การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประจำปี 2549 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ(Institute for Management Development:IMD)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 16, 2006 15:22 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1.  ภาพรวมและประเด็นสำคัญ 
สถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management Development: IMD) ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศและกลุ่มประเทศ ทั้งนี้ความสามารถในการแข่งขันแสดงถึงความสามารถ 2 ประการ
1.1 การบริหารจัดการความสามารถและทักษะความชำนาญต่างๆ ภายในบริษัทหรือชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์
จากทุนทรัพยากรและทุนความรู้อย่างเต็มที่ ซึ่งรายงานประจำปี 2549 ของ IMD ได้ใช้เกณฑ์ 312 เกณฑ์ในการอธิบายว่าประเทศและบริษัทได้
ดำเนินงานอย่างไร ในการสร้างและใช้ประโยชน์จากความมั่งคั่ง
1.2 การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับตัวให้ดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่า การแข่งขันเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่ง
ขันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ดังนั้นกฎของความสามารถใน การแข่งขันคือการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้สิ่งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2549
และ ในอนาคตอันใกล้ ได้แก่
1) สหรัฐอเมริกายังคงใช้จ่ายเกินตัว ดังนั้นแม้ว่าสหรัฐฯจะยังคงเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันมากที่
สุด แต่ระยะห่างจากประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์มีความแตกต่างน้อยลง
2) ความกังวลในการใช้งบประมาณขาดดุลของสหรัฐฯ ในประเด็นขนาดของการขาดดุล และการพึ่งพาเงินออมจาก
ต่างประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล โดยรัฐบาลกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 12 ครั้ง เพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ และเพื่อหลีกเลี่ยงการลดลงของ
ค่าเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะสามารถดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้นานเพียงใด เมื่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มต้นทุนของเงิน
ของประชาชนและบริษัท
3) จีนยังคงต้องการวัตถุดิบจำนวนมาก โดยในปี 2548 จีนบริโภคประมาณร้อยละ 20-30 ของวัตถุดิบสำคัญ เช่น
อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ถ่าน และซีเมนต์ ทำให้ราคาวัตถุดิบ สินค้า และพลังงานพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งความตึงเครียดทางด้านราคาคงจะ
ไม่บรรเทาลงไปได้ในเร็ววัน ยิ่งอินเดียกำลังตามรอยจีนในด้านความต้องการวัตถุดิบจำนวนมาก โดยในปี 2548 เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 8.1 ส่วนจีน
เติบโตร้อยละ 9.9
4) ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไป ในปี 2548 แม้ว่าราคาสินค้าและวัตถุดิบจะสูงขึ้น
มาก ซึ่งตามทฤษฏีแล้วย่อมไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกในปี 2548 นั้นเติบโตเป็นอย่างมาก โดย 22 ประเทศจาก 61 ประเทศ
มีอัตราการเติบโต ร้อยละ 5 อีก 39 ประเทศ สูงกว่าร้อยละ 3 และ 48 ประเทศสูงกว่า ร้อยละ 2 การเติบโตเช่นนี้ถือเป็นเศรษฐกิจโลกที่ดีที่สุดนับ
ตั้งแต่ปี 2543 โดยมีเพียงอิตาลีประเทศเดียวที่เศรษฐกิจไม่ได้มีการเติบโต ซึ่งสาเหตุของความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลกเกิดจากที่มาของการเติบโต
ได้เปลี่ยนไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่เดิมการเติบโตจำกัดอยู่ที่โลกอุตสาหกรรมและเชื่อมกับอำนาจซื้อของประชาชน แต่ในปี 2541 การเติบโตเกิด
จากการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันปัจจัยของการเติบโต คือ การเกิดขึ้นของตลาดใหม่ๆ ใน
เอเชีย รัสเซีย และประเทศในแถบ ละตินอเมริกา รวมถึงแอฟริกา ซึ่งมีประชากรจำนวนมาก โดยปัจจุบันโลกมีประชากร 6.4 พันล้านคน และคาดว่า
จะเพิ่มขึ้น 1 พันล้านคน ทุกๆ 15 ปี จนถึงปี 2593 ถึงจะคงที่ ซึ่งจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 45 ปีต่อจากนี้คาดว่า 500 ล้านคน จะอยู่ในละติ
นอเมริกา 950 ล้านคนในแอฟริกา และ 1.6 พันล้านคนในเอเชีย ซึ่งการเติบโตของประชากรจะสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยตลาด
ใหญ่ 4 ตลาดจะมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย สหภาพยุโรป ตามด้วยตลาดขนาดกลาง 3 ตลาด ได้แก่ ญี่ปุ่น บราซิล และรัสเซีย
5) รัฐบาลเป็นภาระต่อความสามารถในการแข่งขัน ในปี 2549 IMD ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการบริหารของ
รัฐบาลว่าเป็นปัจจัยเสริมหรือเป็นปัจจัยถ่วง โดยได้มีการเปรียบเทียบระหว่างสภาพเศรษฐกิจกับประสิทธิภาพของภาครัฐว่ามีผลต่อความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศแตกต่างกันอย่างไร
รายงานชี้ให้เห็นว่าความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลได้กลายเป็นปัจจัยถ่วงรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ของรัฐบาลบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาที่ยังคงประสบกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณ 318 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีหนี้สินมากถึง 8,000 พัน
ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งรัฐบาลอิตาลี ฝรั่งเศส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น เวเนซูเอล่า อาร์เจนติน่า
บราซิล และเม็กซิโก ซึ่งไม่สามารถปรับการสร้างสภาวะแวดล้อมทางนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การขาดดุลงบ
ประมาณ ภาระหนี้ ภาษี และระบบราชการ เป็นต้น ในกรณีของอินเดียและจีนกำลังเผชิญกับปัญหาช่องว่างซึ่งเกิดจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ
อย่างรวดเร็ว โดยในปี 2548 อัตราการขยายตัวของอินเดียเท่ากับร้อยละ 8.1 ในขณะที่จีนสูงถึงร้อยละ 9.9 ทำให้รัฐบาลของทั้งสองประเทศ
มีภารกิจที่สำคัญในการยกระดับการบริหารจัดการให้ทันกับมาตรฐานและความคาดหวังของระบบเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการยกระดับขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รัฐบาลต้องเป็นพลังสำคัญในการนำทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในส่วนของไทย ระบบเศรษฐกิจและการดำเนินงานของภาครัฐมีผลต่อ ความ สามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับ
เดียวกัน ซึ่งในปีนี้ทั้งสภาวะเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐประสบปัญหาทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ปัญหาความวุ่นวาย
ทางการเมืองและสังคม อันเป็นผลให้อันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของไทยตกไป 5 อันดับ ขณะที่ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และฮ่องกง เป็น
ตัวอย่างที่ดีในการประสานนโยบายของรัฐบาลให้เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
6) ความสำคัญของจุดที่ตั้ง ตลาดใหม่ในเอเชีย รัสเซีย ประเทศในแถบมหาสมุทร ละตินอเมริกาและแอฟริกา ไม่
เพียงเสนอโอกาสในการแสวงหารายได้ แต่ยังให้โอกาสสำหรับบริษัทในการย้ายสินทรัพย์และกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นผลให้ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่าน
มา ผลิตภาพได้เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) คุณภาพ และการปรับโครงสร้างใหม่ เพื่อให้การทำงานดีขึ้น (2)
การจัดจ้างคนนอกให้ทำงานแทน เพื่อให้การทำงานถูกลง และ (3) โลกาภิวัตน์ เพื่อใช้ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ดีที่สุดทั่วโลก ทั้งนี้บริษัทข้าม
ชาติที่โอนทุนและกระบวนการไปต่างประเทศ จะเกิดความเสี่ยงในการสร้างคู่แข่งของตัวเองในอนาคต การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของบริษัทและแบรนด์
ท้องถิ่นในจีนและอินเดียเป็นตัวอย่างที่ดีในประเด็นนี้
7) "คน" เป็นปัจจัยพื้นฐานในความสามารถแข่งขันของประเทศ เพื่อการสร้างความ มั่งคั่ง ความมุ่งมั่นไปสู่ความ
สำเร็จและความขยันเป็นคุณสมบัติที่ไม่สามารถทดแทนได้ในการพัฒนาไปสู่ระดับความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ค่าแรงและชั่วโมงการทำงานที่เหมาะ
สมเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการตั้งบริษัท อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตไม่ได้แข่งขันกับแรงงานค่าจ้างถูกอย่างเดียว แต่ต้องแข่งขันกับแรงงานมีฝีมือ
ค่าจ้างถูกด้วย ปัจจุบันนี้รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนักวิจัยมากที่สุด อินเดียมีชื่อเสียงทางด้านนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีคุณภาพ โดยมีการคาดการณ์
กันว่าจะมีแรงงานที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยถึง 33 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนา เทียบกับ 14 ล้านคนในประเทศอุตสาหกรรม
กล่าวโดยสรุป ความสามารถในการแข่งขันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความสามารถและทักษะอันหลากหลายของชาติและบริษัท โดยการจัด
อันดับความสามารถในการแข่งขันเป็นการพิจารณา เชิงเปรียบเทียบไม่ใช่เชิงสมบูรณ์ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบสถานะของประเทศในโลก ว่าปัจจุบัน
ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งใด ทำไมถึงอยู่ที่ตำแหน่งนี้ ในอนาคตประเทศไทยจะก้าวไปสู่ตำแหน่งใด และต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อปรับปรุงตำแหน่ง
ของประเทศในระดับโลก ดังนั้นปัจจัยทั้งภายในและภายนอกจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก และมี
นัยสำคัญต่อสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจของประเทศ อย่างไรก็ดีความสามารถในการแข่งขันของประเทศไม่ควรจำกัดความหมายไว้เพียงการเติบโต
ของ GDP การเพิ่มผลิตภาพ หรือผลกำไรเท่านั้น แต่จะต้องหมายรวมถึงการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาหรือความมั่งคั่ง (Wealth) สู่ประชาชน
ในรูปของบริการสาธารณสุขและการศึกษา การยกระดับคุณภาพชีวิต และมิติด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรมด้วย
2. เกณฑ์การจัดลำดับของ IMD
ในปี 2549 IMD ได้เพิ่มจำนวนประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจที่ใช้จัดลำดับความสามารถในการแข่งขันจาก 60 เป็น 61 โดยได้เพิ่ม
ประเทศใหม่ 2 ประเทศ ได้แก่ บัลแกเรีย และโครเอเชีย โดยมีเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งหมด 8 กลุ่ม ได้แก่ Bavaria (เยอรมัน) Catalonia
(สเปน) LLe-de-France (ฝรั่งเศส) Lombardy (อิตาลี) Maharashtra (อินเดีย) Scotland (สหราชอาณาจักร) the State of
Sao Paulo (บราซิล) และ Zhejiang (จีน)
เกณฑ์การจัดลำดับประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก คือ (1) เศรษฐกิจ (Economic Performance) (2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ
(Government Efficiency) (3) ประสิทธิภาพของภาคเอกชน (Business Efficiency) และ (4) โครงสร้างพื้นฐาน
(Infrastructure) ซึ่งในแต่ละด้านประกอบด้วย 5 ปัจจัยย่อย ทั้งนี้ IMD ได้ใช้เกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งหมด 312 เกณฑ์ แต่เกณฑ์ที่นำมาใช้ในการ
จัดลำดับมีทั้งหมด 239 เกณฑ์ อีก 73 เกณฑ์ เป็นข้อมูลพื้นฐาน ไม่ได้นำมาใช้ในการจัดลำดับ
สำหรับข้อมูลหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ข้อมูลสถิติ ที่ได้จากแหล่งข้อมูลทั้ง
ภายในประเทศ ภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งสถาบันเครือข่าย 58 สถาบัน จำนวน 126 เกณฑ์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 66
และ (2) ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร จำนวน 113 เกณฑ์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33
การคำนวณเกณฑ์ต่างๆ ทั้ง 239 เกณฑ์ เพื่อใช้จัดลำดับความสามารถ คิดจากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ย การจัดลำดับปัจจัยย่อย
20 ปัจจัย คิดจากค่าเฉลี่ยของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย และคะแนนรวม คิดจากผลรวมของค่าต่างๆ ของปัจจัยย่อย
3. การจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันประจำปี 2549 ของ IMD
การจัดลำดับของประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 61 กลุ่ม โดยประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความ
สามารถในการแข่งขันสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ ไอซ์แลนด์ และเดนมาร์ก ตามลำดับ (4 ลำดับแรกไม่มี
การเปลี่ยนแปลง) สำหรับประเทศกลุ่มอาเซียนจำนวน 5 ประเทศ นอกจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับการจัดลำดับอยู่ลำดับที่ 3 นั้น อีก 4 ประเทศ คือ
มาเลเซีย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ได้รับการจัดลำดับอยู่ที่ลำดับ 23, 32, 49 และ 60 ตามลำดับ
นอกจากการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของทั้ง 61 ประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจแล้ว IMD ยังได้จัดลำดับความสามารถในการแข่ง
ขันของกลุ่มประเทศที่มีขนาดประชากรและรายได้ ใกล้เคียงกัน โดยแบ่งเป็น ประเทศที่มีประชากรสูงหรือต่ำกว่า 20 ล้านคน และประเทศที่มี GDP สูง
หรือต่ำกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกันได้ระหว่างประเทศที่มีขนาด ใกล้เคียงกัน
ข้อสังเกตโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก
จากการเปรียบเทียบกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก 15 ประเทศ พบว่าขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศไทยถูกปรับลดลงจาก
อันดับ 8 ของกลุ่มในปี 2548 มาอยู่อันดับ 10 ขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ยังคงรักษาอันดับ 1 และ 2 ของกลุ่มไว้ได้เช่นเดียวกับปีที่แล้ว จีนปรับตัวดี
ขึ้นจากอันดับที่ 11 ของกลุ่มในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับที่ 6 ในปี 2549 อินเดียปรับตัวดีขึ้นมากเช่นเดียวกัน โดยปรับขึ้นจากอันดับ 12 ของกลุ่มในปี
2548 มาอยู่ที่ 9 ในปีนี้ ขณะที่ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียยังคงอันดับที่ 14 และ 15 ของกลุ่มเช่นเดิม
นอกจากนี้ IMD ยังได้ระบุถึงปัจจัยท้าทายที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญในปี 2549 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ไทย: การปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า
พลังงาน การพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรม เช่น ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
2. อินโดนีเซีย: ปัญหาชาตินิยมและการต่อต้านโลกาภิวัตน์ การปรับปรุงบรรยากาศในการลงทุนและแก้ปัญหาระบบราชการที่อ่อนแอ
ต้องการภาวะผู้นำทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อรับมือกับอุปสรรคข้างต้น แก้ปัญหาในปาปัวฯซึ่งดึงความสนใจไปจากความพยายามในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ
3. ฟิลิปปินส์: การเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ความเท่าเทียม และความเป็น
ธรรม ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนานโยบายเกี่ยวกับประชากรที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ปรับปรุงการกระจายโครง
สร้างพื้นฐานเพื่อลดเวลาในการขนส่งและต้นทุนการดำเนินการ เร่งจัดทำโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและการค้าระหว่าง
ประเทศ
4. เกาหลี: ฟื้นฟูการลงทุนของภาคเอกชน กระตุ้นการเติบโตในระดับการบริโภค ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และ
การค้าเสรี ลดผลกระทบของการผกผันในอัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยต่อการส่งออก แก้ปัญหาความแตกต่างทางรายได้และความ
แตกต่างระหว่างภาค
5. อินเดีย: ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ระดับผลิตภาพที่ต่ำ ปัญหาความยากจน การกีดกันทางเพศ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการ
คลังภาครัฐ
6. มาเลเซีย: การรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยผลิตภาพและปัจจัย เชิงคุณภาพ การปรับปรุงระบบการขนส่ง
ของภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรมของบริษัทในประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ใน
ตลาดโลก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าส่งเสริมขีดความสามารถของคนด้วยการพัฒนาการศึกษา
และการอบรมอย่างต่อเนื่อง
7. จีน: การบรรลุการพัฒนาที่มั่นคงและรวดเร็วและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมกัน การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างการลงทุน
ให้เหมาะสม และเพิ่มการลงทุนในชนบท การเพิ่มความสามารถด้านนวัตกรรมของบริษัทเพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ เร่งรัดการปฏิรูปสถาบัน
การเงิน รัฐวิสาหกิจ การคลังสาธารณะ และระดับราคา รวมทั้งรักษาความมั่นคงทางสังคม โดยดำเนินนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน และเพิ่มรายได้
ให้กับเกษตรกร
8. ไต้หวัน: เสริมสร้างทักษะและพัฒนาการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรม รักษามาตรฐานการดำรงชีพและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน
รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางการค้า พัฒนาบรรษัทภิบาล ดำเนินการปฏิรูปการเงินการคลังต่อไป
9. ญี่ปุ่น: หามาตรการรับมือกับประชากรสูงวัย สร้างกลไกของสังคมที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปรับโครงสร้างการคลัง
และการบริหารรัฐกิจ พัฒนานโยบายด้านเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ จัดตั้งโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และ
ภาควิชาการในสาขาสำคัญ
10. สิงคโปร์: ระบบเศรษฐกิจที่หลากหลายและเชื่อมโยงกับทั่วโลก ชาติที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์และการประกอบการธุรกิจ
11. ฮ่องกง: กระตุ้นไปสู่ความเป็นโลกาภิวัตน์ และเอื้ออำนวยการเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและเศรษฐกิจฐาน
ความรู้ สร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่น่าดึงดูด ส่งเสริมความเชื่อมโยงกับประเทศจีนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศแถบสามเหลี่ยม
ไข่มุก พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และดึงดูดผู้ที่มีความสามารถเข้ามาในประเทศ รักษาเสถียรภาพทางการคลังและขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น
4. สถานภาพการแข่งขันของประเทศไทย ปี 2549 ประเทศไทยถูกลดอันดับจาก 27 ในปี 2548 เป็น 32 ซึ่งเมื่อพิจารณาปัจจัยหลัก 4 กลุ่ม พบว่า
4.1 สมรรถนะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นมาตลอดในช่วง 3 ปีทื่ผ่านมา แต่ปี 2549 ลงมาอยู่ที่อันดับ 21
4.2 ประสิทธิภาพภาครัฐบาลตกจากอันดับ 14 ในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับ 21 ในปี 2549
4.3 ประสิทธิภาพภาคธุรกิจยังคงอยู่ในอันดับเดียวกับปี 2548 คือ อันดับ 28
4.4 โครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นจุดอ่อนและปัจจัยถ่วงความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาโดยตลอด ถูกปรับลดลงจากอันดับที่ 47
ในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับ 48 ในปี 2549
5. การวิเคราะห์ปัจจัยย่อยของ 4 กลุ่มปัจจัยหลัก
5.1 สมรรถนะเศรษฐกิจ อันดับลดลงจาก 7 เป็น 21 ทั้งนี้ ปัจจัยย่อยที่มีส่วนในการลดลงดังกล่าว คือ สภาพเศรษฐกิจในประเทศ ลด
จาก 44 เป็น 55 เมื่อพิจารณาขนาดเศรษฐกิจ พบว่า GDP ต่อหัว อยู่ในอันดับต่ำคือ 54 และ 51 (PPP) ส่วนการใช้จ่ายครัวเรือนและการใช้จ่าย
ภาครัฐก็อยู่ในอันดับต่ำ สัดส่วนการออมในประเทศต่อ GDP ก็ลดลง ขณะที่การลงทุนในประเทศปรับตัวดีขึ้น ด้านการเติบโตของเศรษฐกิจ อัตราการ
ขยายตัวที่แท้จริงของ GDP ลดจาก 6.2 เป็น 4.5 และ 5.25 เป็น 2.22 สำหรับอัตราการขยายตัวที่แท้จริงของ GDP ต่อหัว อันเป็นผลจากเงินเฟ้อ
อยู่ในอัตราที่สูง ขณะเดียวกันอัตราการขยายตัวที่แท้จริงของการออมในประเทศและการใช้จ่ายครัวเรือนก็ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับความสามารถใน
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนของความมั่งคั่งนั้น ปัจจัยย่อยอยู่ในอันดับต่ำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น GDP ต่อหัว การใช้จ่ายครัวเรือนและภาครัฐ การลง
ทุนและการออมต่อหัว สำหรับสมรรถนะเศรษฐกิจในอนาคต ประเมินว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ที่แท้จริงลดลง เงินเฟ้อสูงขึ้น การว่างงานลดลง
และสัดส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ดีขึ้น
-การค้าระหว่างประเทศ ดีขึ้นจากอันดับ 18 เป็น 15 ปัจจัยที่เป็นจุดแข็งคือรายรับจาก การท่องเที่ยว อยู่ในอันดับ 7 (ทั้ง
นี้เมื่อเปรียบเทียบกับมาเลเซียแล้ว ไทยยังอยู่ในอันดับต่ำกว่า) การส่งออกสินค้าต่อ GDP อันดับ 8 และอัตราส่วนการค้าต่อ GDP อันดับ 10 ส่วน
ปัจจัยที่ดีขึ้น คือการส่งออกภาคบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและอัตราการขยายตัวสูง (ทั้งนี้มูลค่ายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและอันดับลดลง) แม้ว่าอันดับโดยรวมของ
การค้าระหว่างประเทศจะดีขึ้น แต่ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้า และดุลบริการขาดดุลทั้งสิ้น อีกทั้งการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง สัดส่วนการนำ
เข้าต่อ GDP อยู่ในระดับสูง และอัตราการค้าอยู่ในระดับต่ำ
- การลงทุนระหว่างประเทศ ลดลง 2 อันดับ โดยมูลค่าการลงทุนโดยตรงในประเทศ และการลงทุนโดยตรงในต่าง
ประเทศแม้จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ดุลการลงทุนโดยตรงและฐานะสุทธิในสต็อกการลงทุนติดลบมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการไหลและสต็อกของการลงทุนโดย
ตรงในประเทศของต่างชาติเพิ่มขึ้นมากกว่าการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของคนไทย ซึ่งยังมีมูลค่า สัดส่วนต่อ GDP และอัตราการขยายตัวต่ำ ทั้งนี้
อัตราการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศลดลงมาอยู่ในอันดับที่ 47 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศคู่แข่ง เช่น
จีน อินเดีย มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น ขณะที่การส่งเสริมให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศยังมีไม่มากนัก และ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการขนาด
เล็ก เช่น ร้านอาหาร และสปา ส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แม้ว่าหนี้สินจะลดลง แต่ทรัพย์สินกลับติดลบ และอยู่ในอันดับต่ำมากโดยลดจาก 42
เป็น 58
- การจ้างงาน ยังคงเป็นจุดแข็งของไทย อัตราการว่างงานทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนต่ำเป็นอันดับ 1 สัดส่วนการจ้างงานต่อ
ประชากรอยู่อันดับ 5 และการจ้างงานโดยรวมอยู่อันดับที่ 11 ทั้งนี้อัตราการขยายตัวของการจ้างงานต่ำ ทำให้อันดับลดลงมาก อันเป็นผลให้อันดับโดย
รวมของปัจจัยการจ้างงานลดลงจาก 2 มาอยู่ในอันดับ 6
- ระดับราคา แม้ว่าค่าครองชีพในประเทศไทยจะลดลง อันดับดีขึ้นที่อันดับ 7 แต่อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคสูงขึ้นมาก
จาก 2.7 เป็น 4.5 (อันดับที่ 50) ทำให้อันดับโดยรวมของระดับราคาลดจาก 7 เป็น 9
โดยสรุปทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงในประเด็น GDP ต่อหัวการนำเข้า การออมการลงทุนในประเทศ การลงทุนใน
ต่างประเทศ และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
5.2 ประสิทธิภาพของภาครัฐ ลดลงจากอันดับ 14 เป็น 21 โดยปัจจัยย่อยทุกตัวของปัจจัยประสิทธิภาพภาครัฐ มีอันดับลดลงทุกตัว โดย
เฉพาะกรอบการบริหารด้านสถาบัน ลดลง 14 อันดับ กรอบการบริหารด้านสังคม ลดลง 9 อันดับ และกฎหมายธุรกิจลดลง 6 อันดับ
- กรอบการบริหารด้านสถาบัน ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนสำหรับปีนี้ ได้แก่ ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของรัฐ โดยปัจจัยย่อยทุกตัวมี
คะแนนและอันดับลดลงมาก ได้แก่ ความโปร่งใสของนโยบายรัฐ (อันดับ 52) การติดสินบนและทุจริตคอร์รัปชั่น สัมฤทธิผลของการตัดสินใจภาครัฐ
กรอบกฎหมายและกฎระเบียบของไทยในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ความเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองในการ
บริการของรัฐ ความเข้าใจในสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจของพรรคการเมือง และความสม่ำเสมอในทิศทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ขณะ
เดียวกันความสามารถในการปรับตัวของนโยบายรัฐลดลง และระบบราชการยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ ในส่วนของธนาคารกลาง
ปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ดี เสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่แท้จริงอยู่ใน
อันดับ 4, 10, 12 ตามลำดับ นโยบายธนาคารกลางค่อนข้างจะส่งผลในทางบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝากยังสูง ทำให้ต้นทุนของทุนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศยังอยู่ในอันดับต่ำที่ 44
- กรอบการบริหารด้านสังคม ปัจจัยย่อยที่มีอันดับลดลง คือ ความเสี่ยงด้านความไม่มั่นคงทางการเมือง ลำดับความสำคัญ
ของรัฐบาลต่อความปรองดองในสังคมยังอยู่ในระดับต่ำ บทบาทของสตรีในตำแหน่งการเมือง/นิติบัญญัติ เจ้าหน้าที่ระดับสูง และผู้บริหารยังต่ำกว่าเกณฑ์
โดยเฉพาะนักการเมืองหญิง อีกทั้งปัจจัยทางด้านความวุ่นวายในสังคมที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมใน การทำงาน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนความยุติธรรม
ในสังคมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เกินค่าเฉลี่ยเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในอันดับไม่ดีนัก คือ 32 และ 31 ตามลำดับ
- ด้านกฎหมายธุรกิจ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การเปิดประเทศ กฎระเบียบทางการแข่งขัน และกฎระเบียบแรงงาน ซึ่งการ
เปิดประเทศอันดับโดยรวมของไทยไม่ค่อยดี ยกเว้นการให้สิทธิพิเศษในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่ได้อันดับ 14 นอกนั้นแล้วอันดับค่อนข้าง
ต่ำ โดยเฉพาะปัจจัยด้านนักลงทุนต่างชาติซึ่งไม่สามารถเข้าถือครองธุรกิจในประเทศได้อย่างเสรี (อันดับ 56) เจ้าหน้าที่ศุลกากรไม่ค่อยเอื้ออำนวย
การขนส่งสินค้า นโยบายการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ และการทำธุรกรรมระหว่างประเทศไม่สามารถตกลงกับคู่
เจรจาต่างชาติได้อย่างเสรี นอกจากนี้การเข้าถึงตลาดทุนในประเทศและต่างประเทศยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และการทำสัญญาของภาครัฐซึ่งเปิด
กว้างให้ผู้ประมูลต่างชาติมีคะแนนลดลง ในส่วนของกฎระเบียบทางการแข่งขันนั้น ปัจจัยที่มีอันดับลดลง ได้แก่ การอุดหนุนของภาครัฐต่อ GDP เพิ่มขึ้น
ซึ่งมีส่วนบิดเบือนการแข่งขันที่เป็นธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ และการควบคุมราคาซึ่งมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าในภาคอุตสาหกรรม ปัจจัยนี้เป็นจุดอ่อน
ของไทยมานาน โดยในปีนี้อยู่ในอันดับที่ 55 ซึ่งต่ำมาก เช่นเดียวกับกฎระเบียบในการแข่งขันของไทยซึ่งไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแข่งขันที่ไม่
เป็นธรรม อยู่ในอันดับ 50 กฎระเบียบทางด้านสินค้าและบริการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจ ลดลงมาอยู่ที่ 42 การสนับสนุนทาง
กฎหมายในการตั้งธุรกิจและความง่ายในการทำธุรกิจ มีอันดับลดลง ขณะที่ความเข้มงวดของกฎระเบียบจำกัดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทสูง
ขึ้น อย่างไรก็ดีผลเสียของเศรษฐกิจนอกกฎหมายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมีอันดับดีขึ้น จำนวนวันใน การเริ่มต้นทำธุรกิจลดลง ทางด้านกฎระเบียบแรง
งาน แม้จะมีอันดับลดลงแต่ยังอยู่ในอันดับที่ดี ทั้งกฎหมายแรงงานที่ไม่ค่อยเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และกฎหมายการว่างงานที่ส่งผลดีกระตุ้นให้ผู้
ว่างงานหางานทำ อย่างไรก็ตามกฎหมายเข้าเมืองไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้บริษัทจ้างงานแรงงานต่างชาติ โดยมีอันดับลดลงมาอยู่ที่ 48
- นโยบายการคลัง อันดับโดยรวมของประเทศค่อนข้างดี ยกเว้นการเลี่ยงภาษีซึ่งส่งผลเสียต่อกิจกรรมทางธุรกิจ ไทยมี
อันดับลดลงมาอยู่ที่ 42 และภาษีนิติบุคคลที่จัดเก็บได้ยังมีสัดส่วนต่อ GDP สูงเมื่อเปรียบกับประเทศอื่น โดยจุดแข็งของนโยบายการคลัง อยู่ที่อัตราภาษี
ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บ การจ่ายค่าประกันสังคมของลูกจ้างและนายจ้าง รายได้ภาษีทางอ้อมต่อ GDP
และภาษีเงินได้บุคคลและนิติบุคคลที่แท้จริง ซึ่งไม่ทำให้แรงงานเสียกำลังใจจากการทำงาน และผู้ประกอบการในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ
- ฐานะทางการคลัง ปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ งบประมาณเกินดุล หนี้ต่างประเทศ ที่ลดลง และทุนสำรองระหว่าง
ประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนสัดส่วนหนี้ภาครัฐทั้งหมดต่อ GDP อยู่ในอันดับที่ดี ปัจจัยย่อยที่เป็นจุดอ่อน คือ อัตราการเติบโตที่แท้จริงของหนี้ภาครัฐ อยู่ในอันดับที่
47 เนื่องจากภาครัฐมีแผนสำหรับโครงการขนาดใหญ่รออยู่ ทำให้อัตราการเติบโตสูงขึ้นมาก รวมถึงสัดส่วนการจ่ายดอกเบี้ยต่อรายได้ และการบริหาร
การคลังภาครัฐ ซึ่งอันดับลดลงมาอยู่ที่ 33 และ 30 ตามลำดับ
โดยสรุปทางด้านประสิทธิภาพภาครัฐ ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงในประเด็นการบริหารงานของภาครัฐ เสถียรภาพการ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ