช น ที่ มี เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ข อ ง ท้ อ ง ถิ่ น ใ ห้ เ ป็ น คลัสเตอร์เชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น เช่น เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก (ทุ่งหลวง) ผ้าตีนจก (หาดเสี้ยว) ผ้าฝ้าย (อุตรดิตถ์) ทอง (ศรีสัชนาลัย) ขนมพื้นบ้าน เป็นต้น
2.1.2 ความเห็นที่ประชุม
1) กลุ่มจังหวัดมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีศักยภาพและถือเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เป็นต้น แต่ที่ผ่านมาขาดการพัฒนาเชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค จึงควรสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเชื่อมโยงสินค้า OTOP ให้ครบวงจร
2) ให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ ท่องเที่ยว และควรดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในด้านกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
3) การกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนา ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสินค้าใหม่ (New Product) การบริหารจัดการที่ดี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจโรงแรมที่พัก โดยเฉพาะโรงแรมบูติก เป็นต้น รวมทั้งการถ่ายเทนักท่องเที่ยวจากจุดต่างๆ ภายในพื้นที่ให้เชื่อมโยงกัน
4) สำหรับการจัดตั้งสถาบันการศึกษา (วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาสุโขทัย) เพื่อพัฒนาคนและรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้อง ควรมุ่งเน้นสาขาที่เป็นความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เป็นสาขาวิชานำร่อง สำหรับสาขาอื่นๆ ให้ดำเนินการในลักษณะที่เป็นการศึกษา โดยผ่านสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (Virtual Classroom)
2.1.3 มติที่ประชุม
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการ พัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ให้มีความเชื่อมโยงกัน
2) ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการยกฐานะมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ เป็นวิทยาเขตสุโขทัย โดยเน้นสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ส่วนสาขาอื่นๆ ให้พิจารณาความเหมาะสมที่จะจัดตั้งในลักษณะ Virtual Classroom ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความต้องการของธุรกิจและประชาชนในกลุ่มจังหวัด
2.2 การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์
2.2.1 ข้อเสนอของภาคเอกชน มีดังนี้
1) จัดเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางบริการและโลจิสติกส์สี่แยกอินโดจีน เพื่อรองรับปริมาณการสัญจรและจัดให้มีมาตรการป้องกันอุบัติภัยทางถนนตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor ผ่านสี่แยกอินโดจีน โดยดำเนินการปรับปรุงสี่แยกอินโดจีนให้เป็นถนนวงแหวน และขยายช่องจราจรเป็น 10 ช่อง เพื่อรองรับความหนาแน่นของปริมาณการจราจร ก่อสร้างศูนย์อุบัติภัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
2) ส่งเสริมการขนส่งและเปลี่ยนถ่ายสินค้าระบบ Multi-modal Shift โดยก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Multi-modal shift station) ที่จะมาจากภาค/ ประเทศอื่น โดยเครื่องบิน-รถไฟ-รถบรรทุก และก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ณ จังหวัดพิษณุโลก ก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้ภาคเอกชนบริหาร เป็นต้น
2.2.2 ความเห็นที่ประชุม
1) การเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor ผ่านสี่แยกอินโดจีน ต้องดำเนินการตามกำหนด เนื่องจากมีการผลักดันในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งนี้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งของระบบภายในเพื่อรองรับการพัฒนา
2) จุดที่ตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นชุมทางที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เกิดการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ ทั้งนี้ควรพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
3) การสร้าง Truck Terminal ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนี้ ควรดำเนินการในลักษณะเป็น Truck Station เพื่อเป็นจุดพักและเติมน้ำมันจะมีความเหมาะสมกว่า
2.2.3 มติที่ประชุม
1) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง รับไปดำเนินการเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor ผ่านสี่แยกอินโดจีน
2) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
3) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ณ จังหวัดพิษณุโลก
4) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาความเหมาะสมการก่อสร้างศูนย์อุบัติภัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
2.3 การส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.3.1 ข้อเสนอของภาคเอกชน มีดังนี้
1) ส่งเสริมความร่วมมือรายสาขากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยดำเนินการ
* ขยายฐานการผลิตทางการเกษตร โดยยกเว้นภาษีนำเข้าพืชทดแทนพลังงาน ยางพารา พริก ภายใต้ One Way Free Trade
* สนับสนุนมาตรการสนับสนุนด้านการเงิน โดยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และให้มีมาตรการประกันความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน (Investment Risk Insurance)
* อำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ Cross Border Overland Tour ภายใต้ ACMECS โดยเร่งรัดมาตรการอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน โดยใช้บัตรผ่านแดน และบัตรผ่านแดนชั่วคราว สำหรับนักท่องเที่ยวจากพม่าที่เดินทางเข้ามาเป็นหมู่คณะ ที่ผ่านบริษัทนำเที่ยวไทยที่จดทะเบียนไว้กับ ททท. ภายใต้มาตรการควบคุมที่เหมาะสม
* การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านพม่า โดยเจรจากับพม่าในการปรับปรุงเส้นทางบ้านว้าเล่ย์ อ.พบพระ กับบ้านหนองหลวง อ.อุ้มผาง ผ่านพม่า 28 กิโลเมตร เพื่อรองรับพื้นที่โครงการ Contract Farming และการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ อ.อุ้มผาง ปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 105 แม่สอด-แม่สะเรียง 53 กิโลเมตร โดยลดระดับความลาดชันเพื่อให้รถประจำทางและรถบัสใหญ่สามารถใช้เส้นทางระหว่างแม่ฮ่องสอน-กรุงเทพฯ และเปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ พัฒนาสนามบินแม่สอดให้เป็นสนามบินภายในประเทศของพม่า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางอากาศโดยเฉพาะผักและผลไม้เมืองหนาว สนับสนุนการใช้สนามบินตากที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ต่อการขนส่งและท่องเที่ยว 3 จังหวัด คือ ตาก-สุโขทัย-กำแพงเพชร โดยบูรณะเส้นทางจากกำแพงเพชรถึงสนามบินตาก (หมายเลข 1132) ประมาณ 80 กิโลเมตร ด้าน สปป.ลาว เจรจายกระดับจุดผ่อนปรนช่องภูดู่ เป็นจุดผ่านแดนถาวร และให้ความช่วยเหลือ สปป.ลาว ก่อสร้างเส้นทาง จากช่องภูดู่ ถึงบ้าน แก่นสาว เมืองปากลาย ระยะทาง 29 กิโลเมตร
* การบริหารนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยเจรจากับพม่าเพื่อจัดตั้งสถานกงสุลของไทยที่เมืองเมียวดี และพม่า จังหวัดตาก และมอบหมายให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นลงนามเมืองคู่แฝด (Sister City) ระหว่างเมืองเมียวดี-แม่สอด และให้มีกลไกที่สนับสนุนการบริหารจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน ให้สามารถดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ ACMECS ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในด้านการค้าชายแดน
2) เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด-เมียวดี Co-Production Area ผลประโยชน์ร่วม 2 ประเทศ โดยเร่งรัดการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 2 ฝ่าย ให้ความช่วยเหลือพม่าในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมแรงงานเข้าสู่ภาคการผลิตในอนาคต และเร่งรัดการยกร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้เกิดกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว
3.3.2 ความเห็นที่ประชุม
1) การพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ IMT-GT, JDS, ACMECS, GMS อยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการพัฒนาความ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน จึงเห็นควรมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) รับประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปพิจารณาภายใต้คณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ต่อไป
2) การยกเว้นภาษีพืชเป้าหมายภายใต้ One Way Free Trade เห็นควรพิจารณาสนับสนุนเฉพาะผู้ประกอบการไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่มีการลงทะเบียนในโครงการ Contract Farming เนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งให้ความช่วยเหลือในการยกระดับรายได้ของประชาชนในบริเวณชายแดน ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับระบบการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) การสนับสนุนการพัฒนาสนามบินแม่สอดให้เป็นสนามบินภายในประเทศของพม่า เห็นควรให้ สศช. และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานโดยให้พิจารณาการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
4) การสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน 2 ประเทศ เห็นควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกันในพื้นที่คาบเกี่ยว 2 ประเทศ โดยให้ใช้แรงงานของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นหลัก
5) การใช้แรงงานต่างด้าวและการจัดระบบแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนในอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน เห็นควรให้มีมาตรการจูงใจสำหรับการใช้แรงงานต่างด้าวเฉพาะบริเวณชายแดน เพื่อป้องกันมิให้แรงงานต่างด้าวทะลักเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของประเทศ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้มีการพิจารณาจัดระบบแรงงานทั้งระบบ รวมทั้งการบริหารจัดการแรงงานตามแนวชายแดนแล้ว และคาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548
3.3.3 มติที่ประชุม
1) ให้รวมเอาเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตกลงและความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ได้แก่ IMT-GT, JDS, ACMECS, GMS และ BIMSTEC มาอยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดท่าทีและแนวทางความร่วมมือ รวมทั้งขับเคลื่อนความร่วมมือให้เป็นรูปธรรม
2) มอบหมายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) รับไปพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนโดยเฉพาะการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายแดนเพื่อดำเนินการร่วมกัน 2 ประเทศ
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเห็นชอบ ขอได้โปรดอนุมัติมติที่ประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำนักงานฯ ได้มีการประชุมเตรียมการกับภาคเอกชน ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรเอกชนในพื้นที่ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 12 และ 27 พฤศจิกายน 2548 ณ จังหวัดสุโขทัย และได้จัดประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ซึ่งสำนักงานฯ ได้จัดทำผลการประชุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีมติและการมอบหมายงาน ดังนี้
1. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนอย่าง เป็นทางการนอกสถานที่
1.1 นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาในการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2548 ให้รองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลกลุ่มจังหวัดติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน หลังจากที่ได้มีประชุมไปแล้ว 6 เดือน โดยมี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการ และให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย รายงานโดยตรงต่อ สศช. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี นั้น สศช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมฯ จำนวน 5 ครั้ง (มิถุนายน -- ธันวาคม 2548) พบว่า มีเรื่องที่อนุมัติทั้งหมด 71 เรื่อง มีความก้าวหน้า 31 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินงาน 26 เรื่อง และมีเรื่องที่ยังไม่ได้รับรายงาน 6 เรื่อง (รายละเอียดปรากฏตามเอกสาร รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานฯ ที่แนบท้าย)
1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมของกลุ่ม 8 จังหวัดล้านนา ซึ่งมีการดำเนินงานครบ 6 เดือน มีเรื่องอนุมัติ 10 เรื่อง มีความก้าวหน้าในการดำเนินการจำนวน 5 เรื่อง สรุปได้ ดังนี้
1.2.1 การสร้างคลัสเตอร์นวัตกรรมภาคเหนือ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดงานเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับภาคเอกชน และสร้างเครือข่ายกลุ่มนวัตกรรมในอุตสาหกรรม นอกจากนั้น ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนด
แนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์นวัตกรรม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 และมีมติให้สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์นวัตกรรม ต่อไป
1.2.2 โครงการเชื่อมทางรถไฟไทย-จีน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างบริษัทที่ ปรึกษาให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อนำเสนอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาในรายละเอียดโครงการ
1.2.3 การพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกในภาคเหนือ สศช.ได้ศึกษาพบว่า ลำไยและลิ้นจี่เป็นพืชที่ควรเริ่มดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิต โดยการใช้ฐานความรู้ วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นพืชแรกในลักษณะนำร่อง
1.2.4 การจัดตั้งศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยมีการบูรณาการการใช้พื้นที่ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ได้มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) กำกับการดำเนินโครงการ และ สสปน. บริหารจัดการ
1.2.5 การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวไทย -- จีน รองนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมเยือนกันอย่างเป็นทางการ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2548 เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
สำหรับในอีก 5 เรื่องนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการให้เป็นไปตามมติการประชุมดังกล่าว ได้แก่ (1) โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาและกำกับยุทธศาสตร์กลุ่มล้านนา (2) โครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น (3) การต่ออายุสัมปทานเหมืองดินขาว (4) การพัฒนาถนนในจังหวัดน่านและพะเยา (5) การค้าชายแดนไทย-จีน
1.3 ความเห็นที่ประชุม
ที่ประชุมเห็นว่าสำหรับโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น ขอให้พิจารณาความเหมาะสมของโครงการอีกครั้ง โดยคำนึงถึงวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ด้วยการเชื่อมระบบน้ำ ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะแม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหรือทำระบบแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำ ซึ่งหากวิธีการดังกล่าวได้ผลดีจะทำให้ความจำเป็นของโครงการก่อสร้างแก่งเสือเต้นลดน้อยลงไป
1.4 มติที่ประชุม
มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และรายงานคณะรัฐมนตรีต่อไปทุก 6 เดือน
2. ข้อเสนอของภาคเอกชนกลุ่ม 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1
2.1 การส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดให้มีลักษณะ Historical Marketing (H-Marketing) และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
2.1.1 ข้อเสนอของภาคเอกชน มีดังนี้
1) ขยายตลาดการท่องเที่ยวมายังกลุ่มจังหวัดให้มากขึ้น
1.1) นำจุดเด่นด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุโขทัย เป็นจุดขายที่สำคัญด้านการท่องเที่ยว ในลักษณะ Historical Marketing (H-Marketing) โดยเร่งบูรณะฟื้นฟูแหล่งโบราณสถาน พร้อมทั้งร้อยเรียงเรื่องราวเชื่อมโยงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เพื่อสร้าง Magnet ให้แก่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้แนวคิด "แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก" (World Heritage) ปรับปรุงภูมิทัศน์พระราชวังจันทน์และเชื่อมโยงกับวัดพระศรีมหาธาตุ สร้างอาคารศูนย์วัฒนธรรมของภาคเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม จังหวัดพิษณุโลก สร้างสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ บริเวณทัณฑสถาน (เก่า) จังหวัดพิษณุโลก
1.2) ปรับระบบบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจ มีชีวิต-ชีวา (Live Museum) และสร้างมูลค่าในเชิงธุรกิจมากขึ้น โดยให้เอกชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม การปรับปรุง หลักเกณฑ์การเก็บเงินเข้ากองทุนโบราณคดีใหม่
1.3) สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมเพื่อกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยประชาสัมพันธ์การสร้างเรื่องราวในลักษณะภาพยนตร์/ละคร ตำนานประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย และพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เช่นเดียวกับเรื่อง สุริโยทัย ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว และเผยแพร่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง และพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ที่มีการสร้างกิจกรรมเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของกลุ่มจังหวัด เพื่อเพิ่มจำนวนวันพักเฉลี่ย อาทิ เส้นทางมรดกโลก เส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ ประกอบด้วย สุโขทัย/ตาก หรือ พิษณุโลก/เพชรบูรณ์ เป็นต้น
2) พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ และให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัยให้เปิดสอนสาขา ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็น Edu-tourism และการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์เป็นสาขานำร่อง และการจัดส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความรู้ความ
ชำนาญร่วมหารือกับภาคเอกชนเพื่อจัดทำโครงการภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ The Heritage Necklace of Asia ภายใต้กรอบ ACMECS
3) ส่งเสริมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสิ น ค้ แ ล ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ช น ที่ มี เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ข อ ง ท้ อ ง ถิ่ น ใ ห้ เ ป็ น คลัสเตอร์เชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น เช่น เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก (ทุ่งหลวง) ผ้าตีนจก (หาดเสี้ยว) ผ้าฝ้าย (อุตรดิตถ์) ทอง (ศรีสัชนาลัย) ขนมพื้นบ้าน เป็นต้น
2.1.2 ความเห็นที่ประชุม
1) กลุ่มจังหวัดมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีศักยภาพและถือเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เป็นต้น แต่ที่ผ่านมาขาดการพัฒนาเชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค จึงควรสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเชื่อมโยงสินค้า OTOP ให้ครบวงจร
2) ให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ ท่องเที่ยว และควรดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในด้านกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
3) การกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนา ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสินค้าใหม่ (New Product) การบริหารจัดการที่ดี การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจโรงแรมที่พัก โดยเฉพาะโรงแรมบูติก เป็นต้น รวมทั้งการถ่ายเทนักท่องเที่ยวจากจุดต่างๆ ภายในพื้นที่ให้เชื่อมโยงกัน
4) สำหรับการจัดตั้งสถาบันการศึกษา (วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาสุโขทัย) เพื่อพัฒนาคนและรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้อง ควรมุ่งเน้นสาขาที่เป็นความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เป็นสาขาวิชานำร่อง สำหรับสาขาอื่นๆ ให้ดำเนินการในลักษณะที่เป็นการศึกษา โดยผ่านสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (Virtual Classroom)
2.1.3 มติที่ประชุม
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการ พัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ให้มีความเชื่อมโยงกัน
2) ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการยกฐานะมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ เป็นวิทยาเขตสุโขทัย โดยเน้นสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ส่วนสาขาอื่นๆ ให้พิจารณาความเหมาะสมที่จะจัดตั้งในลักษณะ Virtual Classroom ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความต้องการของธุรกิจและประชาชนในกลุ่มจังหวัด
2.2 การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์
2.2.1 ข้อเสนอของภาคเอกชน มีดังนี้
1) จัดเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางบริการและโลจิสติกส์สี่แยกอินโดจีน เพื่อรองรับปริมาณการสัญจรและจัดให้มีมาตรการป้องกันอุบัติภัยทางถนนตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor ผ่านสี่แยกอินโดจีน โดยดำเนินการปรับปรุงสี่แยกอินโดจีนให้เป็นถนนวงแหวน และขยายช่องจราจรเป็น 10 ช่อง เพื่อรองรับความหนาแน่นของปริมาณการจราจร ก่อสร้างศูนย์อุบัติภัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
2) ส่งเสริมการขนส่งและเปลี่ยนถ่ายสินค้าระบบ Multi-modal Shift โดยก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Multi-modal shift station) ที่จะมาจากภาค/ ประเทศอื่น โดยเครื่องบิน-รถไฟ-รถบรรทุก และก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ณ จังหวัดพิษณุโลก ก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้ภาคเอกชนบริหาร เป็นต้น
2.2.2 ความเห็นที่ประชุม
1) การเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor ผ่านสี่แยกอินโดจีน ต้องดำเนินการตามกำหนด เนื่องจากมีการผลักดันในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งนี้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งของระบบภายในเพื่อรองรับการพัฒนา
2) จุดที่ตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นชุมทางที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เกิดการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ ทั้งนี้ควรพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
3) การสร้าง Truck Terminal ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนี้ ควรดำเนินการในลักษณะเป็น Truck Station เพื่อเป็นจุดพักและเติมน้ำมันจะมีความเหมาะสมกว่า
2.2.3 มติที่ประชุม
1) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง รับไปดำเนินการเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor ผ่านสี่แยกอินโดจีน
2) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
3) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ณ จังหวัดพิษณุโลก
4) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาความเหมาะสมการก่อสร้างศูนย์อุบัติภัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
2.3 การส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.3.1 ข้อเสนอของภาคเอกชน มีดังนี้
1) ส่งเสริมความร่วมมือรายสาขากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยดำเนินการ
* ขยายฐานการผลิตทางการเกษตร โดยยกเว้นภาษีนำเข้าพืชทดแทนพลังงาน ยางพารา พริก ภายใต้ One Way Free Trade
* สนับสนุนมาตรการสนับสนุนด้านการเงิน โดยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และให้มีมาตรการประกันความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน (Investment Risk Insurance)
* อำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ Cross Border Overland Tour ภายใต้ ACMECS โดยเร่งรัดมาตรการอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน โดยใช้บัตรผ่านแดน และบัตรผ่านแดนชั่วคราว สำหรับนักท่องเที่ยวจากพม่าที่เดินทางเข้ามาเป็นหมู่คณะ ที่ผ่านบริษัทนำเที่ยวไทยที่จดทะเบียนไว้กับ ททท. ภายใต้มาตรการควบคุมที่เหมาะสม
* การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านพม่า โดยเจรจากับพม่าในการปรับปรุงเส้นทางบ้านว้าเล่ย์ อ.พบพระ กับบ้านหนองหลวง อ.อุ้มผาง ผ่านพม่า 28 กิโลเมตร เพื่อรองรับพื้นที่โครงการ Contract Farming และการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ อ.อุ้มผาง ปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 105 แม่สอด-แม่สะเรียง 53 กิโลเมตร โดยลดระดับความลาดชันเพื่อให้รถประจำทางและรถบัสใหญ่สามารถใช้เส้นทางระหว่างแม่ฮ่องสอน-กรุงเทพฯ และเปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ พัฒนาสนามบินแม่สอดให้เป็นสนามบินภายในประเทศของพม่า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางอากาศโดยเฉพาะผักและผลไม้เมืองหนาว สนับสนุนการใช้สนามบินตากที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ต่อการขนส่งและท่องเที่ยว 3 จังหวัด คือ ตาก-สุโขทัย-กำแพงเพชร โดยบูรณะเส้นทางจากกำแพงเพชรถึงสนามบินตาก (หมายเลข 1132) ประมาณ 80 กิโลเมตร ด้าน สปป.ลาว เจรจายกระดับจุดผ่อนปรนช่องภูดู่ เป็นจุดผ่านแดนถาวร และให้ความช่วยเหลือ สปป.ลาว ก่อสร้างเส้นทาง จากช่องภูดู่ ถึงบ้าน แก่นสาว เมืองปากลาย ระยะทาง 29 กิโลเมตร
* การบริหารนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยเจรจากับพม่าเพื่อจัดตั้งสถานกงสุลของไทยที่เมืองเมียวดี และพม่า จังหวัดตาก และมอบหมายให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นลงนามเมืองคู่แฝด (Sister City) ระหว่างเมืองเมียวดี-แม่สอด และให้มีกลไกที่สนับสนุนการบริหารจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน ให้สามารถดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจ ACMECS ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในด้านการค้าชายแดน
2) เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด-เมียวดี Co-Production Area ผลประโยชน์ร่วม 2 ประเทศ โดยเร่งรัดการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 2 ฝ่าย ให้ความช่วยเหลือพม่าในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมแรงงานเข้าสู่ภาคการผลิตในอนาคต และเร่งรัดการยกร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้เกิดกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว
3.3.2 ความเห็นที่ประชุม
1) การพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ IMT-GT, JDS, ACMECS, GMS อยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการพัฒนาความ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน จึงเห็นควรมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) รับประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปพิจารณาภายใต้คณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ต่อไป
2) การยกเว้นภาษีพืชเป้าหมายภายใต้ One Way Free Trade เห็นควรพิจารณาสนับสนุนเฉพาะผู้ประกอบการไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่มีการลงทะเบียนในโครงการ Contract Farming เนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งให้ความช่วยเหลือในการยกระดับรายได้ของประชาชนในบริเวณชายแดน ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับระบบการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) การสนับสนุนการพัฒนาสนามบินแม่สอดให้เป็นสนามบินภายในประเทศของพม่า เห็นควรให้ สศช. และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานโดยให้พิจารณาการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
4) การสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน 2 ประเทศ เห็นควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกันในพื้นที่คาบเกี่ยว 2 ประเทศ โดยให้ใช้แรงงานของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นหลัก
5) การใช้แรงงานต่างด้าวและการจัดระบบแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนในอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน เห็นควรให้มีมาตรการจูงใจสำหรับการใช้แรงงานต่างด้าวเฉพาะบริเวณชายแดน เพื่อป้องกันมิให้แรงงานต่างด้าวทะลักเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของประเทศ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้มีการพิจารณาจัดระบบแรงงานทั้งระบบ รวมทั้งการบริหารจัดการแรงงานตามแนวชายแดนแล้ว และคาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548
3.3.3 มติที่ประชุม
1) ให้รวมเอาเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตกลงและความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ได้แก่ IMT-GT, JDS, ACMECS, GMS และ BIMSTEC มาอยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดท่าทีและแนวทางความร่วมมือ รวมทั้งขับเคลื่อนความร่วมมือให้เป็นรูปธรรม
2) มอบหมายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) รับไปพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนโดยเฉพาะการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายแดนเพื่อดำเนินการร่วมกัน 2 ประเทศ
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเห็นชอบ ขอได้โปรดอนุมัติมติที่ประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-