(ต่อ1)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2552-2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 17, 2009 15:16 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1.2 ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สามปี 2552 ในด้านต่าง ๆเป็นดังนี้

การใช้จ่ายครัวเรือน: ยังคงหดตัวแต่ปรับตัวดีขึ้นจากสองไตรมาสที่ผ่านมา การใช้จ่ายครัวเรือนในไตรมาสที่สาม หดตัวร้อยละ 1.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.2 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองที่ผ่านมา โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก (1) การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการโรงแรมเพิ่มขึ้น

(2) ราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้รายได้เกษตรกรหดตัวในอัตราที่ช้ากว่าในช่วงที่ผ่านมา และ (3) ผลทางจิตวิทยาจากการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยการอนุมัติโครงการลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งกว่า 400 โครงการ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น และเริ่มมีความมั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นระยะ ๆ ยังคงทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย

เครื่องชี้สำคัญของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสที่สามเมื่อปรับปัจจัยทางฤดูกาลออกแล้ว ที่ชี้ถึงการปรับตัวดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน เช่น การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) สินค้าคงทนประเภทรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

เมื่อรวม 9 เดือนแรกของปี การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.0 เป็นการลดลงในสินค้าประเภทคงทนร้อยละ 13.4 สินค้ากึ่งคงทนร้อยละ 9.3 และสินค้าไม่คงทนร้อยละ 0.7 โดยที่สินค้าไม่คงทนประเภทอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และสินค้าที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 2.3

การลงทุนภาคเอกชน: เริ่มปรับตัวดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่สาม หดตัวร้อยละ 12.2 เทียบกับไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองที่หดตัวร้อยละ 17.8 และ 16.1 ตามลำดับ โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้างลดลงร้อยละ 14.0 และ 6.3 ตามลำดับ

การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรหดตัวในอัตราที่น้อยลง สอดคล้องกับการนำเข้าสินค้าประเภททุน และอัตราการใช้กำลังการผลิตรวมที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังมีอยู่มาก และความต้องการทั้งภายในและต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัวแต่ยังมีความล่าช้าประกอบกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่มีความล่าช้าและส่งผลต่อการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ 76 โครงการ ทำให้นักลงทุนยังชะลอและเลื่อนการลงทุนออกไป

การใช้จ่ายภาคเอกชน

  (%YoY)                      2551                       2552
                     ทั้งปี    H1    Q3    Q4       Q1    Q2      Q3    9M
การใช้จ่ายภาคเอกชน     2.5   2.6   2.7   2.1     -2.5   -2.2   -1.3   -2.0
  สินค้าคงทน           9.5  10.7   9.4   7.3    -18.1  -13.7   -8.5  -13.4
  สินค้ากึ่งคงทน         1.7   3.5   3.3  -3.1     -8.6   -8.4  -10.3   -9.3
  สินค้าไม่คงทน         0.9   1.8  -0.3   0.3     -1.6   -1.7    0.8   -0.7
   - อาหาร           1.4   1.8  -0.1   2.4      1.8   -0.1    3.2    1.4
   - มิใช่อาหาร        0.6   1.8  -0.4  -1.1     -4.2   -2.9   -1.0   -2.3
  บริการ              3.0   0.3   5.1   6.2      6.8    4.4    2.8    4.8

ที่มา สศช.

สำหรับการลงทุนด้านการก่อสร้างยังคงหดตัวอยู่ แต่ในอัตราที่ช้ากว่าช่วงครึ่งแรกของปี โดยการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขต กทม. ปรับตัวดี ขึ้นตามการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าและย่านชานเมือง เพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยประชาชนที่เพิ่มขึ้น แต่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยนอกเขต กทม. ยังลดลงมาก ทำให้การลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 15.1 ในขณะที่การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลดลงร้อยละ 14.1 อย่างไรก็ตามการลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว และเมื่อรวม 9 เดือนแรกของปี การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 15.4 โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการลงทุนก่อสร้างลดลงร้อยละ 17.7 และ 7.5 ตามลำดับ

การส่งออก : มูลค่าและปริมาณการส่งออกปรับตัวดีขึ้นตามการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในไตรมาสนี้ มูลค่าการส่งออกในรูป เงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 17.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.9 และ 26.1 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองที่ผ่านมาตามลำดับ โดย ปริมาณและราคาลดลงร้อยละ 15.6 และ 2.2 ตามลำดับ การส่งออกที่ปรับตัวขึ้นมีแรงสนับสนุนมาจากการเริ่มฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเทศจีนประกอบกับสต็อกสินค้าที่ลดลง ทำให้ผู้นำเข้าสินค้ากลับมาสั่งซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นและเพื่อชดเชยสต็อกสินค้าที่ลดลง นอกจากนี้การที่ราคาทองคำในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลให้มีการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นมาก เมื่อคิดในรูปเงินบาทมูลค่าการส่งออกในไตรมาสสามลดลงเพียงร้อยละ 17.3 และราคาลดลงร้อยละ 2.0 เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

-สินค้าเกษตร: ลดลงทั้งปริมาณและราคา ในไตรมาสที่สามปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 15.2 และราคาลดลงร้อยละ 21.2 มีผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 33.2 ทั้งนี้สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญที่มีปริมาณลดลงได้แก่ ข้าว (ลดลงร้อยละ 15) เนื่องจากราคาข้าวของไทยยังสูงกว่าราคาส่งออกของคู่แข่งขันทำให้ประเทศคู่ค้าหันไปทำการซื้อขายจากประเทศคู่แข่งมากขึ้นยางพารา (ลดลงร้อยละ 14.8) เนื่องจากผู้นำเข้ายางยังมีสินค้าในสต็อก อย่างไรก็ตามการส่งออก มันสำปะหลัง มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.1 จากความต้องการนำ ไปผลิตเป็นเอทานอลแทนกากน้ำตาลที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

-สินค้าอุตสาหกรรม: ปริมาณและมูลค่าการส่งออกยังลดลง แต่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 15.8 โดยที่ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 15.4 และราคาลดลงเพียงร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปีนับได้ว่าเป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้สัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกมีความชัดเจนมากขึ้นในเดือนกันยายน จากการขยายตัวของสินค้าส่งออกสำคัญหลายรายการได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์/กระดาษและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์เภสัชเครื่องมือ แพทย์ และอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมส่งออก พบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง สินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในประเทศ และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.5 7.0 และ 4.5 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ

(มูลค่า ราคา: พันล้านดอลลาร์ สรอ.)

 (%YOY)        2550     ------ 2551-------       -------2552-------
                ทั้งปี     H1      Q3      Q4        Q1     Q2     Q3
ข้าว
มูลค่า           78.9   134.6   134.2  -18.0     -13.7   -35.7  -29.3
ราคา           63.0    51.8    88.4   59.6      28.6   -19.8  -16.3
ปริมาณ          11.1    56.0    23.4  -48.6     -32.8   -20.5  -15.0
ยางพารา
มูลค่า           20.4    32.1    47.1  -21.3     -45.5   -53.0  -52.5
ราคา           24.7    30.1    43.8   -3.1     -42.5   -45.7  -44.2
ปริมาณ          -4.5     1.3     2.4  -20.9      -5.7   -13.5  -14.8
มันสำปะหลัง
มูลค่า            3.6    16.3    23.3  -35.2     -45.6   -20.1   13.5
ราคา           40.0    60.6    39.3   13.1     -15.1   -29.1  -38.3
ปริมาณ         -27.8   -27.8   -11.8  -40.6     -34.1    12.9   84.1
ข้าวโพด
มูลค่า          110.3   110.8   201.4   27.4     -48.7    68.0  -24.2
ราคา           64.3   110.2    27.2   -1.9     -14.1   -61.2  -36.2
ปริมาณ          79.1    82.6   136.6   22.1     -40.0   175.5  23.0

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า: การส่งออกหดตัวในอัตราที่ช้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการสะสมสต็อกเพื่อชดเชยสต็อกที่ลดลงจากการสั่งซื้อสินค้าที่ลดลงในช่วงก่อนหน้าประกอบกับความต้องการของตลาดเริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เดือนกันยายนที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทเริ่มมีอัตราการขยายตัว อาทิ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องคำ นวณอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ

ในไตรมาสที่สามมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 11.1 และ 12.0 ตามลำดับ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกยังคงลดลง ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ลดลงร้อยละ 10.2) แผงวงจรไฟฟ้า(ลดลงร้อยละ 8.9) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ลดลงร้อยละ 3.0) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (ลดลงร้อยละ 20.4)ตู้เย็นตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (ลดลงร้อยละ 14.9)

  • สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ: มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป มูลค่าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อยละ 65.0 ตามราคาทองคำในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากความต้องการทองคำของประเทศอินเดียเพื่อใช้เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ และจากการเก็งกำไรในระยะสั้นของนักลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้หากไม่รวมทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.0
  • ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ: มูลค่าส่งออกลดลง มูลค่าการส่งออกยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ 34.9 ใกล้เคียงกับการลดลงร้อยละ 37.2 ในช่วงครึ่งแรกของปี ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการส่งออกในปริมาณที่สูงมากในช่วงเดียวกันปีที่แล้วอย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของตลาดส่งออกโดยเฉพาะตลาดออสเตรเลียซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าหลัก (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.4 ของปริมาณการส่งออก) ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 20.9 ช้าลงจากการลดลงในครึ่งปีแรกที่ร้อยละ 48.1
ตลาดส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่สำคัญ
(%YOY)                      2551                               2552
                ทั้งปี      H1      Q3      Q4         Q1      Q2      Q3     สัดส่วน
ออสเตรเลีย       8.8    20.4    34.0   -34.6      -50.1   -46.1    -20.9    21.4
มาเลเซีย        47.0    65.3    64.1     2.1      -25.7   -33.5     -9.2     8.3
อินโดนีเซีย       49.0    71.6    56.2     7.4      -63.5   -53.0    -46.0     8.5
ซาอุดีอาระเบีย    24.3    26.6    20.7    24.7       35.3     6.4     -7.2     6.8
ฟิลิปปินส์         19.9    62.4    20.0   -31.2      -29.0   -25.3     24.6     7.2
ญี่ปุ่น            19.3    13.8    76.5   -27.8      -56.9   -45.4    -57.8     5.3

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

  • สินค้าอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล): มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.9 โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลงได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง แช่แข็งและแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) (ลดลงร้อยละ 15.9) ไก่แช่แข็งและแปรรูป(ลดลงร้อยละ15.2) แต่มูลค่าส่งออกผักและ ผลไม้สด/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 และกุ้งแช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการสินค้ากลุ่มอาหารแช่แข็งของไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและมาตรฐานการผลิต และเพื่อรองรับเทศกาลวันหยุดช่วงปลายปีเข้ามามากขึ้น

-ตลาดส่งออก: โดยรวมยังลดลง แต่เริ่มมีการขยายตัวในบางตลาด มูลค่าการส่งออกยังลดลงทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (15) และอาเซียนลดลงร้อยละ 19.2 24.9 26.6 และ 21.7 ตามลำดับ และตลาดใหม่อาทิ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และตะวันออกกลาง ลดลงร้อยละ 6.2 3.6 13.1 และ 19.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเริ่มมีการขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย และบรูไน โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และ 7.8 ตามลำดับ

ตลาดส่งออกที่สำคัญ
(%YOY)                      2551                                2552
                ทั้งปี      H1      Q3      Q4          Q1      Q2      Q3    สัดส่วน
สหรัฐอเมริกา      4.4     8.6    13.8   -12.0        -27.0   -27.1   -19.2    11.1
ญี่ปุ่น            10.9    14.0    23.5    -6.0        -26.1   -31.1   -24.9    10.0
EU (15)         7.2    14.4    12.4   -11.2        -32.7   -33.0   -26.6    10.0
อาเซียน (9)     22.4    40.9    37.4   -17.4        -31.5   -33.0   -21.7    21.6
ฮ่องกง          15.5    43.0    10.8   -18.9        -14.2   -22.6    -3.6     6.4
ไต้หวัน         -18.8   -19.7    -3.9   -30.7        -42.5   -26.3   -13.1     1.5
เกาหลีใต้        23.0    16.2    63.1    -0.6        -24.6   -18.7   -36.1     1.9
ตะวันออกกลาง    26.9    30.0    46.5     3.8          6.7   -17.6   -19.2     5.7
อินเดีย          25.6    28.7    25.5    19.9        -17.0    -9.2   -7.7      2.2
จีน              9.1    27.8    14.5   -24.4        -27.6    -9.2   -6.2     10.3

ที่มา: ธปท.

การนำเข้า: มูลค่าการนำเข้ายังหดตัว แต่ในอัตราที่ช้ากว่าไตรมาสที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 28.3 หดตัวช้าลงเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 37.5 และ 33.0 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองที่ผ่านมาตามลำดับ ปริมาณการนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 24.9 ตามความต้องการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ลดลง อย่างไรก็ตามการนำเข้ามีสัญญาณดีขึ้นชัดเจน โดยมูลค่าการนำเข้าทุกหมวดสินค้าหดตัวในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับการหดตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ เข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำ เร็จรูป สินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น และสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และความต้องการภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ รวมถึงสินค้าเชื้อเพลิงเพื่อนำ มาผลิตสินค้าตามความต้องการสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคปรับตัวดีขึ้นตามความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค

สำหรับราคานำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นสำคัญ เมื่อคิดในรูปเงินบาท มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ 28.1 และราคาลดลงร้อยละ 4.2

  • สินค้าทุน: ปริมาณและราคาการนำเข้าลดลง มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 15.6 ช้ากว่าการลดลงร้อยละ 24.1 ในไตรมาส
ที่สองที่ผ่านมา โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น สินค้าที่มีการนำเข้ายังลดลงได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สินค้าทุนอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 14.0 และราคาลดลงร้อยละ 1.9
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป: ปริมาณและราคาการนำเข้าลดลง แต่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น มูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 32.8 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 44.1 และ 39.3 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองที่ผ่านมาตามลำดับ โดยเป็นผลจากมีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจภายในป ระเทศที่ป รับตัวดีขึ้น ทำ ให้ความต้องการสินค้าภายในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการนำเข้าบางสินค้าในหมวดยัง
ลดลงรุนแรง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ทั้งนี้การนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้าลดลงมากถึงร้อยละ 56.0 เนื่องจากภาคการก่อสร้างยังคงลดลง และปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับมีการนำเข้าและสะสมสต็อกเหล็กในปริมาณสูงในปี 2551 ทั้งนี้ในไตรมาสที่สาม ปริมาณการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 30.4 และราคาลดลงร้อยละ 3.3
  • สินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น: ปริมาณและราคาการนำเข้าลดลงช้ากว่าครึ่งแรกของปี มูลค่านำ เข้าสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นลดลงร้อยละ 35.1 โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 16.7 และราคานำเข้าลดลงร้อยละ 22.0 เทียบกับครึ่งแรกของปีที่ปริมาณและราคา ลดลงร้อยละ 22.9 และ 29.0 ตามลำดับ มูลค่าการนำเข้าที่หดตัวช้าลงเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจทำ ให้มีความต้องการสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำ มันหล่อลื่นเพิ่มขึ้นประกอบกับในไตรมาสที่สามปี 2551 ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นมากทำให้มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบน้อยกว่าปกติ ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 38.4 โดยปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 แต่ราคาลดลงร้อยละ 45.9 สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมีมูลค่า
ลดลงร้อยละ 8.7
  • สินค้าอุปโภคบริโภค: ปริมาณและราคาการนำเข้าลดลง มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.5 หดตัวช้าลงเมื่อเทียบกับการหดตัวเฉลี่ย
ร้อยละ 11.8 ในครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามสินค้าส่วนใหญ่ในหมวดนี้ยังมีการนำเข้าลดลงมาก ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด นมและผลิตภัณฑ์ นาฬิกาและส่วนประกอบ วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 3.3 และราคาลดลงร้อยละ 1.2

รวม 9 เดือนแรกของปี มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 32.6 โดยที่ปริมาณลดลงร้อยละ 28.9 และราคาลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อคิดในรูปเงินบาทมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 29.2 และราคาลดลงร้อยละ 0.3

อัตราการค้า (Term of Trade) ดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเนื่องจากราคาส่งออกเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงน้อยกว่าราคานำเข้า ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สามของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นผลดีต่อรายได้ของผู้ส่งออก

ดุลการค้า: เกินดุลเพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่สาม ดุลการค้าเกินดุล 5,118 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 173,501 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 3,896 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 134,685 ล้านบาท) ในไตรมาสที่สอง ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออก เร็วกว่าการนำเข้า ทั้งนี้รวม 9 เดือนแรกของปีดุลการค้าเกินดุล 16,815 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 583,619 ล้านบาท

(ยังมีต่อ).../ด้านการผลิต:..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ