สรุปผลการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เรื่องบรรยากาศการลงทุนและความสามารถในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 24, 2006 15:16 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          6.2)  ประเทศเกาหลี  
6.2.1) ในปี 1969 ได้ก่อตั้ง Korea Highway Corporation (KHC) โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลด้านการก่อสร้างเส้นทางหลักในประเทศ จนถึงปี 1988
6.2.2) ในปี 1989 KHC ได้รับเงินทุนเพิ่มขึ้นสำหรับขยายแผนการก่อสร้าง
6.2.3) ในปี 1994 ได้มีการประกาศใช้ PPI Law (The Private Participation in Infrastructure program) และได้มีการทบทวนกฎหมายนี้ในปี 1998
6.2.4) ในปี 2000 มีการเปิดใช้เส้นทางหลักระยะทางทั้งสิ้น 2,131 กิโลเมตร สำหรับแผนการก่อสร้างระหว่างปี 2001 ถึงปี 2006 ประกอบด้วย การสร้างทางด่วนเส้นใหม่ระยะทาง 720.9 กิโลเมตร และการขยายเส้นทางด่วนเดิมระยะทาง 348.7 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 19 ล้านล้านวอน ซึ่งจัดสรรมาจากการรายได้ 7 ล้านล้านวอน การสนับสนุนของรัฐบาลและการกู้ยืมจากแหล่งภายนอก 12 ล้านล้านวอน
7) บทเรียนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
7.1) ทั้ง 2 ประเทศมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ละเอียดชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ซึ่งทำให้การเมืองไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงได้
7.2) หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้ง JH และ KHC มีการดำเนินการเรื่องแผนงานและงบประมาณอย่างสอดคล้องกัน มีการจัดการที่เหมาะสมระหว่างบุคลากรและเทคโนโลยี
7.3) ระบบการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้เส้นทาง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหางบประมาณในการพัมนาโครงสร้างพื้นฐานได้ แต่การอัตราค่าธรรมเนียมของประเทศญี่ปุ่นสูงกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งประชาชนยอมรับได้เนื่องจากเศรษฐกิจดี
7.4) การเวนคืนที่ดิน เป็นปัญหาสำคัญในการสร้างถนน ในประเทศญี่ปุ่นนั้น เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตามกฎหมายในการปกป้องที่ดินของตนเอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป การให้อำนาจเรื่องการเงินในการเวนคืนที่ดินจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
7.5) การรวมเงินทุนจากภาคเอกชนมาลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรทำ โดยใช้ช่องทางการจำหน่ายพันธบัตร
2.2.6 เรื่องที่ 6 การเข้าถึงแหล่งเงินทุน: กรณีศึกษา SMEs ของประเทศจืน
1) แนวโน้มที่สำคัญทางการเงินของ SMEs ในประเทศจีน คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังมีข้อจำกัดหรือมีเพียงจำนวนน้อย โดยสัดส่วนเงินกู้ในสถาบันการเงินหลักมีเพียง 16 % และมีสัดส่วน NPL ที่สูงเมื่อเทียบกับจำนวนการกู้ยืม รวมทั้ง มีการใช้หาแหล่งเงินทุนนอกระบบสูง
1.1) ปัญหาในการสนับสนุน SMEs ทางการเงิน คือการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการปิดกั้นการพัฒนา SMEs และจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 66 ของกลุ่มตัวอย่างมีความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
1.2) อุปสรรคในระดับมหภาค ประกอบด้วย ตลาดทุนไม่มีหน้าที่ในการสนับสนุนทางการเงินสำหรับ SMEs ภาคการธนาคารยังมีการแข่งขันน้อย ปัญหาด้านอัตราดอกเบี้ยซึ่งรัฐบาลควบคุม และการกำหนดให้มีสินทรัพย์ค้ำประกัน การสนับสนุนเงินทุนให้ SMEs มีวัตถุประสงค์ในเชิงการช่วยเหลือสังคมไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจากไม่มีความมั่นใจว่า SMEs
สามารถชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงได้หรือไม่ และสภาวะแวดล้อมด้านความเชื่อมั่น สังคม กฎหมาย ยังไม่เอื้ออำนวย
1.3) อุปสรรคในระดับจุลภาค ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยของธนาคารยังขาดระบบเทคโนโลยีในส่วนของการปล่อยสินเชื่อ วัฒนธรรมในการให้สินเชื่อและการบริหารจัดการยังไม่สามารถปรับให้เข้ากับการกู้ยืมของ SMEs ความไม่สมดุลย์ของระบบข้อมูลข่าวสาร และการดำเนินการที่ด้อยประสิทธิภาพของภาครัฐ
2) ในปัจจุบัน ประเทศจีนได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้แก่
2.1) การรับประกันสินเชื่อ
2.2) ธนาคารกลางได้แก้ไขปัญหาอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนกันยายน ในปี 2004
2.3) ได้มีโครงการนำร่องในการให้กู้ยืมในหลายจังหวัด
2.4) ได้กำหนดแนวทางสำหรับธนาคารพาณิชย์ในการให้ SMEs กู้ยืม โดยในเดือนกรกฎาคม 2005 ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการส่งเสริมสถาบันต่างๆ ให้สนับสนุนการกู้ยืมของ SMEs
2.5) การจัดตั้งสำนักงานสินเชื่อ
2.6) ปรับปรุงกฎหมายด้านสินทรัพย์ เช่น กฎหมายการล้มละลาย เป็นต้น
2.7) รัฐบาลในระดับท้องถิ่นเข้ามาช่วยในการปรับปรุงปัจจัยแวดล้อมทางด้านสังคมและการสร้างความเชื่อมั่น
3) บทเรียนจากประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนา SMEs และนโยบายการส่งเสริมด้านเงินทุน
3.1) ประเทศสเปน ได้นำเสนอแนวคิดในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
3.1.1) นโยบายที่มีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วย
(1) การปรับปรุงสวัสดิการของสังคมโดยขจัดสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องและความล้มเหลว
(2) ผู้ยกร่างนโยบายควรมีข้อมูลที่ละเอียดและมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารที่เพียงพอ รวมทั้ง สามารถ ชี้ให้เห็นถึงผลที่จะได้รับทั้งในระยะกลางและระยะยาว
3.1.2) เครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุน SMEs ประกอบด้วย
(1) การให้สินเชื่อโดยตรง จะเหมาะสมกับระบบตลาดทุนที่มีจุดอ่อน แต่ปัญหาคืออาจสร้างความขัดแย้งในอุตสาหกรรม และเป็นการจัดสรรทรัพยากรแบบแยกส่วนและเปิดช่องทางในการหาประโยชน์ให้ผู้มีตำแหน่งทางการเมือง
(2) แผนการประกันสินเชื่อ ใช้ในกรณีขาดแคลนหลักทรัพย์ ในการค้ำประกันเงินกู้ แต่การดำเนินการอาจมีปัญหาคือ ความเสี่ยงด้านจริยธรรม
(3) Venture Capital เป็นแนวทางสำคัญภายหลังจากได้ลดอุปสรรคโดยทั่วไปแล้ว
3.2) กรณีของนโยบายพัฒนา SMEs ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
3.2.1 การพัฒนา SMEs ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระยะที่แตกต่างกับประเทศจีน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็น SME มาแต่ดั้งเดิม
3.2.2 องค์ประกอบหลักจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs มี 3 ประการ คือ แหล่งเงินทุน แหล่งสนับสนุนการกู้ยืม และแหล่งยกระดับการลงทุน
3.2.3 การสนับสนุนทางการเงินอยู่ภายใต้ภาวะการแข่งขัน
3.2.4 การสนับสนุนเกิดจากการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
3.2.5 การช่วยเหลือทางการเทคนิค การเงิน และการตลาด
3.2.6 การทำสัญญารับช่วงต่อในอุตสาหกรรมชิ้นส่วน ยานยนต์และอุตสาหกรรมใยสังเคราะห์ รัฐบาลมีการสนับสนุนในเชิงเทคนิคด้านให้การคำแนะนำ เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น
3.3) ประเทศเกาหลี มีระบบการสนับสนุน SMEs ในด้านต่างๆดังนี้
3.3.1 ด้านเทคนิค ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกอบรม บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ความร่วมมือในด้านการวิจัยพัฒนา สิทธิพิเศษทางการเงิน องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีจากสถาบันวิจัยภาครัฐ และหน่วยงานในภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร
3.3.2 ด้านการตลาด ประกอบด้วย การลดต้นทุนทางการตลาด โดยมีองค์กร Korea Trade Promotion Corporation (KOTRA) ซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในตลาดต่างประเทศ การวิจัยตลาด รวมทั้ง ให้ความช่วยเหลือในการออกงานแสดงสินค้าและการหาตลาดในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมี Korea Traders Association (KTA) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ร่วมมือกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ
3.3.3 ด้านความช่วยเหลือทางการเงิน โดยภายหลังจาก ปี 1980 ได้มีการสนับสนุนสินเชื่อให้กับ SMEs และ การงดเว้นภาษีเพื่อการปรับโครงสร้าง นอกจากนี้ มีการสนับสนุนการทำสัญญารับช่วงต่อก็เป็นแนวทางที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น
3.3.4 รูปแบบของนโยบายที่ประเทศเกาหลีได้นำมาปรับใช้ ประกอบด้วย
(1) การจัดตั้งองค์กรและสร้างความร่วมมือ โดย การเชื่อมโยง SMEs ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน การให้สินเชื่อพิเศษและงดเว้นภาษีให้ SMEs ที่อยู่ภายใต้องค์กร เชื่อมโยงการตลาดและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ เพื่อการฝึกอบรมเพิ่มเติม และการทำสัญญารับช่วงต่อ (Subcontracting)
(2) การช่วยเหลือทางเทคนิค โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์การวิจัยพัฒนาของภาครัฐ เพื่อการเผยแพร่และนำเทคโนโลยีไปใช้ อำนวยความสะดวกในด้านการทำวิจัยและจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการทดสอบและทำต้นแบบ จัดตั้งศูนย์สนับสนุน ดูแลด้าน การถ่ายทอดเทคโนโลยี สิทธิบัตร การปรับใช้เทคโนโลยีทั้งจากภายในและภายนอกประเทศรวมทั้ง การเข้าถึงเป้าหมายโดยการเพิ่มสาขาในแต่ละพื้นที่
(3) การช่วยเหลือทางการตลาด ประกอบด้วยโครงการเชื่อมโยงและสร้างความร่วมมือทางการตลาดการเผยแพร่ข้อมูลทางการตลาดทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้า การสำรวจตลาด และการศึกษา ความต้องการของตลาดต่างประเทศ รวมทั้ง การฝึกอบรมด้านการค้าต่างประเทศและการส่งเสริมการขาย
(4) การช่วยเหลือทางการเงิน ได้ดำเนินการช่วยเหลือในการจัดหาเงินกู้ โดยผ่านทางความร่วมมือในส่วนต่างๆ การจัดตั้ง Public Funds :ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องของภาคเอกชน นอกจากนี้มีการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ R&D การส่งเสริมการส่งออก และการฝึกอบรม
4) แนวคิดบางประการที่สามารถปรับใช้สำหรับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ในประเทศจีน
4.1) การปรับปรุงระบบการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนเงินทุน SMEsระบบสินเชื่อของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ควรปรับให้มีการให้สินเชื่อให้ SMEs โดยเพิ่มจำนวนเงินทุนที่จะนำมาใช้ อัตราดอกเบี้ยควรมีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าปัจจุบันที่มีอัตราสูงเกินไป
4.2) จัดตั้งสถาบันเฉพาะทางที่ให้สินเชื่อแก่ SMEs โดยมีโครงสร้างและข้อบังคับที่จะป้องกันความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อแก่ SMEs
4.3) จัดให้มีระบบการให้สินเชื่อแก่ SMEs โดยมีตัวแทนของ SMEs เข้ามามีส่วนร่วม
4.4) งบประมาณของรัฐที่สนับสนุน SMEs โดยตรง ควรมีการจัดการบนพื้นฐานของการค้า มีความโปร่งใสในการให้สินเชื่อ มีระบบบัญชีที่ถูกต้อง
4.5) ปรับปรุงปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้เอื้อต่อการพัฒนา SMEs เช่น ระบบของกฎหมายที่รองรับ การประกันความเสี่ยง การสนับสนุนทางการคลังและภาษี การฝึกอบรมในด้านวิชาการและทางเทคนิค รวมทั้ง ระบบข้อมูลข่าวสารและที่ปรึกษา เป็นต้น
4.6) การปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารทางการเงินของ SMEs รวมถึงระบบบัญชีการเงินสำหรับ SMEs ซึ่งระบบข้อมูลนี้ควรรวมถึงการเก็บข้อมูล การเข้าถึง และการเรียกใช้ข้อมูลของ SMEs ซึ่งจะทำให้มีการสื่อสารระหว่างผู้สินเชื่อและ SMEs มากขึ้น
4.7) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างกิจการ ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งตลาดภายในประเทศ และเชื่อมโยงไปสู่การรับช่วงงานจากกิจการขนาดใหญ่ให้แก่กิจการขนาดเล็ก ทั้งนี้ ควรสนับสนุนให้เกิดตามกลไกธรรมชาติ
2.2.7 เรื่องที่ 7 กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนประเทศไทยได้มีการจัดเก็บข้อมูล บรรยากาศการลงทุนและการเพิ่มผลผลิต โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และธนาคารโลก ภายใต้โครงการการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย (Productivity and Investment Climate Survey: PICS)
1) เสียงจากธุรกิจในประเทศไทย
การศึกษานี้ พบว่า บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยจัดว่าอยู่ในระดับมาตรฐานสากล โดยบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยยังดีกว่าประเทศจีน อินเดีย บราซิล และประเทศเพื่อนบ้านโดยส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย
การดำเนินงานของกิจการในประเทศไทยมีอุปสรรคที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ กฎระเบียบภาครัฐ การขาดแคลนแรงงานทักษะ และการขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่นอกเขตกรุงเทพฯ จากการสำรวจพบว่า ข้อจำกัดที่มีความสำคัญต่อบรรยากาศการลงทุน คือ กฎระเบียบภาครัฐ อันได้แก่ "กฎระเบียบทางภาษี และ/หรือ การมีภาระภาษีสูง'' "ขั้นตอนระบบราชการ" "กฎหมายแรงงาน" "กฎระเบียบด้านการนำเข้า" และ "กฎข้อบังคับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน" อุปสรรคที่สำคัญต่อการดำเนินกิจการในประเทศไทยสิบอันดับแรก ได้แก่ การบริหารจัดเก็บภาษี อัตราภาษี และกฎระเบียบภาษีศุลกากรและการค้า นอกจากนี้อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ กฎหมายแรงงาน กฎระเบียบภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ได้แก่ กฎระเบียบทางภาษี และ/หรือ การมีภาระภาษีสูง ในขณะที่ขั้นตอนระบบราชการเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน นอกจากนี้กฎระเบียบภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม คือ กฎระเบียบภาษีศุลกากรและการค้า กฎระเบียบภาครัฐเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อกิจการขนาดใหญ่ กิจการที่ทำการส่งออกและกิจการของชาวต่างชาติ มากกว่ากิจการอื่นๆ โดยเฉพาะกฎระเบียบภาษีศุลกากรและการค้า เพราะว่ากิจการขนาดใหญ่ กิจการที่ทำการส่งออกและกิจการของชาวต่างชาติมีความเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบดังกล่าวโดยตรง
กิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ระบุว่ากฎระเบียบศุลกากรและการนำเข้า และกฎข้อบังคับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการ นอกจากนี้ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและขั้นตอนระบบราชการในเรื่องของระยะเวลาในการติดต่อกับหน่วยงาน
กิจการที่ทำการส่งออกมีความสัมพันธ์กับกฎระเบียบภาครัฐมากกว่ากิจการที่ไม่ทำการส่งออก ร้อยละ 64 ของกิจการที่ทำการส่งออก ระบุว่ากฎระเบียบภาครัฐเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ในขณะที่กิจการที่ไม่ทำการส่งออกระบุเพียงร้อยละ 52 โดยกฎระเบียบที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการที่ทำการส่งออก ได้แก่ กฎระเบียบด้านศุลกากร กฎข้อบังคับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และกฎระเบียบด้านการนำเข้า นอกจากนี้อุปสรรคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ระยะเวลาในการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ
กิจการของชาวต่างชาติระบุว่ากฎระเบียบภาครัฐเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการมากกว่ากิจการของชาวไทย ร้อยละ 67 ของกิจการของชาวต่างชาติระบุว่ากฎระเบียบภาครัฐเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการ ในขณะที่กิจการของชาวไทยระบุเพียงร้อยละ 55 โดยกฎระเบียบที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการของชาวต่างชาติ ได้แก่ กฎระเบียบด้านศุลกากร กฎข้อบังคับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและกฎระเบียบด้านการนำเข้า นอกจากนี้กิจการของชาวต่างชาติสูญเสียระยะเวลามากในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินกิจการและดำเนินงานตามกฎ
2) การสุ่มตัวอย่างการสำรวจของ PICS
การสำรวจครั้งนี้ ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งสิ้น 10 สาขา โดยเป็นอุตสาหกรรมการผลิต 9 สาขา และ 1 ธุรกิจบริการ ได้แก่ อาหารแปรรูป สิ่งทอ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ โดยแบ่งพื้นที่การสำรวจทั่วประเทศออกเป็น 7 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ตอนล่าง และภาคใต้ รวมสถานประกอบการที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น 1,518 สถานประกอบการ และหลังจากตัดข้อมูลสถานประกอบการที่มีความแตกต่างจากกลุ่มมาก (Outlier) ออกไปแล้ว คงเหลือสถานประกอบการสำหรับการวิเคราะห์จำนวน 1,255 สถานประกอบการ แบ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก 284 กิจการ ขนาดกลาง 468 กิจการ และขนาดใหญ่ 503 กิจการ สถานประกอบการเหล่านี้ประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอีกครึ่งหนึ่งกระจายอยู่ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งจากข้อมูลพื้นฐานพบว่ากิจการที่สำรวจร้อยละ 73 เป็นกิจการของคนไทย ร้อยละ 9 เป็นกิจการของชาวต่างชาติ และอีกร้อยละ 18 เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติ โดยเป็น กิจการที่ผลิตเพื่อจำหน่ายเฉพาะในประเทศร้อยละ 43 และที่มีการส่งออก ร้อยละ 57 โดยสัดส่วนการส่งออกแตกต่างกันไปตามประเภทอุตสาหกรรม
3) ประเด็นกฎระเบียบภาครัฐในประเทศไทย
กฎระเบียบภาครัฐมีความสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยในหลายๆพื้นที่ในประเทศไทย แต่กฎระเบียบภาครัฐมีความจำเป็นสำหรับพื้นที่ที่ต้องการการพัฒนา ถึงแม้ว่ากฎระเบียบภาครัฐของไทยไม่มีความคล้ายคลึงกัน แต่จากการสำรวจของ Investment Climate Assessment (ICAs)
พบว่ากฎระเบียบภาครัฐมีความสำคัญต่อกิจการในประเทศจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์แต่อย่างไรก็ตามขอบเขตของกฎระเบียบภาครัฐมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของกิจการ ในประเทศไทย การเริ่มต้นธุรกิจ การจดทะเบียนทรัพย์สิน และการจัดการด้านศุลกากรสามารถทำได้ง่าย โดยค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการติดต่อประสานงานกับราชการของไทยน้อยกว่าประเทศอื่นที่ทำการเปรียบเทียบ แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังล้าหลังเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการจัดการด้านภาษีศุลกากรส่งออก กฎหมายแรงงาน การจ้างแรงงานในท้องถิ่น ระยะเวลาในการติดต่อเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ยังประสบปัญหาในด้านระยะเวลาที่ไม่แน่นอนในการขอใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ และหนังสือรับรอง
กิจการของชาวไทยใช้ระยะเวลาน้อยในการติดต่อเพื่อดำเนินงานตามกฎและการจัดการด้านศุลกากรสินค้าส่งออก แต่ยังไม่เกื้อหนุนกันระหว่างแผนงาน ร้อยละ 1.8 ของเวลาในการดำเนินกิจการสูญเสียไปกับการติดต่อเพื่อดำเนินงานตามกฎ ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการจัดการด้านศุลกากรสินค้าส่งออก คือ 1.5 วัน ถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศบราซิล จีน อินเดียและฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้เวลามากกว่า 5 วัน ดังนั้น ควรรักษาความมีประสิทธิภาพในเรื่องของการจัดการด้านศุลกากรสินค้าส่งออก เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของผู้ส่งออกของไทย ผู้ดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ประสบปัญหาในด้านระยะเวลาในการติดต่อเพื่อดำเนินงานตามกฎน้อยกว่าผู้ดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน จากคำที่กล่าวแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งในการส่งเสริมการส่งออกของอุตสาหกรรมและความจำเป็นของการจัดการด้านศุลกากรและเอกสารที่ใช้ในการส่งออก
กิจการขนาดใหญ่ใช้เวลาในการติดต่อประสานงานกับราชการมากกว่ากิจการขนาดอื่น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้วถือว่าน้อยที่สุด กิจการของชาวไทยใช้เวลาเฉลี่ยในการติดต่อประสานงานกับราชการตามหน่วยงานต่างๆ 4.5 วัน ระยะเวลาที่ใช้ในการติดต่อประสานงานกับราชการครึ่งหนึ่งสูญเสียไปกับการติดต่อกับฝ่ายการคลัง หน่วยงานที่ใช้เวลาในการติดต่อประสานงานกับราชการมากลำดับถัดมา คือ แผนกงานอุตสาหกรรม (Industrial Work Department) โดยระยะเวลาที่กิจการขนาดใหญ่ใช้เวลาในการติดต่อประสานงานกับราชการนานที่สุด คือ 5.5 วัน แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่าดีกว่าประเทศอื่นที่ทำการเปรียบเทียบ
กิจการของชาวไทยใช้เวลาน้อยในการจัดการด้านศุลกากรสินค้านำเข้า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการด้านศุลกากรสินค้านำเข้าของไทย คือ 5 วัน ซึ่งมากกว่าระยะเวลาที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย เนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนและเครื่องจักรกลมีความสำคัญต่อความทันสมัยของกระบวนการผลิตของกิจการ ประเด็นการจัดการด้านศุลกากรสินค้านำเข้าจึงควรผลักดันให้เกิดการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
ระยะเวลาที่ใช้ในการขอใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ หรือหนังสือรับรองมีความไม่แน่นอน ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้ในการประสานงานของกิจการชาวไทยในการขอใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ หรือหนังสือรับรองน้อย แต่ไม่รู้ว่าจะได้รับใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ หรือหนังสือรับรองเมื่อไหร่ ระยะเวลาที่ใช้ในการขอใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ หรือหนังสือรับรองจากหน่วยงานรัฐต่างๆ และมิติหนึ่งของกฎระเบียบภาครัฐจากประสบการณ์ของกิจการที่เคยดำเนินการ การขอใบรับรองสิทธิจากกระทรงอุตสาหกรรมใช้ระยะเวลานานที่สุด การขอใบรับรองสิทธิจากกรมที่ดินมีความไม่แน่นอนมากที่สุด โดยความไม่แน่นอน หมายถึง 1. โอกาสเพียงร้อยละ 32 ที่จะได้รับใบรับรองสิทธิบัตรจากระทรวงพาณิชย์ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ในขณะที่เวลาโดยเฉลี่ยเพียง 10 วัน และ 2. โอกาสเพียงร้อยละ 5 ที่จะได้รับใบรับรองสิทธิบัตรภายในระยะเวลาอย่างน้อย 50 วัน
Number of Days to Obtain Different Licenses/Permits/Approvals/ Certificates
Avg. St.Dev. Coeff. Variat. Median N. Obs.
Ministry of Commerce 10 20 1.9 2 964
Department of Industrial Works 17 22 1.3 7 926
Immigration Department 10 14 1.4 3 80
Land Office 13 22 1.7 3 131
Local Government 10 15 1.6 2 419
กฎหมายแรงงานของไทยยังไม่เปิดกว้างมากนัก แต่ก็ยังเปิดกว้างมากกว่าประเทศจีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในปี ค.ศ.2004 ธนาคารโลกระบุว่ากฎหมายแรงงานของไทยไม่เปิดกว้าง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอินเดียหรืออินโดนีเซีย แต่ยังเปิดกว้างมากกว่าประเทศจีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังพบว่าในส่วนที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เช่น Low-end manufacturing industries นั้น ความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานจะยับยั้งความสามารถในการแข่งขันของกิจการในตลาดโลก ซึ่งกิจการจากประเทศต่างๆ มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ของตลาดแรงงานและสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายตามความเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
กฎหมายการจ้างแรงงานในท้องถิ่นเป็นอุปสรรคใหญ่ของกฎหมายแรงงานของกิจการในประเทศไทย กิจการในประเทศไทยกว่าร้อยละ 20 กล่าวว่ากฎหมายการจ้างแรงงานในท้องถิ่นเป็นอุปสรรคใหญ่ ซึ่งมากกว่ามาเลเซีย อย่างไรก็ตามกิจการในประเทศไทยไม่คิดว่ากฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข
ในขณะที่กิจการในประเทศมาเลเซียไม่คิดเช่นนั้น จากคำที่กล่าวมาชี้ให้เห็นในภาพรวมว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเป็นอุปสรรคต่อกิจการในประเทศไทย และกฎหมายแรงงานของไทยไม่เปิดกว้างมากกว่าประเทศอื่นที่ทำการเปรียบเทียบ จากการสำรวจของ PICs พบว่า กฎหมายตลาดแรงงานไม่ใช่ปัญหาพื้นฐาน แต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าการประเมินค่าของกฎหมายตลาดแรงงานไทยไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ยังมีแง่มุมอื่นๆอีก นั่นคือการควบคุมจากภาครัฐโดยการกำหนดเงื่อนไขผูกพันให้บริษัท
บรรยากาศการลงทุนของธุรกิจไทยเอื้ออำนวยต่อการก่อตั้งธุรกิจใหม่ ในแง่ของค่าเฉลี่ยของระยะเวลาและขั้นตอนที่ต้องการ แต่ความแปรปรวนสูง ในปี ค.ศ.2004 ระยะเวลาที่ต้องการในการเริ่มกิจการใหม่ในประเทศไทย (33 วันและ 8 ขั้นตอน) ใกล้เคียงกับระยะเวลาที่ต้องการในประเทศมาเลเซีย (30วันและ 9 ขั้นตอน) แต่ยังมากกว่าระยะเวลาที่ต้องการในประเทศสิงคโปร์ (8 วันและ 7 ขั้นตอน) จากการสำรวจพบว่าระยะเวลามีความหลากหลายขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ติดต่อและลักษณะของความต้องการของแต่ละหน่วยงาน โดยหน่วยงานเฉพาะด้าน เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในกระบวนการขอใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ หรือหนังสือรับรองมากกว่าหน่วยงานส่วนกลางของรัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่น นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่ากิจการของชาวไทยขอใบอนุญาตดำเนินการที่ใช้ในตอนเริ่มต้นกิจการบ่อยครั้งมากกว่าการขอใบรับรองสิทธิหรือหนังสือรับรอง เพียงร้อยละ 8 ของกิจการของชาวไทยที่หันไปอาศัยหน่วยงานที่ปรึกษาเพื่อจัดการเกี่ยวกับเอกสารทางราชการ ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับกิจการในประเทศมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย จากการสำรวจสื่อให้เห็นว่า 1. ความยืดหยุ่นในกฎหมายไทยน้อย 2. สมรรถภาพของกิจการในการติดต่อมาก หรือ 3.การเข้าถึงหรือการหาได้ง่ายของบริการในประเทศไทยยังน้อย
ระยะเวลาในการได้รับบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศไทย เช่น ไฟฟ้า การเชื่อมต่อโทรศัพท์ นั้น มากกว่าประเทศอื่น ถึงแม้ว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับใบรับรองสิทธิ ใบอนุญาตดำเนินการ หรือหนังสือรับรองสำหรับการเริ่มต้นกิจการของประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 33 วัน แต่ในการขอหรือขยายไฟฟ้า หรือการเชื่อมต่อโทรศัพท์กว่าจะได้รับอย่างช้าที่สุด คือ 1 เดือน ระยะเวลาที่ใช้ในการขอและเชื่อมต่อของประเทศไทยมากกว่าประเทศจีนหรือมาเลเซีย ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 20 วัน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ