Economic and Social Research Institute (ESRI)
1. การปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ และมุมมองทางเศรษฐกิจระยะปานกลาง และมุมมองทางการคลัง ฉบับปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2004: Structural Reform and Medium-term Economic and Fiscal Perspectives -- FY 2004 Revision (นำเสนอโดย Mr. Hishiyama)
1.1 ข้อมูลพื้นฐาน
การปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ และมุมมองทางเศรษฐกิจระยะปานกลาง และมุมมองทางการคลัง เป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปี ค.ศ. 2002 โดยมีการระบุไว้ว่า ควรมีการพิจารณาปรับปรุงทุกปีงบประมาณเพื่อให้ เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับปรุงล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 คือ ปีงบประมาณ 2004
1.2 สถานการณ์ล่าสุด
ในการปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2004 (FY 2004 Revision) อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลการปรับตัวของภาคธุรกิจญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พิจารณาได้จากผลกำไรของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เชื่อว่าการจ้างงานและอุปสงค์ภาคธุรกิจกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาล และทางธนาคารกลางของญี่ปุ่น มุ่งไปที่การจัดการกับปัญหาภาวะเงินฝืด (deflation) และ การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจที่นำโดยอุปสงค์ภาคเอกชนอย่างยั่งยืน
1.3 วัตถุประสงค์
บทบาทของการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและมุมมองทางเศรษฐกิจระยะปานกลางและมุมมองทางการคลัง ฉบับปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างนโยบายระยะสั้นและนโยบายระยะปานกลาง ทั้งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการคลัง วิธีการประมาณการ GDP ที่แท้จริง และ GDP deflator เปลี่ยนแปลงจาก การใช้ปีฐาน 1995 เป็นวิธีการเปลี่ยนปีแบบลูกโซ่ (chain-linking method) เพื่อให้สะท้อนสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
1.4 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและทางการคลัง
ช่วงปีงบประมาณ 2002-2004 เป็นช่วง "Intensive Adjustment Period" ที่ญี่ปุ่นมีภาวะ หนี้เสียอย่างมาก และในปีงบประมาณ 2001 อัตราการเติบโตติดลบทั้งในรูปราคาตลาดและราคาที่แท้จริง ปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นสามารถจัดการกับปัญหาภาวะหนี้เสียได้ทั้งหมด และได้ก้าวสู่ภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีแรงนำจากอุปสงค์ภาคเอกชน ทั้งนี้เป็นความสำเร็จที่เกิดจากความพยายามในการปฏิรูปและการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในการปรับปรุงครั้งล่าสุดนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องการการกำหนดนโยบายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการคลังที่เสริมสร้างความเติบโตของ เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยให้สอดคล้องกับมุมมองและนโยบายในระยะปานกลาง
1.5 นโยบายพื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและการคลังในระยะปานกลาง
รัฐบาลพยายามเร่งและขยายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจเพื่อปรับปรุงช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานในประเทศ โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้
1.5.1 มาตรการในการจัดการกับภาวะเงินฝืด
รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามผลักดันให้ธนาคารกลางรักษานโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายไว้ เพื่อขจัดปัญหาภาวะเงินฝืด ทั้งนี้ควรรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินและตลาดทุน และสร้างความโปร่งใสของนโยบายไปพร้อมกัน
1.5.2 การจัดการทางเศรษฐกิจและการคลังให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการปรับปรุงนโยบายทุกปี จนถึงปีงบประมาณ 2009 และใช้นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ (automatic stabilizer)
1.5.3 แนวโน้มทางเศรษฐกิจ
แรงกดดันให้เกิดภาวะเงินฝืดได้รับการบรรเทาลงด้วยความพยายามของจากทั้งทางรัฐบาลและธนาคารกลาง ดังเห็นได้จากดัชนีราคาสินค้าการผลิตในประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้น และดัชนีราคาผู้บริโภคกำลังมีอัตราเพิ่ม ซึ่งควรจะส่งผลให้เกิดอัตราเพิ่มใน GDP deflator และช่วยด้านปัญหาเงินฝืดในที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลยังมีเป้าหมายอัตราเติบโตที่แท้จริง ที่ระดับร้อยละ 1.5 หรือมากกว่า และอัตราเติบโตทั่วไปที่ระดับร้อยละ 2.0 หรือมากกว่า ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นไป
การที่ภาคการผลิตเริ่มมีศักยภาพการผลิตเพิ่มขึ้นโดยกำลังแรงงานในระบบเริ่มมีจำนวนลดลง ทำให้เกิดความจำเป็นในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตต่อไปในระยะปานกลางอย่างมีเสถียรภาพ เช่น การลงทุนที่มุ่งไปที่การสร้างธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มกำลังความสามารถทางการแข่งขัน เป็นต้น
1.5.4 เป้าหมายสำหรับการควบคุมด้านรายจ่าย และดุลบัญชีหลักของรัฐบาล
จนถึงปีงบประมาณ 2006 รัฐบาลมุ่งการจำกัดขนาดภาครัฐ แสดงโดยอัตราส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP ให้อยู่ในระดับของปีงบประมาณ 2002 โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2007 เป็นต้นไปรัฐบาลจะมีเป้าหมายงบประมาณเกินดุล
1.6 ความพยายามในการปฏิรูปฯ ระยะต่อไป
รัฐบาลยังคงเน้นที่การแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด และการดำรงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากแรงนำทางอุปสงค์ภาคเอกชน รวมทั้งการมีงบประมาณเกินดุลของรัฐบาลโดยรวมมาตรการต่างๆ โดยสังเขป ได้แก่ การปฏิรูปทางระเบียบข้อบังคับและกำหนดเขตพิเศษสำหรับการปฏิรูป การรวมระบบการเงินให้เข้มแข็งผ่านทางภาคเอกชน การปฏิรูประบบภาษีอย่างฉับพลัน การปฏิรูประบบงบประมาณ การปฏิรูป "ศูนย์กลางไปสู่
ภูมิภาค" หรือ "การปฏิรูป 3 ส่วนพร้อมกัน (26 พฤศจิกายน 2004)" ได้แก่ การให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากเงินภาษี การปฏิรูปการบริหารเงินภาษีของรัฐบาลท้องถิ่น และการดูแลของรัฐในเรื่องความร่วมมือและในเรื่องระเบียบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือระหว่างส่วนภูมิภาคในประเทศ1 และการปฏิรูประบบสวัสดิการทางสังคม
2. การประมาณการผลกระทบจากการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ โดยแบบจำลอง (โดย Mr. Ishibashi)
2.1 ลักษณะของแบบจำลอง
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกรณีมีการปฏิรูป (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) และความเปลี่ยนแปลงหากไม่มีการปฏิรูป เพื่อเปรียบเทียบกัน
2.2 วิธีการประมาณการ
2.2.1 วิธีการ
ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ ให้ชื่อว่า Economic and Fiscal Model: 1st revised edition โดยรวมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใน 3 สาขาเศรษฐกิจ ได้แก่ ตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น GDP ราคาสินค้า และอื่นๆ ตัวแปรทางภาครัฐบาล และ ตัวแปรด้านสวัสดิการสังคม และให้ตัวแปรหลักๆ เช่น อัตราการเติบโต ระดับราคา และอัตราดอกเบี้ย เป็นการกำหนดจากในแบบจำลอง (endogenously determined)
2.2.2 สมมติฐาน
* ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลและภาษี ได้รับการกำหนดโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจต่างจากนโยบายประจำปีงบประมาณไปบ้าง
* เนื่องจากนโยบายในปีงบประมาณ 2007 ยังไม่ได้กำหนด จึงเห็นควรใช้นโยบายปัจจุบันที่มีเป็นพื้นฐาน
* ได้พิจารณารวมปัจจัยระยะสั้นไว้ด้วย
* ตัวแปรหลักๆ ที่ตั้งสมมติฐานเริ่มต้นไว้ ได้แก่ ประชากร/กำลังแรงงาน ระดับประสิทธิภาพการผลิต ระดับการเติบโตเศรษฐกิจโลก ระดับการใช้จ่ายทางสวัสดิการสังคม การใช้จ่ายเพื่อลงทุน/การบริโภค อัตราภาษี
2.3 ผลการศึกษา (simulation result)
สรุปแล้ว การปฏิรูปฯ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้แก่ อัตราการเติบโตที่แท้จริงเพิ่มขึ้น งบประมาณเกินดุลลดลง จำนวนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น (แสดงโดยกราฟแนบ) และมีการประมาณการตัวแปรเศรษฐกิจรายปี ได้แก่ GDP ตามราคาปัจจุบันและที่แท้จริงรายได้ประชาชาติ ระดับราคา ดุลการออมของภาครัฐ เอกชน และภาคต่างประเทศ (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
3. ข้อคิดเห็น/สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอและการเยี่ยมชม
3.1 การปฏิรูปฯ ของญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการปรับโครงสร้างไทย
3.2 ระบบโครงสร้างของหน่วยงาน ESRI ไม่ใหญ่มากนัก และมีแผนกย่อยที่มีความคล่องตัว ผู้บริหารระดับกลางเป็นคนรุ่นใหม่
3.3 แบบจำลองของ ERSI ที่ใช้อยู่นี้ เป็นการเน้นด้านอุปสงค์เป็นหลัก (Keynesian type) และมีเพียง 1 สาขาการผลิต ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ
3.4 การที่จะทราบว่าผลจากแบบจำลองถูกต้องหรือไม่ จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งและควรปรับปรุงเป็นระยะ ซึ่งทางผู้ศึกษาได้ยอมรับว่าได้มีการปรับปรุงแล้ว 1 ครั้ง และผลที่นำเสนอน่าจะเชื่อถือได้
* Itinerary Programme for the NESDB Delegation
* Suggested Topics of Discussion
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ และมุมมองทางเศรษฐกิจระยะปานกลาง และมุมมองทางการคลัง ฉบับปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2004: Structural Reform and Medium-term Economic and Fiscal Perspectives -- FY 2004 Revision (นำเสนอโดย Mr. Hishiyama)
1.1 ข้อมูลพื้นฐาน
การปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ และมุมมองทางเศรษฐกิจระยะปานกลาง และมุมมองทางการคลัง เป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปี ค.ศ. 2002 โดยมีการระบุไว้ว่า ควรมีการพิจารณาปรับปรุงทุกปีงบประมาณเพื่อให้ เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การปรับปรุงล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 คือ ปีงบประมาณ 2004
1.2 สถานการณ์ล่าสุด
ในการปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2004 (FY 2004 Revision) อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลการปรับตัวของภาคธุรกิจญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พิจารณาได้จากผลกำไรของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เชื่อว่าการจ้างงานและอุปสงค์ภาคธุรกิจกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาล และทางธนาคารกลางของญี่ปุ่น มุ่งไปที่การจัดการกับปัญหาภาวะเงินฝืด (deflation) และ การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจที่นำโดยอุปสงค์ภาคเอกชนอย่างยั่งยืน
1.3 วัตถุประสงค์
บทบาทของการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและมุมมองทางเศรษฐกิจระยะปานกลางและมุมมองทางการคลัง ฉบับปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างนโยบายระยะสั้นและนโยบายระยะปานกลาง ทั้งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการคลัง วิธีการประมาณการ GDP ที่แท้จริง และ GDP deflator เปลี่ยนแปลงจาก การใช้ปีฐาน 1995 เป็นวิธีการเปลี่ยนปีแบบลูกโซ่ (chain-linking method) เพื่อให้สะท้อนสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
1.4 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและทางการคลัง
ช่วงปีงบประมาณ 2002-2004 เป็นช่วง "Intensive Adjustment Period" ที่ญี่ปุ่นมีภาวะ หนี้เสียอย่างมาก และในปีงบประมาณ 2001 อัตราการเติบโตติดลบทั้งในรูปราคาตลาดและราคาที่แท้จริง ปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นสามารถจัดการกับปัญหาภาวะหนี้เสียได้ทั้งหมด และได้ก้าวสู่ภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีแรงนำจากอุปสงค์ภาคเอกชน ทั้งนี้เป็นความสำเร็จที่เกิดจากความพยายามในการปฏิรูปและการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในการปรับปรุงครั้งล่าสุดนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องการการกำหนดนโยบายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการคลังที่เสริมสร้างความเติบโตของ เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยให้สอดคล้องกับมุมมองและนโยบายในระยะปานกลาง
1.5 นโยบายพื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและการคลังในระยะปานกลาง
รัฐบาลพยายามเร่งและขยายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจเพื่อปรับปรุงช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานในประเทศ โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้
1.5.1 มาตรการในการจัดการกับภาวะเงินฝืด
รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามผลักดันให้ธนาคารกลางรักษานโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายไว้ เพื่อขจัดปัญหาภาวะเงินฝืด ทั้งนี้ควรรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินและตลาดทุน และสร้างความโปร่งใสของนโยบายไปพร้อมกัน
1.5.2 การจัดการทางเศรษฐกิจและการคลังให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการปรับปรุงนโยบายทุกปี จนถึงปีงบประมาณ 2009 และใช้นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ (automatic stabilizer)
1.5.3 แนวโน้มทางเศรษฐกิจ
แรงกดดันให้เกิดภาวะเงินฝืดได้รับการบรรเทาลงด้วยความพยายามของจากทั้งทางรัฐบาลและธนาคารกลาง ดังเห็นได้จากดัชนีราคาสินค้าการผลิตในประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้น และดัชนีราคาผู้บริโภคกำลังมีอัตราเพิ่ม ซึ่งควรจะส่งผลให้เกิดอัตราเพิ่มใน GDP deflator และช่วยด้านปัญหาเงินฝืดในที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลยังมีเป้าหมายอัตราเติบโตที่แท้จริง ที่ระดับร้อยละ 1.5 หรือมากกว่า และอัตราเติบโตทั่วไปที่ระดับร้อยละ 2.0 หรือมากกว่า ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นไป
การที่ภาคการผลิตเริ่มมีศักยภาพการผลิตเพิ่มขึ้นโดยกำลังแรงงานในระบบเริ่มมีจำนวนลดลง ทำให้เกิดความจำเป็นในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตต่อไปในระยะปานกลางอย่างมีเสถียรภาพ เช่น การลงทุนที่มุ่งไปที่การสร้างธุรกิจใหม่ๆ และเพิ่มกำลังความสามารถทางการแข่งขัน เป็นต้น
1.5.4 เป้าหมายสำหรับการควบคุมด้านรายจ่าย และดุลบัญชีหลักของรัฐบาล
จนถึงปีงบประมาณ 2006 รัฐบาลมุ่งการจำกัดขนาดภาครัฐ แสดงโดยอัตราส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP ให้อยู่ในระดับของปีงบประมาณ 2002 โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2007 เป็นต้นไปรัฐบาลจะมีเป้าหมายงบประมาณเกินดุล
1.6 ความพยายามในการปฏิรูปฯ ระยะต่อไป
รัฐบาลยังคงเน้นที่การแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด และการดำรงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากแรงนำทางอุปสงค์ภาคเอกชน รวมทั้งการมีงบประมาณเกินดุลของรัฐบาลโดยรวมมาตรการต่างๆ โดยสังเขป ได้แก่ การปฏิรูปทางระเบียบข้อบังคับและกำหนดเขตพิเศษสำหรับการปฏิรูป การรวมระบบการเงินให้เข้มแข็งผ่านทางภาคเอกชน การปฏิรูประบบภาษีอย่างฉับพลัน การปฏิรูประบบงบประมาณ การปฏิรูป "ศูนย์กลางไปสู่
ภูมิภาค" หรือ "การปฏิรูป 3 ส่วนพร้อมกัน (26 พฤศจิกายน 2004)" ได้แก่ การให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากเงินภาษี การปฏิรูปการบริหารเงินภาษีของรัฐบาลท้องถิ่น และการดูแลของรัฐในเรื่องความร่วมมือและในเรื่องระเบียบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือระหว่างส่วนภูมิภาคในประเทศ1 และการปฏิรูประบบสวัสดิการทางสังคม
2. การประมาณการผลกระทบจากการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ โดยแบบจำลอง (โดย Mr. Ishibashi)
2.1 ลักษณะของแบบจำลอง
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกรณีมีการปฏิรูป (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) และความเปลี่ยนแปลงหากไม่มีการปฏิรูป เพื่อเปรียบเทียบกัน
2.2 วิธีการประมาณการ
2.2.1 วิธีการ
ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ ให้ชื่อว่า Economic and Fiscal Model: 1st revised edition โดยรวมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใน 3 สาขาเศรษฐกิจ ได้แก่ ตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น GDP ราคาสินค้า และอื่นๆ ตัวแปรทางภาครัฐบาล และ ตัวแปรด้านสวัสดิการสังคม และให้ตัวแปรหลักๆ เช่น อัตราการเติบโต ระดับราคา และอัตราดอกเบี้ย เป็นการกำหนดจากในแบบจำลอง (endogenously determined)
2.2.2 สมมติฐาน
* ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลและภาษี ได้รับการกำหนดโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจต่างจากนโยบายประจำปีงบประมาณไปบ้าง
* เนื่องจากนโยบายในปีงบประมาณ 2007 ยังไม่ได้กำหนด จึงเห็นควรใช้นโยบายปัจจุบันที่มีเป็นพื้นฐาน
* ได้พิจารณารวมปัจจัยระยะสั้นไว้ด้วย
* ตัวแปรหลักๆ ที่ตั้งสมมติฐานเริ่มต้นไว้ ได้แก่ ประชากร/กำลังแรงงาน ระดับประสิทธิภาพการผลิต ระดับการเติบโตเศรษฐกิจโลก ระดับการใช้จ่ายทางสวัสดิการสังคม การใช้จ่ายเพื่อลงทุน/การบริโภค อัตราภาษี
2.3 ผลการศึกษา (simulation result)
สรุปแล้ว การปฏิรูปฯ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้แก่ อัตราการเติบโตที่แท้จริงเพิ่มขึ้น งบประมาณเกินดุลลดลง จำนวนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น (แสดงโดยกราฟแนบ) และมีการประมาณการตัวแปรเศรษฐกิจรายปี ได้แก่ GDP ตามราคาปัจจุบันและที่แท้จริงรายได้ประชาชาติ ระดับราคา ดุลการออมของภาครัฐ เอกชน และภาคต่างประเทศ (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
3. ข้อคิดเห็น/สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอและการเยี่ยมชม
3.1 การปฏิรูปฯ ของญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการปรับโครงสร้างไทย
3.2 ระบบโครงสร้างของหน่วยงาน ESRI ไม่ใหญ่มากนัก และมีแผนกย่อยที่มีความคล่องตัว ผู้บริหารระดับกลางเป็นคนรุ่นใหม่
3.3 แบบจำลองของ ERSI ที่ใช้อยู่นี้ เป็นการเน้นด้านอุปสงค์เป็นหลัก (Keynesian type) และมีเพียง 1 สาขาการผลิต ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ
3.4 การที่จะทราบว่าผลจากแบบจำลองถูกต้องหรือไม่ จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งและควรปรับปรุงเป็นระยะ ซึ่งทางผู้ศึกษาได้ยอมรับว่าได้มีการปรับปรุงแล้ว 1 ครั้ง และผลที่นำเสนอน่าจะเชื่อถือได้
* Itinerary Programme for the NESDB Delegation
* Suggested Topics of Discussion
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-