ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2552(Gross Domestic Product : Q2/2009)
"...GDP ไตรมาสที่ 2/2552 หดตัวร้อยละ 4.9 น้อยกว่าที่ลดลงร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่แล้ว..."
ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 2/2552 หดตัวร้อยละ 4.9 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการใช้จ่ายอุปโภคของรัฐบาลที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.9 ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน และการลงทุนในประเทศหดตัวร้อยละ 2.3 และ 10.1 น้อยกว่าที่ลดลงในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากประชาชนเริ่มมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุน ได้รับแรงเสริมจากการลงทุนของภาครัฐ ที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสที่แล้วสินค้าและบริการส่งออกในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 21.8 ส่วนการนำเข้าสินค้าและบริการหดตัวร้อยละ 25.3 ต่ำกว่าที่หดตัวร้อยละ 31.6 ในไตรมาสแรก
"... การผลิตหดตัวร้อยละ 4.9 ลดลงทั้งภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร..."
การผลิต ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 2.7 เป็นผลจากการลดลงของหมวดพืชผลและปศุสัตว์ ส่วนหมวดประมงมีการผลิตเพิ่มขึ้น การผลิตนอกภาคเกษตร หดตัวร้อยละ 5.0 แต่เป็นอัตราต่ำกว่าการหดตัวในไตรมาสที่แล้ว สาขาที่มีการปรับตัวดีขึ้น คือ สาขาก่อสร้าง และตัวกลางทางการเงิน ขยายตัวร้อยละ 2.5 และ 5.6 ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลัก หดตัวร้อยละ 8.4 สาขาการค้าหดตัวร้อยละ 3.3 สาขาคมนาคมและขนส่ง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 7.6 และ 5.6 ตามลำดับส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ภาคบริการอื่นๆ ส่วนใหญ่ชะลอตัวลง เช่น บริการของรัฐ บริการทางด้านการศึกษา และบริการสุขภาพ
GDP ที่ปรับค่าฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว
อัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ร้อยละ)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 ภาคเกษตร 5.0 3.1 8.6 9.6 1.6 3.4 -2.7 ภาคนอกเกษตร 2.4 6.2 5.0 3.5 -4.9 -8.1 -5.0 GDP 2.6 6.0 5.3 3.9 -4.2 -7.1 -4.9 GDP ปรับฤดูกาล 2.6 1.1 0.1 0.6 -5.9 -1.8 2.3
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 2,173.6 พันล้านบาท เมื่อหักค่าตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายไปต่างประเทศ 120.3 พันล้านบาท คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) เท่ากับ 2,053.3 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 4.1
ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปีเกินดุล 160.9 พันล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตและเงินโอนสุทธิจากต่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 79.3 พันล้านบาท
ระดับราคา ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะเดียวกันดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 7.0 และ 2.8 เมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.5 และ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ
ด้านการผลิต
"...การผลิตหดตัวลงร้อยละ 4.9 โดยหดตัวลงทั้งภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร..."
"...ปริมาณการผลิตและระดับราคาลดลงจากหมวดพืชผล..."
สาขาเกษตร
การผลิตหดตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากหมวดพืชผลลดลงร้อยละ 6.3 ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 3.2 และหมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 2.8
- หมวดพืชผล หดตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากผลผลิตและราคาข้าวเปลือกนาปรังที่ปรับลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งราคาข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นมากจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับผลผลิตอ้อยปาล์มน้ำมัน ผัก และผลไม้ ลดลงเช่นกัน ส่วนผลผลิตยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกาแฟ มีการขยายตัวสูงขึ้น
- หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่แล้ว จากผลผลิตไก่ที่ขยายตัวสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ประกอบกับการผลิตไข่ไก่ โคสุกร และผลิตภัณฑ์นม ยังมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
- หมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 2.8 ขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่แล้วเนื่องจากผลผลิตกุ้งที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตปลายังคงลดลง
ระดับราคาสินค้าเกษตร ลดลงร้อยละ 3.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้วเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าในหมวดพืชผล เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่วนราคาสินค้าหมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากการหดตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากราคาสุกร โค และนม สูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 2.9 เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงขึ้น
สาขาอุตสาหกรรม
"...การผลิตสาขาอุตสาหกรรมโดยรวมหดตัวในอัตราที่ชะลอลง..."
อัตราการขยายตัวสาขาอุตสาหกรรม (ร้อยละ)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 อุตสาหกรรมเบา 0.4 0.7 0.3 2.4 -1.7 -2.3 -4.2 อุตสาหกรรมวัตถุดิบ -0.2 5.9 3.3 -0.8 -8.8 -7.4 -3.7 อุตสาหกรรมสินค้าทุน และเทคโนโลยี 9.1 20.9 16.8 12.3 -9.2 -28.0 -13.7 อุตสาหกรรมรวม 3.9 9.5 7.7 6.1 -6.7 -14.4 -8.4
อุตสาหกรรมเบา หดตัวร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่หดตัวร้อยละ 2.3 เป็นผลจากการลดลงของอุตสาหกรรมที่สำคัญในกลุ่ม ดังนี้
- อาหารและเครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 4.0 จากการผลิตเครื่องดื่มหดตัวร้อยละ 13.1 เนื่องจากการผลิตเบียร์ที่ลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่อุตสาหกรรมอาหารขยายตัวร้อยละ 3.7เป็นผลจากอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ขยายตัวสูง
- หนังและเครื่องหนัง หดตัวร้อยละ 5.6 ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากความต้องการของต่างประเทศหดตัวลง
- สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย การผลิตลดลงร้อยละ 3.8 และ 7.9 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการในตลาดต่างประเทศยังคงลดลง
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ หดตัวร้อยละ 3.7 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 7.4 อุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
- ยางและผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 8.0 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ 9.4 ตามความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
- เคมี และผลิตภัณฑ์เคมี หดตัวร้อยละ 2.3 โดยอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกหดตัว ร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 5.9 ตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
- อโลหะ หดตัวร้อยละ 3.8 จากที่หดตัวร้อยละ 9.5 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐเริ่มมีการขยายตัว
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี หดตัวร้อยละ 13.7 น้อยกว่าที่หดตัวร้อยละ 28.0 ในไตรมาสแรก โดยอุตสาหกรรมสำคัญในกลุ่มนี้มีดังนี้
- เครื่องจักรสำนักงานฯ ขยายตัวร้อยละ 4.9 เนื่องจากการผลิต Hard Disk Drive และการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขยายตัว ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ หดตัวร้อยละ 8.7 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 25.4 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการผลิตเครื่องปรับอากาศ พัดลม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ในบ้าน ตามการส่งออกและความต้องการในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
- ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 34.9 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 42.4 ในไตรมาสแรก เป็นผลจากการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
"...การใช้ไฟฟ้ายังคงลดลงในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่..."
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ
ลดลงร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากหมวดไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดของสาขา ลดลงร้อยละ 0.2 ดีขึ้นจากไตรมาสแรก ที่ลดลงร้อยละ 3.0 ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่ลดลงเพียงร้อยละ 1.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดใหญ่ กิจการขนาดกลาง และอื่นๆ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง ในขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก กิจการเฉพาะอย่าง และส่วนราชการ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ยังคงลดลงร้อยละ 10.6 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว จากปริมาณผลผลิตก๊าซธรรมชาติที่ลดลง หมวดประปา ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสแรก
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 ที่อยู่อาศัย 2.7 6.0 1.2 2.9 1.0 2.7 5.3 สัดส่วน 21.8 20.8 22.5 21.7 22.1 23.0 24.2 กิจการขนาดเล็ก 3.0 7.4 2.7 4.7 -2.5 1.7 4.1 สัดส่วน 10.4 10.1 10.5 10.4 10.7 11.1 11.1 กิจการขนาดกลาง 0.4 1.6 -0.5 3.6 -3.4 -8.5 -2.5 สัดส่วน 17.3 17.3 17.0 17.3 17.4 17.0 16.9 กิจการขนาดใหญ่ 1.2 7.0 4.9 1.7 -8.5 -14.4 -8.0 สัดส่วน 41.8 43.0 41.4 41.8 41.0 39.5 38.9 กิจการเฉพาะอย่าง 5.1 9.2 6.0 4.8 0.5 -1.8 1.2 สัดส่วน 3.2 3.3 3.2 3.1 3.2 3.5 3.3 ส่วนราชการ 3.9 6.9 2.3 4.2 2.2 3.7 5.7 สัดส่วน 3.3 3.1 3.2 3.6 3.4 3.5 3.5 อื่นๆ -5.6 -0.5 -3.0 -8.4 -10.8 -4.5 -2.5 สัดส่วน 2.2 2.4 2.1 2.1 2.1 2.5 2.1 รวม 1.6 5.8 2.7 2.5 -4.4 -7.0 -1.9
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
"...การผลิตก๊าซธรรมชาติก๊าซธรรมชาติเหลว และลิกไนต์หดตัว..."
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน
ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 6.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบ ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดของสาขา ลดลงร้อยละ 6.0 จากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 เป็นผลจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลวลดลงส่วนการผลิตลิกไนต์ลดลงร้อยละ 7.0 จากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากอายุสัมปทานของบางบริษัทหมดลง สำหรับแร่อื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 14.2 เป็นผลมาจาก หินอ่อน หินปูน คาโอลิน และแบไรต์ ที่มีการผลิตลดลง
"...การก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐ..."
สาขาก่อสร้าง
สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.5 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 7.9 เป็นผลจากการก่อสร้างภาครัฐ โดยเฉพาะการก่อสร้างของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุน ประกอบกับรัฐวิสาหกิจยังมีโครงการต่อเนื่อง อาทิ การก่อสร้างท่อส่งก๊าซของบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น จากการก่อสร้างอาคารโรงงานในเขตการนิคมอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม อาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ยังคงลดลง แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากราคาวัสดุก่อสร้างหลายรายการที่ปรับตัวลดลง
"...บริการขนส่งหดตัวลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง..."
สาขาคมนาคมและขนส่ง
หดตัวร้อยละ 7.6 ต่อเนื่องจากไตรมาสแล้วที่หดตัวร้อยละ 6.5 โดยบริการขนส่งหดตัวร้อยละ 10.0 เนื่องจากบริการขนส่งทางอากาศ ที่หดตัวร้อยละ 20.7 ตามจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง ส่วนบริการโทรคมนาคมหดตัวร้อยละ 3.8 ตามรายได้จากผลประกอบการของผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ลดลง
อัตราการขยายตัวรายการสำคัญในสาขาคมนาคมและขนส่ง (ร้อยละ)
(ร้อยละ)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 การขนส่ง -3.1 2.8 1.9 -1.2 -15.1 -8.1 -10.0 การขนส่งทางบก 1.9 -1.0 0.7 6.4 1.7 5.2 3.1 การขนส่งทางอากาศ -7.6 6.0 3.8 -5.3 -30.7 -16.5 -20.7 การขนส่งทางน้ำ -2.3 4.6 1.4 -4.8 -9.7 -10.8 -11.9
"...การค้าหดตัวน้อยกว่าที่ลดลงในไตรมาสแรก..."
สาขาค้าส่งค้าปลีกและการซ่อมแซม
สาขาค้าส่งค้าปลีกและซ่อมแซม หดตัวร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ 4.0 เป็นผลมาจากการค้าส่งค้าปลีก หดตัวร้อยละ 2.8 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการใช้จ่ายของครัวเรือนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนการซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน หดตัวร้อยละ 6.9 ใกล้เคียงกับที่หดตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการซ่อมแซมยานยนต์ บริการล้าง อัดฉีด และซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ลดลงร้อยละ 9.2 และ 1.8 ตามลำดับ
"...โรงแรมหดตัว จากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง..."
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร
หดตัวร้อยละ 5.6 จากที่หดตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยบริการภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 0.7 จากที่หดตัวร้อยละ 0.1 ส่วนบริการโรงแรม หดตัวร้อยละ 16.3 จากที่หดตัวร้อยละ 15.4 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงร้อยละ 16.5 โดยสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งนำไปสู่การประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพมหานคร ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนี้ ยังมีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ สำหรับอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 54.3
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำแนกตามถิ่นที่อยู่ (พันคน)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 เอเชีย 7,615 2,114 2,050 1,878 1,573 1,681 1,566 ยุโรป 3,957 1,446 721 725 1,065 1,272 693 อเมริกา 903 279 219 189 216 231 185 อื่นๆ 2,061 488 560 540 473 459 520 รวม 14,536 4,327 3,550 3,332 3,327 3,643 2,964 อัตราเพิ่มร้อยละ 0.5 12.9 13.6 -3.4 -18.0 -15.8 -16.5
ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย
"...กิจการประกันชีวิตมีแนวโน้มดีขึ้นส่วนธนาคารพาณิชย์ขยายตัว..."
สาขาตัวกลางทางการเงิน
ขยายตัวร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากกิจการประกันชีวิตมีแนวโน้มดี ในขณะที่กิจการธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเล็กน้อยจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้จากดอกเบี้ยรับสุทธิชะลอตัวลง เนื่องจากความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจลดลง ประกอบกับสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ
"...บริการอื่นๆ ขยายตัวตามบริการภาครัฐและบริการธุรกิจที่เริ่มดีขึ้น..."
สาขาการบริการอื่น ๆ
ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่แล้ว โดยบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการด้านธุรกิจ ขยายตัวร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ลดลงร้อยละ 3.7 จากบริการทางธุรกิจ ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากที่ลดลงร้อยละ 9.4 สำหรับการบริหารราชการฯ ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาการศึกษา ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากร้อยละ 4.1 โดยการศึกษาภาครัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 90.0 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนการศึกษาภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.5 สาขาบริการสุขภาพขยายตัวร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากร้อยละ 4.5 สาขาบริการชุมชนฯ หดตัวร้อยละ 1.5 จากที่หดตัวร้อยละ 2.3 โดยบริการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 1.1 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ลดลงร้อยละ 3.2 ส่วนบริการซักรีด และบริการอื่นๆ หดตัวร้อยละ 8.6 และ 9.1 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่บริการเสริมสวย โรงภาพยนตร์ และสวนสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 10.8 ,11.6 และ 20.1 ตามลำดับ
ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายของครัวเรือน
การใช้จ่ายของครัวเรือนลดลงร้อยละ 2.3 ปรับตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนลดลงร้อยละ 2.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.8
- ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้อลดลงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง และราคาสินค้าและบริการที่ลดลงตามผลของนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ลดค่าครองชีพ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 ที่มีผลให้กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น เช่น เบี้ยกตัญญู เช็คช่วยชาติ ต้นกล้าอาชีพ เรียนฟรี 15 ปี และธงฟ้าช่วยประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมือง ยังคงกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมทั้งรายได้เกษตรกรที่ลดลงเนื่องจากปริมาณและราคาพืชผลที่สำคัญๆ ลดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนในไตรมาสนี้ยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ 2.3 แต่เป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลง ร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่แล้ว
การให้บริการบัตรเครดิตและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พันล้านบาท)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 การใช้จ่ายในประเทศ 676 173 163 168 173 165 160 การใช้จ่ายในต่างประเทศ 35 8 10 9 8 8 9 เบิกเงินสดล่วงหน้า 210 56 50 50 54 53 23 การใช้จ่ายรวม 921 237 222 227 235 225 192 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 9.5 13.5 11.4 11.9 2.2 -5.1 -13.5 ดัชนีความเชอื่ มั่นผู้บริโภคโดยรวม 77.8 79.4 78.9 77.8 74.9 74.0 72.0 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 0.9 0.4 2.3 2.6 -1.9 -6.8 -8.7
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ไม่รวมคนไทยในต่างประเทศและคนต่างประเทศในประเทศไทย ลดลงร้อยละ 1.8
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ (ร้อยละ)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ 2.3 4.2 3.3 2.1 -0.3 -4.6 -3.8 หัก : การใช้จ่ายของชาวต่างประเทศในประเทศ -1.5 14.1 9.8 -5.4 -22.8 -18.6 -22.4 การใช้จ่ายของครัวเรือนไม่รวมนักท่องเที่ยว 2.8 2.8 2.7 3.0 2.7 -2.3 -1.8 บวก : การใช้จ่ายของคนไทยในต่างประเทศ -7.0 -1.6 -4.7 -6.6 -12.7 -6.9 -23.4 การใช้จ่ายของครัวเรือนไทยทั้งหมด 2.5 2.7 2.5 2.7 2.1 -2.5 -2.3
รายจ่ายครัวเรือนจำแนกตามหมวด
หมวดสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง ลดลงร้อยละ 3.7 โดยการบริโภคผักและผลไม้ลดลงร้อยละ3.1 การบริโภคสัตว์น้ำลดลงต่อเนื่องร้อยละ 9.2 สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลง
หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 3.5 เป็นผลมาจากการบริโภคเนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปรรูปลดลงร้อยละ 0.5 เครื่องดื่มลดลงร้อยละ 6.7 บุหรี่ลดลงร้อยละ 7.7 และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งทออื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.9
หมวดไฟฟ้าและประปา ขยายตัวร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 5.2 และค่าน้ำประปาลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ได้รวมรายจ่ายส่วนที่รัฐบาลช่วยเหลือตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปาและไฟฟ้าของครัวเรือนแล้ว
หมวดยานพาหนะ ลดลงร้อยละ 17.4 มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 23.7 ในไตรมาสที่แล้ว โดยผู้ประกอบการได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของประชาชน โดยยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 8.9 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ17.4 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 37.1 และ 9.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 34.7 และ 16.4 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ
หมวดโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยลดลงร้อยละ 5.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.9 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากบริการภัตตาคารลดลงเพียงร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนบริการโรงแรมลดลงร้อยละ 16.4 โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงต่อเนื่องร้อยละ 16.5 ขณะที่ภาครัฐกระตุ้นให้มีโครงการต่างๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
หมวดขนส่งและสื่อสาร ลดลงร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่แล้ว โดยบริการขนส่งลดลงร้อยละ 1.7 ส่วนบริการไปรษณีย์และสื่อสารโทรคมนาคมลดลงร้อยละ 1.3 โดยจำนวนเลขหมายจดทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ส่วนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานลดลงต่อเนื่องร้อยละ 1.5
เมื่อพิจารณารายจ่ายของครัวเรือนจำแนกตามลักษณะความคงทนพบว่า รายจ่ายซื้ออาหารลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 ส่วนรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารลดลงร้อยละ 2.9 จำแนกเป็นสินค้าไม่คงทน (ไม่รวมอาหาร) เช่น เครื่องดื่ม ไฟฟ้าและน้ำประปา ยารักษาโรค และของใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 2.9 รายจ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนประกอบด้วย เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 8.4 ส่วนสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่โทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 13.7 สำหรับรายจ่ายด้านบริการขยายตัวร้อยละ 4.4 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสที่แล้ว โดยรายการที่สำคัญ ๆ ในภาคบริการที่ยังคงขยายตัว เช่น รายจ่ายของนักท่องเที่ยวสุทธิขยายตัวร้อยละ 22.1 การศึกษาและสุขภาพขยายตัวร้อยละ 0.5 บริการด้านการเงินและประกันภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เป็นต้น ในขณะที่โรงแรมและภัตตาคาร และบริการขนส่ง ลดลงร้อยละ 5.3 และ 1.7 ตามลำดับ
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน
จำแนกตามลักษณะความคงทน (ร้อยละ)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 การใช้จ่ายของครัวเรือน 2.5 2.7 2.5 2.7 2.1 -2.5 -2.3 อาหาร 1.4 2.6 0.8 -0.1 2.4 1.8 -0.1 อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร 2.8 2.7 2.9 3.5 2.0 -3.7 -2.9 สินค้าไม่คงทน 0.6 2.4 1.2 -0.4 -1.1 -4.2 -2.9 สินค้ากึ่งคงทน 1.7 3.7 3.3 3.3 -3.1 -8.6 -8.4 สินค้าคงทน 9.5 10.0 11.4 9.4 7.3 -18.1 -13.7 บริการ 3.0 -0.7 1.0 5.1 6.2 6.8 4.4
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล
ปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,835,000 ล้านบาทและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 116,700 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,951,700 ล้านบาท ในไตรมาสนี้มีการเบิกจ่าย 426,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.7
- รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลในราคาประจำปี มูลค่า 279,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.9 โดยแบ่งเป็นค่าตอบแทนแรงงาน 200,647 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการสุทธิ มูลค่า 79,111 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
- สำหรับมูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.9 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0
การเบิกจ่ายงบประมาณ (พันล้านบาท)
วงเงินงบประมาณ เม.ย. — มิ.ย. 2551 2552 % 2551 2552 % รวมรายจ่ายประจำ+ลงทุน 1,660.0 1,951.7 17.6 407.1 426.2 4.7 อัตราการเบิกจ่ายต่องบประมาณ (%) 24.5 21.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน
การลงทุนปรับตัวดีขึ้น โดยลดลงร้อยละ 10.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ15.8 ในไตรมาสที่แล้ว
การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 10.1 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 15.8 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งการก่อสร้างและเครื่องจักรเครื่องมือเพิ่มมากขึ้น สำหรับภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
การลงทุนภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 16.1 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเริ่มมีทิศทางฟื้นตัว โดยเริ่มมีการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการเริ่มนำเข้าเครื่องจักรเครื่องมือเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาสภาพกำลังการผลิต ประกอบกับการลงทุนด้านการก่อสร้าง เริ่มมีทิศทางดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างโรงงานที่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
- ก่อสร้างภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 7.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 8.2 โดยการก่อสร้างอาคารโรงงานในเขตการนิคมอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22.9 ในขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ลดลงร้อยละ 15.1 และ 7.3 ตามลำดับ แม้ว่าในไตรมาสนี้ราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่ได้เป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเพิ่มการลงทุน
- การลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 18.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนหมวดยานพาหนะและหมวดเครื่องใช้สำนักงานปรับตัวดีขึ้น โดยลดลงร้อยละ 13.9 และ ร้อยละ 14.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.8 และ 21.1 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนการลงทุนในหมวดเครื่องจักรลดลงร้อยละ 23.3
อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน (ร้อยละ)
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 ที่อยู่อาศัย 0.9 -5.2 6.4 3.1 -1.2 -10.4 -15.1 อาคารพาณิชย์ 6.2 14.2 9.7 4.5 -2.8 -9.8 -7.3 โรงงาน -4.8 5.9 -10.9 -14.4 2.1 -3.7 22.9 อื่นๆ -5.8 9.2 -15.4 -17.8 1.2 -2.9 8.7 รวม -0.2 0.4 1.3 -1.9 -0.7 -8.2 -7.5
การลงทุนภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.1 ไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจเพิ่มมากขึ้นทำให้การลงทุนทั้งการก่อสร้างและเครื่องจักรเครื่องมือมีการปรับตัวดีขึ้น
- การก่อสร้างภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 9.4 เป็นผลจากรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ในโครงการก่อสร้างถนนและสาธารณูปโภคอื่นๆ ส่วนรัฐวิสาหกิจมีการก่อสร้างในโครงการต่อเนื่อง เช่น ท่อก๊าซธรรมชาติ แต่มีมูลค่าไม่มากนัก
- การลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือภาครัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 16.0 เนื่องจากในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเครื่องบินพาณิชย์ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ลำมูลค่า 8,623.4 ล้านบาท
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 ก่อสร้าง -5.0 1.4 -3.3 -4.9 -13.5 -8.8 2.2 ภาคเอกชน -0.2 0.4 1.3 -1.9 -0.7 -8.2 -7.5 ภาครัฐ -9.5 2.6 -8.0 -7.3 -26.2 -9.4 12.9 เครื่องจักรเครื่องมือ 4.3 7.4 4.6 4.2 1.2 -19.0 -15.8 ภาคเอกชน 4.2 8.3 5.2 5.4 -1.4 -20.3 -18.5 ภาครัฐ 4.9 0.6 0.3 -1.6 24.6 -8.5 3.6 มูลค่าการลงทุนรวม 1.1 5.4 1.9 0.6 -3.3 -15.8 -10.1 ภาคเอกชน 3.2 6.5 4.3 3.5 -1.3 -17.7 -16.1 ภาครัฐ -4.8 1.9 -5.2 -5.5 -10.2 -9.1 9.6
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่าลดลง 24,629 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยในไตรมาสนี้การสะสมสต็อกของทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมลดลงในไตรมาสนี้ แม้ว่าการผลิตโดยรวมยังลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกสินค้าบางกลุ่มได้เริ่มปรับตัวดีขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้สินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะหมวดคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และแผงวงจรไฟฟ้ามีการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาทำให้การสะสมสต็อกสินค้าในหมวดนี้ลดลงมาก รายการสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการสะสมสต็อกลดลงค่อนข้างมาก ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และหมวดผลิตภัณฑ์กระดาษ โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มได้รับผลกระทบจากผลผลิตน้ำตาลทรายที่ลดลง เพราะเข้าสู่ช่วงเวลานอกฤดูหีบอ้อย ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการมีการสะสมสต็อกเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและหมวดเครื่องแต่งกาย เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาในไตรมาสนี้ จึงทำให้ผู้ประกอบการเริ่มสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมการส่งออก ส่วนในด้านสินค้าเกษตรกรรม ปริมาณสต็อกข้าวเปลือกลดลงในไตรมาสนี้ เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ขณะที่โรงสีข้าวดำเนินการผลิตข้าวสารเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
ด้านต่างประเทศ
"...การส่งออกหดตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่การนำเข้าปรับตัวดีขึ้น..."
การส่งออกสินค้า ลดลงร้อยละ 22.8 หดตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 เป็นผลจากการลดลงของทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าสำคัญคือ คอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยานพาหนะและชิ้นส่วน รวมทั้งข้าวและยางพารา โดยการส่งออกไปยังตลาดที่สำคัญยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นเล็กน้อยในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน ก็ตาม
รายรับทางด้านบริการ หดตัวร้อยละ 17.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ที่หดตัวร้อยละ 12.4 ปัจจัยสำคัญมาจากการลดลงของค่าบริการขนส่งและค่าบริการท่องเที่ยว ตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
การนำเข้าสินค้า ลดลงร้อยละ 28.9 มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ที่หดตัวร้อยละ 36.1 เนื่องมาจากสินค้านำเข้าทุกหมวดมีการหดตัวในอัตราที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้ากลุ่มวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางซึ่งเป็นสินค้านำเข้าสำคัญ สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของภาคการผลิตและการลงทุน
รายจ่ายทางด้านบริการ ลดลงร้อยละ 9.4 น้อยกว่าที่ลดลงร้อยละ 13.0 ในไตรมาสแรก โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของรายจ่ายค่าบริการท่องเที่ยวและค่าบริการขนส่ง
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า
2551 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 มูลค่า ณ ราคาประจำปี 1. การส่งออก (พันล้านบาท) 5,833 1,349 1,485 1,669 1,330 1,179 1,177 อัตราเพิ่ม 12.8 12.8 20.1 27.7 -7.1 -12.6 -20.7 2. การนำเข้า (พันล้านบาท) 5,827 1,341 1,433 1,675 1,378 903 1,043 อัตราเพิ่ม 22.1 23.0 19.8 38.3 8.1 -32.6 -27.3 3. ดุลการค้า (พันล้านบาท) 6 7 52 -6 -47 275 135 มูลค่า ณ ราคาปีฐาน (2531) 4. การส่งออก (พันล้านบาท) 2,560 628 659 693 579 516 509 อัตราเพิ่ม 6.0 8.3 13.2 12.6 -8.9 -17.9 -22.8 5. การนำเข้า (พันล้านบาท) 1,991 484 497 535 476 309 353 อัตราเพิ่ม 6.9 10.0 5.2 12.5 0.1 -36.1 -28.9 6. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์ สรอ.) 33.4 32.4 32.3 33.9 34.9 35.3 34.7
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 2/2552 ขยายตัวลงร้อยละ 0.1 ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต ลดลงร้อยละ 2.8 และ 7.0 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 และ 3.5 ในไตรมาสที่แล้ว ตามลำดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--