-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้น
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ โดยรวมปรับตัวลดลงตามการลด
ลงของอัตราผลตอบแทนในตลาดแรก
-เงินบาทในวันอังคารอ่อนค่าลงเล็กน้อย ตามการอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 ปี ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอด
สัปดาห์ โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลข GDP ในไตรมาส 3 ที่มีการขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดและการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากแรงขายเพื่อทำกำไร
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ถูกเบิกถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่องยังไม่กลับเข้ามา
ในระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเงินสดเพื่อการปิดสำรองรายปักษ์และเพื่อรองรับการเบิก
ถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง ในขณะเดียวกันมีความต้องการกู้ยืมสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ
7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูงขึ้นหลังจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2548 ที่ระดับ ร้อยละ 3.71875 และ 3.78125
ต่อปี อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 - 3.85 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่
ระดับร้อยละ 3.69 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,000 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี และ 14 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปีวงเงิน
รวม 14,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลัง 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีอัตราผลตอบ
แทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 16,000 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 79,713 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันทำการ
เพียง 4 วัน ขณะที่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นมาเป็น 19,928 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 79 ตรา
สารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจาก
สัปดาห์ที่แล้ว ถึงแม้ว่าในวันอังคารอัตราผลตอบแทนจะปรับสูงขึ้น เนื่องจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสสามที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุน
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ทำให้ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทน
ของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 3 - 15 basis points ยกเว้นอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรอายุระหว่าง 3 เดือน - 2 ปี ที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็ก
น้อย ซึ่งการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 26
และ 7 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury ผลตอบแทนพันธบัตร ฯ ระยะสั้น-ปานกลางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาว
ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย.48 41.07
เฉลี่ย 28 พ.ย.-2 ธ.ค.48 41.21
6 ธ.ค. 48 41.32
7 ธ.ค. 48 41.28
8 ธ.ค. 48 41.24
9 ธ.ค. 48 41.20
เฉลี่ย 6-9 ธ.ค.48 41.26
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ 41.26 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในวัน
อังคารเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ตามการอ่อนค่าของเงินเยน ซึ่งปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากมีแรงซื้อเงิน
ดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนญี่ปุ่น จากการคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก และมีการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างชาติที่ให้ผล
ตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตามเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข GDP ประจำไตรมาส
3 ปี 2548 ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 5.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ผ่านมาและสูงกว่าการ
คาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์เงินบาทแข็งค่าขึ้น ตามค่าเงินในภูมิภาค
ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแรงขายเพื่อทำกำไร
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ โดยรวมปรับตัวลดลงตามการลด
ลงของอัตราผลตอบแทนในตลาดแรก
-เงินบาทในวันอังคารอ่อนค่าลงเล็กน้อย ตามการอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 ปี ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอด
สัปดาห์ โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลข GDP ในไตรมาส 3 ที่มีการขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดและการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค ขณะที่เงิน
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากแรงขายเพื่อทำกำไร
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยตลอดสัปดาห์ เนื่องจากปริมาณเงินที่ถูกเบิกถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่องยังไม่กลับเข้ามา
ในระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเงินสดเพื่อการปิดสำรองรายปักษ์และเพื่อรองรับการเบิก
ถอนในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง จึงลดการลงทุนระยะสั้นลง ในขณะเดียวกันมีความต้องการกู้ยืมสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ
7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูงขึ้นหลังจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2548 ที่ระดับ ร้อยละ 3.71875 และ 3.78125
ต่อปี อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 - 3.85 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่
ระดับร้อยละ 3.69 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,000 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี และ 14 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปีวงเงิน
รวม 14,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลัง 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีอัตราผลตอบ
แทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 16,000 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 79,713 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย เนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันทำการ
เพียง 4 วัน ขณะที่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นมาเป็น 19,928 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 79 ตรา
สารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจาก
สัปดาห์ที่แล้ว ถึงแม้ว่าในวันอังคารอัตราผลตอบแทนจะปรับสูงขึ้น เนื่องจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสสามที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุน
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ทำให้ในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทน
ของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 3 - 15 basis points ยกเว้นอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรอายุระหว่าง 3 เดือน - 2 ปี ที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็ก
น้อย ซึ่งการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 26
และ 7 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury ผลตอบแทนพันธบัตร ฯ ระยะสั้น-ปานกลางปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาว
ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน พ.ย.48 41.07
เฉลี่ย 28 พ.ย.-2 ธ.ค.48 41.21
6 ธ.ค. 48 41.32
7 ธ.ค. 48 41.28
8 ธ.ค. 48 41.24
9 ธ.ค. 48 41.20
เฉลี่ย 6-9 ธ.ค.48 41.26
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ 41.26 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในวัน
อังคารเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ตามการอ่อนค่าของเงินเยน ซึ่งปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากมีแรงซื้อเงิน
ดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนญี่ปุ่น จากการคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก และมีการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างชาติที่ให้ผล
ตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตามเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข GDP ประจำไตรมาส
3 ปี 2548 ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 5.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ผ่านมาและสูงกว่าการ
คาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์เงินบาทแข็งค่าขึ้น ตามค่าเงินในภูมิภาค
ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแรงขายเพื่อทำกำไร
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-