2. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการใช้แผนยุทธศาสตร์สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2005 โดย METI ทำหน้าที่ประสานและผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์นี้ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่ (1) การพัฒนาปฏิกิริยาการใช้เซลล์พลังงานในยานพาหนะ (2) การพัฒนา IT สำหรับธุรกิจ (3) การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในภาคการผลิตและบริการ (4) การจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้าในเอเชีย (5) การพัฒนาธุรกิจสุขภาพ (6) การพัฒนากฎระเบียบในการใช้เทคโนโลยีสำหรับสิ่งของหมุนเวียน (7) สนับสนุนการบริการจ้างงานจากภายนอก
Japan External Trade Organization (JETRO)
1. เป็นองค์กรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
2. สำนักงาน JETRO ที่กรุงเทพ จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในด้านการค้าและการลงทุน โดย:
-มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าไทยมาโดยตลอดเนื่องจากสินค้าส่งออกจากญี่ปุ่น (ได้แก่ เครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า) มีมูลค่าสูงกว่าสินค้านำเข้าจากไทย (ได้แก่ เครื่องจักร อาหาร และวัตถุดิบ)
-การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2540 ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ลงทุน และมูลค่าการลงทุน โดยเฉพาะในสาขาที่มิใช่อุตสาหกรรม
ไต้หวัน
Industrial Development Burear (IDB), Ministry of Economic Affairs
1. หน้าที่หลัก คือ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ผ่านการกำหนดนโยบาย และมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการทางด้านภาษี ตลอดจนมีการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วย
2. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จ มาจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาครัฐได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
Small and Medium Enterprise Administration (MOEA), Ministry of Economic Affairs
1. เป็นองค์กรที่รับผิดชอบการพัฒนา SMEs มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนา และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ
2. การพัฒนา SMEs ในไต้หวันมุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยมีปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อน ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
China Productivity Center (CPC)
เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยมีการทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล และติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเผชิญกับสิ่งท้าทายในกระแสโลกาภิวัตน์ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และโยกย้ายกระบวนการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก
Hsinchu Science Park
อุทยานวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ โดยมีการอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจและพักอาศัย ทั้งในเรื่องของการจัดระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน มีระบบภาษีอัตราพิเศษที่เอื้อต่อการลงทุน รวมทั้งมีสถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันการศึกษาอยู่รายรอบเพื่อพัฒนางานด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนเพื่อใช้ในกิจการ
จีน
Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park
1. มีบทบาทสำคัญในการนำนโยบายจาก ก.วิทย์ฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผลตามเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
2. ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่ (1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ด้านชีววิศวกรรมและการแพทย์แผนใหม่ (3) ด้านวัตถุดิบแนวใหม่และการประยุกต์ใช้ และ (4) ด้านพลังงานใหม่และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
3. นอกจากนี้ยังมีมาตรการจูงใจให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาดำเนินงานในอุทยานฯ ได้แก่ การลดหย่อนภาษีรายได้เพื่อกระตุ้นการลงทุน การส่งเสริมให้มีการร่วมทุนกับต่างประเทศ และลงทุนในต่างประเทศ
เวียดนาม Planning and Investment Department, Ministry of Trade
1. ในด้านการค้า เวียดนามสามารถเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้าข้าวในปี 1988 มาเป็นผู้ส่งออกในปี 1999 ได้สำเร็จ และเมื่อปี 1995 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน ส่งผลให้ต้องเปิดประเทศด้านการค้ามากขึ้น
2. ในด้านการลงทุน อุตสาหกรรมการต่อเรือได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เนื่องจากมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลมากถึง 3,000 ไมล์ เป็นสำคัญ
4. หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ
ญี่ปุ่น Panasonic Company
1. มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากต่อการลอกเลียนแบบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีรูปลักษณ์การออกแบบอย่างสากล
2. ยอดขายในประเทศไทยมีไม่มากนัก แต่มีการลงทุนส่วนใหญ่ในบริษัทที่ผลิตเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ และตั้งเป้าส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากไทยเป็นประเทศศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มความร่วมมือทางภูมิภาคที่สำคัญ อาทิ AFTA BIMSTEC และกลุ่มประเทศ CLMV
เวียดนาม
ADB
การดำเนินงานของ ADB มีเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คือ (1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูปนโยบาย (2) ความเท่าเทียมกันทางสังคม (3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ (4) การพัฒนาภูมิภาค
UNDP
บทบาทของ UNDP คือ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในกลุ่ม Creditors' Group ซึ่งให้เงินกู้ หรือความช่วยเหลือทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ แก่เวียดนาม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
Japan External Trade Organization (JETRO)
1. เป็นองค์กรที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
2. สำนักงาน JETRO ที่กรุงเทพ จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในด้านการค้าและการลงทุน โดย:
-มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าไทยมาโดยตลอดเนื่องจากสินค้าส่งออกจากญี่ปุ่น (ได้แก่ เครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า) มีมูลค่าสูงกว่าสินค้านำเข้าจากไทย (ได้แก่ เครื่องจักร อาหาร และวัตถุดิบ)
-การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2540 ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ลงทุน และมูลค่าการลงทุน โดยเฉพาะในสาขาที่มิใช่อุตสาหกรรม
ไต้หวัน
Industrial Development Burear (IDB), Ministry of Economic Affairs
1. หน้าที่หลัก คือ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ผ่านการกำหนดนโยบาย และมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการทางด้านภาษี ตลอดจนมีการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วย
2. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จ มาจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาครัฐได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและทักษะในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
Small and Medium Enterprise Administration (MOEA), Ministry of Economic Affairs
1. เป็นองค์กรที่รับผิดชอบการพัฒนา SMEs มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนา และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ
2. การพัฒนา SMEs ในไต้หวันมุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยมีปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อน ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
China Productivity Center (CPC)
เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยมีการทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล และติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในโลกอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งไปสู่ยุคนวัตกรรมใหม่ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเผชิญกับสิ่งท้าทายในกระแสโลกาภิวัตน์ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และโยกย้ายกระบวนการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูก
Hsinchu Science Park
อุทยานวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ โดยมีการอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจและพักอาศัย ทั้งในเรื่องของการจัดระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน มีระบบภาษีอัตราพิเศษที่เอื้อต่อการลงทุน รวมทั้งมีสถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันการศึกษาอยู่รายรอบเพื่อพัฒนางานด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนเพื่อใช้ในกิจการ
จีน
Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park
1. มีบทบาทสำคัญในการนำนโยบายจาก ก.วิทย์ฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผลตามเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
2. ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่ (1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ด้านชีววิศวกรรมและการแพทย์แผนใหม่ (3) ด้านวัตถุดิบแนวใหม่และการประยุกต์ใช้ และ (4) ด้านพลังงานใหม่และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
3. นอกจากนี้ยังมีมาตรการจูงใจให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาดำเนินงานในอุทยานฯ ได้แก่ การลดหย่อนภาษีรายได้เพื่อกระตุ้นการลงทุน การส่งเสริมให้มีการร่วมทุนกับต่างประเทศ และลงทุนในต่างประเทศ
เวียดนาม Planning and Investment Department, Ministry of Trade
1. ในด้านการค้า เวียดนามสามารถเปลี่ยนจากประเทศผู้นำเข้าข้าวในปี 1988 มาเป็นผู้ส่งออกในปี 1999 ได้สำเร็จ และเมื่อปี 1995 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน ส่งผลให้ต้องเปิดประเทศด้านการค้ามากขึ้น
2. ในด้านการลงทุน อุตสาหกรรมการต่อเรือได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เนื่องจากมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลมากถึง 3,000 ไมล์ เป็นสำคัญ
4. หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ
ญี่ปุ่น Panasonic Company
1. มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากต่อการลอกเลียนแบบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีรูปลักษณ์การออกแบบอย่างสากล
2. ยอดขายในประเทศไทยมีไม่มากนัก แต่มีการลงทุนส่วนใหญ่ในบริษัทที่ผลิตเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ และตั้งเป้าส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากไทยเป็นประเทศศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มความร่วมมือทางภูมิภาคที่สำคัญ อาทิ AFTA BIMSTEC และกลุ่มประเทศ CLMV
เวียดนาม
ADB
การดำเนินงานของ ADB มีเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คือ (1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูปนโยบาย (2) ความเท่าเทียมกันทางสังคม (3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ (4) การพัฒนาภูมิภาค
UNDP
บทบาทของ UNDP คือ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในกลุ่ม Creditors' Group ซึ่งให้เงินกู้ หรือความช่วยเหลือทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ แก่เวียดนาม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-