แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
กระทรวงพาณิชย์
นายกรัฐมนตรี
อุตสาหกรรม
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ครั้งที่ 1/2549 ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเกษตรและอุตสาหกรรม พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผ่านมายังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคเอกชนให้ได้รับทราบถึงการกำหนดทิศทางและการปฏิบัติของภาครัฐ ซึ่งมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการในระดับที่สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีการปรับกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการพัฒนาไปสู่ระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ
ทั้งนี้ ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรแต่ละรายสินค้า ควรมีการพัฒนาทั้งด้านแรงงานและวิธีการที่จะนำเอาองค์ความรู้เข้าไปพัฒนาสินค้าให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจควรเลือกตัวสินค้าที่มีศักยภาพชัดเจนเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งสามารถดำเนินการได้สองแนวทาง คือ แบบรวดเร็ว (Revolutionary) และแบบค่อยเป็นค่อยไป (Evolutionary) โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันจึงจะประสบผลสำเร็จ
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ มีแผนการทำงานที่มุ่งจัดทำแผนปฏิบัติการตามนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548-2551 โดยการปรับโครงสร้างภายใต้กรอบนโยบายที่ ครม. ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว คือ 1)
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ และยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการและการท่องเที่ยว 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์ความรู้และระบบนวัตกรรม ประกอบด้วย การปรับโครงสร้างระบบวิจัย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา การยกระดับคุณภาพ
ทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และการสร้างสังคมที่เอื้อต่อนวัตกรรม
กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบตามที่ สศช. เสนอ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 มีสาระสำคัญคือ ประการแรก การประเมินแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบริบทของการพัฒนาในอนาคต 5 บริบท ได้แก่ 1) ด้านความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจโลก 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านสังคม 4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5) ด้านแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค และประการที่สอง หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้าง 4 ประการ คือ 1) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน 2) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ 3) การดำเนินนโยบายสังคมเชิงรุก และ 4) การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเกษตรและอุตสาหกรรม ดังนี้
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเกษตร ที่ผ่านมา ครม. ได้เห็นชอบในหลักการแผนปรับโครงสร้างกลุ่มสินค้าสร้างรายได้จากการส่งออก (กุ้ง ไก่ ข้าว ยางพารา) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้จัดทำรายละเอียดของแผนปรับโครงสร้างสินค้าแต่ละชนิด เพื่อเสนอ ครม. อีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานต่างๆ ไปประกอบการดำเนินการด้วย และได้เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออก ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอแล้ว
คณะอนุกรรมการ ฯ ได้มีมติ เห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร กุ้ง และ ไก่เนื้อ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแนวทางสำหรับสินค้าอีก 5 กลุ่ม/ชนิด ให้เกิดความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยกระบวนการทำงานควรมุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตลอดสายการผลิต ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาสนับสนุนเรื่องตลาด โดยจัดหาแหล่งกระจายสินค้าในต่างประเทศ และการสร้างตราสินค้าไทย และให้ สศช. กำหนดกรอบแนวทางดำเนินการที่เชื่อมโยงต่อภาพรวม และการติดตามประเมินผลให้ชัดเจน
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางวิเคราะห์เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และ Road Map การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และเอธานอล มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ BOI ดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางตามที่เสนอสำหรับอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และ BOI จัดทำแผนปฏิบัติการฯ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานความคืบหน้าให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาทุก 6 เดือน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผ่านมายังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคเอกชนให้ได้รับทราบถึงการกำหนดทิศทางและการปฏิบัติของภาครัฐ ซึ่งมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการในระดับที่สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีการปรับกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการพัฒนาไปสู่ระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ
ทั้งนี้ ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรแต่ละรายสินค้า ควรมีการพัฒนาทั้งด้านแรงงานและวิธีการที่จะนำเอาองค์ความรู้เข้าไปพัฒนาสินค้าให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจควรเลือกตัวสินค้าที่มีศักยภาพชัดเจนเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งสามารถดำเนินการได้สองแนวทาง คือ แบบรวดเร็ว (Revolutionary) และแบบค่อยเป็นค่อยไป (Evolutionary) โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันจึงจะประสบผลสำเร็จ
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ มีแผนการทำงานที่มุ่งจัดทำแผนปฏิบัติการตามนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548-2551 โดยการปรับโครงสร้างภายใต้กรอบนโยบายที่ ครม. ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว คือ 1)
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ และยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการและการท่องเที่ยว 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์ความรู้และระบบนวัตกรรม ประกอบด้วย การปรับโครงสร้างระบบวิจัย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา การยกระดับคุณภาพ
ทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และการสร้างสังคมที่เอื้อต่อนวัตกรรม
กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบตามที่ สศช. เสนอ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 มีสาระสำคัญคือ ประการแรก การประเมินแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบริบทของการพัฒนาในอนาคต 5 บริบท ได้แก่ 1) ด้านความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจโลก 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านสังคม 4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 5) ด้านแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค และประการที่สอง หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้าง 4 ประการ คือ 1) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน 2) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ 3) การดำเนินนโยบายสังคมเชิงรุก และ 4) การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเกษตรและอุตสาหกรรม ดังนี้
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเกษตร ที่ผ่านมา ครม. ได้เห็นชอบในหลักการแผนปรับโครงสร้างกลุ่มสินค้าสร้างรายได้จากการส่งออก (กุ้ง ไก่ ข้าว ยางพารา) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้จัดทำรายละเอียดของแผนปรับโครงสร้างสินค้าแต่ละชนิด เพื่อเสนอ ครม. อีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานต่างๆ ไปประกอบการดำเนินการด้วย และได้เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างผลไม้ภาคตะวันออก ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอแล้ว
คณะอนุกรรมการ ฯ ได้มีมติ เห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร กุ้ง และ ไก่เนื้อ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแนวทางสำหรับสินค้าอีก 5 กลุ่ม/ชนิด ให้เกิดความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยกระบวนการทำงานควรมุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตลอดสายการผลิต ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาสนับสนุนเรื่องตลาด โดยจัดหาแหล่งกระจายสินค้าในต่างประเทศ และการสร้างตราสินค้าไทย และให้ สศช. กำหนดกรอบแนวทางดำเนินการที่เชื่อมโยงต่อภาพรวม และการติดตามประเมินผลให้ชัดเจน
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางวิเคราะห์เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และ Road Map การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และเอธานอล มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ BOI ดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางตามที่เสนอสำหรับอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และ BOI จัดทำแผนปฏิบัติการฯ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานความคืบหน้าให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาทุก 6 เดือน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-