(ต่อ8)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มปี 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 15, 2006 14:59 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          * แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นตามทิศทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น คาดว่าในปี 2549  อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 12  ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งตลาดเงินยังไม่ได้ปรับตัวตามอย่างเต็มที่ และธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันมากขึ้นในการระดมเงินฝากเพื่อสร้างฐานเงินฝากและมีความพร้อมด้านสภาพคล่อง ซึ่งจะทำให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการระดมเงินฝาก  และอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปีจะทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 
* ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการลดลงต่อเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาก และบรรยากาศทางการเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน อาจจะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายและการตัดสินใจลงทุนในระยะสั้น อย่างไรก็ดีโครงการลงทุนภาครัฐที่ได้มีการอนุมัติงบประมาณไปแล้วและการลงทุนภาคเอกชนที่ได้เริ่มดำเนินการแล้วจะยังคงดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม เนื่องจาก (1) พื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่ได้รับผลกระทบ (2) ทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจจะยังคงให้ความสำคัญในการเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ รักษาวินัยทางการเงินแลการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตของประเทศ และ (3) นักลงทุนพิจารณาโอกาสทางการตลาดในอนาคตมากกว่าในระยะสั้น ๆ
(2) ปัจจัยสนับสนุน/ปัจจัยบวก: การขยายตัวของการส่งออกท่องเที่ยวรรคแลผลผลิตสินค้าเกษตร และการปรับตัวด้านการใช้จ่ายของประชาชนและการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยรัฐบาล
(2.1) ภาคเกษตรฟื้นตัวโดยปริมาณการผลิตเริ่มขยายตัว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร และการดำเนินโครงการพลังงานทางเลือก (Bio fuel) ให้เป็นไปตาม เป้าหมายซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของพืชผลเกษตรทั้ง อ้อย มันปะหลัง และปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้คาดว่าปริมาณผลผลิตพืชผลสำคัญจะยังเพิ่มขึ้นในช่วง ครึ่งหลังของปีเนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอ และราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มพืชผลจะยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพารา ข้าว ปาล์มน้ำมันและอ้อย ใน 4 เดือนแรกปี 2549 ราคาพืชผลเกษตรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.2 โดยที่ปริมาณผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ซึ่งทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7
อัตราเพิ่ม (%)
รายการ 2548 2549(B)
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1
1. ข้าวนาปี 1.5 -15.3 261.6 8.7 2.7 2.1 10.5
2. ข้าวนาปรัง -7.0 -26.0 -7.4 43.6 -31.2 10.5 15.2
3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ -9.7 -27.1 -19.2 1.6 -13.5 0.3 1.1
4. มันสำปะหลัง -15.4 -21.0 -10.5 -4.4 -10.7 37.6 41.6
5. อ้อยโรงงาน -36.5 -31.1 -36.9 - -57.4 14.9 12.5
6. ปาล์มน้ำมัน -3.5 -1.6 -6.6 -2.3 -1.6 13.1 12.6
7. ยางพารา -1.0 3.8 -4.9 2.1 -5.0 3.0 0.5
หมายเหตุ: (B) ข้อมูลพยากรณ์ เดือนมีนาคม 2549
(ยังมีต่อ).../(2.2)การส่ง..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ